Fareeda
รอ.หญิง เบญจมาภรณ์ Fareeda Hua-jiem

เกี่ยวกับการจัดการสุขภาพชุมชน คุณมองเห็นภาพอย่างไร?


ดิฉันมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดการผู้คนที่อาศัยอยู่ริมคลองแห่งหนึ่ง ซึ่งดิฉันมองว่าการดูแลสุขภาพชุมชนของผู้ที่มีวิถีชีวิตกับแม่น้ำ ลำคลอง เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนที่มีมานาน และแสดงถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนชุมชนชาวคลองในแต่ละพื้นที่ของสังคมไทย อาจกล่าวได้ว่าน้ำมีความผูกพัน และแทรกซึมกับชีวิตคนไทยมาแต่ช้านาน 

โดยสถานที่ที่ต้องการศึกษาคือ ชุมชนปากพูน ตำบลปากพูน อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ติดริมนํ้าอันเก่าแก่ โดยชุมชนแห่งนี้ได้มีการตั้งถิ่นฐาน พักอาศัยมาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี ซึ่งยังคงรูปแบบเดิมในการตั้งถิ่นฐานและวิถีความเป็นอยู่ โดยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนนี้มีมาตั้งแต่อดีตที่ยึดเอาแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นเลือดสำหรับเลี้ยงครอบครัวและชุมชน ซึ่งแม้ว่าในสภาวะปัจจุบันที่การสัญจรทางถนนหรือการประกอบอาชีพอื่นๆที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยแม่น้ำลำคลองจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ชุมชนแห่งนี้ก็ยังคงรูปแบบเดิมในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่พึ่งพาแม่น้ำลำคลองหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่เราเคยมองให้ลึกลงไปไหมว่า "การที่มีการพักอาศัยติดกับแม่น้ำลำคลองย่อมต้องมีปัญหาเกิดขึ้น"  โดยไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติน้ำขึ้น-น้ำลง ส่งผลต่อการออกหาปลา  ปัญหาน้ำเน่าเสียจากการปล่อยของโรงงานอุตสาหกรรม  ปัญหาจากสิ่งปฏิกูลต่างๆไม่ว่าจะมาจากโรงงานหรือบ้านช่องต่างๆ  แน่นอนว่าปัญหต่างๆ ล้วนย่อมตามมาอย่างแน่นอน อาจเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตในการประกอบอาชีพ ปัญหาทางสุขภาพกาย โรคเชื้อ รา น้ำกัดเท้า หรือแม้แต่การเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องการรักษาที่อาศัยการรับประทานอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยอาชีพที่ต้องออกเรือไปทำมาหากินกลางทะเลเป็นเวลานานทำให้ขาดยาได้  และดิฉันคาดว่าน่าจะมีปัญหาอื่นๆที่ซ่อนอยู่อีกไม่น้อย อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ยังคงยึดเอาแม่น้ำ ลำคลองดังกล่าวเป็นหัวใจในการดำเนินชีวิตต่อไป  แสดงให้เห็นถึงความผูกพันของแม่น้ำ คูคลองและชุมชน ยังคงสะท้อนให้เห็นคุณค่าและเอกลักษณ์ที่เป็นรากเหง้าของสังคมไทยตลอดมา อีกทั้งความเป็นเอกลักษณ์และความสวยงามของชุมชนชาวคลองที่ยังคงรักษาความกลมกลืนกับ สภาพแวดล้อมไว้ได้ค่อนข้างจะสมบูรณ์  ปัจจุบันแผนการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ชุมชนรับการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างเต็มตัว ส่งผลให้เกิดมีการปรับเปลี่ยนลักษณะต่างๆ ภายในชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อันอาจขัดแย้งกับเอกลักษณ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมเดิมของชุมชน ซึ่งอาจทำให้เกิด ความสูญเสียทางวัฒนธรรม สูญเสียคุณค่าเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ในการดำเนินชีวิตรวมถึงสูญเสียคุณค่าในตนเอง ที่จะต้องแข่งขันกันในการประกอบอาชีพจนลืมที่จะรักษาสุขภาพของตนให้มีความพร้อมในการเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้สุขภาพชุมชนเสื่อมโทรมลงไปได้
โดยในการวางแผนที่จะศึกษาของดิฉันในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาการจัดการสุขภาพชุมชน โดยศึกษาถึงวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน ที่เชื่อมโยงกันทั้งทางด้านกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนรูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพ เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบวิถีชีวิตของชุมชนคนชาวคลอง รวมทั้งปัญหาผลกระทบทางสุขภาพ ที่อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนในด้านต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ให้เกิดแนวทางในการพัฒนาจัดการสุขภาพชุมชนให้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และคงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตท้องถิ่นที่ยังคงเหลืออยู่ให้ควบคู่กับการมีสุขภาพชุมชนที่ดี แข็งแรงและต่อสู้กับปัญหาต่างๆของชุมชนสืบต่อไป

เมื่ออ่านความคิดของดิฉันแล้วท่านมีความคิดเพิ่มเติมที่ต้องการแบ่งกันบ้างไหม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของดิฉันต่อไปค่ะ  จะขอบคุณมากค่ะที่ให้ความช่วยเหลือดิฉัน.... 

                 ภาพการจัดการชุมชน คนชาวคลอง

หมายเลขบันทึก: 536516เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)


ชอบสิ่งที่คุณ Fareeda กล่าวมาครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้ง 2 ประเด็นเลย และขอแลกเปลี่ยนดังนี้ครับ

ประเด็นที่ 1  วิถีชีวิตคนริมคลองปากพูน ที่คุณ Fareeda  เกริ่นให้อ่านมานั่นแแหละครับ ผมว่าคุณควรศึกษาประเด็นนี้ให้ชัดเจนก่อนว่าชุมชนริมน้ำแห่งนี้ เขามีวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไร รวมทั้งแนวโน้มในอนาคตด้วย สาเหตุเกิดจากอะไร (สังคม?  เศรษกิจ? การขยายตัวของเมืองทั้งส่วนที่สร้างและทำลายวิถีชีวิตของผู้คน?) ผมว่าตรงนี้สำคัญมากครับอาจเขียนออกมาในลักษณะของงานวิจัยเชิงคุณภาพ สักเรื่องก็ดีครับ  (แต่ถ้ามีข้อมูลอยู่เพียงพอแล้วก็เล่นประเด็น 2 เลยครับ)

ประเด็นที่ 2 การจัดการสุขภาพของคนริมคลองปากพูน ดูว่าคนริมน้ำแห่งนี้เขามีการจัดการสุขภาพกันอย่างไร ทั้งในระดับปัจเจกบุคคบ ระดับชุมชน รวมทั้งเครือข่าย (ถ้ามี) จริงๆ ก็ต่อเนื่องมาจากประเด็นที่ 1 แหละครับ ลองดูซิว่าจากประเด็นความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้คนได้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง อย่างไร และชุมชนเขามีการจัดการกันอย่างไรมีปัญหาอะไรบ้าง 

ประเด็นที่อาจจะต่อเนื่องมาก็คือถ้าคุณจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของคนริมน้ำแห่งนี้ในฐานะอะไรก็แล้วแต่ คงมีเรื่องให้คุณสนุกได้ไม่เบื่อแน่ครับ 

ขอให้สนุกนะครับ เชียร์ครับ


ลองดูในเครืองมือศึกษาชุมชน ของหมอโกมาตร ดูนะครับ อาจเป็นแนวทางต่อได้  เรียกว่าใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นที่คุณหมอเขาใช้ในการศึกษาชุมชน

 

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เสนอแนะแนวทางการดำเนินการวิจัยในเรื่องที่หนูกำลังสนใจจะศึกษาน่ะค่ะ  ถ้าอย่างไรแล้ว  อย่าทิ้งกันน่ะค่ะ  ช่วยให้กำลังใจให้สามารถศึกษาวิจัยในเรื่องังกล่าวต่อไปน่ะค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ   ^_^

( I'll be Dr. fareeda coming soon อิอิอิอิ  )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท