โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย_12 : เวทีปิดโครงการบ้านวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2555


วันที่ 22 มีนาคม 2556  เราจัดเวที AAR ปิดโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับปีการศึกษา 2555 โดยใช้เวทีจัดการความรู้จากประสบการณ์ของแต่ละโรงเรียน เป็น "หัวปลา" และอภิปรายกันถึงผลการทดลอง โดยนำฟอร์มคำถามของสมุดคู่มือบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเป็น "ก้างปลา"

คราวนี้ ดร.หมู ติดภารกิจ เหลือผม ดร.แล็ก และคุณเป้ ช่วยกันลุย มีตัวแทนจากโรงเรียนละ 1 ท่าน 

ขอขอบคุณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองเหล็ก ที่มากันเป็นทีม และพาหนูน้อยกระโปงแดง น่ารักมาแสดงความสามารถ ความสุข ความสนุก ของพวกเขาสดใส.....นี่แหละหัวใจของการพัฒนาชาติ



ผลสรุปของการ AAR  พบข้อผลลัพธ์ที่สำคัญ หลายด้าน หลายประเด็นต้องหาแนวทางหนุนเสริมเติมต่อ  ดังนี้ครับ

  1. มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยกับเครือข่ายของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนทั้งสิ้น 20 โรงเรียน
  2. มีโรงเรียนที่สามารถจัดการทดลองได้ตามเกณฑ์ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลกิตติยา โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎมหสารคาม และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.หนองเหล็ก.... จะเข้ารับป้ายบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในเดือนพฤศจิกายนปีนี้
  3. ครูทุกท่านสรุปตรงกันว่า กิจกรรมการทดลองของโครงการบ้านวิทย์น้อยนั้น ทำให้นักเรียนสนใจ อยากเรียนวิทยาศาสตร์ และรอคอยการทดลองวิทยาศาสตร์.... นี่น่าจะเพียงพอแล้ว กับความสำเร็จของการนำโครงการลงสู่พื้นที่
  4. ครูที่เข้าร่วมโครงการ เห็นตรงกันว่า จะนำการทดลองที่ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนจากเพื่อนไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป แม้ว่าจะปิดโครงการในปีการศึกษาแรกนี้แล้ว...... ครูทุกท่านมีความสุขมาก หลายท่านบอกว่า  ควรมีอีก เพื่อเปิดโอกาสสำหรับโรงเรียนต่างๆ ที่ยังไม่ได้เข้ามาร่วมโครงการ 
  5. ทั้งครูและโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียน พึงพอใจต่อโครงการนี้มาก (จากการสอบถาม) เนื่องจาก การทดลองที่ง่ายๆ ใกล้ตัว และใช้วัสดุราคาถูก แต่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ชอบการเรียนจากการทดลองวิทยาศาสตร์
  6. ปัญหาสำคัญที่ทำให้หลายโรงเรียนไม่สามารถจัดกิจกรรมได้เสร็จทันปีการศึกษา คือ ภาระงานของครูที่หนักอยู่แล้ว และการเปิดโครงการที่ไม่ได้เริ่มตั้งแต่ตนปีการศึกษา ทำให้ไม่ได้จัดไว้ในตาราง
  7. ตามข้อ 5. แสดงว่า โรงเรียนยังไม่สามารถบูรณาการ การทดลองในโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยให้เข้าไปในการเรียนการสอนตามหลักสูตรได้
  8. การจัดการเรียนรู้ของครูส่วนใหญ่ ยังเน้นที่ เนื้อหาและวิธีการ ยังไม่ได้เน้นส่งเสริมให้นักเรียน ฝึกคิดเอง ฝึกทำเอง ยังไม่ได้เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง คำถามของครูยังเป็น "คำถามชี้นำเพื่อคำตอบ" ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระและระดับศักยภาพของนักเรียน เป็นประเด็นที่น่าจะนำมาถกอภิปรายให้ละเอียดต่อไป
  9. การดำเนินโครงการนี้ในปีต่อไป ควรติดต่อสื่อสารไปยังโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กโดยตรง โดยไม่ต้องรอผ่านไปยัง อบต. ก่อน เพราะเกิดปัญหาเรื่องหายไป จนไม่มีใครมาสมัครเลยทั้งๆ ที่โรงเรียนสนใจมาก


ผมเอง ในนามของหัวหน้าเครือข่ายบ้านวิทยาศาสตร์น้อย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต้องขอฝากความหวังไว้กับคุณครูที่เข้าร่วมโครงการทุกท่าน แม้อาจมีข้อผิดพลาดประการใดอยู่บ้าง ก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย  เราจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ในปีถัดไปครับ

หมายเลขบันทึก: 536480เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท