Best Practices ของสถานศึกษา


การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best  Practice)

**********************************************************

ชื่อผลงาน  ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่และภูมิปัญญาไทย

ชื่อหน่วยงาน  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ) อำเภอเมือง  จังหวัดภูเก็ต

ความเป็นมา

 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  มาตรา ๗ ได้บัญญัติไว้ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังนี้

มีความภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง”

สถานศึกษาเป็นสถาบันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเจตคติ ความคิดและพฤติกรรมของ ผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  แต่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามเวลาเรียนปกตินั้นไม่สามารถตอบสนองต่อแนวการจัดการศึกษาดังกล่าวได้ ผู้เรียนควรมีประสบการณ์การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนในชุมชนและมีการถ่ายโยงความรู้มาสู่การปฏิบัติจริงใน  กิจวัตรประจำวันทั้งในชั้นเรียนและที่บ้าน ดังนั้นเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายตามหลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว  โรงเรียนจึงจัดโครงการส่งเสริมทักษะทางการเรียนรู้  กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่และภูมิปัญญาไทย  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ รวมถึงเป็นการเรียนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการลงมือปฏิบัติจริง โดยครูจะทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาความคิด พฤติกรรม และเจคติของผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งคณะครูจะต้องมีการร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรสู่การสอนที่บูรณาการเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนเป็นสื่อในการเรียนการสอน ทั้งนี้โดยความสนับสนุนส่งเสริมและการกระตุ้นจากผู้บริหารในการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษาที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมของผู้เรียน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทำงานเป็นหมู่คณะ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

   2.  เพื่อให้ผู้เรียนทุกระดับชั้นเรียนมีความรู้และรับผิดชอบต่อท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

  3.  เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

  4.  เพื่อใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นสื่อในการพัฒนาผู้เรียนและนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน

  5.  เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ อดทน มีวินัย กล้าแสดงออก

เป้าหมายเชิงปริมาณ

นักเรียนระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ ๒  จำนวน ๑,๒๕๒ คน

 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ ๒  จำนวน ๑,๒๕๒ คน ได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่

การพัฒนาการเรียนรู้

ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเทศบาลนครภูเก็ต

  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ๑  ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข

  แนวทางการพัฒนา ๑.๓ ส่งเสริมทักษะทางสังคมให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข  ตลอดจนสืบสานศิลปวัฒธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๕.๒ ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา

  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่๔  ยุทธศาสตร์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นสู่สังคมแห่งการเรียนรู้

แนวทางการพัฒนา ๔.๒  จัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยเพื่อโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ในการพัฒนาท้องถิ่น

การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

1.  สำรวจความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนในสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และสาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้แบบทดสอบ

2.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3.  กำหนดหัวข้อ สาระการเรียนรู้ แจ้งให้กับนักเรียนทราบ

4.  นักเรียนเลือกหัวข้อ เนื้อหา สาระตามความสนใจ

5.  นักเรียนสืบค้นข้อมูล และจัดเตรียมการนำเสนอต่อเพื่อนในชั้นเรียน

6.  ดำเนินการนำเสนอตามแผนที่กำหนด

7.  นักเรียนร่วมกันระบุจุดเด่น  สาระสำคัญ  คุณประโยชน์ที่ได้รับ

8.  นักเรียน และครูร่วมกันสรุป เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้อง

9.  ประเมิน  สรุปผล

ผลการดำเนินงาน

-  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

-  วางแผนการดำเนินงาน โดยเชิญผู้บริหาร หัวหน้างาน และหัวหน้าสายชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ ๒  เข้าร่วมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ

-  ดำเนินงานตามแผน โดยดำเนินงานตามขั้นตอนดั้งนี้

1)  เชิญหัวหน้าสายชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ ๒  เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา/สาระการเรียนรู้

จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ใบงาน

2)  ประสานงานติดต่อสถานที่ จัดทำเอกสารทางราชการต่างๆ

3)  ติดต่อรถรับส่งนักเรียน

4)  เดินทางตามกำหนดการ

- ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง

- สรุปและรายงานผลโครงการ


 ระยะเวลาดำเนินการ

ตุลาคม 2555 – กันยายน 2556

สถานที่ดำเนินการ

-  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

-  แหล่งเรียนรู้สถานที่ต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต

หน่วยงานผู้รับผิดชอบ

  งานวิชาการ โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ)

งบประมาณดำเนินการ 

ใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่และภูมิปัญญาไทย เป็นเงิน ๖๖,๐๘๐.- บาท 

  (ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยตามความเป็นจริง)


การติดตามและประเมินผล

ตัวชี้วัด

วิธีการประเมิน

เครื่องมือ

๑ ด้านประสิทธิภาพสามารถดำเนินงานได้ตามแผน

ตรวจสอบติดตามการดำเนินงาน

-ปฏิทินการปฏิบัติงาน

-สรุปผลโครงการ

๒ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

วัดเจตคติที่ดี

-แบบวัดเจตคติที่ดี

๓ นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานเป็นหมู่คณะ

ประเมินจากเพื่อน และครู

-แบบประเมินการทำงานเป็นกลุ่ม

๙.๔ นักเรียนมีคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ อดทน มีวินัย กล้าแสดงออก

สังเกต

-แบบสังเกตพฤติกรรม

๕ นักเรียนทุกระดับชั้นได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

-แบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรม


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-   ผู้เรียนมีความรักและหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่น

-  ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดีงาม

-  ผู้เรียนทุกระดับชั้นเรียนมีความรู้และตระหนักความรับผิดชอบต่อท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และ

  ทรัพยากรธรรมชาติ



คำสำคัญ (Tags): #Best Practices System
หมายเลขบันทึก: 536258เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท