ทุกท่าน โปรดระวัง!!! "ร่องบอก สอน ป้อน บรรยาย"


จากประสบการณ์ การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา และเป็นกระบวนกร เป็นเพื่อนครูมา 2 ปี  ช่วงนี้ผมมักสรุปและพูดกับเพื่อนครูเพื่อศิษย์ทุกคน ว่า  "ระวัง!!!!"  อย่าตกลงไปใน "ร่องบอก สอน ป้อน บรรยาย " หรือที่ ภาษาบ้านผม เรียกว่า "หลุมปลา" 


เราทำหลุมปลาได้หลายวิธีครับ ในที่นี้ ผมขอเสนอ 3 แบบ เพื่อเปรียบเทียบกับ "หลุมปลาทางการศึกษา" ที่ผมพบว่ามี "ปลา" ตกลงไปหลายตัวไม่น้อยทีเดียว  ได้แก่ แบบร่องดิน แบบถังน้ำ และแบบตะข้องไม้ไผ่  โดยเรียงลำดับจากความยากง่ายที่จะ ตะเกียกตะกายขึ้นมาได้เมื่อผลัดตกลงไป  อาจเรียกง่ายๆว่า ร่องกับดัก หลุมปลา และไหปลา ......

  • ร่องกับดักแรกคือ "ร่องเนื้อหา"   ซึ่งครูส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในนั้นคือ คือ ถูกยึดติดอยู่กับเนื้อหาวิชา วิธีการออกมาจากหลุมนี้คือ การฝึกการฟัง และการฝึกมององค์รวม หรือฝึกมองกระบวนการ ที่สำคัญที่สุดคือ การฝึกตั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบ
  • หลุมปลาที่สอง คือ "ร่องกิจกรรม" หลายกิจกรรมทำเป็นกิจกรรม และเมื่อได้ทำกิจกรรมแล้ว ก็นำไปเขียนในรายงานหรือหนังสือแนะนำโรงเรียนว่า ได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง แต่ไม่ได้เขียนผลลัพธ์ที่ชัดเจนว่าเกิดผลลัพธ์อะไรกับนักเรียน เมื่อสอบถามแล้วจะพบว่า กิจกรรมเหล่านี้ ไม่ชัดเจนว่า 1) ทำไมต้องทำกิจกรรมนั้น ต้องการให้เกิดทักษะใด กับนักเรียน  หรือไม่ก็ 2) เขียนไว้ในวัตถุประสงค์ แต่ไม่ชัดเจนว่าทักษะเหล่านั้นจะเกิดตอนไหนของกิจกรรม ที่เป้นเช่นนี้เพราะ 3) วิธีการวัดผล ประเมินผล ไม่ชัดเจน ..... ใช่ครับ .... เรายังขาดทักษะการออกแบบเครื่องมือในการวัดผลประเมินผลนั่นเอง.......  กิจกรรมที่ถูกควรไปให้ถึงขั้น "เกิดคุณค่าในใจ" ของนักเรียนได้ ......
  • ไหปลา สุดท้ายคือ "ร่องบอก สอน ป้อน บรรยาย" ที่คนเก่งๆ ครูเก่งๆ ครูเพื่อศิษย์ ที่สามารถผ่านทั้งร่องเนื้อหา และร่องกิจกรรมได้ จนเกิดมรรคเกิดผลกับนักเรียน มีผลงานที่ได้รับการยอมรับ จนมีชื่อเสียง จนถูกเรียนเชิญไปเป็น "วิทยากร" ที่มักจะ "บอก สอน บรรยาย " ลืมไปว่า กว่าที่ตนเองจะประสบผลสำเร็จและเก่งขึ้นจนได้รับการยอมรับนั้น ต้องฝึกฝน "เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ" ที่ต้องใช้เวลาและความพยายามมากเพียงใด... และที่สำคัญในขณะที่ไปบอก สอน บรรยายนั้น เป็นการ "ป้อน"  องค์ความรู้หรือ "เนื้อหา" ให้โดยไม่ได้คำนึงถึงกระบวนการที่ตนเองผ่านมาตั้งแต่ต้น ........  นี่คือสิ่งที่ผมเรียกว่า "อบรม"

ท่านว่าไงครับ ผมก้ได้แต่เพียงคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เท่านั้น  โปรดวิพากษ์เถิด

   

หมายเลขบันทึก: 535957เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 02:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมคงไม่ออกความเห็น แต่เป็นความรู้ที่ผมขอนำไปใช้ในการทำงาน

สวัสดีค่ะ คงต้องหาวิธีกลบร่อง หลุม ไห  เพื่อศิษย์ทุกคน  

เปรียบเทียบเป็นรูปธรรมดีค่ะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท