EADP9: ระยะที่ 4 กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 9 ทุกท่าน

กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะที่ 4 กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่
ถือเป็นกิจกรรมช่วงสุดท้ายในหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 9 (ปี 2556) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2013  ระยะเวลา 5 วัน ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม  – 18 พฤษภาคม 2556 โดยวันแรกพบกับกิจกรรมดูแลสุขภาพ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี  (สามเสน) กรุงเทพฯ และวันต่อไปเดินทางไปที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง ครับ หวังว่าลูกศิษย์ของผมจะได้รับความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์เพื่อต่อยอดผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ สามารถนำมาพัฒนาตนเอง องค์กร กฟผ. และประเทศชาติต่อไปครับ ผมขอชื่นชมที่ทุกท่านสนใจ และได้นำเสนอแนวคิดดี ๆ จากการส่งการบ้านมาที่ Blog ซึ่งจะเป็นคลังความรู้ของพวกเรา มีประโยชน์มาก และผมดีใจที่ความรู้ดี ๆ ในห้องเรียนของเราจะได้แบ่งปันสู่สังคมในวงที่กว้างขึ้น

และเพื่อให้การส่ง Blog ของพวกเราง่ายขึ้น ผมจึงขอเปิด Blog ใหม่สำหรับกิจกรรม ระยะที่ 4  กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ & ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ครับ

















หมายเลขบันทึก: 535872เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (71)
ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

14 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี กรุงเทพฯ

วิธีคำนวณดัชนีมวลร่างกาย

BMI= นน.(กก.)/ส่วนสูง (ม.)2

-  เกิน 30 โรคอ้วน

-  มากกว่า 25 อ้วน

เลปติน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรากินแล้วรู้สึกอิ่ม ทำให้ไม่อ้วน แต่คนที่อ้วนเพราะไขมันเยอะขึ้น ฮอร์โมนเลปตินเลยไม่สร้าง และมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนผอม

หากไขมันในพุงมาก ฮอร์โมนไม่มี มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรค

-  หัวใจ

-  เบาหวาน

-  อาการวัยหมดประจำเดือนมาก

-  การกินฮอร์โมนเสริมมีอันตรายมาก ไม่ควรกินฮอร์โมน แต่ควรรักษารูปร่างให้ดี

คนอ้วน ทำให้ไขมันพอกตับ ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เสียบุคลิก เหนื่อยง่าย เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

ลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ

1.  กินให้น้อย

2.  ออกกำลังกายเยอะ

ควรกินเนื้อ กินผัก

กิน เนื้อสัตว์ กินผักเส้นบุก

ไม่กิน ข้าว หรือ คาร์โบไฮเดต ไม่กินผลไม้ ไม่กินถั่ว/นม

อาหารห้ามกิน/อาหารให้กิน

ห้าม

-  ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี วุ้นเส้น

-  ผลไม้ทุกชนิด น้ำผลไม้

-  นม นมเปรี้ยว โยเกิรต์

-  นมถั่วเหลือง ถั่ว ข้าวโพด

-  ไก่ชุบแป้งทอด น้ำจิ้มไก่

กิน

-  หมู ไก่ ปลา ไข่ เต้าหู้

-  ผัก

-  อาหารว่าง ชิ้นไก่ หมู จิ้มซีอิ้ว

การอดเพื่อสุขภาพ

การอดเพื่อสุขภาพเป็นวิธีหนึ่งในการขจัดของเสีย หรือล้างพิษ สามารถปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกสบาย สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองที่บ้าน ในปัจจุบันทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพได้ค้นพบอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยมากมาย การอดเพื่อสุขภาพนับเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการขจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้

อดด้วยผลไม้อย่างเดียวทั้งวัน : มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล แคนตาลูป ส้มโอ

กินชาฮูเอ่อ ทำให้ไม่อยากอาหาร

การล้างพิษ 1 วันทุก 2 สัปดาห์

ระดับ 1 การกินผลไม้ชนิดเดียวตลอดวันเพราะต้องการให้ระบบการย่อยได้พัก เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเอง

วันเลิกอด ในวันต่อมา ดื่มน้ำผสมน้ำมะนาว ในตอนเช้าวิธีผสมน้ำมะนาวมีสูตรดังนี้ คือ ใช้น้ำ 2 ขวด ขวดละ 800 cc. บีบมะนาวขวดละ 2 ลูก ใส่เกลือทะเล ขวดละ 1 ช้อนชาครึ่ง ผสมแล้วดื่มให้หมดในตอนเช้า วันนั้น จะทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระ

กิจกรรมระหว่างลดน้ำหนัก

1.  ออกกำลังกาย

2.  อบสมุนไพร

3.  นวดประคบ

4.  บริหารร่างกาย

ไขมันเลือดเหมาะสม

Chol/HDL <4.6

การสวนล้างลำไส้

ตับที่แข็งแรงและลำไส้ที่สะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการล้างพิษ ดังนั้นเราจึงควรที่จะทำความสะอาดลำไส้ วิธีการทำความสะอาดลำไส้มี 2 วิธี คือ

- การสวนลำไส้ใหญ่ระดับบนเน้นการสวนด้วยน้ำอุ่น

- การสวนล้างลำไส้ใหญ่ระดับกลางด้วยสารบางอย่าง เช่น กาแฟ หรือสมุนไพร

การสวนลำไส้จะต้องกระทำควบคู่ไปกับการกินอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพในแต่ละระยะการอด การออกกำลังกายที่ฝึกปราณอย่างเช่นชี่กงหรือโยคะ การทำสมาธิ เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูสุขภาพเป็นไปอย่างครบถ้วน

การรักษาโรค

-  หวัด

อาหาร อดล้างพิษ 1 วันด้วยผลไม้

การปฎิบัติ  นอนพักผ่อนมากๆ

วิตามิน  ซี

ฟ้าทะลายโจร  5 เม็ดลูกกลอน  ขมิ้นชัน

-  ภูมิแพ้

งด นมวัว งานวิจัยพบว่า นมวัวจะทำให้เป็นปัจจัยในการเกิดมะเร็ง หลีกเลี่ยงนมวัว ด้วยการกินอาหารไทย ปลาร้า กุ้งแห้ง

-  ตู้วิตามินสมุนไพรประจำบ้าน

C100

ฟ้าทะลายโจร

ขมิ้นชัน


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

พญ.ลลิตา ธีระสิริ

วารีบำบัด

14 พฤษภาคม 2556 

ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี กรุงเทพฯ

วารีบำบัด เป็นศาสตร์ที่สืบทอดมาจากยุคกรีกและโรมัน ได้แพร่ไปสู่ยุโรปภาคตะวันออก กลายเป็นการอบไอน้ำแบบรัสเซีย (Russian bath) และการอบซาวน่าแบบฟินแลนด์ (Finnish bath) มาภายหลังได้รับการพัฒนาเพื่อการบำบัดรักษาโรคโดย วินเซนต์ เพรียนสนิตช และ เซบัสเตียน คไนป์ ชาวเยอรมันเขียนตำราเกี่ยวกับวารีบำบัด ที่นิยมทำตามคือ การว่ายน้ำในน้ำเย็น

วารีบำบัดสร้างสมดุลของร่างกายโดยอาศัยความร้อนความเย็นของน้ำที่มากระทบผิวกาย คนเรามีพื้นที่ไฮโปทาลามัสคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็น 37 องศาเซลเซียสอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่เราถูกความหนาวเย็น ร่างกายจะปกป้องตนเองโดยหดเส้นผิวกายเพื่อรักษาความร้อนไว้ และเพิ่มการทำงานของอวัยวะภายในเพื่อสร้างความร้อนเพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อสั่นกระตุก ทำให้หัวใจ ปอด ต่อมฮอร์โมนต่างๆ ทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตความร้อนออกมา ในทางตรงกันข้ามถ้าเราเข้าไปอยู่ในที่ร้อน ไฮโปทาลามัสจะสั่งให้เส้นเลือดขยายตัว เพื่อระบายความร้อนออก สั่งให้หัวใจ ปอด ตับ กล้ามเนื้อ และต่อมฮอร์โมนทำงานน้อยลง เพื่อลดความร้อน เหตุนี้เองเราสามารถใช้ความร้อนเย็นของน้ำที่มากระทบผิวกาย ออกคำสั่งไปยังอวัยวะต่างๆ ให้ปรับการทำงานสู่สมดุล

เมื่อเราถูกความเย็นระยะแรก เส้นเลือดผิวกายหดตัว ผิวหนังซีด ขนลุก รู้สึกหนาว เจ็บสะท้าน ชีพจรเต้นเร็ว แต่เมื่อออกจากความเย็นระยะหนึ่ง จะเกิดปฎิกริยาตรงกันข้ามคือ เส้นเลือดขยายตัว ผิวหนังแดง หยุดขนลุก รู้สึกอุ่น และผ่อนคลายสบาย

เมื่อถูกความร้อนระยะแรก เส้นเลือดขยายตัว ผิวแดง ชีพจรเต้นช้า เหงื่อออก ประสาทตื่นตัว กล้ามเนื้อกระฉับกระเฉง แต่เมื่อถูกความร้อนนานๆ ระยะหนึ่ง จะเกิดผลคือ เส้นเลือดที่ขยายตัว จะขยายต่อไปจนเกิดอาการคั่งเลือด ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อไม่ออก เกิดกระวนกระวาย ประสาทอ่อนล้า ง่วงนอน ซึมเศร้า กล้ามเนื้อปวกเปียก อ่อนล้า และเงื่องหงอย

เราสามารถประยุกต์วารีบำบัดในชีวิตประจำวันได้คือ ถ้าจะอาบน้ำเพื่อความสดชื่น ให้ความเย็นแทนที่จะอาบน้ำร้อน เพราะถ้าอาบน้ำร้อนหรือแช่น้ำร้อนนานๆ จะมีผลทำให้เลือดคั่ง ประสาทอ่อนล้า กระวนกระวาย และง่วงเหงาซึมเซา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องของการถูกความร้อนนานๆ แต่อาบน้ำเย็นจะมีผลสืบเนื่องทำให้อบอุ่น สดชื่น และสบายตัว การอาบน้ำร้อนควรทำกรณีเดียวคือ เมื่ออาบน้ำแล้วเข้านอน เพราะผลของความร้อนจะทำให้นอนหลับ

ขณะเดียวกันการอบสมุนไพร หรืออบซาวน่า ซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งที่หาปฏิบัติได้ไม่ยากนัก ที่ถูกหลักจะต้องใช้การอบร้อนสลับเย็น เช่น อบซาวน่าให้อบร้อน 3 นาที แล้วลงบ่อในน้ำเย็น หรือรดน้ำฝักบัวน้ำเย็นสัก 2 นาที สลับกัน 3 รอบ ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นการปรับสมดุลของอวัยวะภายในใหม่ ช่วยให้หัวใจ ปอด ตับ ไต ต่อมฮอร์โมน และภูมิต้านทานทำงานเป็นปกติ การอบร้อนสลับเย็นยังมีผลช่วยลดความอ้วนในทางอ้อม เพราะสาเหตุของความอ้วนมีปัจจัยหนึ่งคือ ระบบฮอร์โมนชนิดเสริมสร้าง ( Anabolic hormone) และฮอร์โมนชนิดสลาย ( Catabolic hormone) ทำงานไม่ได้สมดุลกัน เมื่ออบซาวน่าจะช่วยให้ฮอร์โมนทั้ง 2 กลุ่มนี้ปรับตัวทำงานเสียใหม่

การอบซาวน่าและสมุนไพรที่ถูกวิธีต้องอบร้อนสลับเย็นเสมอ โดยอบร้อน 3 นาที สลับเย็น 2 นาที จำนวน 3 รอบ ส่วนอบสมุนไพร 10 นาที อาบน้ำเย็นแล้วอบใหม่ 3 รอบเช่นเดียวกัน การอบร้อนอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ เป็นอันตรายต่อร่างกายทำให้หน้ามืด เป็นลม หัวใจขาดเลือดหากอยู่นานเกินไปหมดสติ เป็นอันตรายต่อชีวิต

ผลของซาวน่า

1.  ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ที่เย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยงเป็นระยะๆ เป็นการลดการอักเสบ หรือโรคภายใน

2.  เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง

3.  ไขมันพอกตับ พอกไตจะหายไป

4.  ความร้อนเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว

5.  ให้ความรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย

-  คนที่เป็นโรคหัวใจ เป็นโรคความดันสูง หรือต่ำมาก ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียมากไม่ควรเข้าห้องอบซาวน่า

ประสบการณ์ในการรักษา

ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวีในการทำวารีบำบัด มีประโยชน์มากในการเสริมภูมิต้านทานและปรับภูมิต้านทาน เช่นภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิต้านทานไวเกิน เช่น SLE รูมาตอยด์ และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเสริมรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

นอกจากนี้ประโยชน์ของการออกกำลังกายในน้ำหรือ ไฮโดรแอโรบิค จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ปวดข้อ ปวดเข่า เพราะเมื่ออยู่ในน้ำจะมีแรงพยุงตัวทำให้น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 30% ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จะใช้การฝังเข็มประกอบการเดินในน้ำ สตรีมีครรภ์ก็จะคลอดได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ควรปฏิบัติร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การอดเพื่อสุขภาพ การฝึกจิตลดความเครียด การฝึกโยคะ ชี่กง แล้วแต่กรณี

อาบแสงตะวัน

อาบแสงตะวันเป็นศิลป์และศาสตร์ที่ตกทอดมากว่า 5000 ปี ของอายุรเวท เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เสริมสร้างความอ่อนเยาว์แก่ร่างกายได้ เรารู้ว่าในแสงตะวันมีทั้งหมด 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง นั่นคือคลื่นแสงส่วนที่เรามองเห็นได้ด้วยตา ยังมีรังสีอื่น ๆ ที่ตาเรามองไม่เห็น แต่เกิดผลแก่ร่างกายได้ เช่น รังสีอัลตร้าไวโอเลต ซึ่งมีคลื่นความถี่สูงมาก มีอำนาจทะลุทะลวง ทำให้เกิดอันตรายกับเซลล์ของเรา ส่วนอีกรังสีหนึ่งคือ อินฟราเรด มีคลื่นความถี่ต่ำให้ความร้อนแรง ซึ่งก็ไม่เป็นประโยชน์แก่สุขภาพ เรารู้อีกว่า คลื่นแสงสีเขียว ซึ่งเป็นคลื่นตรงกลางเป็นคลื่นที่อำนวยความมีชีวากับเซลล์ร่างกายได้

ในระหว่างที่อาบแสงตะวัน แสงทั้ง 7 สีจะถูกใบตองสีเขียวกรองไว้ เหลือเพียงสีเขียวเท่านั้นที่ใบตองจะปล่อยให้ลอดลงกระทบผิวกายของเรา สีดังกล่าวเป็นสีที่จรรโลงชีวิต จะเกิดผลให้เซลล์ร่างกายทั้งหมดเกิดความกระปรี้กระเปร่า สดชื่น มีชีวิตชีวาเหงื่ออกทำให้รู้สึกสบายตัว

ประโยชน์ของการประคบร้อน เย็น

-  ปวดที่ไหน บวมที่ไหน ให้เริ่มประคบด้วยน้ำร้อน 3 นาที  และประคบด้วยน้ำเย็น 3 นาทีทำทั้งหมด 3 รอบ ยกเว้นการปวดศีรษะ ต้องใช้การนวด

การออกกำลังกายในน้ำ

-  แรงลอยตัวของน้ำทำให้ยกตัวเราขึ้นและช่วยลดน้ำหนักตัวได้ถึง 70%

-  เหมาะกับคนน้ำหนักตัวมาก

-  ผู้สูงอายุ

-  มีปัญหาทางสมอง

ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่

-  ระบบกระดูกและข้อ : ข้อเสื่อม ข้อติด

-  ระบบกล้ามเนื้อ:ปวดกล้ามเนื้อ

-  ระบบผิวหนัง: ผื่นคัน เรื้อนกวาง สิว

-  ระบบไหลเวียน: มือเท้าเย็น เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำ โรคหัวใจ

-  ระบบฮอร์โมน : ปวดประจำเดือน

 


เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากๆ ค่ะ

ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

หัวข้อ กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

โดย   ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

15 พฤษภาคม 2556

อ.พงษ์ชัย: เปิดเสรีอาเซียนวันที่ 31 ธันวาคม 2558

ปัจจัยสำคัญของศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยที่สำคัญในปัจจุบันและอนาคต

- ภาวะโลกร้อน

- วิกฤติพลังงาน

- ประชาคมอาเซียน  มี 3 เสา เรื่องเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเรื่องความมั่นคงทางทหาร

- ขาดแคลนทรัพยากร

Toll logistics เป็นบริษัทออสเตรเลีย แต่ Take over มาจากสิงคโปร์

อาเซียน แบ่งเป็นอาเซียนบก คือ ไทย และทะเล  คือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโด

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน C L M V เป็นประเทศที่เพิ่งจะพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนประเทศไทย อินโด ฟิลิปปินส์ ถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

ประเทศที่ค่าแรงถูก คือ เวียดนาม

เป้าหมาย AEC

1.  เปิดเสรีการลงทุน

2.  เปิดเสรีการค้าสินค้า

3.  เปิดเสรีการค้าบริการ

4.  การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ

5.  เปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน

กฟผ.กับอาเซียน

1.  เรื่องเชื้อเพลิง ลม น้ำ ชีวมวล น้ำมัน แสงอาทิตย์

2.  พม่า อินโด ลาว กัมพูชา ออสเตรเลีย  

3.  CP all กับ แมคโคร ใครได้ประโยชน์  CPF ได้ประโยชน์ในการกระจายสินค้า

4.  จุดแข็ง คือ

-   ทำเลที่ตั้ง ไทยได้เปรียบมาก เพราะอยู่ตรงบก

-  สายส่ง

-  ความสามารถในการผลิตเอทานอล และไบโอดีเซล

อ.ไกรฤทธิ์: ต้องทำให้ EGAT มีpower need of modern people ของอาเซียน

1. single window ต้องเอาแนวร่วมทั้งไทยและต่างประเทศมาทั้งหมด รวมทั้งปตท. และแหล่งต้นน้ำด้วย

2. good school of project  management  ใครที่อยู่ในอาเซียนมาเรียนก็ได้

3. ให้ยืมผู้จัดการ หรือ Export คน ออกไปอาเซียน

4. เลือกประเทศชายแดน ที่เราจะขายและพึ่งพาเขาได้

5. ต้องเป็น Good host ไม่ต้องคิดเงินกับพวก VIP ที่มาเมืองไทย  เพื่อสร้าง trust ให้เกิดในอาเซียน และในประเทศไทยด้วยกัน

- แบ่งปันไฟ

- เป็นลูกค้า

อยากทราบว่าใน EGAT มีการเตรียมการเรื่อง AEC หรือยังไม่มีอย่างไรบ้าง

คุณราณี: เรื่องความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องถ่านหินจากประเทศออสเตรเลีย

คุณภูวดา: เรื่องอาเซียน EGAT มีบริษัทเครือมาก แต่ในอดีตบริษัทลูกแย่งงานกันเอง ถ้าเรารู้ว่าปี 2558 จะเปิดอาเซียน กฟผ.ต้องดูว่า จะแบ่งกันอย่างไร

บริษัท EGCO ก็มีบริษัทลูกอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้นต้องแบ่งทุกอย่างให้ลงตัว

คุณมานิจย์: เห็นด้วยเรี่องtrust ที่ต้องสร้างให้เกิดในอาเซียน

อ.จีระ: เรื่องสร้างtrust EGAT ต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์  แต่ประเทศไทยล้มเหลวในการที่ดูประสบการณ์จากประเทศที่เคยทำมา

ต้องมอง ASEAN ให้เป็น Holistic และต้องอ่าน ASEAN Blueprint เรื่องพลังงานให้ดี


ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.

(วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Stakeholder)

โดย   ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

15 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง

ศ.ดร.จีระ: การจัดการกับความไม่แน่นอน องค์กรเป็นsilo และเป็นวิศวกรเป็นส่วนใหญ่จึงต้องปรับไปตามสถานการณ์ 

ผศ.ดร.พงษ์ชัย: ขอมองกฟผ.ทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้เสียภาษี และ ผู้ลงทุน

เมื่อดูการผลิตไฟฟ้า ผลิต 46% มีการนำเข้ายังน้อยอยู่ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในงาของการผลิต ต้องตั้งคำถามว่าใครโตมากกว่ากัน คำถามต่อไปคือ สัดส่วนในอนาคตเป็นอย่างไร 

ในระยะยาว การผลิตของกฟผ.น่าจะลดลง กำลังการผลิต ปี 2555 10,000เมกกะวัตต์

เงินที่ลงไปใน egco มีเพียง 25%

  การผลิตและซื้อพลังงานไฟฟ้า

  กำลังการผลิต 46% การใช้ไฟ 44%

  การใช้เชื้อเพลิงกฟผ.

-  น้ำ 4%

-  ก๊าซธรรมชาติ 67.56%

-  ลม 1.6%

การจำหน่ายไฟ

ส่วนใหญ่ขายให้ในประเทศ ส่วนมากคือ กฟน. รองลงมา คือ กฟภ  แต่ขายไฟให้ประเทศเพื่อนบ้านยังน้อยอยู่

  กฟผ. มีบริษัทลูกคือ EGCO 25.4% โรงไฟฟ้าราชบุรี 45% 

  กฟผ.ต้องมีสัดส่วนการถือโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

  ศ.ดร.จีระ: ดร.พงษ์ชัยได้นำเอา ตัว Vทั้ง 2 ตัวมาใช้คือ Value added และเกิดvalue creation

  ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์: วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. กฟผ.มีวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่ก็ได้มีการพัฒนาการ  การสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียมาโดยลำดับจากการเน้นสร้างเขื่อน และโรงงานผลิตไฟฟ้ามาเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจร ตั้งแต่พลังงานต้นน้ำ การผลิตไฟฟ้าทางเลือกต่าง ๆ ตลอดจนถึงการวางสายส่งระดับต่าง ๆ จนถึงการบริการร่วมกับการไฟฟ้าอื่น ๆ รวมทั้งผู้ผลิตภาคเอกชนมาโดยลำดับ

1. ประเด็นแรก Supply side ต้องให้ค่าไฟถูกที่สุด  คือมี cost advantage

2. มีสัญญาต่อลูกค้าปลายน้ำของกฟผ. ต้องผูกมัดให้นานที่สุด

กฟผ.ในอนาคตควรมีแผงโซล่าร์เซลล์

3. สายส่งสำคัญมาก ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าอาจจะเป็น wireless

กำไรการไฟฟ้าในอนาคตมาจากสายส่ง

4. ต้องมี Source of fund เอง

- เข้าตลาดหุ้น เช่น ขายหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเป็นศูนย์ ต้องลงทุนโดยเอาเงินจากตลาดหุ้น ได้เงินแล้วค่อยใช้หนี้

- ซื้อบิ๊กซี  เหมือนที่ CP ซื้อแมคโคร  

5. ลงทุนกับธนาคารต่างประเทศ

6. เขื่อนสาละวิน

ประเด็นท้าทายของกฟผ.

1. เกี่ยวกับต้นทุนและการลงทุน ผู้รู้ส่วนใหญ่ทางด้านพลังงานและปรากฏการที่เป็นจริงได้แสดงชัดแจ้งว่า ยุคพลังงานราคาถูกได้ผ่านพ้นไปแล้ว อนาคตต่อจากนี้ไปพลเมืองของโลกจะต้องใช้ไฟราคาแพงอันเกิดจากต้นทุนการผลิต ถ้าพลังงานต้นน้ำและค่าใช้จ่ายในการนำส่งไฟถึงผู้บริโภค รวมทั้งการบริหารตลอดเส้นทาง Value Chain

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนมากขึ้นในระดับนโยบายและหัวหน้าปฏิบัติการ และตัวแสวงหาโอกาสอย่างจริงจัง ในการร่วมมือด้านการเงินกับเพื่อนบ้านและภาคธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้า

  2. ประเด็นวัตถุดิบต้นน้ำ กฟผ.ในอนาคตจะมีทางเลือกวัตถุดิบมากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดในวัตถุดิบแต่ละตัว ที่ต้องการการวิจัยและพัฒนาเป็นตัว ๆ ไป เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะต้องมีวิธีบริหารจัดการผู้ได้ผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างมีสมรรถภาพสูง

  ประเด็นท้าทาย มีโอกาสการทำงานวิจัยพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและประเทศเพื่อบ้านในอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ที่จะเป็นแหล่งพลังงานต้นทางในอนาคตได้

  3. มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนพื้นที่ เรื่องนี้อยู่ที่การพัฒนาการประชาสัมพันธ์และผลกระทบบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง เพื่อการสื่อสารสาธารณะอย่างได้ผล

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.มีผลงานและต้นแบบที่ดีอยู่แล้วที่แม่เมาะและในท้องถิ่นอื่นที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ทั้งนี้น่าจะได้หาโอกาสการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและชุดความรู้ในเรื่องนี้จนสามารถขายและแบ่งปันให้ประเทศในอาเซียนได้ในอนาคต

  4. การทำนายปริมาณใช้ไฟได้ยากขึ้น ปรากฏการณ์ในไม่กี่ปีมานี้แสดงให้เห็นว่าการพยากรณ์การใช้ไฟทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานมีความยุ่งยากขึ้น ในแง่อัตราการเจริญเติบโตและความต้องการอย่างฉับพลัน ทั้งตามฤดูกาลในระหว่างเดือนและในระหว่างวัน

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.ต้องมีวิธีพัฒนากลไกในการตอบสนองความต้องการฉับพลันและการขาดเชื้อเพลิงต้นน้ำฉับพลัน เช่น การปิดซ่อมบำรุงท่อแก๊ซของพม่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดังนั้นภาคีผู้ผลิตและแนวร่วม ของทั้งเอกชนและเพื่อนบ้าน เพื่อรักษาขีดความสามารถการผลิตโดยองค์รวม ที่ตอบสนองอุปสงค์และการคาดเดายากได้อย่างทันการ

  5. การผลิตไฟฟ้าทางเลือก นอกจากเป็นการสำรวจเพื่อได้ส่วนผสมของแหล่งผลิตไฟฟ้านานาชนิดแล้ว ยังเป็นการได้ความจริงสำหรับแผนเผื่ออีกด้วย

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.จะต้องมีข้อมูลและการเตรียมพร้อมเรื่องพลังงานทางเลือก ไว้ให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานไฟฟ้าสะอาดตั้งแต่ ลม แสงแดด ความร้อนใต้ดินและโรงไฟฟ้านิวเคลีย ทั้งนี้โดยไม่มองข้ามแหล่งผลิตไฟฟ้าระดับชุมชน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากเชิงชีวะภาพ เป็นต้น

  6. การรับมือการแข่งขัน หน่วยการผลิตไฟฟ้าระดับต่าง ๆ เป็นทั้งคู่แข่งและภาคีร่วมผลิตของ กฟผ.เอง ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์กำหนดความสัมพันธ์ที่สมดุล

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.ควรเป็นตัวนำในการริเริ่มและส่งเสริมให้เกิดหน่วยผลิตไฟฟ้านานาชนิด ตั้งแต่ผลพลอยได้ที่บ้าน ที่โรงงานและจากโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งในและนอกประเทศ โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีเอกภาพ

  7. ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย นับวันที่กฟผ.เจริญเติบโตขึ้นก็จะมีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว ตั้งแต่การขโมยชิ้นส่วนและสายส่งไปขาย จนถึงระดับวินาศภัยและการก่อการร้าย

  ประเด็นท้าทาย  ปัจจุบันกฟผ.มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้ ในเชิงรับมือค่อนข้างดี แต่น่าจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาคล้ายคลึงเชิงรุกมากขึ้น และในระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีประสบการณ์ ซึ่งในอนาคต กฟผ.สามารถเป็นศูนย์กลางรวบรวมประสบการณ์ด้านนี้เพื่อแบ่งปันและขายได้ด้วย

  8. ประเด็นนโยบายภาครัฐและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ กฟผ.ควรมีการประมาณการสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ไปพร้อมกันกับทางหนีทีไล่หลาย ๆ ทางตั้งแต่ของบอร์ดขึ้นไปในแต่ละช่วงเวลาในอนาคต ทั้งนี้รวมทั้งการพร้อมเป็นผู้นำด้านธรรมาภิบาล เป็นต้น

  ประเด็นท้าทาย  กฟผ.สามารถริเริ่มด้วยจัดการความรู้คือ การแลกเปลี่ยนและสะสมประสบการณ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงานและมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนหรือจัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตไฟฟ้า ให้ทันกับความต้องการของ กฟผ.

  9. รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC กฟผ.ในอนาคตอาจมีทางเลือก Business Models ที่ต่างกันกับปัจจุบันไปได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จะเน้นผลิตไฟฟ้ามหภาคอย่างเดียวหรืจะรวมกันกับการไฟฟ้าอื่น ๆ ทางเลือกทางด้านการจัดจำหน่าย รวมทั้งการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ร่วมทุนภาคีเครือข่ายในอาเซียน เพื่อให้เป็นเอกภาพและความทันสมัยขององค์กรเพื่อตอบสนองกับความต้องการไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งควรจะทำอย่างเร่งด่วน เพราะตอนนี้ทั้งสิงคโปร์และมาเลเซีย ก็ทำแล้ว

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.น่าจะได้มีการรวบรวม Models ต่าง ๆ ของหน่วยผลิตไฟฟ้าในส่วนต่าง ๆ ของโลกมาไว้เป็นทางเลือกและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่พร้อมลงมือดำเนินการ ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมและความต้องการที่เปลี่ยนไป เช่น ASEAN Grid บริษัทร่วมผลิตไฟฟ้า ASEAN รวมทั้งกระบวนการทำธุรกิจสัมพันธ์กับสังคมในรูปแบบต่าง ๆ โดยเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์อยู่ก่อนแล้ว

  10.โอกาสในการทำธุรกิจอื่นๆนอกจากการผลิตและการจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแล้วประสบการณ์ Know-how และทรัพยากรของ กฟผ.ยังสะสมไว้ไม่น้อย ในการลงทุนทำธุรกิจพลังงานอื่น ๆ

ประเด็นท้าทาย กฟผ.ยังมีโอกาสสร้างรายได้เสริมจากการจัดการพลังงานชนิดต่าง ๆ การจัดการน้ำและชลประทาน การทำธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคม โดยอาศัยสายส่งในเครือข่าย การให้เช่าสินทรัพย์และสิทธิในที่ดินตามแนวสายไฟแรงสูง เป็นต้น

  ตัวอย่างที่เริ่มปรากฏเป็นโอกาสธุรกิจ ถนนและรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนทรัพย์สินทางปัญญามากมายด้านบริหารจัดการองค์กรขนาดใหญ่ และการบริหารการลงทุน ตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จนถึงธุรกิจปลายน้ำต่าง ๆ ที่มีต้นแบบอยู่แล้วในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงกว่าไทย ซึ่ง กฟผ.ไปศึกษาหาความรู้จนเป็นผู้นำการบริหารจัดการด้านนี้ได้เป็นอย่างดี

  ศ.ดร.จีระ: ได้ประเด็นจากอ.พงษ์ชัย และอ.ไกรฤทธิ์หลายประเด็น  ข้อสรุปที่เกิดขึ้นในช่วงเช้า เป็นเรื่องที่ท้ายของรุ่น 9 ที่ต้องทำต่อ และต้องทำ Pre-planning รุ่น 10  เรื่องการเข้าตลาดหุ้นควรจะเข้าไปแบบutilize

  วัฒนธรรมของกฟผ.ต้องยอมรับว่าแข้มแข็งมาก หลังจากวันนี้ลูกศิษย์กฟผ. 9 ต้องมองอนาคต 

  กฟผ.ควรเน้น ให้แต่ละคนมี sense of business ว่าการ utilize asset ทำอย่างไร  และทำอย่างไรให้ดึงศักยภาพของตัวเราออกมาให้ได้มากที่สุด

  กฟผ.ยังมีปัญหากับการเข้าไปในชุมชน ต้องมีการทำโฆษณาเน้นสื่อด้วย

   Entrepreneurship คืออะไรต้องทราบด้วย และเน้นเรื่อง Business acumen

กลุ่ม 4 EGATi  พม่า เขมร ลาว ยังเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งต้องดูวัฒนธรรมด้วย เรื่องเงินใต้โต๊ะ เป็นจุดอ่อนที่กฟผ.ทำไม่ได้

อ.พงษ์ชัย:  ภาษีประชาชนหากได้เอามา ทำไมถึงเรียกตัวเองว่ารัฐวิสาหกิจ

สัญญา IPP ถึงจะผลิตหรือไม่ผลิตก็ต้องจ่ายเช่นกัน บริษัทเอกชนต้องเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น  

หากเทมาเซก ซื้อบริษัทราชบุรี หรือ egco ในสัดส่วนที่เราไม่ซื้อ ก็จะเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างง่ายดาย

การที่เข้าลงทุนในลาวช้า เห็นว่าองค์กรเราถึงแม้ตั้ง EGAT I ก็มีแต่โครงการศึกษา แต่ไม่ได้ดูในเชิงลึก ทำให้สู้ในภาคเอกชนไม่ได้ ต่างจากช การช่างที่ได้สิทธิ์จากทวาย

หากไม่มีเงิน แล้วไปขอรัฐบาลก็ทำไม่ได้

คุณพีรพล: กฟผ.เป็นผู้ผลิตอยู่ตลอด ขอแชร์เรื่องประเด็นต่างๆเรื่องที่อ.พงษ์ชัยพูดเรื่องข้อมูลผู้ใช้ไฟ ผู้ลงทุน ผู้เสียภาษี

1.  สิ่งต่างๆขอย้อนไปที่หน้าที่ของกฟผ. ซึ่งจัดหา ผลิต จำหน่ายไฟฟ้าให้กฟภ. กฟน. ซึ่งจริงๆแล้วกฟผ. ต้องเป็นผู้ผลิตเท่านั้น และมีเอกชน 50%  ต้องมองกลับไปที่รัฐบาลเช่นกันว่าทำไมให้สัดส่วนเท่านี้  เพราะฉะนั้นจริงๆอยากผลิต 100%แต่เราทำไม่ได้ หน้าที่จึงต้องจัดหาจากเอกชน ต่างประเทศด้วย 

  กฟผ.จะไปขายประเทศอื่นก็ลำบาก เพราะในประเทศก็ยังไม่พอใช้

2.  เรื่องเชื่อเพลิง พลังน้ำ แต่ไม่ได้ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องชลประทาน แต่ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้  

3.  แสงอาทิตย์ ผลิตได้เฉพาะกลางวัน

4.  ชีวมวล ต่อต้านที่บ้านจาน เพชรบุรี

5.  ถ่านหิน ก็โดนคัดค้านที่กระบี่

6.  เรื่องแหล่งเงินทุน แต่ไม่เอื้อในด้านพรบ. EGATiอยู่ภายใต้รัฐวิสาหกิจ  ในภาคธุรกิจต้องเน้นความรวดเร็ว

-  กฟผ. ตั้งปี 12 รัฐบาลให้ 4หมื่นล้าน สิ่งที่ทำได้มีผลกำไร ก็ส่งไปรัฐบาล 45% กฟผ.ต้องมีการกู้เงิน แหล่งเงินที่ลงทุนไม่มีปัญหาแต่ติดหนี้สาธารณะ ถ้ามองเรื่องการลงทุนบริษัทต่างๆก็ไม่สามารถที่จะตั้งได้

-  รัฐบาลต้องคุม EGATiให้ลงทุนเฉพาะต่างประเทศเท่านั้น

อ.ไกรฤทธิ์: อยากให้ HR บ่มเพราะ General manager  และควรเป็น Strategic department และคนที่อยู่ต้องเป็น KM

Source of information กับประเทศลาว ต้องเข้าไปดูข้อมูลลึกทางรัฐบาลให้ได้ ต้องมี Lobby yeast  มากๆ ส่วนเรื่องเงิน EGAT ขาดเรื่องแหล่งเงินทุน

คุณสุวิทย์: ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป อดีตกฟผ.ยิ่งใหญ่มาก ปัจจุบัน ถูกควบคุมโดยสำนักงานเรื่องสายส่งต้องขออนุญาต regulator

-  การสร้างโรงไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับนักการเมือง

-  นโยบายด้านเชื้อเพลิงไม่ถูกต้อง

-  การประมูลไฟฟ้ารอบใหม่ เป็นก๊าซหมด นำเข้า 40% และให้ regulator เป็นคนพิจารณา

-  เรื่องrenew  มีชาวบ้านร้องเรียน มีบรรษัทโซลาร์ฟาร์มซื้อที่ดินซื้อที่ล้อมชาวนา ทำให้ทำนาไม่ได้ เป็นที่ดินเก่า 300 ปี ซื้อ 2,000 ไร่ ขอให้บริษัททำทางให้ออก  แต่บริษัทบอกทำอะไรไม่ได้ ต้องเข้าที่ประชุม

อ.จีระ: Session นี้เป็นนวัตกรรมใหม่ของรุ่นที่ 9  เป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับทุกๆคน ต้องหาโอกาสที่จะเพิ่มประเด็น 2Vขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย

กลุ่ม 6 การคิดนอกกรอบที่จะอยู่ในเกมส์รุก ขอคำแนะนำจากท่านวิทยากรในมุมของรัฐวิสาหกิจ

อ.ไกรฤทธิ์: หลังเกษียณอายุมาทำ NGO พบว่า อย่างแรกคือ วัฒนธรรมของ NGO สอง คือ บุคลิกขององค์กรต่างกัน

สิ่งแรกคือ ต้องศึกษาวัฒนธรรม ต่อมา คือ ต้องcommand&control 

ในอนาคต EGATไม่สามารถทำนายได้ ต้องทำไปและปรับตัวไปด้วย ต้องเชื่อมั่นในเรื่องของการพัฒนาตัวเอง

สุดท้าย ทัศนคติของวงการราชการคือ ไม่มีงบคิดไม่ออก แต่ NGO ไอเดียดึงเงิน

โครงสร้างขององค์กร economies of scale แต่ NGO เป็นeconomies of scope

อ.พงษ์ชัย: องค์กรที่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีคนสนใจกระทรวงการคลังเรียกว่าเป็นกระทรวงชั้นเลวร้าย เช่น องค์การพัสดุ เพราะmarket share สู้ของเอกชนไม่ได้

กรณีศึกษาไปรษณีย์ไทย ธุรกิจโทรเลข กระทรวงคมนาคมไม่เอา กลายเป็นธุรกิจที่ไม่มีใครอยากได้

ธุรกิจของโรงงานยาสูบ มีชาวไร่เป็นแสนครอบครัว แต่นึกไม่ออกว่ากฟผ.มี Stakeholderเป็นคนระดับรากหญ้ามากน้อยเพียงใด

เขื่อน ต้องใช้นวัตกรรมที่ใช้ผิวน้ำเพื่อวางแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นวิธีการคิดนอกกรอบ

กลุ่ม 3 เรื่องกาทำโซล่าร์เซลล์ ระยะการคืนทุนตก 8-10 ปี แต่อายุตัวเซลล์ใช้ได้ถึง 25 ปี ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มมาก  ส่วนหนึ่งจะได้เรื่องคาร์บอนเครดิตด้วย

กลุ่ม 6 ถ้าได้ Adder การไฟฟ้าก็ควรจะทำ แต่โซลาร์เซลล์ผลิตที่จีน กระบวนการที่ได้ต้องจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมสูง  เพราะสิ่งที่ออกมาจะเป็นพวกซิลิกา ถ้าจะทำจริงๆ ต้องมีเรื่องการจัดการเรื่องมลภาวะสูง

กลุ่ม 5 คุณสุทธิชัย  เคยอยู่ที่เขื่อนภูมิพล พื้นที่ในอ่างเก็บน้ำ เคยคิดที่จะทำธุรกิจโซลาร์ และคิดอีกหลายๆโครงการ เช่น เรื่องสนามบินน้ำ พื้นที่เหนือเขื่อนทำหลุมฝังศพชาวสิงคโปร์ แต่กรรมสิทธ์ที่กฟผ.ดูแลคือ พื้นที่รอบอ่าง เพราะพื้นที่รอบๆส่วนใหญ่เป็นอุทยาน ซึ่งเป็นของกรมป่าไม้ ล่าสุดเขื่อนศรีนครินทร์ คิดเรื่องร้านอาหารสนามกอล์ฟ แต่ตอนหลังติดเรื่องพรบ. แต่กรรมการกฟผ.ท่านใหม่คิดปรับปรุงที่พักร้านอาการสนามกอล์ฟ เริ่มปี 2557-2558

ศ.ดร.จีระ: การขึ้นไปเป็นผู้นำต้องบริหารกฎระเบียบให้ได้ และที่อันตรายที่สุดคือ กฎการเงิน

กลุ่ม 2: ทำอย่างไรให้องค์กรเป็นองค์กรชั้นเลิศที่ทำทุกอย่างแล้วมีประโยชน์ และบางครั้งต้องทำนอกกรอบ ที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตน

ศ.ดร.จีระ: โลกมีการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายต้องชัดเจนถึงจะอยู่รอด

อ.ไกรฤทธิ์:

1. ลองDefine ผู้นำในอนาคตของ EGAT อีก 10 ปีข้างหน้า

2.ลอง define คำว่า heroes ว่าจะเอาใครเป็นต้นแบบในแต่ละแผนก

3. ขอให้มีวันสำคัญของ EGAT ที่จะมาแลกเปลี่ยนถึงความดีซึ่งกันและกัน

ศ.ดร.จีระ:Leader ต้องproduce future leader  และต้องจัดการกับสิ่งที่คาดไม่ถึง 


ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.

(วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Stakeholder)

โดย   ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

15 พฤษภาคม 2556

ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง

ศ.ดร.จีระ: การจัดการกับความไม่แน่นอน องค์กรเป็นsilo และเป็นวิศวกรเป็นส่วนใหญ่จึงต้องปรับไปตามสถานการณ์ 

ผศ.ดร.พงษ์ชัย: ขอมองกฟผ.ทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้เสียภาษี และ ผู้ลงทุน

เมื่อดูการผลิตไฟฟ้า ผลิต 46% มีการนำเข้ายังน้อยอยู่ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในงาของการผลิต ต้องตั้งคำถามว่าใครโตมากกว่ากัน คำถามต่อไปคือ สัดส่วนในอนาคตเป็นอย่างไร 

ในระยะยาว การผลิตของกฟผ.น่าจะลดลง กำลังการผลิต ปี 2555 10,000เมกกะวัตต์

เงินที่ลงไปใน egco มีเพียง 25%

  การผลิตและซื้อพลังงานไฟฟ้า

  กำลังการผลิต 46% การใช้ไฟ 44%

  การใช้เชื้อเพลิงกฟผ.

-  น้ำ 4%

-  ก๊าซธรรมชาติ 67.56%

-  ลม 1.6%

การจำหน่ายไฟ

ส่วนใหญ่ขายให้ในประเทศ ส่วนมากคือ กฟน. รองลงมา คือ กฟภ  แต่ขายไฟให้ประเทศเพื่อนบ้านยังน้อยอยู่

  กฟผ. มีบริษัทลูกคือ EGCO 25.4% โรงไฟฟ้าราชบุรี 45% 

  กฟผ.ต้องมีสัดส่วนการถือโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

  ศ.ดร.จีระ: ดร.พงษ์ชัยได้นำเอา ตัว Vทั้ง 2 ตัวมาใช้คือ Value added และเกิดvalue creation

  ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์: วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. กฟผ.มีวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่ก็ได้มีการพัฒนาการ  การสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียมาโดยลำดับจากการเน้นสร้างเขื่อน และโรงงานผลิตไฟฟ้ามาเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจร ตั้งแต่พลังงานต้นน้ำ การผลิตไฟฟ้าทางเลือกต่าง ๆ ตลอดจนถึงการวางสายส่งระดับต่าง ๆ จนถึงการบริการร่วมกับการไฟฟ้าอื่น ๆ รวมทั้งผู้ผลิตภาคเอกชนมาโดยลำดับ

1. ประเด็นแรก Supply side ต้องให้ค่าไฟถูกที่สุด  คือมี cost advantage

2. มีสัญญาต่อลูกค้าปลายน้ำของกฟผ. ต้องผูกมัดให้นานที่สุด

กฟผ.ในอนาคตควรมีแผงโซล่าร์เซลล์

3. สายส่งสำคัญมาก ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าอาจจะเป็น wireless

กำไรการไฟฟ้าในอนาคตมาจากสายส่ง

4. ต้องมี Source of fund เอง

- เข้าตลาดหุ้น เช่น ขายหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเป็นศูนย์ ต้องลงทุนโดยเอาเงินจากตลาดหุ้น ได้เงินแล้วค่อยใช้หนี้

- ซื้อบิ๊กซี  เหมือนที่ CP ซื้อแมคโคร  

5. ลงทุนกับธนาคารต่างประเทศ

6. เขื่อนสาละวิน

ประเด็นท้าทายของกฟผ.

1. เกี่ยวกับต้นทุนและการลงทุน ผู้รู้ส่วนใหญ่ทางด้านพลังงานและปรากฏการที่เป็นจริงได้แสดงชัดแจ้งว่า ยุคพลังงานราคาถูกได้ผ่านพ้นไปแล้ว อนาคตต่อจากนี้ไปพลเมืองของโลกจะต้องใช้ไฟราคาแพงอันเกิดจากต้นทุนการผลิต ถ้าพลังงานต้นน้ำและค่าใช้จ่ายในการนำส่งไฟถึงผู้บริโภค รวมทั้งการบริหารตลอดเส้นทาง Value Chain

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนมากขึ้นในระดับนโยบายและหัวหน้าปฏิบัติการ และตัวแสวงหาโอกาสอย่างจริงจัง ในการร่วมมือด้านการเงินกับเพื่อนบ้านและภาคธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้า

  2. ประเด็นวัตถุดิบต้นน้ำ กฟผ.ในอนาคตจะมีทางเลือกวัตถุดิบมากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดในวัตถุดิบแต่ละตัว ที่ต้องการการวิจัยและพัฒนาเป็นตัว ๆ ไป เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะต้องมีวิธีบริหารจัดการผู้ได้ผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างมีสมรรถภาพสูง

  ประเด็นท้าทาย มีโอกาสการทำงานวิจัยพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและประเทศเพื่อบ้านในอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ที่จะเป็นแหล่งพลังงานต้นทางในอนาคตได้

  3. มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนพื้นที่ เรื่องนี้อยู่ที่การพัฒนาการประชาสัมพันธ์และผลกระทบบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง เพื่อการสื่อสารสาธารณะอย่างได้ผล

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.มีผลงานและต้นแบบที่ดีอยู่แล้วที่แม่เมาะและในท้องถิ่นอื่นที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ทั้งนี้น่าจะได้หาโอกาสการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญและชุดความรู้ในเรื่องนี้จนสามารถขายและแบ่งปันให้ประเทศในอาเซียนได้ในอนาคต

  4. การทำนายปริมาณใช้ไฟได้ยากขึ้น ปรากฏการณ์ในไม่กี่ปีมานี้แสดงให้เห็นว่าการพยากรณ์การใช้ไฟทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานมีความยุ่งยากขึ้น ในแง่อัตราการเจริญเติบโตและความต้องการอย่างฉับพลัน ทั้งตามฤดูกาลในระหว่างเดือนและในระหว่างวัน

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.ต้องมีวิธีพัฒนากลไกในการตอบสนองความต้องการฉับพลันและการขาดเชื้อเพลิงต้นน้ำฉับพลัน เช่น การปิดซ่อมบำรุงท่อแก๊ซของพม่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดังนั้นภาคีผู้ผลิตและแนวร่วม ของทั้งเอกชนและเพื่อนบ้าน เพื่อรักษาขีดความสามารถการผลิตโดยองค์รวม ที่ตอบสนองอุปสงค์และการคาดเดายากได้อย่างทันการ

  5. การผลิตไฟฟ้าทางเลือก นอกจากเป็นการสำรวจเพื่อได้ส่วนผสมของแหล่งผลิตไฟฟ้านานาชนิดแล้ว ยังเป็นการได้ความจริงสำหรับแผนเผื่ออีกด้วย

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.จะต้องมีข้อมูลและการเตรียมพร้อมเรื่องพลังงานทางเลือก ไว้ให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานไฟฟ้าสะอาดตั้งแต่ ลม แสงแดด ความร้อนใต้ดินและโรงไฟฟ้านิวเคลีย ทั้งนี้โดยไม่มองข้ามแหล่งผลิตไฟฟ้าระดับชุมชน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากเชิงชีวะภาพ เป็นต้น

  6. การรับมือการแข่งขัน หน่วยการผลิตไฟฟ้าระดับต่าง ๆ เป็นทั้งคู่แข่งและภาคีร่วมผลิตของ กฟผ.เอง ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์กำหนดความสัมพันธ์ที่สมดุล

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.ควรเป็นตัวนำในการริเริ่มและส่งเสริมให้เกิดหน่วยผลิตไฟฟ้านานาชนิด ตั้งแต่ผลพลอยได้ที่บ้าน ที่โรงงานและจากโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งในและนอกประเทศ โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีเอกภาพ

  7. ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย นับวันที่กฟผ.เจริญเติบโตขึ้นก็จะมีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว ตั้งแต่การขโมยชิ้นส่วนและสายส่งไปขาย จนถึงระดับวินาศภัยและการก่อการร้าย

  ประเด็นท้าทาย  ปัจจุบันกฟผ.มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้ ในเชิงรับมือค่อนข้างดี แต่น่าจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาคล้ายคลึงเชิงรุกมากขึ้น และในระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีประสบการณ์ ซึ่งในอนาคต กฟผ.สามารถเป็นศูนย์กลางรวบรวมประสบการณ์ด้านนี้เพื่อแบ่งปันและขายได้ด้วย

  8. ประเด็นนโยบายภาครัฐและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ กฟผ.ควรมีการประมาณการสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ไปพร้อมกันกับทางหนีทีไล่หลาย ๆ ทางตั้งแต่ของบอร์ดขึ้นไปในแต่ละช่วงเวลาในอนาคต ทั้งนี้รวมทั้งการพร้อมเป็นผู้นำด้านธรรมาภิบาล เป็นต้น

  ประเด็นท้าทาย  กฟผ.สามารถริเริ่มด้วยจัดการความรู้คือ การแลกเปลี่ยนและสะสมประสบการณ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงานและมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนหรือจัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตไฟฟ้า ให้ทันกับความต้องการของ กฟผ.

  9. รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC กฟผ.ในอนาคตอาจมีทางเลือก Business Models ที่ต่างกันกับปัจจุบันไปได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จะเน้นผลิตไฟฟ้ามหภาคอย่างเดียวหรืจะรวมกันกับการไฟฟ้าอื่น ๆ ทางเลือกทางด้านการจัดจำหน่าย รวมทั้งการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ร่วมทุนภาคีเครือข่ายในอาเซียน เพื่อให้เป็นเอกภาพและความทันสมัยขององค์กรเพื่อตอบสนองกับความต้องการไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งควรจะทำอย่างเร่งด่วน เพราะตอนนี้ทั้งสิงคโปร์และมาเลเซีย ก็ทำแล้ว

  ประเด็นท้าทาย กฟผ.น่าจะได้มีการรวบรวม Models ต่าง ๆ ของหน่วยผลิตไฟฟ้าในส่วนต่าง ๆ ของโลกมาไว้เป็นทางเลือกและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่พร้อมลงมือดำเนินการ ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อมและความต้องการที่เปลี่ยนไป เช่น ASEAN Grid บริษัทร่วมผลิตไฟฟ้า ASEAN รวมทั้งกระบวนการทำธุรกิจสัมพันธ์กับสังคมในรูปแบบต่าง ๆ โดยเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์อยู่ก่อนแล้ว

  10.โอกาสในการทำธุรกิจอื่นๆนอกจากการผลิตและการจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแล้วประสบการณ์ Know-how และทรัพยากรของ กฟผ.ยังสะสมไว้ไม่น้อย ในการลงทุนทำธุรกิจพลังงานอื่น ๆ

ประเด็นท้าทาย กฟผ.ยังมีโอกาสสร้างรายได้เสริมจากการจัดการพลังงานชนิดต่าง ๆ การจัดการน้ำและชลประทาน การทำธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคม โดยอาศัยสายส่งในเครือข่าย การให้เช่าสินทรัพย์และสิทธิในที่ดินตามแนวสายไฟแรงสูง เป็นต้น

  ตัวอย่างที่เริ่มปรากฏเป็นโอกาสธุรกิจ ถนนและรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนทรัพย์สินทางปัญญามากมายด้านบริหารจัดการองค์กรขนาดใหญ่ และการบริหารการลงทุน ตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ จนถึงธุรกิจปลายน้ำต่าง ๆ ที่มีต้นแบบอยู่แล้วในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงกว่าไทย ซึ่ง กฟผ.ไปศึกษาหาความรู้จนเป็นผู้นำการบริหารจัดการด้านนี้ได้เป็นอย่างดี

  ศ.ดร.จีระ: ได้ประเด็นจากอ.พงษ์ชัย และอ.ไกรฤทธิ์หลายประเด็น  ข้อสรุปที่เกิดขึ้นในช่วงเช้า เป็นเรื่องที่ท้ายของรุ่น 9 ที่ต้องทำต่อ และต้องทำ Pre-planning รุ่น 10  เรื่องการเข้าตลาดหุ้นควรจะเข้าไปแบบutilize

  วัฒนธรรมของกฟผ.ต้องยอมรับว่าแข้มแข็งมาก หลังจากวันนี้ลูกศิษย์กฟผ. 9 ต้องมองอนาคต 

  กฟผ.ควรเน้น ให้แต่ละคนมี sense of business ว่าการ utilize asset ทำอย่างไร  และทำอย่างไรให้ดึงศักยภาพของตัวเราออกมาให้ได้มากที่สุด

  กฟผ.ยังมีปัญหากับการเข้าไปในชุมชน ต้องมีการทำโฆษณาเน้นสื่อด้วย

   Entrepreneurship คืออะไรต้องทราบด้วย และเน้นเรื่อง Business acumen

กลุ่ม 4 EGATi  พม่า เขมร ลาว ยังเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งต้องดูวัฒนธรรมด้วย เรื่องเงินใต้โต๊ะ เป็นจุดอ่อนที่กฟผ.ทำไม่ได้

อ.พงษ์ชัย:  ภาษีประชาชนหากได้เอามา ทำไมถึงเรียกตัวเองว่ารัฐวิสาหกิจ

สัญญา IPP ถึงจะผลิตหรือไม่ผลิตก็ต้องจ่ายเช่นกัน บริษัทเอกชนต้องเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น  

หากเทมาเซก ซื้อบริษัทราชบุรี หรือ egco ในสัดส่วนที่เราไม่ซื้อ ก็จะเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างง่ายดาย

การที่เข้าลงทุนในลาวช้า เห็นว่าองค์กรเราถึงแม้ตั้ง EGAT I ก็มีแต่โครงการศึกษา แต่ไม่ได้ดูในเชิงลึก ทำให้สู้ในภาคเอกชนไม่ได้ ต่างจากช การช่างที่ได้สิทธิ์จากทวาย

หากไม่มีเงิน แล้วไปขอรัฐบาลก็ทำไม่ได้

คุณพีรพล: กฟผ.เป็นผู้ผลิตอยู่ตลอด ขอแชร์เรื่องประเด็นต่างๆเรื่องที่อ.พงษ์ชัยพูดเรื่องข้อมูลผู้ใช้ไฟ ผู้ลงทุน ผู้เสียภาษี

1.  สิ่งต่างๆขอย้อนไปที่หน้าที่ของกฟผ. ซึ่งจัดหา ผลิต จำหน่ายไฟฟ้าให้กฟภ. กฟน. ซึ่งจริงๆแล้วกฟผ. ต้องเป็นผู้ผลิตเท่านั้น และมีเอกชน 50%  ต้องมองกลับไปที่รัฐบาลเช่นกันว่าทำไมให้สัดส่วนเท่านี้  เพราะฉะนั้นจริงๆอยากผลิต 100%แต่เราทำไม่ได้ หน้าที่จึงต้องจัดหาจากเอกชน ต่างประเทศด้วย 

  กฟผ.จะไปขายประเทศอื่นก็ลำบาก เพราะในประเทศก็ยังไม่พอใช้

2.  เรื่องเชื่อเพลิง พลังน้ำ แต่ไม่ได้ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องชลประทาน แต่ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้  

3.  แสงอาทิตย์ ผลิตได้เฉพาะกลางวัน

4.  ชีวมวล ต่อต้านที่บ้านจาน เพชรบุรี

5.  ถ่านหิน ก็โดนคัดค้านที่กระบี่

6.  เรื่องแหล่งเงินทุน แต่ไม่เอื้อในด้านพรบ. EGATiอยู่ภายใต้รัฐวิสาหกิจ  ในภาคธุรกิจต้องเน้นความรวดเร็ว

-  กฟผ. ตั้งปี 12 รัฐบาลให้ 4หมื่นล้าน สิ่งที่ทำได้มีผลกำไร ก็ส่งไปรัฐบาล 45% กฟผ.ต้องมีการกู้เงิน แหล่งเงินที่ลงทุนไม่มีปัญหาแต่ติดหนี้สาธารณะ ถ้ามองเรื่องการลงทุนบริษัทต่างๆก็ไม่สามารถที่จะตั้งได้

-  รัฐบาลต้องคุม EGATiให้ลงทุนเฉพาะต่างประเทศเท่านั้น

อ.ไกรฤทธิ์: อยากให้ HR บ่มเพราะ General manager  และควรเป็น Strategic department และคนที่อยู่ต้องเป็น KM

Source of information กับประเทศลาว ต้องเข้าไปดูข้อมูลลึกทางรัฐบาลให้ได้ ต้องมี Lobby yeast  มากๆ ส่วนเรื่องเงิน EGAT ขาดเรื่องแหล่งเงินทุน

คุณสุวิทย์: ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป อดีตกฟผ.ยิ่งใหญ่มาก ปัจจุบัน ถูกควบคุมโดยสำนักงานเรื่องสายส่งต้องขออนุญาต regulator

-  การสร้างโรงไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับนักการเมือง

-  นโยบายด้านเชื้อเพลิงไม่ถูกต้อง

-  การประมูลไฟฟ้ารอบใหม่ เป็นก๊าซหมด นำเข้า 40% และให้ regulator เป็นคนพิจารณา

-  เรื่องrenew  มีชาวบ้านร้องเรียน มีบรรษัทโซลาร์ฟาร์มซื้อที่ดินซื้อที่ล้อมชาวนา ทำให้ทำนาไม่ได้ เป็นที่ดินเก่า 300 ปี ซื้อ 2,000 ไร่ ขอให้บริษัททำทางให้ออก  แต่บริษัทบอกทำอะไรไม่ได้ ต้องเข้าที่ประชุม

อ.จีระ: Session นี้เป็นนวัตกรรมใหม่ของรุ่นที่ 9  เป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับทุกๆคน ต้องหาโอกาสที่จะเพิ่มประเด็น 2Vขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย

กลุ่ม 6 การคิดนอกกรอบที่จะอยู่ในเกมส์รุก ขอคำแนะนำจากท่านวิทยากรในมุมของรัฐวิสาหกิจ

อ.ไกรฤทธิ์: หลังเกษียณอายุมาทำ NGO พบว่า อย่างแรกคือ วัฒนธรรมของ NGO สอง คือ บุคลิกขององค์กรต่างกัน

สิ่งแรกคือ ต้องศึกษาวัฒนธรรม ต่อมา คือ ต้องcommand&control 

ในอนาคต EGATไม่สามารถทำนายได้ ต้องทำไปและปรับตัวไปด้วย ต้องเชื่อมั่นในเรื่องของการพัฒนาตัวเอง

สุดท้าย ทัศนคติของวงการราชการคือ ไม่มีงบคิดไม่ออก แต่ NGO ไอเดียดึงเงิน

โครงสร้างขององค์กร economies of scale แต่ NGO เป็นeconomies of scope

อ.พงษ์ชัย: องค์กรที่ไม่มีเจ้าของ ไม่มีคนสนใจกระทรวงการคลังเรียกว่าเป็นกระทรวงชั้นเลวร้าย เช่น องค์การพัสดุ เพราะmarket share สู้ของเอกชนไม่ได้

กรณีศึกษาไปรษณีย์ไทย ธุรกิจโทรเลข กระทรวงคมนาคมไม่เอา กลายเป็นธุรกิจที่ไม่มีใครอยากได้

ธุรกิจของโรงงานยาสูบ มีชาวไร่เป็นแสนครอบครัว แต่นึกไม่ออกว่ากฟผ.มี Stakeholderเป็นคนระดับรากหญ้ามากน้อยเพียงใด

เขื่อน ต้องใช้นวัตกรรมที่ใช้ผิวน้ำเพื่อวางแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นวิธีการคิดนอกกรอบ

กลุ่ม 3 เรื่องกาทำโซล่าร์เซลล์ ระยะการคืนทุนตก 8-10 ปี แต่อายุตัวเซลล์ใช้ได้ถึง 25 ปี ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มมาก  ส่วนหนึ่งจะได้เรื่องคาร์บอนเครดิตด้วย

กลุ่ม 6 ถ้าได้ Adder การไฟฟ้าก็ควรจะทำ แต่โซลาร์เซลล์ผลิตที่จีน กระบวนการที่ได้ต้องจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมสูง  เพราะสิ่งที่ออกมาจะเป็นพวกซิลิกา ถ้าจะทำจริงๆ ต้องมีเรื่องการจัดการเรื่องมลภาวะสูง

กลุ่ม 5 คุณสุทธิชัย  เคยอยู่ที่เขื่อนภูมิพล พื้นที่ในอ่างเก็บน้ำ เคยคิดที่จะทำธุรกิจโซลาร์ และคิดอีกหลายๆโครงการ เช่น เรื่องสนามบินน้ำ พื้นที่เหนือเขื่อนทำหลุมฝังศพชาวสิงคโปร์ แต่กรรมสิทธ์ที่กฟผ.ดูแลคือ พื้นที่รอบอ่าง เพราะพื้นที่รอบๆส่วนใหญ่เป็นอุทยาน ซึ่งเป็นของกรมป่าไม้ ล่าสุดเขื่อนศรีนครินทร์ คิดเรื่องร้านอาหารสนามกอล์ฟ แต่ตอนหลังติดเรื่องพรบ. แต่กรรมการกฟผ.ท่านใหม่คิดปรับปรุงที่พักร้านอาการสนามกอล์ฟ เริ่มปี 2557-2558

ศ.ดร.จีระ: การขึ้นไปเป็นผู้นำต้องบริหารกฎระเบียบให้ได้ และที่อันตรายที่สุดคือ กฎการเงิน

กลุ่ม 2: ทำอย่างไรให้องค์กรเป็นองค์กรชั้นเลิศที่ทำทุกอย่างแล้วมีประโยชน์ และบางครั้งต้องทำนอกกรอบ ที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตน

ศ.ดร.จีระ: โลกมีการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายต้องชัดเจนถึงจะอยู่รอด

อ.ไกรฤทธิ์:

1. ลองDefine ผู้นำในอนาคตของ EGAT อีก 10 ปีข้างหน้า

2.ลอง define คำว่า heroes ว่าจะเอาใครเป็นต้นแบบในแต่ละแผนก

3. ขอให้มีวันสำคัญของ EGAT ที่จะมาแลกเปลี่ยนถึงความดีซึ่งกันและกัน

ศ.ดร.จีระ:Leader ต้องproduce future leader  และต้องจัดการกับสิ่งที่คาดไม่ถึง 


สุทธิชัย จูประเสริฐพร

สุทธิชัย จูประเสริฐพร

สรุปบทความ

1.Creating mutual opportunities

China Daily Asia Weekly ฉบับประจำวันที่ 28 มีนาคม – 4 เมษายน 2556 ได้รายงานการเดินทางเยือนรัสเซียของประธานาธิบดี Xi Jinping (สี จิ้นผิง) ของจีน นับเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกหลังจากรับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2556 และได้พบกันประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่กรุงมอสโค ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยกล่าวว่ายุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว จากนี้ไปเป็นการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน เป็นการกล่าวภายหลังจากร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือกันเรื่องพลังงาน และข้อตกลงอื่น ๆ โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้กล่าวถึงการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศว่า ควรให้แต่ละประเทศแก้ปัญหาภายในด้วยตัวเอง ประเทศอื่นไม่ควรมีการเข้าไปแทรกแซง แต่ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เราต้องเคารพสิทธิของแต่ละประเทศในการกำหนดแนวทางพัฒนาของตัวเอง

 ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้พบกับนักศึกษาที่ Russian College เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้รับเชิญให้ไปเยือนสำนักงานป้องกันประเทศของรัสเซีย นับเป็นผู้นำระดับสูงของจีนคนแรกที่ได้รับเชิญ แสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือทางทหารในอนาคต ทั้งยังได้พบกับนายกรัฐมนตรี Dmity Medvedev. ด้วย

บทเรียนที่ได้จากบทความนี้เป็นเกี่ยวกับการเมือง ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและรัสเซีย

2. Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

 ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ไปเยือน Tanzania เป็นประเทศที่สอง ขณะนี้จีนกำลังเพิ่มความสัมพันธ์และให้ความสำคัญกับ Africa โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวว่า จีนจะให้ความช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง จีนได้ขยายความช่วยเหลือทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่นักศึกษาอัฟริกัน โดยการค้าระหว่างจีนกับ Africa มีมูลค่าถึง สองแสนล้านดอลล่าร์ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

บทเรียนที่ได้รับจากบทความนี้ คือการให้ความช่วยเหลือของจีนที่มีกับอัฟริกัน

3. Grouping on track to be ‘global force’

ในการประชุมกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 (ประกอบด้วยประเทศ Brazil Russia India China และ South Africa) ที่เมื่อ Durban ประเทศอัฟริกาใต้ ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งหวังในความร่วมมือที่มากขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจชลอตัว

BRICS ซี่งก่อตั้งมาประมาณ  5 ปี ยังอยู่ในขั้นพัฒนา และควรมุ่งไปที่การสร้างความผูกพันให้มากขึ้น การปรับปรุงคุณภาพชีวิตคน 3 พันล้านคนจะสร้างโอกาส ศักยภาพ จากการร่วมมือของ BRICS ขณะนี้การค้าระหว่าง 5 ประเทศ มีมูลค่าเพียง 1% ของโลก ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศให้นักลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีน. ในการประชุมได้มีการก่อตั้ง BRICS Business Council ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 5 ประเทศ ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ร่วมกันดำเนินการโดยไม่มีการตั้งผู้นำที่ถาวร ทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่า มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้า ที่ประชุมยังได้ตกลงร่วมกันที่จะจัดตั้ง BRICS new development bank ต่อไป

บทเรียนที่ได้รับจากการอ่านบทความนี้ คือ การรวมตัวกันร่วมมือทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศได้แก่ บราซิล ,รัสเซีย,อินเดีย,จีนและอัฟริกาใต้


ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

Learning Forum –Activities & Game Simulations

หัวข้อ EGAT LEADER & TEAMWORK

โดย  ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

16 พฤษภาคม 2556

คนเราถ้าเลือกสิ่งไหน ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก

อยากให้คนเราประสบความสำเร็จ และทีมมีความสำเร็จ ต้องเริ่มต้นที่

1.  ต้องเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำร่วมกันให้ได้

เช่น คุณค่าที่กฟผ.น่าจะเคลื่อนไป คือ วัฒนธรรมองค์กร ที่ควรค่าแก่การรักษา และปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย คือ ความรักองค์กร

กิจกรรม:

จงเขียนความสามารถ ความเก่ง ความเชียวชาญ พรสวรรค์ ความชำนาญของตนเอง

ให้เพื่อนเขียนความสามารถ ความเก่ง ความเชียวชาญ พรสวรรค์ ความชำนาญของคุณด้วยความปรารถนาดี

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ถ้าสิ่งที่เราเขียน และเพื่อนเขียน คือ ธาตุแท้ของเรา

ถ้าเราไม่เขียน แต่เพื่อนเขียน แสดงว่าเป็นสิ่งที่เราแสดงออกแต่เราไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราต้องมาจูนให้ตรงกัน

2.  เกิดแรงบันดาลใจ inspiration ที่อยากปรับตัว  และเกิดเป็นคุณค่าที่เห็นพ้องต้องกัน

3.  เกิดฝันที่มีอนาคต Imagination  แต่องค์กรที่อยู่มานานก็จะมีความฝันน้อย เพราะฉะนั้นต้องกลับไปสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆขึ้นมา

4.  คนทีมีความฝันแล้ว จะทำให้สำเร็จแล้วต้องมีแรงขับเคลื่อนแบบมีความเพียร ความอึด (Endurance) และ Capability

สรุป ความสำเร็จ ต้องหา Value ให้เจอ และมีความเพียร แล้วช่วยกันสร้างฝันให้ไปถึงเป้าหมาย

คุณค่าที่ปรากฏ

มีทั้งสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เขาเป็น

เมื่อเห็นคุณค่าของเราแล้ว ก็เอาคุณค่าไปใช้ในทีม ไปใช้ในงานก็ได้

ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต

-  Intelligence Quotient  ความฉลาดทางปัญญา  คนกลุ่มนี้ต้องให้เหตุผล ต้องมีความยุติธรรม  ต้องมีตัวชี้วัด และมีเงื่อนไขกำหนดร่วมกันที่ทุกคนยอมรับ

-  Emotional Quotient  ความฉลาดทางอารมณ์

-  Moral Quotient    คุณธรรม จริยธรรม

-  Survival Quotient  ความสามารถในการต่อสู้และเอาตัวรอด

บุคลิกภาพของคน

C นักทฤษฎี

ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียด  ไม่ชอบเสี่ยง

D นักผจญภัย

กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ

S นักปฏิบัติ

สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ  ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง

I นักกิจกรรม

ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน  ไม่สนใจเรื่องเวลา

เมื่อรู้บุคลิกภาพของคนในทีมแล้ว ให้เราเข้าใจธรรมชาติของคน และออกแบบวิธีการทำงานของคนๆนั้น และมีความเชื่อถือด้วย

คนทุกกลุ่มสามารถเป็นหัวหน้าทีมได้ แต่ต้องคำนึงถึงบุคลิกของคนด้วย

การสร้าง Team

เวลาทำงานคนเรามีกายและใจ เวลาอยู่ด้วยกัน กายและใจจะมีพลัง

เมื่อทำงานเป็นทีมเอาใจมาด้วยกัน จึงจะรองรับภาระงานได้  

หลักการทำงานเป็นทีม เป็นเรื่องของใจ ต้องเอาใจมาทำงานด้วยกัน  ต้องคำนึงถึงคุณค่าที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน (win win) ของการเป็นทีมคืออะไร

สิ่งที่ถูกต้อง คือ สิ่งที่เป็นจริงเสมอ (fact)  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึงเสมอ

เมื่อเราก้าวไปสู่ผู้บริหารต้องเปิดใจให้กว้าง  ยิ่งตำแหน่งสูงขึ้นเท่าไหร่ ความเป็นตัวตนก็ไม่เหลือ แต่ต้องทำยังไงให้ทุกใจเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวให้ได้

เมื่อใจกว้างแล้วต้องมีการสื่อสาร ทำให้ทุกองค์กรเคลื่อนไปได้ คุณค่าและความเพียรต้องปรับให้เหมือนกันให้ได้

กิจกรรม จงเขียนรูปร่วมกัน

โดยให้ยกปากกาได้คนละหนึ่งครั้ง และห้ามพูดหรือสื่อสารกัน

กิจกรรม ใจประสานใจ

โดยให้ยกปากกาได้คนละหนึ่งครั้ง และอนุญาตให้พูดหรือสื่อสารกันได้

กลุ่มที่ 4 รูปที่ 2 เมื่อมีเป้าหมายร่วมกัน ทำให้วางแผนและยอมรับร่วมกัน

กลุ่ม 1  รูปที่เขียนร่วมกัน อยากให้รูปแรกเขียนวงกลมแล้วคนอื่นต่อกันได้ง่ายๆ

รูปที่ 2 ใจประสานใจ ก็มีการสื่อสารกัน และเขียนเป็นรูปหัวใจคล้องกัน แต่พอถึงคนที่ 3 มีไอเดียใหม่ว่าอยากให้มีมือมาโอบอุ้มหัวใจไว้ และสุดท้ายมีหัวใจล้อมปิดไว้

กลุ่ม 3 รูปที่ 1 รูปที่เขียนร่วมกันเริ่มด้วยคนแรกวาดรูปหัวใจ และคนต่อๆมาวาดหัวใจต่อกัน

  รูปที่ 2 รูปใจประสานใจ

กลุ่ม 2 รูปที่ 1 เป็นรูปธรรมชาติ มีภูเขา ดอกไม้ ดวงอาทิตย์

  รูปที่ 2 คุยกันแล้วอยากให้มีเป็นรูปหัวใจเพื่อประสานใจ

กลุ่ม 6 รูปที่ 1 ผู้นำวาดเป็นวงกลม คนที่ 2 วาดเป็นหูตาจมูก

  รูปที่ 2 วาดเป็นวงกลม และประสานใจเป็นหนึ่งเดียว

กลุ่ม 5 รูปที่ 2 คุยกันว่าทำเป็นโซ่คล้องใจร้อยใจให้คนในกลุ่ม

สรุปว่า  การทำงานถ้าไม่มีการสื่อสาร งานที่ออกมาก็ไม่มีประสิทธิภาพ และหลงกับเป้าหมายที่เราจะไป

ต้องทำปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้วอนาคตก็จะดีเพราะแก้อดีตไม่ได้

Background ของแต่ละคนทำให้คนเรามองสิ่งต่างๆไม่เหมือนกัน ต้องยอมรับอย่างเป็นธรรมชาติว่าเป็นธรรมชาติของคนๆนั้น

เวลามองของ 2 สิ่ง ให้มองทั้ง 2 ด้าน ทั้งแง่ดีและแง่ลบ

ความสำเร็จของทีม ต้องมีการเลือกเครื่องมือที่ถูกต้อง ต้องมีเป้าหมาย เข็มทิศ เวลาที่ชัดเจน

การคิดอย่างเป็นกลยุทธ์

1.  เป้าหมาย ให้แตกเป็นเป้าหมายย่อย

2.  หาจุดยืน  ปรับกรอบความคิด

3.  วิเคราะห์

4.  ต้องมีแรงช่วย 

5.  ต้องมีการวางแผน

6.  การปฎิบัติ  เราควรมีการปรับปรุงและพัฒนาอะไร

หากกฟผ.ตั้งกรอบความคิด วิธีการทำงานก็จะเปลี่ยน

กิจกรรมดูภาพยนตร์3ก๊ก  ขงเบ้งใช้ตัวช่วยเยอะเวลาไปทำงาน ขงเบ้งเก่งคน เก่งวางแผน และเก่งเรื่องลมฟ้าอากาศ

ขงเบ้งใช้ตัวช่วยแผนลูกหาลูกเกาฑัณฐ์จากโจโฉโดยใช้หุ่นฟาง โดยอาศัยแรงศัตรูเป็นตัวช่วย  เห็นลักษณะความเป็นผู้นำของขงเบ้งเมื่อทำงานสำเร็จ โดยการเลี้ยงฉลองให้ลูกน้อง ทำให้ลูกน้องมีความรู้สึกว่าได้เป็นส่วนร่วมที่ทำให้งานสำเร็จ

ขงเบ๊งอยู่กับปัจจุบันโดยไม่มีอดีต และอนาคต ควรนำไปปรับใช้กับผู้นำในยุคปัจจุบันด้วย

งานเราจะประสบความสำเร็จสูง ถ้าเราเลือกตัวช่วยที่เหมาะสม

-  สภาพภูมิศาสตร์

-  เวลา

-  สถานการณ์

-  เทคโนโลยี

-  คนรอบข้าง

ตัวช่วย คือ คนที่เก่งในสาขานั้นๆ ทีมและผู้นำที่จะเดินไปข้างหน้าต้องไม่สนใจอดีตและอนาคต ต้องทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

 


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

หัวข้อ   Art & Feeling of Presentation and

Effective Public Speaking

โดย  อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

กิจกรรม: ให้จินตนาการว่าตอนเด็กเคยคิดว่าเราเคยอยากเป็นตัวละคร เป็นตัวการ์ตูนตัวไหน แล้วให้เขียนลงไปในกระดาษ และติดที่หน้าอกข้างซ้าย และคิดท่าประกอบตัวละครที่เรอยากเป็น  แล้วให้ทุกคนเล่าเรื่องโดยนำเอาคำสุดท้ายของคนที่ 1 มาเป็นคำเริ่มต้นของคนที่ 2 เล่าไปจนครบคน

กลุ่ม 5

คนที่ 1 อยากเป็นคนขับแท็กซี่

คนที่ 2 มิกกี้เมาส์

คนที่ 3 BAT MAN

คนที่ 4 superman

คนที่ 5 โดเรมอน

สรุปกิจกรรมได้รับประโยชน์อะไร

1.  การจัดกระบวนความคิด

2.  ฝึกการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

3.  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

4.  มีการตื่นตัว

5.  ฝึกการ Coaching

6.  ทำให้การสื่อสารกันดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

วิชา Art & Feeling of Presentation เหมือนเป็น Acting coach  ทำให้ครองใจ ตรึงใจ ชอบ ช่วย ดึงดูด (ตชด.) คนฟังเหมือน Juicy and Jazz  38 คือ พลังเสียง  กับ 35 คือท่าทาง

สมองแบ่งเป็น 2 ซีก  ตอนเด็กเราใช้สมองซีกขวาส่วนจินตนาการเยอะ เมื่อเราโตขึ้นเราใช้สมองข้างซ้ายเยอะ

ในวิชานี้อยากให้ก้าวออกจาก Comfort zone สู่ Leadership zone ทำให้พลังเกิด ฝึก

หัวใจให้ใหญ่ ใครอยากจ้องก็จ้องไป

  วิชา AFP เรียนด้วย C+P คือ C คือ content และ P คือ presenter

C ต้องแม่น 

ต้องใช้หลัก communication เสียง 38% ท่าทาง 35%

การใช้เสียง ต้องฝึกเสียงให้มีพลัง หายใจเข้าทางจมูก เก็บลมที่ท้องน้อย  และปล่อยลมที่ท้องน้อยออกมา

-  Pitch

-  Volume

-  จังหวะ

I = Imagery  

F = Feeling

 P = Participation  ทำอย่างไรให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมกับเรา  เริ่มต้นเราต้องมี Concept เอาความคิดมารวมกัน และมีการออกแบบ ต้องอาศัยจินตนาการช่วย มีการเตรียมการ และต้องมีตัวส่งเสริม

สรุปได้ว่า IFP เป็นส่วนหนึ่งของ Juicy and Jazz   พอได้อารมณ์ร่วม ได้มีกิจกรรมร่วมกันก็สามารถแปลทฤษฎีออกมาเป็นเรื่องราวได้ก็จำจำได้ และจะมี 3 c คือ

-  Connect

-  Change

-  Contribute ทำให้ต่อยอดในเรื่องราวทีได้รับรู้มาได้

คนที่ Present เมื่อมี Inner ก็จะส่งพลังไปให้คนฟังได้ด้วย เพื่อให้สามารถตรึงใจคนฟังได้ดี

ในเรื่องของการสร้างสรรค์ จินตนาการจะพาคุณไปได้ทุกที่ เปลี่ยนจากการแข่งขันเป็นการสร้างสรรค์ How far we can go?

การพรีเซนต์งานที่ดี ต้องมีการเชื่อมโยงร้อยเรียงเรื่องราวทีกระจัดกระจายเพื่อรวบรวมเข้ามาให้ผู้ฟังเข้าใจได้  โดยใช้ตัวอย่างประกอบ  และมี case study ด้วย

เทคนิค

1.  เวลานำเสนองาน ต้องเดินให้ทั่ว ไม่อยู่นิ่งที่จุดๆเดียว

2.  การก้าวผ่านความกลัว โดยรักษาอารมณ์ให้ปกติ

3.  นอกเหนือจากการสร้างแรงบันดาลใจแล้ว มีวิธีสะกดจิตที่ทำให้เราก้าวออกมาแบบมั่นใจ

4.  ใช้จินตนาการและVisualization

ทำความรู้ที่ยังกระจัดกระจายเพื่อรวบรวมข้อมูลเป็น Creative visual design เพื่อให้การนำเสนอที่สามารถถ่ายทอดออกมาก และทำให้ผู้ฟังประทับใจ


วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2556

สิ่งที่ได้รับจากการบัลวีบำบัด

  เป็นประโยชน์อย่างดียิ่งที่ได้รับความรู้จากการโภชนาการ อาหารใดควรลดหรืองดเว้น อาหารใดที่สามารถถบริโภคได้ รวมทั้งการออกกำลังกายโดยวิธีการวารีบำบัด เพื่อเผาผลาญแคลอรี่ ซึ่งจะสามารถลดน้ำหนักลงได้ แต่สิ่งที่ได้รับจากบทเรียนก็จะต้องนำมาปฏิบัติอย่างตั้งใจจริง เพื่อความแข็งแรงของร่างกายในอันจะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

พีรพล สุขวิบูลย์


วันพุธที่ 15 มีนาคม 2556

ช่วงเช้า

สิ่งที่ได้รับจากการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.

  ได้มุมมองในการสะท้อนภาพของ กฟผ. ในฐานะคนภายนอกที่มองกฟผ. ในภาพของผู้ใช้ไฟฟ้า ลักษณะของผู้ลงทุน และ ผู้เสียภาษี ซึ่งกฟผ. ควรที่จะหาหนทางในการให้ข้อมูลข่าวสารสำหรับประชาชนในรับรู้ข้อมูลของ กฟผ. อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท้าทาย กฟผ. เพื่อทำให้ กฟผ. เติบโตและยั่งยืน ก็จะต้องร่วมมือกันทุกๆฝ่าย เพื่อแก้จุดอ่อนของ กฟผ. หรือหาแนวร่วมที่จะช่วยให้ กฟผ. สามารถลงทุนและมีรายได้เติบโตในอนาคตต่อไป

ช่วงบ่าย

การก้าวสู่ประชาคมอาเชี่ยน

  ความได้เปรียบของประเทศไทยสำหรับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ อาจจะเตรียมความพร้อมในด้านของการเป็นศูนย์กลางผู้ควบคุมด้านพลังงานไฟฟ้า การจะมองความต้องการการใช้ไฟฟ้าควรมองในระดับ Asean เพื่อให้รองรับกับความต้องการด้านพลังงานของแต่ละประเทศ ในด้านของความเชี่ยวชาญของพลังงานไฟฟ้า เห็นว่า ประเทศไทยยังมีศากยภาพมากกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ กฟผ. จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานจากประเทศอื่นๆใน Asean เพื่อการลงทุนและมีรายได้เข้าประเทศในอนาคต

พีรพล สุขวิบูลย์


วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2556

ช่วงเช้า

สิ่งที่ได้รับจากการอบรม หัวข้อ EGAT LEADER & TEAMWORK

  ได้รับความรู้ในการเป็นผู้นำว่า การจะทำให้ทีมประสบความสำเร็จได้จะต้องให้ทุกคนในทีมเห็นจากคุณค่า  แรงบันดาลใจ มีความฝัน ความสามารถ ความเพียร เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมาย

  สำหรับผู้บริหารเอง ก็ต้องเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็น ทำใจให้แนบแน่น เห็นคุณค่าร่วมกัน เพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จ รวมทั้งการสื่อสารให้ผู้ร่วมงาน ได้รับทราบถึงเป้าหมายผลสำเร็จ ต้องสื่อสารแบบ Two Way เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบไปในทิศทางเดียวกัน

ช่วงบ่าย

Art and Feeling of Presentation

  ได้เรียนรู้ในศิลปะของการแสดงออกในลักษณะของ พลังเสียง  พลังท่าทาง ภาษาท่าทาง และพลังด้านระเบียบแบบแผน (Comfort Zone) การที่จะนำเสนอเรื่องราวต่างๆให้ทุกคนตรึงใจ ชื่นชอบ หรือ ดึงดูดได้ จะต้องใช้พลังทั้งสามอย่างดังกล่าว โดยจะต้องมี Imagery Feeling และ Participation ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอเรื่องราวนั้นๆ

พีรพล สุขวิบูลย์


สรุปการเรียนรู้ วันที่ 15 พค.56

หัวข้อ วิเคระห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.

เพื่อให้ กฟผ. เผชิญ กับภาวะต่างๆและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง  ควรจะต้องมีและดำเนินการดังนี้

- สุมหัวกันคิดและทำ

- เพื่อให้งานสำเร็จ บางคร้้งต้องเลี่ยงกติกาบ้าง แต่ต้องเป็นไปโดยสุจริต 

- ต้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ กฟผ.

- ค้นหา บุคคลและโครงการที่ กฟผ.มีศักยภาพในการดำเนินการ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในตอนนี้ เพื่อเตรียมพร้อมไว้เมื่อโอกาสมาถึง จะได้สามารถดำเนินการได้ทันที

- จัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและดำเนินการเกี่ยวกับงานที่เกี่ยวเนื่องกับ AEC เช่น ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ


สรุปการเรียนรู้ วันที่ 15 พค.56

หัวข้อ กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

- จัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานหรือโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับ AEC 

- ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเปิดโอกาสในการสร้างธุรกิจ


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย  อาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์

17 พฤษภาคม 2556

ความประทับใจแรกพบของผู้ที่เจอกันครั้งแรกที่ตัดสินว่าเราชอบหรือไม่ชอบคืออะไร

-  Image ภาพลักษณ์ภายนอก: แต่งกายและเครื่องใช้แสดงถึงรสนิยมที่ดี  ตั้งแต่ Head to toe 

-  แนะนำให้ผู้ชายที่สูงวัย ย้อมผมให้ดูธรรมชาติ แต่ไม่ควรเป็นสีดำ เพราะจะดูหลอก ควรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเข้ม

-  ผู้หญิง ควรดูแลผมให้ดี ให้เหมาะกับตำแหน่ง เป็นเรื่องที่สำคัญ

-  หน้า ต้องดูแลไม่ให้มัน ไม่ควรนำแป้งเด็กมาทา เพราะจะขาวหลอกเกินไป ควรเป็นแป้งฝุ่นสีเนื้อ

-  เล็บ ผู้หญิงควรไว้เล็บให้ยาวพอประมาณ มือจะดูเรียวขึ้น

-  กางเกงของผู้ชาย ไม่ควรยาวเกินไป ขาวตัดขาให้พอดี

-  ผู้ชายที่มีพุง ควรให้กางเกงอยู่ระดับเอวไม่ควรให้เอวต่ำ เพราะจะเน้นพุง

-  ผู้ชายที่มีรูปร่างพอดี ควรใส่กางเกงที่มีจีบ เพราะจะทำให้ดูหนุ่มขึ้น ขากางเกงควรให้เป็นทรงขาตรงจะยิ่งดูเพรียวขึ้น

-  ผู้ชายหน้าเหลี่ยม ไม่ควรแสกกลาง ควรแสกข้าง  และที่สำคัญหากใส่แว่นก็ไม่ควรเป็นทรงเหลี่ยม

-  ผู้หญิงที่มีสะโพก ไม่ควรคาดเข็มขัด หากใส่เสื้อเชิ้ตควรใส่เสื้อเชิ้ตชายตรง ไม่ใช่ขอบเชิ๊ต เพราะจะเน้นสะโพก

ความประทับใจในการแต่งกายมีถึง 55%

น้ำเสียง 38%

คำพูด 7%

บุคลิกภาพของคน ดูที่

-  การแต่งตัว

-  มาด

-  พูดจาดี

-  กาลเทศะ

-  อารมณ์ดี

3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก

1.  สีสัน  คนผิวคล้ำ คน 2 สี สีแดง  สีน้ำเงินเข้ม สีเขียวทหาร สีที่มีดำหยด  

2.  สัดส่วน

หากเป็นผู้ชายไหล่เล็ก ไม่ควรใส่เสือโปโล ควรใส่เสื้อที่มีลายพาดจะดูพรางสายตา ตรงกันข้ามคนไหล่กว้าง ไม่ควรใส่เสื้อที่ใส่เส้นพาดและมีเส้นนำสายตา

กางเกงยีนส์  ควรใส่เอวสูง เพราะจะทำให้ดูขายาว

3.  เส้นสาย 

-  ผู้หญิง ขาใหญ่ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น และ ไม่ควรใส่ทรงเอ

-  กางเกงผู้ชายควรใส่ทรงตรง ไม่ยาวเกินไป

-  เนคไท้ ความยาวควรลงมาถึงกลางเข็มขัด  ดูให้เหมาะกับรูปร่างไม่ใหญ่เกินไป และไม่เล็กเกินไป

สีโทนร้อน

-  แดง

-  เหลือง  สนุกสนานร่าเริง

-  ชมพู

-  ส้ม แสดงถึงแข็งแรง

-  น้ำตาล

สีโทนเย็น

-  น้ำเงิน

-  เขียว  สุขภาพดี

-  ขาว

-  เทา

-  เงิน

** สีม่วงแดง  คนผิวสองสีไม่ควรใส่

ผู้หญิง: เวลาไปทำงานไม่ควรใส่รองเท้าเปิดนิ้ว เพราะดูไม่สุภาพควรใส่รองเท้าทรง Slim back มีสายรัด  กระโปรงทำงานไม่ควรสั้นเกินไป

-  กระเป๋าสะพายผู้หญิง ไม่ควรใหญ่เกินไป ไม่ควรสะพายไหล่ เพราะทำให้ไหล่เอียง บุคลิกเสีย

-  ปากกา ผู้บริหารควรเลือกปากกาที่ดูดี จะเสริมบุคลิก

การนั่ง

นั่งอย่างไร.......ให้สง่างาม

•  นั่งเก้าอี้ ให้นั่งตัวตรง

หญิง หลังพิงพนัก เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขา

ชาย  หลังพิงพนัก เท้า และเข่าแยกจากันเล็กน้อย มือวางบนหน้าขา 

•  ถ้าเป็นเก้าอี้มีเท้าแขน เมื่อนั่งตามลำพัง จะเอาแขนพาดเท้าแขนก็ได้  ไม่ควรนั่งโดยเอาปลายเท้า หรือขาไขว้กัน อย่าง”ไขว่ห้าง” ควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโยกเก้าอี้

ถ้าเป็นสุภาพสตรี ให้ระมัดระวังเรื่องเครื่องแต่งกาย อย่าให้ประเจิดประเจ้อ

การไหว้

-  ทำกระพุ่มมือที่อก แล้วก้มศีรษะลงมา

สิ่งสำคัญ อย่าให้มีพุง ไหล่ห่อ

กรณี ไปเยี่ยมผู้ใหญ่ที่บ้าน ควรศึกษาเรื่อง Seating position ให้ดี

1.  การให้เกียรติคน

2.  ความปลอดภัย

3.  ความสะดวกสบาย

4.  อัธยาศัยไมตรี

5.  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

เจ้าของบ้านควรนั่งใกล้ประตูบ้าน เพื่อความสะดวกสบาย

กรณีหาผู้ใหญ่มากๆ  ผู้ใหญ่จะชินกับการนั่งที่เดิม หากเป็นโซฟาอันเดียวกัน ไป 3 คน ควรเลือกให้คนนั่งโซฟาข้างผู้ใหญ่เป็นคนที่สนิทที่สุด

การนั่งรถ

ควรดูเรื่อง Protocol ให้ดี

หากเป็นรถตู้  ผู้ใหญ่ควรนั่งตรงกลางแถวแรก คนที่ขึ้นก่อน ควรเป็นคนที่นั่งข้างหลัง เวลาลงแถวแรกผู้ใหญ่ต้องลงก่อน

การขึ้นบันได

ผู้อาวุโสขึ้นก่อน ตามด้วยผู้หญิง แล้วก็ผู้ชาย 

พิธีรดน้ำสังข์

รดผู้หญิงก่อนเพราะเป็นการให้เกียรติผู้หญิง  แล้วรดผู้ชาย

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร ในการมีมารยาทบนโต๊ะอาหาร

1.  อย่าพูดเมื่อมีอาหารเต็มปาก

2.  วางผ้ากันเปื้อนบนหน้าขา

3.  เวลาเคี้ยวอาหารให้ปิดปาก

-  การถือส้อมกับมืด ใช้ส้อมเป็นตัวยึดอาหาร แล้วใช้มีดออกแรงไม่ต้องมาก มีดอยู่ข้างล่าง ส้อมอยู่ข้างบน  เวลาจิ้มอาหารเข้าปาก ให้คว่ำเข้าปาก ไม่ใช่หงายมือ

-  ผ้ากันเปื้อน เป็นตัวอกว่าเราทานเสร็จแล้วหรือยังจะทานต่อ

-  ช้อนส้อมที่วางอยู่บนโต๊ะหลายคู่ ให้ใช้จากคู่นอก เข้าข้างในไล่เป็นคู่ตามลำดับ

คำถาม

1.  ตอนชนแก้วมีมารยาทอย่างไร

-    ให้ยกแก้ว ไม่ต้องชนแก้วเสียงดัง

2.  ถ้าในจานอาหารมีถั่ว ใช้ส้อมคว่ำ หรือ หงายขึ้น

-  .ใช้ส้อมจิ้มแบบคว่ำ แล้วใช้มีดอัดไม่ให้หลุดจากปาก

3.  การเดินตามเจ้านายเดินทางซ้าย หรือ ขวา

-  เดินตามทางด้านซ้าย

4.  การนำเจ้านาย ต้องเดินนำทางด้านไหน

-  จำไว้เสมอว่าเดินนำต้องนำทางด้านขวา และผายมือขวาเปิดทางเสมอ


สรุปการเรียนรู้ วันที่ 16 พค.56

หัวช้อ EGAT LEADER & TEAMWORK

- ทีม จะต้องมีคุณค่าที่พ้องกัน จึงจะมีแรงบันดาลใจและมีจินตนาการที่จะนำพาทีมไปสู่เป้าหมาย โดยมีความสามารถและความเพียรเป็นเครื่องมือที่สำคัญ

- ใช้ 4Q (IQ EQ MQ SQ) ในการตัดสินใจ

- หัวหน้าทีมต้อง

   1. ตระหนักว่ามนุษย์ทุกคน ไม่มีความแตกต่างทางพันธุกรรม แต่เพราะโอกาสที่ต่างกัน ทำให้คนเก่งไม่เท่ากัน

   2. ใจกว้าง ไร้ตัวตน & ให้มากกว่ารับ

   3. จัดให้มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในทีม

   4. เลือกตัวช่วยให้เหมาะสม

   5. ให้ทีมมีความความรู้ร่วมในการภาคภูมิใจในความสำเร็จ

   6.  เข้าใจบุคลิกภาพของคนในทีม ว่าเป็นแบบใด (C-นักทฤษฎี  D-นักผจญภัย  S-นักปฏิบัติ  I-นักกิจกรรม)


สรุปการเรียนรู้ วันที่ 16 พค.56

หัวช้อ Art&Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

- สิ่งที่ทำให้ผู้รับฟังการนำเสนองาน สนใจและจดจำได้คือ น้ำเสียงและท่าทาง  ใช้เทคนิค JJ (Juicy&Jazz) 

- ใช้เทคนิค 3C  : Connect (เชื่อมโยงกับผู้ฟัง)  Change (เปลี่ยนผู้ฟังให้สนใจ) Contribute (ทำให้ผู้ฟังนำสิ่งที่นำเสนอไปต่อยอดได้)

- เชื่อมโยงและร้อยเรียง เรื่องราวที่พบเจอเข้ากับเนื้อหาที่นำเสนอ

- ใช้รูปภาพประกอบ


สรุปการเรียนรู้ วันที่ 17 พค.56

หัวช้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

- ปัจจัยที่จะทำให้เป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น ตั้งแต่แรกพบ คือ การแต่งตัว  การมีมาด  พูดจาดี  มีกาลเทศะ  อารมณ์ดี

- องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก คือ สีสัน  สัดส่วน  เส้นสาย

- มารยาทในการรับประทาอาหารตะวันตก

- ท่าทางการนั่ง การเดิน การยืน 

- ตำแหน่งการนั่งในการนั่งรถ การประชุม การเยี่ยมเยือย ให้คำนึงถึง 

   1.ให้เกียรติ

   2. ปลอดภัย

   3. สะดวกสบาย

   4. อัธยาศัยไมตรี

   5. เป็นระเบียบเรียบร้อย


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

หัวข้อ จากประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช.” สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

โดย  ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ

17 พฤษภาคม 2556

ท่านวิชา: ประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช.” สู่การปรับใช้ที่ กฟผ. จัดทำยุทธศาสตร์การป้องกันทุจริต เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของประเทศ การเกิดการทุจริต ฉ้อโกง การเอารัดเอาเปรียบ มาจากระบบที่เสียหายมาจากระบบอุปถัมภ์ ซึงเป็นระบบที่รุนแรงที่สุด ซึ่งเป็นเหมือนกันหมดในประเทศในแถบเอเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้ จีน ก็ต่อสู้กับระบอบนี้เช่นกัน

  ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบที่ทำลายประเทศชาติมาก เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเมื่อ 2 ปี ก่อน เกาหลีใต้ฝากลูกเข้าเรียนต้องเสียเงินมาก แต่ปัจจุบันนี้ที่ประเทศเกาหลีใต้ไม่มีระบอบนี้แล้ว

  ประสบการณ์ที่อยู่ในระบอบอุปถัมภ์ คือ เมื่อถูกตำรวจจับก็เสียเงินค่าปรับให้ตำรวจ

  เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกตำแหน่งต้องอยู่ในระบบจริยธรรมที่เข้มงวด ประเทศญี่ปุ่นห้ามราชการตีกอล์ฟกับนักการเมืองเป็นเด็ดขาด เพราะจะถูกปลดออกจากตำแหน่ง

  ดัชนีชี้วัดความโปร่งใส แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นๆมีการทุจริตมากหรือน้อย สิงคโปร์ อยู่อันดับที่ 1 และ 2  ตลอด  ญี่ปุ่นอันดับ 10  ประเทศไทยอันดับ 88

  นักปฎิรูปของญี่ปุ่นไปศึกษาที่ประเทศอเมริกา เรียนรู้ว่า ต้องเปลี่ยนเป็นระบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม ประเทศอุปถัมภ์ ไม่ค่อยยืนบนขาตัวเอง จะอ่อนแอที่สุด ญี่ปุ่น เรียนรู้ว่ายุโรป หรือ อมริกามักจะยอมรับของคนทีอยู่ร่วมกัน

  ญี่ปุ่นมีการแบ่งวรรณะของคนที่ขับรถแท็กซี่อย่างชัดเจน ระบบญี่ปุ่นบอกเลยว่าต้องเอาชนะระบบอุปถัมภ์ให้ได้ ต้องเปลี่ยนความคิดด้วย

การแปรเปลี่ยนองค์กรเริ่มต้นที่

-  การเปลี่ยนคุณค่าและพฤติกรรมของภาวะผู้นำ

-  ดังนั้นองค์กรจึงมิได้แปรเปลี่ยนหากแต่พนักงานต่างหากที่ต้องเปลี่ยน

การมาฝึกอบรมเป็นเรื่องดี แต่เราไม่สามารถที่จะไปปฏิรูปสังคมได้เพราะไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง ประเทศไทยมีระบบบริการที่ดีมาก โรงแรมติดอันดับสูงตลอด เช่น โรงแรมโอเรนเต็ล เพราะถือว่าพนักงานทุกตำแหน่งมีภาวะผู้นำหมด แม้กระทั่งแม่บ้านก็เลือกที่คุณภาพสูง

โรงแรมระดับสูงสุดหมายถึงทุกอย่างเนี๊ยบหมด ทุกอย่างไม่เคยหาย เพราะมีวิธีการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานทีมีคุณภาพ อีกทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมสูง

Humanity ถือว่ามนุษย์มีศักดิ์ศรี มุ่งประโยชน์ส่วนตนให้น้อยลง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมให้มากขึ้น  ต้องเชื่อมั่น ต้องศรัทธา ต้องยินยอมพร้อมใจดำเนินชีวิตตามคุณค่าที่มุ่งประโยชน์ส่วนตนน้อยลงมุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น

ตัวอย่าง หากท่านทำงานในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง มีตำแหน่งงานว่าง ตรงกับที่น้องชายตนเองเรียนจบ ท่านจะมีวิธีช่วยน้องชายอย่างไร

-  Conflict of interest ต้องแยกแยะว่าอะไรเป็นเรื่องส่วนตัว อะไรเป็นเรื่องส่วนรวม เพราะฉะนั้นจึงมองดูว่าระบบอุปถัมภ์จะคาบเกี่ยวเรื่องแบบนี้เสมอ

ประเทศญี่ปุ่น การทำงานจะแยกการทำงานออกจากเรื่องส่วนตัว ไม่ยอมให้ใครเสียเปรียบ  ต่างจากคนไทยที่ไม่แยกแยะเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว  

ประเทศไทยควรเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ เพราะอีก 2 ปี อาเซียนเสรีกำลังจะเปิด ความไร้พรมแดนก็จะเข้ามา  มีอนุญาโตตุลาการ มาตัดสินวินิจฉัยว่าให้ความเป็นธรรมกับประเทศอื่นๆ ที่เข้ามาแข่งขันด้วยหรือไม่

เราพร้อมที่จะก้าวไปสู่กระบวนการที่ก้าวหน้า Globalization หรือยัง คือ ต้องลดเรื่องเห็นแก่ตัว เพิ่มเรื่องส่วนรวมให้มากขึ้น

คนไทยไม่ค่อยมีเรื่องจิตสำนึกสาธารณะซึ่งมีความจำเป็นมากที่จะต้องเปลี่ยน Attitude ของคนไทย

ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงคุณค่าและพฤติกรรมต้องแพร่หลายทั่วทั้งองค์กรสมาชิกขององค์กรต้องกระทำตาม  คุณค่าและพฤติกรรมที่ประกาศไว้ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่าที่ไม่ขึ้นกับลักษณะส่วนตนของสมาชิกในองค์กร

ช่วงระยะเวลาที่ทำงาน ท่านได้แสดงความเป็นภาวะผู้นำมากน้อยเพียงใด

ประเทศภูฐาน ประเทศเล็ก 7 แสนคน อยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  เจ้าชายจิ๊กมี่ ชื่นชมหลักพอเพียงของในหลวงมาก และมีการยึดหลักแห่งความสุข  โดยมีการสำรวจผู้คนอยู่เสมอ ให้นักสถิติไปเก็บข้อมูลของประชากรทั้งข้อมูลทั่วไป และความสุขด้วย

นักวิจัยของภูฐานพบว่า ยิ่งมีรายได้น้อยยิ่งมีความสุขมาก เพราะไม่มีความกังวล ปรับระบบชีวิต มีน้อยใช้น้อย  การที่บรรลุธรรมได้เพราะเราเป็นมนุษย์ เห็นภัยไข้เจ็บ เห็นได้ว่าคนที่บรรลุธรรมได้ คือ คนที่ได้รับความยากลำบาก และชีวิตมีคุณค่าในตัวเอง 

สิ่งที่ปัจจุบันต้องทำคือเรื่องที่ทำให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรจริงๆ

มนุษย์ทุกคนสามารถทำสิ่งเล็กได้ แต่ทำด้วยความรักที่ยิ่งใหญ่ เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำหรือใส่ passion ลงไปด้วย  อยากให้ทุกองค์กรมีวัฒนธรรมแบบนี้ ซึ่งจะกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ

Corrupt คือ ทำในสิ่งที่เราต้องการก่อน บิดเบือนเวลา บิดเบือนตำแหน่งหน้าที่ เอาเวลางานไปทำอย่างอื่น  

การตรงต่อเวลาของชาวต่างชาติเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ผิดกับวัฒนธรรมคนไทยที่ชอบมาสาย

องค์กรต้องเป็นหน่วยชีวิตอิสระสะท้อนคุณค่าโดยรวมของสมาชิกต้องทำให้สมาชิกองค์กร

มีความสำนึกในจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์อันเป็นจุดร่วมกันกลายเป็นจิตวิญญาณขององค์กรซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์สูงสุด

สหพัฒนพิบูลย์ มีโรงไฟฟ้าที่เอื้อให้กับคนในพื้นที่ เป็นชุมชนเดียวกันทั้งคนที่อยู่ในโรงงานและอยู่นอกโรงงาน  และมีของมาขายในชุมชนให้ได้ของดีในราคาถูก

ลักษณะขององค์กรที่ปรับเปลี่ยนคุณค่าไม่เหมือน Re-engineering ซึ่งเป็นแค่เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาแทนคน มีผลกระทบเกิดกับบุคคลคือ คนจะต้องถูกมองเพราะเป็นระบบที่เล็กลง และเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ คนก็ต้องถูกออกไป 

เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนด้วยคุณค่าของคนเหมือนการต่อต้านทุจริต เหมือนเป็นการต่อต้านชุมชนมนุษย์เน้นเรื่องกายภาพเป็นหลักไม่คิดถึงคน เนื่องจากไม่สอดคล้องความเป็นมนุษย์

มององค์กรในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีชีวิต เพราะมันไม่ใช่เครื่องจักร เพราะคนในองค์กรแสดงความรู้สึกออกมาได้ รู้จักปรับตัวให้เข้ากัน มีความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกัน  การมาจากครอบครัวที่ต่างกัน แต่ก็สามารถปรับอารมณ์ให้เข้ากันได้ เป็น EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์รู้จักปรองดอง

หลัก 4 ข้อที่ทำให้องค์กรมีคุณค่า

1.  Trust ต้องทำให้ทุกคนวางใจซึ่งกันและกัน เรียกว่า Trust in environment

2.  ความซื่อสัตย์

3.  ความกรุณา  หมายความว่า อยากให้คนอื่นพ้นทุกข์  เวลาที่เพื่อนทำอะไรไม่ดี เราสามารถบอกเพื่อนได้

4.  การแบ่งปัน  คือ การเสียสละ การแชร์ความคิด ความรู้  หรือ ไปทำงานให้สังคม อ่านหนังสือให้คนตาบอด ก็เป็นการแบ่งปัน จะทำให้สังคมมีความสุขมากขึ้น มีอะไรต้องเกื้อกูลกัน

สรุป การเปลี่ยนแปลงองค์กร àเป็นการเปลี่ยนวิถีการกระทำ àเปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ àเปลี่ยนความเชื่อ àเปลี่ยนรากฐานของพฤติกรรม

ระบบอุปถัมภ์ ทำให้ชาติบ้านเมือง ไม่ได้คนใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ เราจะเลี่ยงพ้น ต่อเมื่อเราไร้ระบบอุปถัมภ์ในองค์กร เมื่อใดที่ยังต้องติดต่อเกื้อกูล ก็จะเกิดปัญหาใหญ่กับองค์กร เพราะยังขาดความตระหนักในปัญหาเกิดขึ้นในทุกวัน  

ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง

ขาดความตระหนัก à เกิดความตระหนัก àเรียนรู้พฤติกรรมใหม่  เพื่อทำให้เป็นองค์กรที่มีคุณค่าàฝึกฝนพฤติกรรมใหม่

การขับเคลื่อนขององค์กรที่เข้มแข็ง ต้องขับเคลื่อนที่ดังนี้

บุคคล  

คุณค่าส่วนบุคคล

- ความสุจริต

- ความซื่อสัตย์

ทีมงาน

คุณค่าของทีมงาน

- ความเคารพ

- ความร่วมมือ

องค์กร

คุณค่าขององค์กร

- การเรียนรู้

- นวัตกรรม

และสังคม

คุณค่าเชิงสังคม

- จริยธรรม

- ความยุติธรรม


สิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 17 พค.56

หัวข้อ จากประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช.  ของ ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

สิ่งที่อาจารย์ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหาทุจริตของประเทศ สามารถนำมาปรับใช้ในการปลูกฝังจิตสำนักในความสุจริตและมีคุณธรรมใน กฟผ. ได้  ด้วยหลักการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์

ประเทศชาติจะพ้นภัยคอรัปชั่น ถ้าประชาชนมีจิตสาธารณะและเห็นประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตน

ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

หัวข้อ ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย  อาจารย์ประกาย ชลหาญ

17 พฤษภาคม 2556

การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่สำคัญมากมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นตลอดเวลา

ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร

หน้าที่หลัก  คือ การสร้างผลงานให้กฟผ.  และหัวหน้าต้องกำหนดให้ลูกน้องแต่ละคนทำหน้าที่ของตนเอง

กลยุทธ์ขององค์กร  เป็นทิศทางขององค์กร ว่าเราจะมีทิศทางไปทางไหน

การดำเนินงานภายใน  ประกอบไปด้วยขั้นตอนในการทำงาน ก็จะทำให้มีผลการปฏิบัติงานดีขึ้นไปด้วย

เรื่องภายในองค์กร ต้องมีเรื่องทัศนคติที่ดีขององค์กร ต้องรู้เรื่องโครงสร้างองค์กร ภาวะผู้นำ เรื่องวัฒนธรรมองค์กร  และการสื่อสารในองค์กร

เรื่องmotivation เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน แต่แรงจูงใจอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องมีCompetency ด้วย หากไม่เก่งงานก็ต้องไปพัฒนาคนให้เก่งงานด้วย

  ปัญหาขององค์กร เกิดจากการสื่อสารในองค์กร เพราะรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้

  หลักการสื่อสาร คือ ให้ข้อมูลในปริมาณที่จำเป็นกับคนที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม  

ประเด็นเรื่องโครงสร้าง กฟผ. 40 ปีแล้ว ย่อมต้องมีโครงสร้างองค์กรและวัฒนธรรมองค์กรที่แน่นอน

  พฤติกรรมรักองค์กรที่กฟผ.มี คือ ทำงานตรงเวลา ไม่เอาเปรียบองค์กร ทุ่มเทเสียสละ ปกป้ององค์กร

-  วัฒนธรรมองค์กรเหมือน DNA ที่เหมือนกันทั้งองค์กร

6 ตัวชี้วัดที่ถูกต้องที่เพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

Right Structure  มีโครงสร้างที่ถูกต้องเหมะสม

 Right Processes เพื่อมุ่งไปสู่คุณภาพของผลงาน

 Right People  คนที่เหมาะสมกับองค์กร

 Right Information  มีข้อมูลทีถูกต้อง

 Right Decisions  มีการกระจายอำนาจตามขอบเขตอำนาจ

 Right Reward มีค่าตอบแทนที่เหมาะสม

วงจรผลงาน(Performance Cycle)

1.  Targets and Individual plans

2.   Progress

3.  Variances

4.  Accomplishment

5.  Reinforcements

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  กฟผ. ถูกกระทบจากผลกระทบภายนอก เช่น การเมือง ความต้องการของลูกค้า กฎระเบียบของรัฐบาล สิ่งแวดล้อม NGO ชุมชน

  การเปลี่ยนแปลงภายในมาจากผู้บริหาร พนักงานใหม่และเก่า เงินทุน งบประมาณ กฎระเบียบ

   แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต้องเป็นประโยชน์มากขึ้น ถ้าไม่ดีต้องให้ไม่ดีน้อยที่สุด

การเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

  1.เรื่องที่เราอยากให้เปลี่ยน และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อยากให้เกิด

2. การเปลี่ยนจากข้างบนลนล่าง และเปลี่ยนจากล่างขึ้นบน

อะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

-  เวลา

-  สถานการณ์

-  คน

-  กฎ ระเบียบ

-  ความแตกต่าง การแข่งขัน สิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน

-  เทคโนโลยี

-  วิกฤติเศรษฐกิจ

ทำไมจึงไม่มีความเชี่ยวชาญการเปลี่ยนแปลง คือ การไม่มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง อย่าให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยการไม่จัดการ

Jack Welch  กล่าวว่า ต้องรู้จักเปลี่ยน ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน ไม่เช่นนั้นจะสายเกินไป 

  เราต้องมีการเรียนรู้ หาแนวทาง หาวิสัยทัศน์ วางนโยบาย คนที่สามารถประเมิน  (Estimate) รู้จักการคาดคะเน  หากคาดได้แม่นกว่าคนอื่น ก็จะเป็นคนที่พร้อมกว่าคนอื่น โดยการหาข้อมูล มีการเรียนรู้ ค้นคว้าการวิจัย และการศึกษา    

 

อะไรสำคัญที่สุดในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง 

-  ต้องยอมรับในฐานะผู้นำว่า องค์กรซับซ้อน เพราะทำงานเกี่ยวกับคน

-  ต้องเข้าใจว่าองค์กร ถูกผลักดันด้วยกระบวนการมากกว่าโครงสร้างขององค์กร  ต้องกลับไปดูกระบวนการการทำงานว่าชัดเจน และมีการตรวจสอบหรือไม่  ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่เป็น Flat Structure

-  เข้าใจระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แล้วจึงเกิดความสำคัญลำดับรองลงมา เช่น การเปลี่ยนกฎระเบียบของทางการ

-  เวลาเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนแปลงระบบด้วยเช่น ระบบการอนุมัติเงินกู้ ต่อไปจะเปลี่ยนให้สั้นลง ก็ต้องไปเปลี่ยนระบบด้วย

-  การยอมรับว่ามีหลายอย่างเกิดขึ้นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ ต้องมีการเตรียมพร้อมเสมอ ต้องมีแผนสำรอง

-  การยอมรับความเป็นมืออาชีพของผู้นำ  ควรเคารพและเชื่อฟังในฐานะที่เขาเป็นผู้นำ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง: องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความสำเร็จ

-  ต้องกำจัดแนวคิดที่เป็นความพอใจในผลสำเร็จขององค์กร ในการคิดว่าไม่สามารถพัฒนาได้อีกแล้ว หากไม่เปลี่ยนทัศนคติแบบนี้ก็จะเกิดความล้มเหลว  คือ เป็นเหยื่อของความสำเร็จของตนเอง “อย่านิ่งดูดาย ต้องเร่งปรับปรุง อย่าหยุดการพัฒนา”

-  ต้องสนับสนุนและทำเพื่อลูกค้า 

-  การที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในองค์กร

-  สนับสนุนเรื่องที่ทำสำเร็จง่าย ควรทำเสียก่อน

-  ต้องมีแผนการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน

-  การปรับพัฒนาองค์กร (Organization Development)

การเร่งเพื่อทำให้เกิดกระบวนการ

Current State    สถานภาพก่อนการเปลี่ยนแปลง

Transition State  ช่วงของการเปลี่ยนแปลง คือ เวลาระหว่างก่อนเกิด และหลังเกิดสามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่จะเกิดได้ให้ดีขึ้น หรือ แย่ลงได้จากช่วงนี้

Improved State  สถานภาพหลังการเปลี่ยนแปลง เช่น ระเบียบใหม่

หากการเปลี่ยนแปลงไม่ดี  ก็ควรทำให้แย่ลงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อะไรที่ดี ก็ควรจะทำให้ดีขึ้นมากๆ

สิ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงที่ต้องมี คือ

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leading Change)

-  สร้างความต้องการร่วมกันกับคนที่กระทบการเปลี่ยนแปลง

-  สร้างวิสัยทัศน์(Vision) ว่าเปลี่ยนแล้วได้อะไร

-  ต้องผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันภายในองค์กร 

-  การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน (Making Change Last)  ต้องควบคู่กับการพัฒนาองค์กร เปลี่ยนระบบที่ไม่เอื้ออำนวย

 

 

 

 


How about   DANCING QUEENs with YANEE

we can connect in line group EADP9.

สิ่งที่เรียนรู้ วันที่ 17 พค.56

หัวข้อ ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ผู้นำมีหน้าที่ผลักดันองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า  และทรัพยากรขององค์กรที่สามารถผลักดันองค์กรได้เป็นอย่างดีคือบุคลากรนั่นเอง ใช้ performance cycle ในการบริหารคน สิ่งที่สำคัญใน cycle คือการยกย่อง-ชมเชย

CHANGE BEFORE YOU ARE FORCED TO CHANGE. 

ในการจัดการการเปลี่ยนแปลง จะต้องยอมรับและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนั้น  และคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดจาการเปลี่ยนแปลง ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี  และบริหารจัดการด้านที่ไม่ดี 

key success factor => อย่าให้พนักงานรู้สึกสบายๆจนเกินไป/ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก/มี committent จากทุกภาคส่วน/ทำเรื่องง่ายๆก่อน/มีแผนที่นำทาง/นำการจัดการการเปลี่ยนแปลงนี้เข้าสู่แผนพัฒนาองค์กร

ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

กลุ่ม 1

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรม เพื่อการสร้างและบริหารทุนมนุษย์ของ กฟผ.

กับการพัฒนาที่ก้าวไกลและยั่งยืน

ประเด็นปัญหา

  การรับพนักงานใหม่ ในแต่ละปี จะได้นักศึกษา ที่ไม่ตรงตามความต้องการ เท่าที่ควร

   ต้องใช้เวลาในการ อบรม พัฒนาพนักงานใหม่ 1-2 ปี จึงสามารถทำงานในระดับ เบื้องต้นได้

  กฟผ. รับคน ที่ไม่มีความรู้ ตรงตามภารกิจในสายงานต่างๆ

สาเหตุ

  สถาบันการศึกษา จัดหลักสูตรการเรียน การสอน โดยไม่มุ่งเน้น ในอาชีพ ด้านใด ด้านหนึ่ง

   นักศึกษาไม่รู้ว่าจะต้องมาทำงานอะไร จึงไม่ได้เตรียมความพร้อมมาก่อน

  กฟผ. ไม่มีกระบวนการ รับคนที่เหมาะสม กับความต้องการของ สายงาน เข้ามาทำงาน

ปัญหาและอุปสรรคในการสรรหาบุคลากร กฟผ.

  ปัญหาในด้านบุคลากรของ กฟผ. ที่พอสรุปได้

Generation gap  หรือความไม่ต่อเนื่องในการรับพนักงานเข้ามาทำงานใน กฟผ. ซึ่งจะพบว่าช่วงอายุ 31-44 ปี มีสัดส่วนเป็น 46.8% ของคนช่วงอายุ 45-54 ปี หรือ 30.3% ของคนช่วงอายุ 45-60 ปี ซึ่งจะเห็นว่าการทดแทนของคนรุ่นนี้มีปริมาณค่อนข้างน้อย

พนักงานใหม่ที่รับเข้ามา แม้ว่าจะมีคุณวุฒิตามที่ต้องการ แต่จะพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ ความรู้และทักษะที่แต่ละหน่วยงานต้องการ ทำให้ไม่สามารถทำงานตามภารกิจของหน่วยงานได้ทันที

ในการเตรียมความพร้อมพนักงานใหม่ของแต่ละหน่วยงาน ต้องใช้ระยะเวลาในการอบรมทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติเพื่อให้สามารถทำงานในระดับมาตรฐานของหน่วยงานได้ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี อาจน้อยกว่านี้บ้างขึ้นอยู่กับลักษณะงาน โดยเฉพาะงานทางเทคนิค วิศวกรรม บัญชีและการเงิน จำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน กว่าจะได้ผู้เชี่ยวชาญ

สาเหตุของปัญหา

นโยบายของรัฐและ กฟผ.ในเรื่องการชะลอการรับพนักงานในบางปี ทำให้เกิดการขาดช่วงอายุคนทำงานไป

สถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรการเรียนการสอนตามระเบียบของกระทรวงฯ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้นักศึกษาเรียนแต่วิชาขั้นพื้นฐานที่มาค่อยเกี่ยวกับกิจการของ กฟผ.

พนักงานใหม่ขาดการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ทักษะที่จะเข้ามาทำงานกับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งทัศนคติในการทำงานกับหน่วยงาน และ กฟผ.

แนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้ได้บุคลากรตามต้องการ 

  เพื่อให้ได้บุคลากรที่ต้องการตามเป้าประสงค์ ของแต่ละหน่วยงาน จึงมีการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ในความต้องการพนักงานใหม่ของแต่ละสายงาน โดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis มาวิเคราะห์ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ กฟผ. และสายงาน

  ทางกลุ่มได้มีการวิเคราะห์ และมีผลสรุปแนวทางการสรรหาบุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละสายงาน โดยให้ได้บุคลากรที่มีความพร้อมทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการทำงาน โดยใช้แนวทางการจัดตั้งสถาบันการศึกษาของ กฟผ. หรือ University of EGAT เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม ในการที่จะจัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นมาเองนั้น ย่อมจะมีปัญหาและอุปสรรค แน่นอน เช่น ข้อจำกัด พรบ. กิจการ ของ กฟผ.เป็นต้น

  ดังนั้นจึงมีแนวคิดใหม่ว่าควรจัดตั้งเป็น Academy แทน เนื่องจากสามารถหาแนวร่วม พันธมิตรมาร่วมกันทำได้ จึงเกิดเป็นแนวทางของ EGAT Academy โดยมีเป้าหมาย ร่วมกันจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานต่างๆ ใน กฟผ. ทั้งทางภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ซึ่งความคาดหวังก็คือ เมื่อนักศึกษาจบออกมาแล้ว สามารถเข้าไปทำงานในหน่วยงานที่ชอบ และมีความถนัดได้เลย

  L1 พัฒนาระบบ HRM/HRD ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล

หลักการและเหตุผล  ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา กฟผ. รับพนักงานใหม่น้อยมากทำให้บุคลากรในปัจจุบันมีจำนวนลดลง  ส่งผลให้ปัจจุบันมีพนักงานไม่เพียงพอกับภารกิจ  แม้ในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา กฟผ. ได้รับพนักงานเพิ่ม  แต่ก็ไม่เพียงพอ อีกทั้งพนักงานเข้าใหม่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ทันที  และในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีพนักงานเกษียณจำนวนมาก  บุคลากรในงานบางด้านอาจขาดแคลน  ดังนั้นการเตรียมคนไว้รับงานในส่วนที่ขาดแคลนจึงเป็นภารกิจเร่งด่วนโดยตั้งสถาบัน หาพันธมิตร เพื่อสามรถจัดหลักสูตรตรงกับความต้องการได้ เพราะมีพื้นฐานจากสถาบันการศึกษารองรับ

แผนสรรหาและสร้างบุคลากรรองรับก่อนเข้าทำงาน

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้บุคลากรที่พร้อมทำงานและปลูกฝังวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร

ได้บุคลากรตรงกับงานของหน่วยงานและสามารถทำได้

เป้าหมาย

จัดตั้ง EGAT ACADEMY

ระยะเวลา

1 ปี

สิ่งที่คาดหวังจาก EGAT-Academy

-  ได้บุคลากรตามความต้องการ และพร้อมทำงานของสายงาน

-  ช่วยยกระดับความรู้ ทักษะ ให้บุคลากรในระดับประเทศ

Comment

คุณลุ่ย:มีข้อจำกัดเรื่องของการร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อผลิตคนให้ตรงกับสิ่งที่บริษัทต้องการ  มีจุฬาลกรณ์ที่ร่วมมือเพื่อให้เด็กที่จบการศึกษาเข้ามาอยู่ในองค์กรแล้ว

-  เรื่อง Proactive recruitment กฟผ.มีการเชื่อมโยงเข้าไปรับนิสิต แต่ข้อจำกัด คือ เด็กไม่เข้าร่วมโครงการ

-  การคัดเลือกคนไปอยู่บริษัทลูกนั้น  มีการพูดคุยว่าไปอยู่บริษัทลูก อาจจะเป็นช่วงสั้นๆ เช่น ส่งไปมาเลเซีย

-  ขอชื่อชนกลุ่มนี้ และขอสรุปว่า wise man think same thing

อ.จีระ:

- อยากให้เขียนเป็นแผนออกมา  และรองรับอาเซียน เพื่อเป็น international academy เพื่อให้พร้อม 

- ต้องเน้นเรื่องทุนมนุษย์  ต้อง link กับ อาเซียนให้ได้

- EGAT-Academy  นอก จาก learning center ต้องมีคนกำหนดนโยบาย และโครงสร้างต้องไม่ให้เป็น silo based ต้องทำให้เป็น execution

- โครงการนี้อยากให้มีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง

- HR ต้องเพิ่มเรื่อง recruitment และต้องมีการปลูกอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  แล้วมาถึงเรื่องการเก็บเกี่ยว สิ่งที่มองไม่เห็น คือ ความเป็นเลิศ ของชาวกฟผ. แต่ต้องมีคนสร้างมาบรรยากาศ และสุดท้ายตัวละคร HR ,Non-Hr ต้องมีผลตอบกลับต่อไป ต้องเป็นบรรยากาศที่แลกเปลี่ยนความรู้กัน

- เรื่องคนเป็นการทำงานที่ต่อเนื่อง และเอาชนะในระยะยาว  กระจายสิ่งที่ได้เรียนรู้แบบนี้กระจายไปให้ทั่วกฟผ. และให้เป็นพลังที่สำคัญในการพัฒนาต่อไป


วันที่ 18 พค.56  นำเสนอผลงานกลุ่ม "นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ."

จากที่ได้รับฟังการนำเสนอของทุกกลุ่ม ทำให้ทราบว่าผู้เข้ารับการอบรม EADP9 นี้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านต่างๆเพื่อให้ กฟผ. พัฒนาก้าวสู่สากลได้อย่างยั่งยืน

ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

กลุ่ม 2 กลยุทธ์และแผนงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ – SEPA

  จากการที่ รัฐบาลมีนโยบายนำ SEPA  มาประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งเป็นแนวทางที่คาดหวังเป็นเส้นทางสู่ความเป็นเลิศให้ กฟผ. นั้น กฟผ. มีกลยุทธ์คือการเสริมจุดแข็ง (strength) และแก้ไขจุดอ่อน (OFI ) ที่ได้มีการประเมินเอาไว้เมื่อปี 2555 ดังต่อไปนี้

หมวด 1 การนำองค์กร

strenght

  ทบทวนวิสัยทัศน์

  ระบบงานมาตรฐาน ISO 9001  14001

  ปฎิบัติแผนยุทธศาสตร์ในหมวด 2

  สร้างนวัตกรรมผ่าน QC, KM, TQM

  กำหนดให้บุคคลากรมีความจริงจังในการปฎิบัติงาน

  สื่อสารข้อมูลทั่วทั้งองค์กร

OFI

  ไม่พบการเข้าร่วมพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบและทั่วถึง

  ความไม่ชัดเจนในการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยม FIRM-C

หมวด 2การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

Strength

  จัดทำแผนวิสาหกิจ

  วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้กำหนดยุทธศาสตร์

  เพิ่มมูลค่าการดำเนินงานโดยเพิ่มรายได้,ลดรายจ่าย,บริหารทรัพยสิน  

  การดำเนินการตามยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน

OFI

  ไม่มีความชัดเจนสำหรับความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์

  ไม่มีความสมดุลของโอกาสระยะสั้น/ยาว และความท้ายทายระยะสั้น/ยาว

   ไม่พบการจัดสรรทรัพยากรอย่างคลอบคลุม

หมวด 3การมุ่งเน้นลูกค้าและลาด

Strength

  ระบบบริหารจัดการเสียงลูกค้า EGAT-VOC

  มุ่งเน้นสร้างความพึงพอใจลูกค้าผ่าน QC

  คณะอนุกรรมการข้อร้องเรียนลูกค้าพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ.

  ระบบประเมินความพึงพอใจ/ความภักดีลูกค้า

OFI

  ไม่พบการแสวงหาลูกค้าใหม่ และตลาดใหม่

  ขาดวิธีการในการดำเนินการให้ลูกค้ากล่าวถึง กฟผ. ในทางที่ดี

  ไม่พบว่ามีการนำข้อมูลการวิเคราะห์ส่งให้ทุกภาคส่วนใน กฟผ. เพื่อสนองตอบทุกข้อร้องเรียน

  ขาดความชัดเจนในประเด็นของการหาโอกาสในการสร้างนวตกรรมให้เกิดการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ

หมวด 4การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

Strength

  มีระบบการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง

  คยส.กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวชี้วัด

  ถ่ายทอดการวัด วิเคราะห์ไปสู่ระดับสายงาน

  ทบทวนความเหมาะสมตัวชี้วัดทุกปี

  คทส. ทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทสารสนเทศ กฟผ.

OFI

  ไม่พบการรองรับความเสี่ยงและเตือนภัยอย่างบูรณการ

  ไม่พบการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการสร้างนวัตกรรม

  ความไม่สอดคล้องของระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการปฎิบัติงาน

หมวด 5การมุ่งเน้นบุคลากร

Strength

  พัฒนาผู้บริหาร

  ส่งเสริมให้บุคลากรมีวัฒนธรรมที่พึงประสงค์

  มุ่งเน้นบุคลากร คนเก่ง และ ดี

  นโยบายและคำสั่งเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ

OFI

  ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากร

  ดำเนินการตอบสนองความต้องการบุคลากรไม่ครบทุกกลุ่ม

หมวด 6การจัดการกระบวนการ

Strength

·  กระบวนการควบคุมต้นทุนค่าไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพ

·  สร้างนวัตกรรมและการทำงานเป็นระบบ

·  กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญและแผนผลิตจัดการพลังงาน

·  ลดความบกพร่องการผลิตและส่งมอบไฟฟ้าให้เพียงพอ

·  คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและยุทธศาสตร์

OFI

  ไม่มีความเชื่อมโยง BCP ของแต่ละสายงานกับ BCM กรณีรองรับภาวะฉุกเฉินระดับองค์กร

  ไม่พบกระบวนการเชื่อมโยงของ QC ที่นำไปสู่การสร้างนวตกรรมอย่างเป็นระบบ

นวัตกรรม Call Center

เพื่อกำหนดระบบ   call centerให้มีประสิทธิผลสูงสุด โดยมีการรับข้อมูลจากข้อร้องเรียนจากหลายช่องทาง  นำไปกระจายสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงความร่วมมือกับ กฟน. กฟภ. มีระบบตอบกลับอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง ถึงสาเหตุ ระยะเวลาในการแก้ไข และระยะเวลาในการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีระบบการตรวจสอบ และสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า

คุณพิชญ์ภูรี:

-  ภาพรวมการนำเสนอเห็นว่าแต่ละกลุ่มใช้ 2R ได้ดีมาก โดยเฉพาะการตรงประเด็น

-  ชื่อโครงการของแต่ละกลุ่มตรงประเด็น แต่บางกลุ่มไม่สามารถรู้ว่าอะไรคือนวัตกรรมต้องฟังสักระยะหนึ่งก่อน

-  การแสดงวิสัยทัศน์และการนำเสนอผลงานของผู้บริหารสมัยนี้มีความจำเป็นมาก

-  บางอย่างเป็น reality ก็จะมีความคิดสร้างสรรค์น้อย

-  เรื่องนโยบายรัฐบาลเป็นสิ่งที่ทุกกลุ่มพูดว่าจะเปลี่ยนไปตามนโยบายรัฐบาล

-  ความคิดสร้างสรรค์กลุ่ม 6 มีความคิดสร้างสรรค์ดีมาก

-  ถ้าเอากลุ่ม 6 และกลุ่ม 4 รวมกันจะดีมาก

-  ขอฝากว่าต้องทำงานร่วมกันจะได้สิ่งที่ดีที่สุด

-  เรื่องโครงการต้องมีการจับให้ตรงประเด็น  มีความสำคัญมาก

-  กลุ่ม 4 นำเสนอขัดแย้งบ้าง เริ่มแรกไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ตอนหลังพูดว่าต้องใช้ถ่านหิน และต้องหาว่านวัตกรรมอะไร

-  เรื่องพลังงานหมุนเวียนควรจะนำมาใช้กับกลุ่ม 6

-  กลุ่ม 1 ยังขาดเรื่อง Network

-  กลุ่ม 3 เด่นเรื่องการนำเสนอในช่วงแรก แต่สุดท้ายก็กลับมาสรุปดีเป็นโครงการ IT เพราะลดขั้นตอน

-  กลุ่ม 2 เรื่องcall center  เข้าเรื่องโครงการช้าไปหน่อย

-  กลุ่ม 5 น่าสนใจมาก แต่นวัตกรรมยังไม่มี หากพลิกสถานการณ์เอาเรื่องกฟผ.ในอดีตมาทำจะดีมาก

อ.จีระ: โครงการวันนี้ต้องทำให้เกิดขึ้น และต้องมี network จับมือกับสถาบันการศึกษา

หากเราสามารถนำโครงการมรวมทั้ง 6 กลุ่ม ได้จะดีมาก หากกลับมามีเวลาใช้ศักยภาพของคุณที่มีภายในและใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจะทำให้ผลงานดีมาก


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

กลุ่ม 3

นวัตกรรมทางสังคมของ กฟผ สร้างศรัทธาที่แท้จริงจากปวงชน

ความหมายของนวัตกรรม

ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่และเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ทางสังคมเราก็เรียกว่า นวัตกรรมทางสังคม

  หลักของนวัตกรรม ประกอบด้วยมิติทางด้าน

1) ความใหม่ (Newness) มิติแรกที่จะต้องมีก็คือ ความใหม่ หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นตัวผลิตภัณฑ์บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้  เช่น ประตูรีโมท เวลากลางคืน มีไฟสปอตไลท์ฉาย, หลอด LED

2) ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits)

ในลักษณะของการเป็นนวัตกรรม ก็คือ การให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะสามารถวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้

  3) การใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) 

  ประการสุดท้ายของการเป็นนวัตกรรม ที่สามารถสรุปได้จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ก็คือ การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ หมายความว่า สิ่งที่จะถือเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบการทำซ้ำ

  กฟผ.ก่อตั้ง 2512 มีนวัตกรรมที่กฟผ.ได้รับรางวัล และเป็นสิ่งที่สังคมได้พิสูจน์เห็น คือ กฟผ. ได้รับ 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลการบริหารการจัดการองค์กรดีเด่น ครั้งที่ ๕ และรางวัลนวัตกรรมดีเด่นจากการพัฒนาระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนัก (Solar Weighted Tracking System) ที่ใช้น้ำเป็นตัวกลาง สำหรับควบคุมแผงโซลาร์เซลล์ของโครงการโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี  ในการทำเป็นโครงการต้นแบบ ทั้งเรื่อง CSR และสถาบันศึกษา  อนาคตจะขยายไปที่มหาวิทยาลัยอื่น

ปี 2555 รับ 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลบริหารจัดการองค์กรดีเด่น เป็นครั้งที่ 6 และ รางวัลนวัตกรรมดีเด่น เป็นครั้งที่ 2 จากเครื่องมือเพิ่มแถวลูกถ้วย (Insulator Delivery

ปี 2556  กฟผ. ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ส่องสว่าง LED”ระหว่างวันที่ 23 – 25 พฤษภาคม 2556 ณ อาคาร 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

  โครงการ กฟผ. ที่ประสบความสำเร็จ  และ เป็นที่ยอมรับจากสังคม

1.  โครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5  ร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการยอมรับ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม และบริษัทมีการแข่งขันกันเอง เพื่อแข่งกันประหยัดไฟฟ้า และให้มีการยอมรับต่อสังคม แม้กระทั่งข้าวกล้อง ก็เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย มีโครงการล้างแอร์ช่วยชาติ

2.  โครงการ โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนบ้านคลองเรือ  กว่า 80 กฟผ. ให้การสนับสนุนผ่านนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ที่มุ่งเน้นประสิทธิผลมากกว่าการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ โดยเน้นการสร้างประโยชน์ให้ชุมชนสังคมและประเทศชาติได้ตระหนักและรู้จักใช้ทุนชุมชนสู่การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โครงการ กฟผ. ใสสะอาด

ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อยากเห็น กฟผ.เติบโตเป็นองค์กรระดับสากลซึ่งการพัฒนานั้นมีอยู่ 5 มิติ ด้วยกัน คือ1.) เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นองค์กรที่ใสสะอาด ปราศจากทุจริต2.) มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูง (High Performance Organization) มีการพัฒนาคุณภาพกระบวนการทำงานส่งเสริมนวัตกรรม การเรียนรู้3.) เป็นองค์กรชั้นนำ มีผลการดำเนินงานที่สามารถเทียบกับองค์กรอื่นๆได้ในระดับสากล4.) เป็นที่ยอมรับของสังคม ได้รับความไว้วางใจ และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย5.) มีผลการดำเนินงานด้านการเงินที่ดี

จากมิติที่ 1 และ 4 จึงเกิดแนวคิดเป็นนวัตกรรมดังนี้* โครงการ กฟผ. ใสสะอาด

1.  กฟผ. รัฐวิสาหกิจแบบเปิด (EGAT OPEN STATE ENTERPRISE)

2.  2. สถาบันเทคโนโลยี กฟผ. ( EGAT INSTITUTE OF TECHNOLOGY)

โครงการ กฟผ. ใสสะอาด

จากการที่ ผวก. อยากเห็น กฟผ.เติบโตเป็นองค์กรระดับสากล ซึ่งการพัฒนานั้นมีอยู่ 5 มิติ โดยจะขอนำเสนอมิติที่ 1 และที่ 4 ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ  ดังนี้

  1.) เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นองค์กรที่ใสสะอาด ปราศจากทุจริต

  4.) เป็นที่ยอมรับของสังคม ได้รับความไว้วางใจ และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย

ดังนั้น ทางกลุ่มจึงเกิดแนวคิดเพื่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมและในการดำเนินการ  ดังนี้

1.  ให้ กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจแบบเปิด (EGAT OPEN STATE ENTERPRISE)

  โดยการพัฒนาปรับปรุงเวบไซต์ internet กฟผ. ให้เป็น เวบ Portal มีการนำเสนอที่ชัดเจน เข้าถึงได้ง่ายและอยู่ในหน้าหลักของ homepage กฟผ. เช่น การให้ข้อมูลที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการทราบ การให้ข้อมูลกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การมีระบบข้อร้องเรียน และ FAQ  การให้ข้อมูลกระบวนการธุรกิจของ กฟผ. แก่ประชาชนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย การเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นกับประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาด้าน CSR เป็นต้น

2.  ให้มีการจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยี กฟผ. ( EGAT INSTITUTE OF TECHNOLOGY)

โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ Knowledge Management ด้านต่างๆ เช่น ด้านโรงไฟฟ้า ด้านระบบส่ง  ด้านวิศวกรรม  ด้านเหมือง/เชื้อเพลิง ด้านอื่นๆ เป็นต้น คิดนวัตกรรมใหม่ๆด้านพลังงาน รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรม ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับสังคม โดย กฟผ. สนับสนุนทุนการศึกษาในรูปแบบ 1 โรงไฟฟ้า/เขื่อน 1 ชุมชน 1 ทุนการศึกษา

กล่าวโดยสรุป การที่จะให้ โครงการกฟผ. ใสสะอาด เป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สร้างศรัทธาที่แท้จริงอย่างยั่งยืนจากปวงชนชาวไทย ต้องคำนึงถึงการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ สร้างส่งเสริมด้านจริยธรรม และเปิดเผยข้อมูลให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับรู้ข้อมูลเพื่อให้ กฟผ. เป็นองค์การที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย

อ.จีระ:  กลุ่มนี้เน้นยุทธศาสตร์ระดับ Macro ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก  กฟผ.เน้นเรื่อง social network ต้องทำให้เกิดวัฒนธรรมขึ้นมา ต้อง share ข้อมูลและมีการเรียนรู้ให้มาก

ขอชมเชยทุกกลุ่มเพราะเป็นนวัตกรรมหมด มีการพรีเซนต์งานที่ดี นำเสนอรูปแบบที่ดี

สามารถถ่ายโยงเรื่องนวัตกรรมเข้ามาได้ ส่วนที่ยากที่สุดคือ การได้รับการยอมรับ และความไว้ใจจากสังคม  การมอง Social innovationของกลุ่มนี้ เน้นเรื่องการสร้างศรัทธาก่อนพื้นที่

คุณลุ่ย:  มีวิธีการนำเสนอที่ดี ตอนแรกคิดว่ามีอะไรใหม่ แต่มาสรุปแล้วดี โดยเฉพาะการนำ it มาช่วย egat เองมีหลายgen การใช้ It ไม่มีทักษะ ต้องทำให้เด็กรุ่นใหม่อยากจะมาอยู่

เมื่อมองเรื่อง Life chat ต้องทำการเป็นกะ ภาษาที่สื่อควรภาษาเทคนิคยาก สิ่งที่ต้องคิด คือ ต้องทำให้เป็นภาษาชาวบ้านที่สามารถสื่อให้ชาวบ้านเข้าใจด้วย

กลุ่ม 3 ขอแชร์หนังสือ เรื่องพลานุภาพแห่งความไว้วางใจ ของ Stephen R.Covey ซึ่งเป็นการสร้าง trust ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่กำจัดข้อจำกัด เพื่อประโยชน์ทางสังคมที่ยั่งยืน

อ.จีระ: ขอฝากเรื่องการสร้าง Trust ของชุมชน คือ ต้องก้าวข้าม silo ให้ได้

คุณพิชญ์ภูรี: มีจุดผิด คือ การไม่ได้ให้คะแนนประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งควรจะสร้างตรงนี้ให้ได้ เพราะจะได้รับประโยชน์อย่างมาก


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

กลุ่ม 4

ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2025

จากข้อมูลของ BP Statistical Review of World Energy เมื่อปี ค.ศ.2012 พบว่าปริมาณสำรองเชื้อเพลิงจาก Fossil จะมีพอสำหรับใช้งานอีกประมาณ 50 ถึง 100 ปีโดยเชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมันจะมีใช้งานอีก เพียง 54  ปี ก๊าซจะมีใช้งานอีก 63 ปี และถ่านหินจะมีใช้งานอีก 112 ปี ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะมีปริมาณสำรองของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดไม่เท่ากันโดยน้ำมันและก๊าซจะมีมากบริเวณประเทศแถบตะวันออกกลาง และถานหินจะมีมากบริเวณประเทศแถบ เอเชียแปซิฟิก อเมริกาเหนือ และยุโรปรวมไปถึงยุโรปตะวันออก ในขณะเดียวกันความต้องการใช้พลังงานของโลกก็เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้าจะมีความต้องการใช้พลังงานเพื่อนำมาผลิตเป็นไฟฟ้ามากที่สุด

  เมื่อมองสัดส่วนการใช้พลังงานปฐมภูมิ (Primary) เพื่อผลิตไฟฟ้าพบว่าแต่ละประเทศจะพยายามจัดสัดส่วนการใช้พลังงาน เพื่อปรับสมดุลของการใช้พลังงานปฐมภูมิให้เหมาะสมให้เกิดความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเกิดภาวะขาดแคลนพลังงานปฐมภูมิชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ในประเทศไทยปัจจุบันมีการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 68 ของพลังงานที่ใช้ผลิตไฟฟ้าทั้งหมดทำให้เกิดข้อกังวลด้านความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้าหากเกิดปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติจะกระทบไปถึงการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานในประเทศซึ่งจะพบว่าเมื่อแหล่งก๊าซที่ส่งก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าทั้งในอ่าวไทย และในประเทศพม่า แหล่งใดแหล่งหนึ่งเกิดปัญหาจะต้องมีมาตรการลดการใช้ไฟฟ้าในประเทศทุกครั้ง
  กฟผ. ได้เห็นจุดอ่อนของสัดส่วนในการใช้พลังงานผลิตไฟฟ้ามาโดยตลอดและได้พยายามปรับสัดส่วนของการใช้ก๊าซธรรมลง โดยเพิ่มสัดส่วนของถ่านหินนำเข้าให้มากขึ้น และได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย แต่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆที่ใช้ถ่านหินนำเข้าเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้านั้นจะมี  อุปสรรค์ ทุกครั้งโดยจะถูกต่อต้านจากประชาชน ชุมชน ในพื้นที่ที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ

  การจัดทำแผนวิสาหกิจของ กฟผ. ได้มีการทบทวนปรับปรุงยุทธศาสตร์ในหลายๆด้านเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า สร้างการยอมรับของชุมชน สังคม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้า ด้วย

  จากการเข้าสู่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) ปี 2015 (พ.ศ.2558) ส่งผลให้ กฟผ. ต้องมีการเตรียมตัวรับกับการเข้าสู่ AEC ซึ่งจะเป็นโอกาสในการเพิ่มศักยภาพในการจัดหาแหล่งพลังงานและไฟฟ้าเข้ามาใช้ให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ รวมถึงการนำองค์กรเข้าไปสู่องค์กรแห่งอาเซียน และเป็นองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้าในระดับสากล กฟผ. ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักออกเป็น 4 ด้านเพื่อนำพา กฟผ. ไปสู่องค์กรขั้นนำในกิจการไฟฟ้าในระดับสากล อันได้แก่

1.  เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจหลัก

2.  สร้างการเติบโตของบริษัทในเครือ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

3.  เป็นองค์การที่ห่วงใยสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

4.  เป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง

จากยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้านจะส่งผลในระยะยาวต่อ กฟผ. โดยเฉพาะในด้านธุรกิจหลักคือ การผลิต และส่งไฟฟ้า จะทำให้อีก 10 ปีหลังจากการเข้าสู่ AEC คือในปี ค.ศ.2025 (พ.ศ.2568) กฟผ. จะมีระบบส่งไฟฟ้าที่ทันสมัยก้าวเข้าสู่ระบบ Smart Grid มีความมั่นคงเชื่อมโยงไปทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ มีโครงข่าย Optical Fiber ไปพร้อมกับสายส่งไฟฟ้าสามารถให้บริการระบบโทรคมนาคมได้ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ กฟผ. จะเป็นศูนย์ประสานการซื้อขายไฟฟ้าระดับภูมิภาคแห่งอาเซียนและอนุภาคลุ่มน้ำโขง (ASEAN Regional Power Trade Coordination Center :ASEAN RPTCC) เมื่อมีการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าในอาเซียน (ASEAN Power Grid) ในด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน กฟผ. จะมีระบบบริหารการจัดการพลังงานที่ครอบคลุมไปถึงโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น SPP หรือ VSPP กฟผ. จะมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นคือการตั้งสถานีชาร์จไฟสำหรับรถไฟฟ้า (Electric Vehicle) โดยขั้นต้นจะอยู่ตามสถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. และขยายตัวไปตามการเติบโตของรถไฟฟ้านอกจากประเทศอาเซียนแล้วยังรวมถึงประเทศ GMS

ประโยชน์

1. เพิ่มความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนจากการจัดสรร และใช้ทรัพยากรต้นพลังงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2.ถ่ายเทพลังงานระหว่างประเทศอย่างเอื้อประโยชน์ต่อกัน ทำให้ประเทศในอาเซียนไม่ต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น

3. สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการสื่อสารรวมถึงการวางท่อก๊าซอาเซียน

ระบบการจัดการพลังงานหมุนเวียน

  ระบบการจัดการพลังงานครอบคลุมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งหมด และ Microgrid ต่างๆ  (SPP/VSPP)

  มีระบบกักเก็บพลังงาน (Storage) เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็นการเก็บพลังงานไฟฟ้า

  Battery Storage 

  Pump Storage เขื่อนฟ้าลำตะคอง เขื่อนศรีนครินทร์

  มีสถานี Charge ประจุสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (Electrical Vehical) ปัจจุบันในต่างประเทศเริ่มมีแล้วแต่ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย

ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง Fossil กฟผ. จะใช้สถานีที่ของโรงไฟฟ้าเดิมซึ่งมีการลงทุนระบบต่างๆไว้แล้วรวมถึงได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากชุมชนแล้ว เช่น ที่ กฟผ. แม่เมาะ เมื่อโรงไฟฟ้าเดิมหมดอายุลงจะทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทดแทน เมื่อถ่านลิกไนต์แหล่งแม่เหมาะหมดลงจะใช้ถ่านหินนำเข้าเข้ามาทดแทน รวมทั้งจากการศึกษาข้อมูลทรัพยากรที่ใช้ร่วมในการผลิตไฟฟ้าเช่นแหล่งน้ำพบว่าที่ แม่เมาะ ยังสามารถรองรับการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 3,600 MW โดยสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน รฟ.แม่เมาะ4-7  600 MW (ใช้ถ่านลิกไนต์จากแหล่งแม่เมาะ) สร้างโรงไฟฟ้าทดแทน รฟ.แม่เมาะ8-13  1,800 MW (ใช้ถ่านหินนำเข้า) และสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 1,200 MW (ใช้ถ่านหินนำเข้า)  ซึ่งจะสามารถลดสัดส่วนโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติลง และยังเป็นทางเลือกในกรณีที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน

ข้อมูลด้านแหล่งน้ำ

ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 4-13 ใช้น้ำดิบเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณปีละ 60 ล้าน ลบ.เมตรช่วยบรรเทาภัยแล้งลุ่มน้ำแม่จางปีละ 10 ล้าน ลบ.เมตรรวมใช้น้ำดิบปีละ 70 ล้าน ลบ.เมตรโดยใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่จาง แม่ขามและระบบสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลมประมาณปีละ 16 ล้าน ลบ.เมตร

ในภาพของธุรกิจหลักของ กฟผ. ในปี 2025 ข้างต้นได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแผนรองรับยุทธศาสตร์ของ กฟผ.  และเพิ่มเติมด้วยการศึกษาความพร้อมของการสร้างโรงไฟฟ้าที่แม่เมาะ สำหรับภาพขององค์กร ไม่สามารถคาดการณ์ได้เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อสถานภาพของ กฟผ. ที่สำคัญที่สุดคือ นโยบายจากรัฐบาล แม้ว่าในอนาคตสถานภาพของ กฟผ. เป็นอย่างไรการพัฒนาธุรกิจหลักของ กฟผ. ก็ยังเดินหน้าไปตามแผนที่วางไว้เช่นเดิม

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

1.  กฟผ.จะลดการพึ่งพา GAS โดยเพิ่ม Coal ปี 2026

2.  กฟผ.จะต้องทำธุรกิจเชิงรุกผ่านทาง EGAT International เพื่อขยายฐานธุรกิจทั้งสร้างโรงไฟฟ้าและแหล่งเชื้อเพลิงและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ  

3.  การดำเนินธุรกิจใน EGAT Group ต้องมิความชัดเจน ไม่แข่งขันกันเอง

4.  กฟผ.จะต้องสร้างพันธมิตรเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบ เช่น กฟผ.มี MOU การซื้อขายพลังงานไฟฟ้าช่วง Peak กับ เวียนนาม พม่า เขมร ลาว จีน เป็นต้น

5.  กฟผ.จะต้องพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่ในการสร้างเป็นโรงไฟฟ้าสูบกลับ

6.  กฟผ.จะต้องพัฒนาหาประโยชน์สูงสุดจากสายส่ง

7.  กฟผ.พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมของ กฟผ.ให้เป็น Training Center ของ ASEAN

คุณลุ่ย: พูดจุด จุดแข็งของกฟผ. ซึ่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านกินโดยขนส่งทางรถไฟ

-  ควรส่ง input ของกลุ่มนี้ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-  เรื่อง location ดีใกล้สุวรรณภูมิก็เป็นสิ่งที่ดี

อ.จีระ: การเขียนโครงการของรุ่นนี้มีประโยชน์ เป็นข้อเสนอของกลุ่มที่จะimport coal ไปที่แม่เมาะ โอกาสที่จะสร้างที่แม่เมาะ น่าจะง่ายกว่ากระบี่

ประเด็นที่ขอแนะนำโครงการนี้ คือ ควรมีแผน 1 แผน 2 แผน 3  โครงการนี้คนกฟผ.ควรจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีมาก และน่าจะมองยาวมากกว่า 10 ปี


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

กลุ่ม 5 นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการ กฟผ. ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015

แนวคิด

-  ผลักดันให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถทางการแข่งขันที่สูงขึ้น

-  เชื่อมโยงพลังงานเข้ากับประเทศในอาเซียน

-  สนองยุทธศาสตร์พลังงานในการเชื่อมระบบเข้าสู่ AEC

-  เตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้า

การวิเคราะห์ SWOT ของ กฟผ. ต่อการก้าวสู่ AEC

โดยในขั้นแรกของงานโครงการศึกษานี้ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ SWOT สรุปได้ว่ามี Strength ทั้งหมด 4 ข้อ

-  มีความพร้อมด้านทรัพยากร ( 4 M )

-  ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของประเทศ (ศูนย์กลาง AEC)

-  มีประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าแบบครบวงจร

-  มีองค์ความรู้และการบริหารจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้อง

Weakness ทั้งหมด 4 ข้อ

-  การดำเนินการล่าช้าเนื่องจากเป็นองค์ขนาดใหญ่

-  ความสามารถในการบริหารการเงินยังมีศักยภาพไม่ทัดเทียมระดับสากล

-  การบริหารงานส่วนใหญ่มีลักษณะ ไซโล (Silo)

-  บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Baby Boomer

Opportunity ทั้งหมด 2 ข้อ

-  บริษัทในเครือมีศักยภาพในการขยายงานไปสู่ประเทศ C-L-M-V

-  สามารถเพิ่มกำลังผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ

Threats ทั้งหมด 4 ข้อ

-  Power strategic Partner ยังขาดการประสานให้เป็นทิศทางเดียวกัน

-  กฎ-ระเบียบ ทางราชการ ทำให้ขาดความคล่องตัว

-  ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าไม่ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน

-  มีความซับซ้อนเรื่องการควบคุมระบบไฟฟ้า

แนวทางการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการ กฟผ.ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015

  ธุรกิจการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและระบบผลิต

  การลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าผ่านบริษัทในเครือ

  มีหน่วยงานกำกับดูแลด้านนโยบายของบริษัทในเครือ

  ธุรกิจด้านการบริการ เป็นงานที่กฟผ.ทำอยู่แล้ว

  ศูนย์กลางด้าน O&M โรงไฟฟ้า

  ศูนย์กลางด้าน O&M ระบบส่ง

  ศูนย์กลางด้านการฝึกอบรม

  ศูนย์กลางด้าน DSM

  EGAT Way 

  ศูนย์กลางการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของอาเซียน (APG)  สิ่งที่จะทำให้อนาคต

  พัฒนาระบบ Smart Grid  สร้างเครือข่ายให้มีศูนย์ควบคุมไฟ

  พัฒนาระบบโครงข่ายเชื่อมโยงไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้าน

  ความร่วมมือกับต่างประเทศ

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการ กฟผ.ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015

อาเซียน เพาเวอร์ กริด เกิดขึ้นในการประชุมผู้นำสูงสุดอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Informal Summit) ครั้งที่ 2 เมื่อ 15 ธันวาคม 2540 ที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เพื่อกำหนดทิศทางใหม่สู่ปี 2563 ด้วยวิสัยทัศน์อาเซียน 2563 (ASEAN Vision 2020)สนับสนุนให้เกิด 3 ปัจจัยหลักของ การพัฒนาได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงิน ความมั่นคงทางพลังงาน และเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร

อ.จีระ: ขอชมเชยกลุ่มนี้ รู้ว่ากฟผ.ทำเรื่องควาสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอะ

ขอเสนอ 2 ประเด็น ระหว่าง อาเซียน กับ CLMV  ซึ่งการทำ EGAT Academy น่าจะทำได้ดี ถึงไม่มี 2015 ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีเช่นกัน

กฟผ.มีบริษัทลูกแต่ทำน้อยไปหน่อยเพราะอะไร ทำไมกฟผ.ไม่ถือหุ้นมากกว่านี้

คุณลุ่ย: กลุ่มนี้ยังไม่เป็นนวัตกรรมเท่าที่ควร ถ้ามีบริษัทลูกแต่ทำน้อยไปหน่อยเพราะอะไร ทำไมกฟผ.ไม่ถือหุ้นมากกว่านี้ เพราะข้อจำกัดทางภาครัฐ และข้อกฎหมายอีกมากมาย ที่ทำให้กฟผ.เดินไปไม่ได้

-  เรื่อง ASEAN POWER GRID เป็นโครงการที่เกิดมานานแต่ไม่ชัดเจน  เพราะการลงทุนร่วมกันยังไม่เกิด เพราะใช้เงินลงทุนสูง การแบ่งผลประโยชน์ไม่ชัดเจน

-  เรื่องการtrain ASEAN POWER GRID จริงๆแล้วในอาเซียนมีโรงเรียนลักษณะนี้อยู่แล้ว  แต่อาจจะยังขาดเรื่องสื่อ

-  ต้องปลูกฝังระบบคิดของคนในประเทศที่จะดึงเรื่องอาเซียนให้เกิดประโยชน์กันประเทศไทย ให้ประโยชน์แก่อาเซียนและระดับโลก 


ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

กลุ่ม 6  

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ.

ลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ

จัดหาโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก 4 โรงในระหว่างปี 2553 – 2573 เพื่อให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีความมั่นคง และมีต้นทุนต่ำ

ใช้เทคโนโลยีทันสมัยและสะอาด ลดมลพิษไห้ดีกว่ามาตรฐาน

ลดความกังวลของประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีนวัตกรรมที่ประชาชนยอมรับ

เทคโนโลยีหินสะอาด

1.  ลดการเกิดไนโตรเจนออกไซด์(DRY LOW NOX  (DLW)

2.  ดักจับฝุ่นละออง

3.  กำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) (Seawater Flue Gas Desulfurization (SWFGD)

4.  กำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) (Selective Catalytic Reduction (SCR)

เงื่อนไขและข้อจำกัดในการศึกษา

1.  สถานที่อยู่ใกล้ทะเล เป็นพื้นที่ที่ซื้อใหม่ และไม่อยู่ในชุมชนที่หนาแน่นเป็นสถานที่ใหม่ ไม่ติดชุมชน

2.  เป็นโรงไฟฟ้าขนาด 800MW  2units เพื่อความคุ้มทุนเริ่มจากการสร้างยูนิตแรกก่อน ค่อยเพิ่มเป็นยูนิตที่ 2

แนวคิดของนวัตกรรม

“ใช้หลักวิชาภูมิสถาปัตย์ช่วยในการออกแบบ เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม”

ต้องเก็บลูกส้มที่อยู่ใกล้ก่อน ก่อนที่จะไปเก็บที่ต้น เปรียบเหมือนทำอะไรที่ง่ายก่อนแล้วค่อยทำที่ยุ่งยากซับซ้อน

1.  ปลูกต้นไม้รอบพื้นที่โรงไฟฟ้า เป็น Buffer Zone ลดผลกระทบจากเสียง ,ฝุ่น และปรับปรุงทัศนียภาพแถวมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นตัวอย่างที่ดี ของการปลูกต้นไม้ดูดซับฝุ่นและเสียง

2.  การออกแบบ Cooling water channel เพื่อระบายน้ำร้อนจากโรงไฟฟ้า โดยให้มีพื้นที่สัมผัสอากาศมากๆ(เพื่อการระบายความร้อน) ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำ โดยไม่ต้องสร้างระบบหอหล่อเย็น ลดผลกระทบจากเสียง และปรับปรุงทัศนียภาพ

3.  การกำหนดระดับ zone ตัวโรงไฟฟ้าให้สูงขึ้น หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในข้อ 1 และ2

4.  การออกแบบสวนสาธารณะให้ชุมชนมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา (มีเวลาเปิด-ปิดเหมือนสวนสาธารณะทั่วไป)

ประเมินผลความคุ้มทุน

  เดิมใช้พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้า 1,000 ไร่ โดยเป็นพื้นที่สีเขียว 300 ไร่ (30%)

  โครงการนี้ต้องใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 400 ไร่คิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม 200 ล้านบาท

  ค่าก่อสร้างภูมิสถาปัตย์ ประมาณ 300 ล้านบาท

  เป็นเงินค่าก่อสร้าง 500 ล้านบาท

  ค่า Operate+Maintenance ตลอด 25 ปี 1,000 ล้านบาท

สรุป

-  โครงการนี้เป็นการเสนอแนวคิดที่จะลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสร้างภาพลักษณ์ให้ได้รับการยอมรับจากชุมชน โดยใช้การออกแบบง่ายๆ ไม่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

-  ไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไม่กระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า

-  เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งในการสร้างการยอมรับ จากชุมชน ซึ่งในความเป็นจริงต้องใช้การดำเนินงานหลายๆทาง เช่น

-  การทำมวลชนเพื่อสร้างการยอมรับ

-  นโยบายการรับคนท้องถิ่นเข้าทำงาน

-  การตอบแทนชุมชนในเรื่องต่างๆ

-  การบริหารจัดการเงินกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า

-  ให้ชุมชนมีส่วนร่วม

-  ให้ชุมชนมีความรู้สึกในการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า

อ.จีระ: ขอชมเชยว่ามีทั้ง 3 ศาสตร์ วิศว ภูมิสถาปนิก และสิ่งแวดล้อม  เป็นโครงการทีเป็นแนวทางโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ใหม่เกิดขึ้นจริง ๆเพราะมีการพูดหลายปีแล้ว

  สิ่งที่น่ากังวลคือ หาพื้นที่ใหม่ และคำว่าไม่มีชุมชน ซึ่งหายากในประเทศไทย ชอบคำว่านวัตกรรมว่าเป็นเรื่อง่ายๆ เรื่องของการใช้ และข้ามไปถึง finance

-  มองเรื่องคน เทคโนโลยี คน เกิดการข้ามศาสตร์ 

-  ต้องหาความรู้ ใฝ่รู้ มีการอ่านหนังสือมากๆ

คุณลุ่ย:

-  สิ่งที่ชื่มชน เพราะเป็นไอเดีย Proactive การออกแบบก่อสร้างโรงไฟฟ้า  และพูดเรื่อง green  คิดตั้งแต่เริ่มสร้างว่าต้องคำนึงเรื่อง green

-  สิ่งที่ทำsimple และเชื่อว่าชุมชนจะชอบ

คุณจิระเดช:

-  เทคนิคใหม่ที่ญี่ปุ่น ทำคอนกรีตพรุน ทำให้น้ำหนักเบาลง เวลาฝนตกจะซึมลงชั้นล่างไม่ไหลออก ทำให้ไม่เกิดน้ำท่วม

-  ประเทศไทยควรทำคอนกรีตพรุนลงในร่องระบายน้ำ

-  อังกฤษ โรงงาน บ้านคน ใช้หลังคาคอนกรีตเอาทรายใส่และปลูกสนามหญ้าจะเป็นการแก้มลพิษไปในตัวด้วย ลงทุนโครงสร้างทีเดียว

Cooling  tower มีน้ำยาที่ล้างตัวตะกรัน แล้วไม่จับอีกเลย 

 

 สิ่งที่ได้รับจากการได้ไปวัดเสือวันที่ 1 มีค. 56

เป็นโอกาสดีที่ได้ไปกราบนมัสการเจ้าอาวาสหลวงพ่อวิสุทธิสารเถร  วัดนี้ใม่เหมือนวัดทั่วไป

คือเป็นทั้งวัดและสวนเสือ ได้เห็นการเลี้ยงดูสัตว์ที่ดุร้ายอย่างเสือด้วยความรักและเมตตา

วัดนี้ฝรั่งมาเยอะมากเนื่องจากทำเป็นลักษณะทัวร์แบบ Adventure  มีการบริหารจัดการ

ที่มีประสิทธิภาพจนเป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ  หมอทีดูแลสัตว์ทั้งหมดในวัดเล่าให้ฟังว่าเสือ

ที่นี่ได้รับการเลี้ยงดูดีที่สุดในประเทศ  นอกจากจะมีเสือแล้ว  ก็ยังมี หมูป่า ,  วัว , เลียงผา และ

กวาง  วัดนี้นอกจากจะเป็นสถานที่ที่ผู้คนได้มาทำบุญปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบร่มเย็นของจิตใจ

ยังเป็นสถานที่ที่พวกสัตว์เหล่านี้อยู่ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ถูกล่าจากนายพรานทั้งหลาย




แปล Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีจีนกล่าวว่า การเจรจา 2 ฝ่าย (bilateral)ที่เข้มแข็งจะเป็นการสร้างกลยุทธ์ด้านความสมดุลและ ความสงบได้

แนวทางในการพัฒนาประเทศของจีนเป็นการสร้างโอกาสทดแทนการสร้างจุดอันตราย 

ประธานาธิบดี ซิ จินปิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกไว้เมื่อเดือนมีนาคมในการเยือนกรุง
มอสโคว  ซิได้อธิบายนโยบายการต่างประเทศของจีนและการสร้างสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียใน

การกล่าวสุนทรพจน์กับคู่เจรจาของเขาคือ Vladimir Putin และ ผู้เข้าร่วมพิธีลงนาม การลงทุน floating platform ทางด้านพลังงานและสัญญาอื่นๆ ในการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของเขาเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

  ในการแสดงตัวต่อกลุ่มนักเรียนในกรุงมอสโคว  ซิ ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในเรื่องการสื่อสารระหว่างประเทศจากความแตกต่างของส่วนต่างๆของโลกกลับเพิ่มความใกล้ชิดและประสานกันเป็นการพัฒนาแนวโน้มหลักในยุคใหม่

  การเผชิญหน้าในสงครามเย็นจะไม่ยั่งยืนอีกต่อไป  ขณะนี้การก้าวสู่ขั้นของการเปลี่ยนแปลง
จากอดีตยุคเก่าที่เป็นแบบสงครามเย็นและยุค
Zero-sum game จะถูกกำจัดออกจากระบบ

  ซิ ต่อต้านการแทรกแซงนโยบายระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆ เขากล่าวว่า เราควรเคารพสิทธิของแต่ละประเทศโดยให้มีความอิสระในการเลือกแนวทางการพัฒนาประเทศ เราไม่สนับสนุการเข้าแทรกแซงอธิปไตยของประเทศอื่น

จีน ควรที่จะแสดงความเป็นอธิปไตยของประเทศอย่างเข้มแข็ง โดยภาครัฐและประชาชน
ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาโดยผ่านการเจรจาระหว่างภาครัฐบาลและประชาชน

สิ่งเหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ของประชาธิปไตยเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ของจีนและรัสเซียนั้นควรเป็นสัญญาร่วมกันก่อนที่จะเริ่มทางการฑูต
และพัฒนาโอกาสของทั้งสองประเทศจากความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง

  ซิ ได้ตัดสินใจที่จะเจรจากับนักศึกษาในวิทยาลัยในรัสเซีย โดยทั้งสองประเทศจะยกระดับความเข้าใจของทั้งสองประเทศและเป็นการเจรจา 2 ฝ่ายในการพัฒนาเยาวชนของทั้งสองซึ่งจะผูกพันธ์ถึงระยะเวลาที่ทั้งสองประเทศเกิดภาวะวิกฤตของการฟื้นฟูประเทศ

ทั้งสองประเทศมีความชัดเจนมากในการเริ่มสร้างความฝันและการพัฒนาที่จะมาสนับสนุนข้อตกลงของแต่ละประเทศซึ่งจะรักษากลยุทธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ไว้ว่าการเยือนครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจอย่างลึกซึ้ง ของทั้งจีนและรัสเซีย
ได้มีการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางการทหารในอนาคต

ในกรุงมอสโคว ซิ ยังได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย Dmityr Medvedevต่อมาประธานาธิบดีของรัสเซีย ได้บินไปเยือนแอฟริกาใต้และสาธารณรัฐคองโก ในแอฟริกาใต้เขาได้เข้าร่วมประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 5




แปล 5Grouping on track to be ‘ grobal force ‘

การประชุมร่วมกันของ 5 ผู้นำประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่เมืองเดอบาน  อาฟริกาใต้ 
เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาทางการเงินและการทำ
ธุรกิจ  ทั้ง 5 ประเทศประกอบด้วย บราซิล , รัสเซีย ,อินเดีย , จีน และ อาฟริกาใต้ ซึ่ง นายสี จิ้นผิง

ประธานาธิบดีของจีนได้แสดงความเชื่อมั่นถึงความสำเร็จของความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจถึงแม้ว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกจะถดถอย

BRICS ก่อตั้งมา 5ปีและยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและควรส่งเสริมให้มากขึ้น  การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ขอประชาชน 3,000ล้านคน สร้างโอกาสในการทำธุรกิจมหาศาล

จากการสำรวจศักยภาพของความร่วมมือกันของ BRICS พบว่าปริมาณการค้าของ 5 ประเทศนี้น้อยกว่า 1 % ของปริมาณการค้าโลก  เขาสนับสนุนนักลงทุนชาวจีนเข้ามาร่วมทำธุรกิจในกลุ่ม BRICS
ร่วมทั้งนักลงทุนประเทศอื่นในกลุ่ม BRICS ด้วย  นอกจากนั้นเขายังสนับสนุน BRICS และประเทศต่างๆในทวีปอาฟริการ่วมมือกันเพื่อส่งเสริมให้อาฟริกาเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ของโลก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขอให้มีการประชุมในกลุ่มของ BRICS และขอให้สนับสนุนคณะกรรมการ

BRICS Business ที่ถูกตั้งขึ้นมา  คณะกรรมการจะปฏิบัติงานภายใต้ผู้แทนของแต่ละประเทศทั้ง 5 ประเทศ 
ซึ่งจะทำให้การปฎิบัติงานต่างๆมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่งก
ารทำงานจะคล้ายกับองค์การการค้าโลก เพียงแต่Scaleเล็กกว่าเท่านั้นเพื่อแก้ปัญหาทางการค้าต่างๆและพยายามให้เกิด Free Trade Zone นอกจากนั้นยังมีการลงนามร่วมกันก่อตั้งสภา BRICS Think Tank จนพัมนามาเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา BRICS ( BRICS new Development  bank ) วงเงิน 4.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์  เพื่อใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ



แปล Xi highlights bonds of shared destiny

การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ จะเป็นการขยายเพิ่มเติมของคำมั่นสัญญาของประธานาธิบดี และเพิ่มความเข้มแข็ง ของกลุ่มประเทศในภูมิภาค

จีน จะใช้ความพยายามในการขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกาเหมือนเป็นการเชื่อมความสำคัญของกลุ่มประเทศดังกล่าว ท่ามกลาง การร่วมชะตากันเป็นคำกล่าวของประธานาธิบดี ซิ ของจีนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกของเขาในนโยบายความร่วมมือของทั้งสองประเทศ

ปักกิ่ง ก็มีความหวังเช่นเดียวกันที่จะเห็นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศรวมทั้งประเทศอื่นๆและแอฟริกาดีขึ้นผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าความสัมพันธ์ของจีนและแอฟริกามีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาและผู้นำประเทศจะต้องแสดงเชาว์ปัญญาในการจัดการรูปแบบความสัมพัพันธ์ดังกล่าว

ซิ ให้ข้อสังเกตระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่ ทานซาเนีย (Tanzania) ซึ่งเป็นประเทศที่ 2ของการเยือนต่างประเทศหลังจากได้รับเลือกตั้งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีซิ ได้ไปเยือนแอฟริกาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และกล่าวที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ Julius Nyerere ซึ่งเป็นศูนย์ประชุมที่จีนสร้างให้ใน Tanzaniaและ ฉลองการส่งมอบในวันที่ 25 มีนาคม ว่า “ขอให้มั่นใจว่าจีนจะมุ่งมั่นขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกาอย่างเข้มข้น”

ความเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมมือของประเทศในแอฟริกาเป็นรากฐานที่สำคัญของนโยบายการต่างประเทศของจีนมาโดยตลอดซึ่งสิ่งนี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจีนจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นและก้าวสู่ความเป็น International มากขึ้นก็ตาม จีนแลแอฟริกาจะยังคงสนับสนุนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เรามีความสนใจและความตระหนักอย่างเดียวกัน
ซึ่งในข่วงเวลาที่ผ่านมมาในประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าจีนและแอฟริกาเป็นชุมชนที่ได้แบ่งปันจุดหมายปลายทางร่วมกันมาโดยตลอดและจีนจะยังคงให้ความช่วยเหลือแอฟริกาโดยปราศจากเงื่อนไขทางการเมืองต่อไป

การค้าระหว่างจีนกับแอฟริกามีมูลค่าถึง 2แสนล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ จีนยังจะให้เครดิตแก่ประเทศแอฟริกา2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2013-2015และปักกิ่งจะขยายความร่วมมือในการลงทุน, ภาคการเงิน,และการพัฒนาสาธารณูปโภคการคมนาคมระหว่างประเทศและระหว่างูมิภาคในแอฟริกาอีกด้วย

จีนจะฝึกอบรมในระดับอาชีพให้แก่ชาวแอฟริกันจำนวน 30,000 คนและจะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนจากแอฟริกาจำนวน 18,000 คนและเพิ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์

ประธานาธิบดี ซิ ยืนยันความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่าง 2 ประเทศโดยไม่แบ่งแยกด้วยขนาดของประเทศ ความแข็งแกร่งของประเทศ หรือความมั่งคั่งของประเทศนอกจากนี้ยังกล่าวว่าปักกิ่งคาดหวังความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศแอฟริกาและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆ

แอฟริกาเป็นของชาวแอฟริกันทุกคนดังนั้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับแอฟริกาประเทศต่างๆจะต้องให้เกียรติและเคารพความเป็นอิสรภาพของแอฟริกาซึ่งจีนจะต้องให้ความจริงใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้
โดยจีนจะต้องธำรงความสัมพันธ์แบบให้เกียรติกันและกัน และก่อให้เกิดความร่วมมือแบบ
วิน-วิน (win-win) ซึ่งผมเชื่อว่ามีโอกาสและมากกว่าความท้าทายและมีหนทางแก้ไขปัญามากกว่าความยากลำบาก
แถมท้ายด้วยการพูดอย่างมีอารมณ์ขันเกี่ยวกับหนังชุดของจีนที่ฉายและโด่งดังใน Tanzaniaในปีที่แล้ว
ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมชาวแอฟริกันได้มองเห็นความสลับซับซ้อนของชีวิตชาวจีนได้บ้าง

ประธานาธิบดีของ Tanzania นาย Jakaya กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง  Sino-Tanzania มีมาอย่างมั่นคงยาวนานและเป็นบทพิสูจน์ทางกาลเวลาว่าเราต่างเป็นเพื่อนที่จะเติบโตไปด้วยกัน” นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า “นโยบายของ Tanzania ต่อจีนนั้นถูกชี้นำด้วยการตัดสินของTanzaniaเองซึ่งมาจากความสนใจขั้นพื้นฐาน และที่ผ่านมาจีนได้เป็นผู้สนับสนุนที่พึ่งพาได้และการรวมตัวของประเทศต่างๆในแอฟริกา และประเทศโลกที่ 3จะถูกดึงดูดด้วยความเที่ยงตรงในโลกเศรษฐกิจเท่านั้น”

นอกจากนี้ James F Mbatiaประธานกรรมการวิศวกรก่อสร้างศูนย์ประชุมยังกล่าวอีกว่า “ชาวแอฟริกันมีศักยภาพที่จะตัดสินว่าใครเป็นผู้ช่วยเหลือพวกเรา”



สรุปวันที่ 14 พ.ค. 56

กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

  ได้ทราบว่าโรคอ้วนจะมีผลเสียต่อสุขภาพมากมาย การจะลดความอ้วนแต่เดิมเข้าใจว่าไม่ให้กินของมันๆเท่านั้น

  แต่จริงๆแล้วการลดความอ้วนต้องลด(หรือไม่กิน)คาร์โบไฮเดรตเช่นข้าวรวมทั้งหยุดกินผลไม้ด้วย  เพราะคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลซึ่งให้พลังงานน้ำตาลส่วนที่เหลือจะกลายเป็นไขมันทำให้อ้วนนั่นเอง  ส่วนผลไม้มักจะหวานเพราะมีน้ำตาลประกอบอยู่มากดังนั้นจึงต้องงดด้วย 

  สรุปคือหากต้องการลดความอ้วนให้ “ กินเนื้อและกินผัก” จะทำให้ลดความอ้วนลงมาได้  โดยผักจะช่วยในเรื่องย่อยอาหารและขับถ่ายเพราะจะมีกากใยมาก  ทั้งนี้หมอแนะนำให้กินเนื้อ 1ส่วนและผัก 2ส่วนในแต่ละมื้อ

............................................................................................................................................................................................... 


วันที่15 พฤษภาคม 2556

หัวข้อวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับกฟผ.

อ.พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล

อ.ไกรฤทธิ์  บุณยเกีรยติ

ประเด็นท้าทายจาก อ.พงษ์ชัย

-ปัจจุบันกฟผ.มีสัดส่วนผลิตไฟฟ้า 46% หากสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ ความสำคัญของ กฟผ.ก็จะลดลง
การผลิตเองก็จะแพงกว่าผู้ผลิตรายอื่น  ในภาพรวมก็ดูดี  แต่กับ กฟผ.เองก็ต้องพิจารณาให้ดี

-สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงต้องปรับให้สมดุลมากขึ้นมิฉะนั้นจะเสี่ยงและมีราคาแพง

ประเด็นท้าทายจาก อ.ไกรฤทธิ์ .......เสนอให้คิด 6 ประเด็น

1ต้องทำให้ค่าไฟถูกที่สุด

2ผูกพันกับลูกค้าปลายน้ำ(กฟน.และกฟภ.)ให้ยาวนานขึ้นด้วยการทำสัญญาต่อกัน

3 คุมบางส่วนของการผลิต  โดยเฉพาะในบริษัทลูก

4สายส่งและแนวเขตใต้เสาไฟฟ้า  ......อนาคตน่าจะหาประโยชน์ได้มาก

5ต้องมีsource of fund เอง .....เพราะอนาคตอาจกู้ลำบากเนื่องจากเกินเพดานเงินกู้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากเงินกู้ 2 ล้านล้าน

6 หาแหล่งพลังงานต้นน้ำ.....เช่นในลาว  พม่า เป็นต้น

*** นอกจากนั้นให้ดูhidden  asset ในเรื่องการเงินด้วย  ซึ่งจะทำได้ก็โดยมี CFO ที่เก่งๆ และทำให้ cost of fund ที่ต่ำลง

  ต้องมีสัมพันธภาพกับนักการเมืองทุกคนและทุกค่าย

  ต้องพยายามหาข้อมูลพิเศษจากรัฐหรือนักการเมือง

.................................................................................................................................

วันที่15 พฤษภาคม 2556

หัวข้อกฟผ.กับการก้าวสู่ AEC

อ.พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล

อ.ไกรฤทธิ์  บุณยเกีรยติ

จากปัจจัยหลายๆเรื่องที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเช่น
สภาวะโลกร้อน  วิกฤตพลังงาน  ประชาคมอาเซียน  เศรษฐกิจของประเทศตะวันตกตกต่ำ  อายุประชากรที่สูงขึ้น  รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานเป็นต้นทำให้
กฟผ.ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมหลายเรื่องเช่น

- กฟผ.ต้องทำตัวเป็นผู้รู้เรื่องเป็นอย่างดีเกี่ยวกับไฟฟ้าในอาเซียน  โดยต้องทำอย่างรวดเร็วเพราะจะเปิดเสรีภายในสิ้นปี2558 นี้แล้วและต้องนำพวกเดียวกันมาทำ strategic  partner ด้วย

-รวบรวมผู้ที่รู้เรื่อง project management เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าไว้ทั้งหมด
เพื่อเตรียมใช้งานในอนาคต โดยมีเป้าหมายว่าในอาเซียนให้มาเรียนกับเราทั้งหมด

- ส่งออกผู้เชี่ยวชาญของเราไปทำงานต่างประเทศให้มากขึ้น

- เลือกคบประเทศที่ใกล้ชิดพื้นที่ติดกันก่อน(ยกเว้นมาเลเซีย)


..............................................................................................................

วันที่ 16 พฤษภาคม2556

EGAT Leader & Teamwork

อ.เฉลิมพล เกิดมณี

ทำให้ทราบถึงเทคนิคของการเป็นผู้นำและการบริหาร Teamwork ซึ่งต้องร่วมกันทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ
ทั้งด้านกายและใจ 
การสื่อสารต้องดีเข้าใจให้ตรงกันด้วย 
การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน 
การมีพันธมิตร

..................................................................................

วันที่ 16 พฤษภาคม2556

Art & Feeling of presentation and Effective Public Speaking

อ.จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล

- ได้ทราบว่าในการแสดงออก
มีผลต่อความประทับใจต่อผู้ได้พบเห็นเป็นสัดส่วนคือภาษากายหรือพลังทางกาย มีผล 55% ภาษาสื่อสารหรือพลังทางการสื่อสารมีผล 38% ที่เหลือเป็นพลังทางด้านความคิดสร้างสรรค์
มีผล 7%

-การที่จะยืนบนเวทีการนำเสนอที่มีสายตาผู้ชมมากมายมองดูตั้งแต่หัวจรดเท้าได้นั้น  ต้องสามารถก้าวผ่านความกลัวจาก comfort zone ไปยัง leadership zone ให้ได้  ซึ่งก็คือต้องมีพลังทางกายและพลังทางการสื่อสารที่เพียงพอเสียก่อน(93%=55%+38%)นั่นเอง


...................................................................................

วันที่17 พฤษภาคม 2556

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

อ.นภัสวรรณ  จิลลานนท์

- ทำให้ทราบถึงวิธีดูแลและปรับปรุงบุคคลิกภาพของตัวเราเอง
เพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่ดูดีและเหมาะสมในการเข้าสังคม

- การปรับปรุงบุคลิกภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้ของที่มีราคาแพง  แต่ให้เลือกใช้ให้เหมาะกับกายภาพหรือลักษณะของตนเองก็ดูดีขึ้นได้

- การแต่งตัวทั้งหน้าตา ทรงผมหรือเสื้อผ้า
รองเท้า ทั้งหมดนี้ต้องดูกาลเทศะว่า เราจะไปทำอะไร?ที่ไหน? เป็นหลัก

-ได้ทราบถึงมรรยาทในสถานการณ์ต่างๆเช่น
บนโต๊ะอาหาร  การนั่งในห้องรับแขก การนั่งรถกับแขก เป็นต้น

- องค์ประกอบที่มีผลต่อบุคลิก มี 3 อย่างคือ สีสัน เส้นสาย  สัดส่วน


วันที่17 พฤษภาคม 2556

“จากประสบการณ์การทำงานที่ ปปช.”สู่การปรับใช้ที่กฟผ.

อ.วิชา  มหาคุณ

-  อ.วิชาได้อธิบายว่าปัญหาความเสียหายอย่างรุนแรงจากการทุจริตในสังคมไทยนั้น
มีรากเหง้ามาจากระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมานานมาก 
ซึ่งแต่เดิมเป็นไปทั้งเอเชีย แต่ปัจจุบันแก้ไขไปได้แล้วในหลายประเทศเช่น
สิงคโปร์  ฮ่องกง ญี่ปุ่น  เกาหลี ไต้หวันเป็นต้น

- ระบบอุปถัมภ์จะมีเรื่อง ฝาก  ฝาก  และ ฝาก หรือคิดแต่ว่าจะพึ่งพาใครดี

- ประเทศไทยมีลำดับความโปร่งใสอยู่ท้ายๆของโลก

- คนไทยยังขาดจิตสำนึกสาธารณะอยู่อีกมาก

- ลองถามตัวเองดูว่าตัวเราเองในฐานะผู้บริหารได้มีการเสนอการปรับปรุงในเรื่องนี้ในหน่วยงานตนเองกันบ้างหรือไม่?

- ความสุขไม่ได้ขึ้นตามรายได้ที่มากขึ้น  เช่นประเทศภูฐานซึ่งมีรายได้น้อยมากแต่กลับมีความสุขมาก


- ความหมายของ corrupt คือการบิดเบือนในหน้าที่ที่ปฏิบัติ 
.....หรือจะสรุปให้ชัดเจนก็คือการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

.............................................................................................................................

วันที่17 พฤษภาคม 2556

ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

อ.ประกาย  ชลหาญ

- หน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานคือสร้างผลงานให้องค์กร

- หน้าที่หลักในฐานะหัวหน้ามี 2 เรื่องคือ

  1. สร้างทีมให้เก่ง  พร้อมจะทำงาน

  2. สร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ทำงาน

-  การทำ project ใดๆ ให้ถาม 2 คำถามก่อนคือ

  1. ทำให้คนของเราเก่งขึ้น  เพิ่ม competency ขึ้นหรือไม่?

  2. เป็นการกระตุ้น(motivation)ให้คนทำงานได้ดีขึ้นหรือไม่?

-การสื่อสาร.....ให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ 
และไม่ให้รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้

-หลักในการสื่อสารคือ ....ให้ข้อมูลในปริมาณที่จำเป็นกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
และในเวลาที่เหมาะสม

-ปัญหาที่มักจะทะเลาะกันคือ....... งานนี้ผมควรทำ
ทำไมคุณมาแย่งผมทำหรืองานนี้คุณต้องทำ ทำไมมาให้ผมทำ 
ทั้งนี้มีสาเหตุจากโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน......แต่แม้ว่าโครงสร้างจะชัดเจนก็ยังมีเหตุให้ทะเละกันได้เช่นกัน

-วัฒนธรรมองค์กรแต่ละอย่าง(เช่นรักองค์กร) จะต้องแปลงให้เป็น behavior (เช่นทุ่มเทในงาน)ให้ได้

- หัวหน้าอย่าทึกทัก(assume)ไปเองล่วงหน้า ให้ถามลูกน้องก่อน

-การเปลี่ยนแปลง( change)มี 2 แบบคือ
เรื่องที่เราอยากให้เปลี่ยน และเรื่องที่เราไม่อยากให้เปลี่ยน

-อย่าปล่อยให้อะไรเกิดไปตามบุญตามกรรม

-ให้เปลี่ยนแปลงตนเองเสียก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

-ให้แจ้งข่าวดีก่อนแจ้งข่าวร้าย

-การประเมินให้ประเมินทั้งด้านดีและไม่ดี 
โดยเฉพาะด้านไม่ดีต้องพิจารณาให้ละเอียด

-การเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้น 
สามารถนำ
GEs  Change Model มาปรับใช้กับหน่วยงานได้

..............................................................

วันที่18พฤษภาคม2556

นำเสนอผลงานกลุ่ม”นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

  ทำให้ทราบถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์นวตกรรมในด้านต่างๆรวม6ด้าน ที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย  ซึ่งทำให้เห็นถึงทางเลือกที่ผู้บริหารนำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจได้มากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ใกล้กับการเปิด AEC ในปี 2558นี้





วันที่ 14 พฤษภาคม 2556

กิจกรรม รักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี(สามเสน) กรุงเทพฯ

ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะ ที่ได้นำกิจกรรมดีๆมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้เข้ารับการอบรม EADP มาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรนี้ เพราะแม้ว่าเราจะทำงานเก่งปานใดก็ตาม แต่หากมีปัญหาสุขภาพ ร่างกายไม่แข็งแรง ป่วยประจำและไม่พร้อมในการทำงานแล้วเป็นเรื่องยากที่จะประสบผลสำเร็จได้ ในกิจกรรม รักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนยะรรมชาติบำบัดบัลวี(สามเสน) จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เตือนให้เรารักษาสุขภาพไปพร้อมๆกับการพัฒนาด้านอื่น กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนยะรรมชาติบำบัดบัลวี มี 3 ภาค ดังนี้

ภาคที่ 1 การบรรยาย”ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง” โดยอาจารย์ นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล เป็นนำเรื่องการกินเข้ามาปฏิบัติซึ่งจะช่วยให้เกิดการเจ็บป่วยน้อยลงและถือว่าการกินอาหารเป็นยารักษาโรคอย่างหนึ่ง การนำมาปฏิบัติจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

ภาคที่  2 เป็นการแนะนำการออกกำลังกายของผู้สูงวัย เช่น การอบรังสีสีเขียวจากใบไม้ การออกกำลังกายในน้ำ(Hydro-aerobics) การอบสมุนไพร การอบซาวน่าสลับการอาบน้ำเย็น

ภาคที่ 3 การลงมือทำกิจกรรมในภาคที่ 2

สิ่งที่ได้จากกการเข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ เป็นการแนะนำให้เรารู้จักดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมต่อสู้กับงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดลำดับแรกของชีวิต การร่วมกิจกรรมที่กิจกรรม รักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี(สามเสน) คงไม่ใช่เข้าร่วมกิจกรรมแล้วจบ แต่กิจกรรมครั้งนี้เป็นการแนะนำการออกกำลังกาย เปิดมุมมองให้กับผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านเพื่อนำไปปฏิบัติเป็นประจำต่อไป และเป็นความจำเป็นต้องถือปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี

วันที่ 15 พฤษภาคม2556

หัวข้อเรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.(วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Stake Holder)

โดย ศาตราพิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

       ผศ.คร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผศ.คร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ได้นำเสนอให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เห็นภาพถึงการประกอบธุรกิจไฟฟ้าของ กฟผ.มีความสำคัญน้อยงลง พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกน่าเป็นสิ่งที่ กฟผ.ต้องมุ่งเน้น ศาตราพิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ได้เสนอสิ่งที่ท้าทาย ความกล้าของ กฟผ.ได้แก่ Supply Side ค่าไฟฟ้าที่ถูกคือมีต้นทุนต่ำ การเกิดรับซื้อไฟฟ้ารายใหม่ ที่ผูกเรื่องราคา สัญญา ลงทุนร่วมกับคู่แข่งในกิจการเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เช่น หุ้นกับผู้ผลิต Solar Cell หารายได้จาก Asset เรื่องสายส่งไฟฟ้าทั่วประเทศ Source of Fund และแสวงหาโอกาสเป็นต้นน้ำ และศาตราพิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ได้กล่าวถึงกฎการต่อสู่ในยุคแห่งการแข่งขันดังนี้

กฎข้อที่ 1 การศึกษา Cultures ที่เป็น Reward  เช่น ชาวบ้านเมื่อไปเยี่ยมบ่อยยิ่งดีใจ

กฎข้อที่ 2 Decentralize ,Compact Adaptive System และ Uncontrollable ซึ่ง EGAT ต้อง Self-Auto pilot คือต้องกำหนดทิศทางตนเองได้เหมือนการควบคุมเดินเรือที่ไม่เห็นฝั่ง

กฎข้อที่ 3 มีทัศนคติที่ดี เช่น ราชการไม่มีเงินไม่มีไอเดีย NGO มีไอเดียมีเงิน เป็นต้น

องค์กรที่พัฒนาถึงระดับหนึ่งจะคิดนอกกรอบ ตัวอย่างขององค์กรที่ขาดความคิดนอกรกอบและไม่มีใจในการเป็นเจ้าของ เช่น อคส. รสพ.ซึ่งในขณะนั้นมีแนวทางในอนาคต คือ ปรับโครงสร้าง ตัดสิ่งไม่ดีออกไป ยุบทิ้ง และอีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างน่ายกย่อง พนักงานในองค์กรมีใจในการเป็นเจ้าของช่วยกันคิดนอกกรอบจนสามารถเดินด้วยขาตัวเองได้ คือ กรมไปรษณีย์ไทย ซึ่งคนในองค์กรณ์มีส่วนร่วมในการสร้างแรงผลัก

Window of Opportunity

·  Leader ต้อง Produce Future Leader

·  การเมือง เช่น ผู้นำจีนกล่าวสุนทรพจน์ Speeches of Change

·  ชุมชน ต้องจัดการสิ่งที่คาดไม่ถึง

·  ต่างประเทศ ต้องจัดการกับ Unpredictable

Resistant of Change อาจารย์ได้มีการเล่าเรื่องเพื่อเปรียบเปรยให้กับผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงตัวอย่างพฤษติกรรมของ กบ เมื่อนำกบใส่ลงในหม้อที่มีน้ำเย็นและค่อยๆเพิ่มความร้อนกบจะค่อยๆปรับตัว แต่ถ้านำกบใส่น้ำร้อนเลยกบจะกระโดดหนี เป็นต้น บริษัทกล้องโกดัก ไม่มองตลาดยังคงพัฒนาฟิล์มต่อไปขณะคู่แข่งสร้างนวัตกรรมเป็นกล้องระบบ Digital ขึ้นเป็นต้น

  หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มของผู้เข้ารับการอบรมได้ เสนอแนวคิดต่อ กฟผ. ได้ชี้แจงข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เวทีอย่างก้าวขวางและหลากหลาย เป็นที่พอใจด้วยกันทุกฝ่าย อาจารย์ได้ตั้งข้อสังเกตุสรุปให้เห็นว่าทุกเรื่องที่ผู้ร่วมอภิปรายจะแสดงความกังวลเรื่องหลักคือกรอบกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งเป็นการบ้านของผู้บริหาร กฟผ.จะต้องนำพา กฟผ.ก้าวผ่านให้ได้

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้ กฟผ.อยูในช่วงการเปลี่ยนถ่าย นโยบานรัฐเริ่มลดบทบาทของ กฟผ.ในการผลิตไฟฟ้า ผู้บริหารและพนักงานทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการนำพาองค์กรให้รอดพ้นและสู่ความเจริญ เราทุกคนจะต้องรู้บทบาทของตนเอง รู้สถานะขององค์กร รู้คู่แข่งทางธุรกิจและรู้ยุทธศาสตร์เพื่อทางรอดขององค์กร

หัวข้อเรื่อง กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเชียนและประชาคมเศรรษฐกิจอาเชียน(AEC)

โดย ศาตราพิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

  ผศ.คร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  อาจารย์ ได้นำเสนอ กฟผ.มีประเด็นท้าทายที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเชียน 10 ข้อ ดังนี้

1.  เกี่ยวกับต้นทุนและการลงทุน กฟผ.จะต้องมี CFO ทางการเงินเข้ามาสนับสนุน

2.  ประเด็นวัตถุดิบต้นน้ำ กฟผ.จะต้องสร้างโอกาสในร่วมมือในงานวิจัยพัฒนาร่วมกับบริษัท

3.  มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนพื้นที่ กฟผ.ต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์แบบมืออาชีพ

4.  การทำนายปริมาณน้ำในการผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ถูกต้อง

5.  การผลิตไฟฟ้าทางเลือก กฟผ.ต้องพร้อมทุกสถาณการณ์

6.  การรับมือการแข่งขัน กฟผ.ต้องเป็นทั้งคู่แข่งและภาคีร่วมผลิตไฟฟ้า

7.  ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย ซึ่ง กฟผ.ดูแลได้ดีอยู่แล้วแต่ก็ไม่ควรประมาท

8.  นโยบายภาครัฐและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ กฟผ.ต้องมีการประเมินสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโลโลยี ไปพร้อมกับทางหนัทีไล่หลายๆทาง

9.  รูปแบบในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนและ AEC ของ กฟผ.ในอนาคต โดย กฟผ.ควรจะมีการรวบรวม Models ต่างๆของหน่วยงานต่างๆของโลกมาปรับใช้

10.  โอกาสในการทำธุรกิจอื่นๆนอกเหนือจากการผลิตและการจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้า

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้ จากประเด็นทั้ง 10 ข้อคือโอกาสและสิ่งท้าทายเบื้องต้นเท่านั้น มีอีกหลายประเด็นที่ผู้บริหาร กฟผ.ทั้งในยุคปัจจุบันและผู้บริหารรุ่นใหม่ รวมทั้งผู้เข้ารับการอบรม EADP ทุกท่าน จะต้องสุมหัวกันในการศึกษาหา Models ที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ใน กฟผ.ต่อไป

กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันที่อังคารที่ 14 พ.ค. 2556 ในวันนี้ได้ไปที่ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ ได้ฟัง นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และพ.ญ. ลลิตา ธีระสิริ บรรยายถึง ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร และเรื่งอ วารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ พร้อมทั้งได้เข้าร่วมในการทำวารีบำบัด แบบต่าง ตั้งแต่ อบซาวน่า อบสมุนไพร อบใบตอง ออกกำลังในน้ำ ตลอดทั้งวันทำให้ได้รับความรู้เรื่อง การลดน้ำหนักที่ต่างจากความคิดเดิม คือ ให้ลดโดยการทานเนื้อกับผัก ในอัตรา 1 ต่อ 2  และไม่ทานคาร์โบไฮเดรท พวกข้าว แป้ง นม ต่างๆ นอกจากนี้ในการดำรงชีวิต ไม่ใช่ทำงานอย่างเดียว แต่ต้องออกกำลัง ดูแลสุขภาพ เพื่อให้ตนเองสามารถมีชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง ด้านเรื่อง วารีบำบัด นั้นทำให้ทราบถึงการอบซาวน่า ว่าไม่ควรเข้าอบนานเกิน 2 – 3นาที และเมื่อออกมาให้ลงน้ำเย็น เพื่อให้เลือดที่เจอร้อน ขยายตัวใกล้ผิวหนัง จะได้ดหดตัวเมื่อเจอน้ำเย็น เป็นการให้อวัยวะภายในได้ปรับเปลี่ยนบ้าง นั่นคือต่อไปต้องออกกำลัง และดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันพุธที่ 15 พ.ค. 2556 วันนี้ไปอบรมที่ ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ในช่วงทั้งเช้าและบ่ายมีการเสวนา เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. (วัฒนธรรมองค์กร / การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Steakholder) และเรื่อง กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. (วัฒนธรรมองค์กร / การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Steakholder) ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล มองในมุมผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้เสียภาษี และนักลงทุน ได้ให้ข้อมูล กฟผ. ถึงการผลิตไฟฟ้า ว่า กฟผ. มีการผลิต 46 % IPP 39 % SPP 8 % นำเข้า 7 % สัดส่วนการผลิต กฟผ. ลดลง ส่วนที่ไปลงทุนในบริษัทลูก กฟผ. 5 ที่ บางที่ ถือหุ้นในจำนวนที่น้อย ได้แก่ECGO  25 % RATCH 45 % กฟผ.อินเตอร์เนชั่นเนล 99.99 % DCAP 35 % EGAT Diamond service  45% ซึ่งเมื่อดูผลประกอบการ กำไรเทียบกับการลงทุน  กฟผ. จะน้อยกว่า  ในส่วนนี้ ทาง ผู้เข้าฟังให้รายละเอียดว่า การที่ กฟผ. ไม่สามารถถือได้มาก เพราะจะไม่สามารถไปรับทำงานภายนอกประเทศได้ นอกจากนี้ อ.ยังได้พูดถึงการใช้เชื้อเพลิงการผลิต แพงกว่าเอกชน ทำให้ต้นทุนสูงกว่า และมองว่า การผลิตของ กฟผ. ลดลง อ.แนะนำให้หาแหล่งผลิตจากเชื้อเพลิงใหม่ และใช้ระบบส่งไฟฟ้าหาประโยชน์เพิ่มเติม

  ด้าน อ.ไกรฤทธ์ ได้ให้มุมมองจากการเป็น Supply โดยมองประมาร 6 ด้าน คือ

1. ต้องทำให้ cost และค่าไฟฟ้าถูกที่สุด

2. สัญญาซื้อขายไฟกับ 2 การไฟฟ้า คือ กฟภ. กฟน. เป็นแบบระยะยาว

3. เป็นหุ้นส่วนกับคู่แข่ง

4. ด้านสายส่ง ให้ลองใช้ประโยชน์จาก ใต้แนวสายส่ง

5. หาแหล่งทุน เช่น เข้าตลาดหุ้น ลงทุนใน Big C ลงทุนในต่างประเทศ

6. หาแหล่งผลิตที่สาละวินจะได้ทั้ง ไฟ และน้ำ

นอกจากนี้ให้เก็บเรื่องประสบการณ์ต่างๆ ขึ้นบัญชีผู้ที่รู้ในกฟผ. ด้านต่างๆ หาผู้รู้เรื่องการเงิน  สร้างเครือข่ายผู้เกษียณอายุ กฟผ. และสร้างความสัมพัน์กับนักการเมือง

  เรื่อง กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อ. พงษ์ชัยได้ให้แนวคิดเรื่องที่ กฟผ. ต้องพบกับปัจจัยภายนอก คือ สภาวะโลกร้อน วิกฤตพลังงาน การขาดแคลนทรัพยากร และประชาคมอาเซียน และเน้นเรื่องที่จะใช้ทรัพยากรจาก ประเทศ CLMV  คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งมีทรัพยากรมาก  และให้เข้าไปลงทุนต่างประเทศ

  ด้านอ.ไกรไกรฤทธิ์ ได้ให้แนวคิดจากภายนอก  10 ข้อ คือ

1. ด้านต้นทุนและการลงทุน ให้หาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาช่วยในนโยบายและปฏิบัติการ

2. วัคถุดิบต้นน้ำ ให้ร่วมกับมหาวิทยาลัย ประเทศเพื่อนบ้าน วิจัยพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ

3. มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนพื้นที่ ให้มีการประชาสัมพันื สร้างความเข้าใจ อย่างเช่น แม่เมาะ เป็นต้น

4. การทำนายปริมาณใช้ไฟฟ้าได้ยากขึ้น ให้หาวิธีการ พัฒนาวิธีในการทำนายได้ตรง

5. การผลิตไฟฟ้าทางเลือก ต้องหาทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าอย่างอื่น

6. การรับมือการแข่งขัน ให่ส่งเสริมมีการผลิตไฟฟ้าแบบต่างๆ

7. ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย กฟผ.มีการทำดีแล้ว แต่ให้มีการแลกเปลี่ยนกับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาคล้ายกัน

8. ประเด็นนโยบายภาครัฐและทิศทางยุทธศาสตร์ กฟผ. ต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการร์ และมี lobbyist กับกระทรวง รัฐบาล

9. รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC ให้มีการรวบรวม Model การผลิตไฟฟ้าในรูปแบบต่างทั่วโลก เพื่อเป็นทิศทางในการเลือก

10. โอกาสในการทำธุรกิจอื่นๆ ให้หาทางดำเนินการธุรกิจอื่นเช่น สื่อสาร โทรคมนาคม ให้เช่าทรัพย์สิน

นอกจากนี้ อ. ได้ให้สร้างความไว้วางใจกับกลุ่มประเทศในอาเซียน


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันพฤหัสบดีที่ 16 พ.ค. 2556 แบ่ง 2 ช่วง คือ

ช่วงเช้า เรื่อง EGAT LEADER & TEAMWORK โดย ดร. เฉลิมพล เกิดมณี  ซึ่งต้องเชื่อว่ามนุษย์สร้างได้ โดย ต้องมีการเห็นคุณค่าตรงกัน (value) และประโยชน์ร่วมกัน จึงไปกันได้ ส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration) เกิดฝันที่มีอนาคต (Imagination)  และมุ่งไปสู่เป้าหมายผลสำเร็จ (Goal) โดยในระหว่างไปสู่ Goal  ต้องมีความสามารถ (Capability) และที่สำคัญคือความอึด ความเพียร (Endurance)  นอกจากนี้ยังได้เรื่อง 4Qs คือ Intelligence Quotient  (IQ) Emotional Quotient (EQ) Moral Quotient (MQ) และ Survival Quotient (SQ)  โดยทั้ง 4 ตัว เมื่อนำมาเขียนเป็นแกนทั้ง 4 ด้านจะได้เป็น D – นักผจญภัย  C- นักทฤษฎี S- นักปฏิบัติ และ S- นักกิจกรรม  ซึ่งเมื่อเรามีประสบการณ์มาก เราจะอยู่ในบทบาทใดบทบาทหนึ่งขึ้นกับสถานการณ์ และมีฐานเป็นนักต่างๆ ส่วนการนำไปใช้กับทีมก็ต้องเข้าใจในทีมเป็นบุคคลประเภทใด เพื่อที่จะมอบหมายงาน หรือให้คนกลุ่มอื่นๆช่วยเหลือกัน นอกจากนั้น การตัดสินใจต่างๆ ให้นำ 4 Qs มาใช้ก่อนตัดสินใจ สำหรับเรื่องทีม ต้องมีใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ได้รับประโยขน์ที่ร่วมกัน โดยอยู่บนเงือนไขที่ตกลงกัน ผู้เป็นหัวหน้าทีมต้องมีใจกว้าง และการไปสู่ความสำเร็จ ต้องมีตัวช่วย ได้แก่ สถาพภูมิศาสตร์ ความชอบ เวลา สถานการณ์ คนรอบข้าง และเทคโนโลยี ในการทำโครงการให้สำเร็จ ทีมต้องมีทิศทาง  ต้องมี 1. เป้าหมาย ถ้าใหญ่ให้แบ่งย่อยออกมา  ทำย่อยก่อน 2. หาจุดยืน ปรับแนวความคิดให้ตรงกัน  3. วิเคราะห์ ทำไมจึงทำ 4. มีตัวช่วย ดังได้กล่าวข้างต้น และ 5 วางแผน ปฏิบัติ มีการปรับปรุงและพัฒนา

  ช่วงบ่าย เป็นเรื่อง ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย อ. ประกาย ชลหาญ  อ. พูดเรื่อง Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking (AFP) โดยมีเนื้อความถึงวิธีการจัดกระบวนคิดแบบสามเหลี่ยม แต่ละมุมคือ สมอง การสื่อสาร และการก้าวผ่านความกลัว เราจะต้องออกจาก Comfort zone to leadership zone อาศัย juicezy&(J&J) งเป็นเรื่อง ท่าทาง 55% สมอง 38%  เป็นสิ่งสำคัญ ส่วน 7% เป็นการพูดซึ่งมีอยู่แล้ว  ดังนั้นเราต้องฝึก โดยใช้ C – Content และ P –Presenter โดยหัวใจของ C – P คือ IFP I = Imagery F = Feeling P = Partiopation เพื่อให้มีการสื่อสาร 2 ทาง การออกท่าทาง น้ำเสียง และให้คนฟังมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ฟัง 3 C คือ C –Connect C –Change รู้เรื่องหนึ่งได้อีกเรื่อง และ C-Contribute ต่อยอดเรื่องราวที่ได้รับรู้ 


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันศุกร์ที่ 17 และวันเสาร์ที่ 18 พ.ค. 2556 

วันที่ 17 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงเช้า เรื่อง บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดยอาจารย์ ณภัสวรรณ จิลลานนท์ อ.ได้ใช้หัวเรื่อง การแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ โดยเน้น image ภาพลักษณ์ ภายนอกการแต่งกายและเครื่องใช้ที่แสดงถึงรสนิยมดี เสื้อผ้า หน้า และผม

ผู้ชาย ถ้าผมงอกควรย้อมสีผมด้วยสีน้ำตาล ทาแป้งที่หน้า ใช้ moisture เซรุ่ม  เสื้อผ้าที่ใส่ให้เหมาะสมกับร่างกาย รองเท้าใช้แบบหัวยาว การใส่กางเกงไม่มีจีบจะทำให้ไม่ดูอ้วน  เสื้อสูตรแขนไม่ยาวเกินปุ่มข้อมือ หน้าสี่เหลี่ยมไม่ควรใส่แว่นตากรอบเหลี่ยม

  เมื่อเราพบคนสิ่งแรกที่เห็นคือภาพลักษณ์บุคลิก LOOK 55% เสียง sound 38% อีก 7 % เป็นคำพูด word ทีออกมา ก่อนออกจากบ้านจึงต้องดูตนเองก่อน และต้องคำนึงถึง 5 สิ่ง คือ แต่งตัวดี มาดดี อารมณ์ดี รู้จักกาลเทศะ พูดจาดี  ด้านการแต่งกาย มี 3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก คือ สีสัน เส้นสาย สัดส่วน  การเดินให้ใช้สันเท้าลงก่อนปลายเท้า เน็คไทผูกแล้วยาวถึงกึ่งกลางหัวเข็มขัดปกเสื้อมีใหญ่เล็ก ให้ดูเหมาะสมกับใบหน้า

  การนั่งเก้าอี้ มือจับพนักพิง และให้เข้าทางซ้ายของเก้าอี้ การเข้าห้องไปนั่งให้คำนึงถึงหลัก 5 ประการ คือ การให้เกียรติ ความปลอดภัย สะดวกสบาย อัธยาศัยไมตรี และมีระเบียบเรียบร้อย การนั่งรถ ให้บุคคลสำคัญนั่งด้านหลังเยื้องคนขับ การรดน้ำสังขื ให้รดหญิงก่อนชาย คนอายุที่มากกว่ารดเท่านั้น

 ด้านมารยาทบนโต๊ะอาหาร ผ้ารองไม่ต้องคลี่ออกหมด เมื่อไปไหนให้พาดไว้ที่พนักเก้าอี้  อาหารฝรั่งใช้ 2 มือ ส้อมกับมีด ถือพร้อมกันเวลารับประทาน ใช้อุปกรณ์จากด้านนอกเข้าด้านใน เวลาพักมีดคมเข้าหาตน อยู่ใต้ส้อม ทานเสร็จมีดอยู่บนส้อมและวางขวามือของจนา เพื่อที่ตนเก็บได้สะดวก

ช่วงบ่าย เรื่องที่ 1 แนวทางการจัดการจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการทุจริต โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ  อาจารย์ได้บอกเรื่องระบบอุปถัมภ์เป็นที่ทำให้เกิดการทุจริต ซึ่งดัชนีความโปร่งใสไทยได้อันดับที่ 88 การเอาชนะระบบอุปถัมภ์ต้องเปลี่ยนคุณค่า value และพฤติกรรม  อาจารย์พูดเรื่องคอรัปชั่น คือ การเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม  สำหรับแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการทุจริต ต้องเริ่มต้นที่ผู้นำ เปลี่ยนคุณค่าและพฤติกรรมของภาวะผู้นำ  โดยมุ่งที่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และเผยแพร่สู่องค์กร ให้สมาชิกทำตามคุณค่าและพฤติกรรม โดยสมาชิกต้องมีจิตสำนึกในจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกัน กลายเป็นจิตวิญญาณขององค์กร service องค์กรเกิดคุณค่ามีชีวิตด้วยหลัก 4 อย่าง คือ ความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ ความกรุณา การแบ่งปัน ก็จะทำให้มีความผาสุก ทั้งกาย ใจ

ช่วงบ่าย เรื่องที่ 2 The Challenge of Change and Becoming a Change Leader โดยอาจารย์ประกาย ชลหาญ อาจารย์ให้ดู Human Performance Framework โดยเน้นที่ individual อันประกอบด้วย Competency และ Motivations  ผู้นำสร้างทีมมีหน้าที่หลัก คือ สร้างทีมให้เก่ง และ สร้างบรรยากาศกระตุ้นให้เขาทำงาน  โดยอาศัย Competency อันมี Knowledge Skill และ Attitude พัฒนาคนให้เก่ง และต้องมีการกระตุ้นให้แต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน เพื่อให้การดำเนินการโครงการสำเร็จ  องค์กรจะอยู่ได้ ต้องประกอบด้วย 6 ประการ คือ Right Structure  Right Processes Right People Right Information Right Decisions Right Reward สำหรับวงจรผลงาน เมื่อผลงานสร็จให้มีการยกย่องชมเชย ถ้างานติดขัดให้เข้าไปเป็น coaching สอนกระตุ้น

ท้ายสุดอาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง CHANGE MANAGEMENT โดยเน้นว่าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงก่อนที่เราจะถูกให้เปลี่ยน  และต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์หรือมีโทษน้อยที่สุด อาจารย์ได้ให้ GE’s Change Model ซึ่งมี 7 ขั้นตอน ในการทำอาจข้ามขั้นตอนได้ ขั้นตอนทั้ง 7 มี

1. Leader Change หาผู้นำการเปลี่ยนแปลง / ทีม

2. Creating a Share Need สร้างความต้องการร่วม

3. Share A Vision วาดภาพให้เห็นว่าเปลี่ยนแปลงดี

4. Mobilizing Commitment ไปผลักดันให้เกิดมีส่วนร่วม

5. Monitoring Progress ต้องมีการควบคุม สอดส่องในการเปลี่ยนแปลง

6. Making Change Last ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน

7. Changing System & Structure นำเข้าไปในระบบ จะได้ยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 18 พ.ค. 2556 เป็นการนำเสนอของกลุ่มต่างๆ ซึ่งในวันนี้ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลของ กฟผ. ในด้านต่างๆ และโครงการที่จะเป็นไปได้ เช่น EGAT ASEAN ACADEMY , โครงการดักเถ้าถ่านหินโดยใช้น้ำ และสวนป่า โครงการขนส่งถ่านหินจากต่างประเทศไปใช้ที่แม่เมาะ เป็นต้น จากที่ฟังมาเห็นว่า กฟผ. มีการดำเนินการในหลายรูปแบบ แต่อ่อนการประชาสัมพันธ์ให้พนักงานรับทราบ ซึ่งควรปรับปรุงในส่วนนี้ ทั้งนี้ตลอดหลักสูตรที่อบรมจะได้นำหลักการและประสบการณ์ของผู้รู้ทั้งหลายไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น


สรุปวันที่ 14 พ.ค. 56

กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

  ได้ทราบว่าโรคอ้วนจะมีผลเสียต่อสุขภาพ  BMI= นน.(กก.)/ส่วนสูง (ม.)2 ต้องไม่เกิน 25 และ Chol/HDL <4.6

ลดความอ้วนให้  กินเนื้อ-กินผัก แล้ว งดแป้ง (คาร์โบไฮเดรท) น้ำตาล จะทำให้ลดความอ้วนได้  โดยผักจะช่วยในเรื่องย่อยอาหารและขับถ่ายเพราะจะมีกากใยมาก  ทั้งนี้หมอแนะนำให้กินเนื้อ 1ส่วนและผัก 2ส่วนในแต่ละมื้อ

  การขจัดของเสีย หรือล้างพิษ สามารถปฏิบัติได้ง่ายและสะดวกสบาย คือ

การล้างพิษ 1 วันทุก 2 สัปดาห์ ดังนี้ การกินผลไม้ชนิดเดียว (มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล แคนตาลูป ส้มโอ อย่างใดอย่างหนึ่ง) ตลอดวัน เพือให้ระบบการย่อยได้พัก วันต่อมา ดื่มน้ำผสมน้ำมะนาว ในตอนเช้า คือ ใช้น้ำ 2 ขวด ขวดละ 800 cc. บีบมะนาวขวดละ 2 ลูก ใส่เกลือทะเล ขวดละ 1 ช้อนชาครึ่ง ผสมแล้วดื่มให้หมดในตอนเช้า วันนั้น จะทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระ

วารีบำบัด ช่วยสร้างสมดุลของร่างกายโดยอาศัยความร้อนความเย็นของน้ำที่มากระทบผิวกาย อุณหภูมิของร่างกายเป็น 37 องศาเซลเซียส เมื่อใดที่เราถูกความหนาวเย็น หรืออยู่ในที่ร้อน ร่างกายจะปกป้องตนเองโดย ออกคำสั่งไปยังอวัยวะต่างๆ ให้ปรับการทำงานสู่สมดุล

การอบซาวน่าและสมุนไพรที่ถูกวิธีต้องอบร้อนสลับเย็นเสมอ การอบร้อนอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ เป็นอันตรายต่อร่างกายทำให้ หัวใจขาดเลือดหากอยู่นานเกินไปหมดสติได้

อาบแสงตะวัน แสงทั้ง 7 สีจะถูกใบตองสีเขียวกรองไว้ เหลือเพียงสีเขียวเท่านั้นที่จะปล่อยให้ลอดลงกระทบผิวกาย จะเกิดผลให้เซลล์ร่างกายทั้งหมดเกิดความกระปรี้กระเปร่า สดชื่น มีชีวิตชีวาเหงื่อออกทำให้รู้สึกสบายตัว

การออกกำลังกายในน้ำ แรงลอยตัวของน้ำทำให้ยกตัวเราขึ้นและช่วยลดน้ำหนักตัวได้ เหมาะกับคนน้ำหนักตัวมาก


วันที่15 พฤษภาคม 2556

อ.พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล

อ.ไกรฤทธิ์  บุณยเกีรยติ

หัวข้อวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับกฟผ.

ประเด็นท้าทายจาก อ.พงษ์ชัย

·  อาจารย์จะมุ่งเน้นที่ ปัจจุบันกฟผ.มีสัดส่วนผลิตไฟฟ้า 46% ซึ่งเห็นว่า หากสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ ความสำคัญของ กฟผ.ก็จะลดลง การผลิตเองก็จะแพงกว่าผู้ผลิตรายอื่น  ในภาพรวมก็ดูดี  แต่กับ กฟผ.เองก็ต้องพิจารณาให้ดี

เรื่องนี้ผมเห็นว่า กฟผ.มีมุมมองต่างไปอีกแบบหนึ่ง ถ้าจะให้เกิดผลดี ควรจะนำมาพิจารณาร่วมกัน หากลยุทธ์ และแนวทางออกที่ดีที่สุด ที่ผ่านมา กฟผ.มีประวัติศาสตร์ การต่อสู้ต่างๆนานา โดยมุ่งที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง หากอาจารย์ได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วให้ข้อแนะนำจะเป็นสิ่งที่ดีกับ กฟผ.และประเทศชาติมาก

·  สำหรับเรื่อง สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงต้องปรับให้สมดุลมากขึ้นมิฉะนั้นจะเสี่ยงและมีราคาแพง เรื่องนี้เห็นด้วย และ กฟผ. ก็กำลังพยายามดำเนินการอยู่ แต่ก็ยังมีอุปสรรคหลายด้าน ปัจจุบันมีอุปสรรคที่ไม่ควรเป็นอุปสรรคมากกว่าอุปสรรคที่ควรเป็นอุปสรรคมาก หากอาจารย์สามารถให้คำแนะนำเพื่อหาทางออกที่เป็นรูปธรรม สามารถนำมาปฏิบัติให้เกิดผลได้ จะเป็นประโยชน์มาก

ประเด็นท้าทายจาก อ.ไกรฤทธิ์

·  เสนอให้คิด 6 ประเด็น คือ ทำให้ค่าไฟฟ้าถูกที่สุด  ผูกพันกับลูกค้าปลายน้ำ (กฟน.และกฟภ.)  คุมบางส่วนของการผลิต โดยเฉพาะในบริษัทลูก สายส่งและแนวเขตใต้เสาไฟฟ้า น่าจะหาประโยชน์ได้มาก ต้องมีsource of fund เอง..อนาคตการกู้อาจติดปัญหาเกินเพดานเงินกู้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากเงินกู้ 2 ล้าน ล้านของรัฐบาล และหาแหล่งพลังงานต้นน้ำ.....เช่นในลาว  พม่า เป็นต้น

·  นอกจากนั้นให้ดู hidden  asset ในเรื่องการเงิน อาจมี CFO ที่เก่งๆ และทำให้ cost of fund ที่ต่ำลง ต้องมีสัมพันธภาพกับนักการเมืองทุกคนและทุกค่าย ต้องพยายามหาข้อมูลพิเศษจากรัฐหรือนักการเมือง

·  สิ่งที่อาจารย์เสนอถือเป็นประโยชน์มาก ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาหาแนวทางเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป

หัวข้อกฟผ.กับการก้าวสู่ AEC

จากปัจจัยหลายๆเรื่องที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเช่น สภาวะโลกร้อน  วิกฤตพลังงาน  ประชาคมอาเซียน  เศรษฐกิจของประเทศตะวันตกตกต่ำ  อายุประชากรที่สูงขึ้น  รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานเป็นต้นทำให้ กฟผ.ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมหลายเรื่องเช่น

·  กฟผ.ต้องทำตัวเป็นผู้รู้เรื่องเป็นอย่างดีเกี่ยวกับไฟฟ้าในอาเซียน โดยต้องทำอย่างรวดเร็วเพราะจะเปิดเสรีภายในสิ้นปี2558 และต้องนำพวกเดียวกันมาทำ strategic partner ร่วมกัน

·  รวบรวมผู้ที่รู้เรื่อง project management เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าไว้ทั้งหมด เพื่อเตรียมใช้งานในอนาคต โดยมีเป้าหมายว่าในอาเซียนให้มาเรียนกับเราทั้งหมด

·  ส่งออกผู้เชี่ยวชาญของเราไปทำงานต่างประเทศให้มากขึ้น

·  เลือกคบประเทศที่ใกล้ชิดพื้นที่ติดกันก่อน

  ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์: วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. โดยนำสิ่งที่ต่างประเทศมอง ทั้ง 10 ข้อ มาอธิบายนับว่ามีประโยชน์มาก

ประเด็นท้าทายของกฟผ.

1.  เกี่ยวกับต้นทุนและการลงทุน

2.  ประเด็นวัตถุดิบต้นน้ำ กฟผ.ในอนาคตจะมีทางเลือกวัตถุดิบมากขึ้น

3.  มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนพื้นที่

4.  การทำนายปริมาณใช้ไฟได้ยากขึ้น

5.  การผลิตไฟฟ้าทางเลือก

6.  การรับมือการแข่งขัน

7.  ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย

8.  ประเด็นนโยบายภาครัฐและทิศทางเชิงยุทธศาสตร์

9.  รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC

10.  โอกาสในการทำธุรกิจอื่นๆนอกจากการผลิตและการจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้า

จากสิ่งที่อาจารย์ นำมาเสนอนับว่ามีประโยชน์มาก มีหลายข้อที่ กฟผ.มองเห็นและมีการวางแผนแนวทางบ้างแล้วแต่ถ้ามองด้านเวลาอาจจะช้าไป ดังนั้น กฟผ.จึงควรเร่งให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้


วันที่ 16 พฤษภาคม2556
EGAT Leader & Teamwork

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

ทำให้ทราบถึงเทคนิคของการเป็นผู้นำและการบริหาร Teamwork  อาจารย์นำเทคนิคการทำกิจกรรมมาให้ทดลองทำ เพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น เช่นกิจกรรม การค้นหา ความสามารถของตนเอง ของทีมงาน กิจกรรมบุคลิกภาพของคน 4 แบบ คือ นักทฤษฎี  นักผจนภัย นักปฏิบัติ นักกิจกรรม เมื่อเราเข้าใจธรรมชาติของคน จะสามารถออกแบบวิธีการทำงานของคนๆนั้นได้ กิจกรรม การเขียนรูปร่วมกัน กิจกรรมใจประสานใจ ทำให้เข้าใจว่าการทำงานถ้าไม่มีการสื่อสาร งานที่ออกมาก็ไม่มีประสิทธิภาพ กิจกรรมสามก๊ก ให้ข้อคิด ผู้นำต้องคิดถึงปัจจุบัน และอนาคต โดยไม่มีอดีต ควรนำไปปรับใช้กับผู้นำในยุคปัจจุบัน งานจะประสบความสำเร็จ ถ้าเลือกใช้ตัวช่วยที่เหมาะสม

Art & Feeling of presentation and Effective Public Speaking

อ.จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล

เริ่มต้นด้วยการได้ทำกิจกรรมให้จินตนาการว่าตอนเด็กคิดว่าเราอยากเป็นอะไร แล้วให้ทุกคนเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้วคนถัดไปนำเอาประโยคสุดท้ายของคนก่อนหน้า มาเป็นคำเริ่มต้น แล้วเล่าไปจนครบคนสุดท้ายแล้วจบด้วยคนแรกนำประโยคสุดท้ายมาเล่าต่อเป็นการจบ

ได้ทราบถึงสัดส่วนผลสำเร็จของการนำเสนอ คือ ใช้เนื้อหา 7%  พลังเสียง 58 %  กับ ท่าทาง 35 %

การยืนบนเวทีการนำเสนอที่มีสายตาผู้ชมมากมายต้องมองดูดีตั้งแต่หัวจรดเท้า  ต้องสามารถก้าวผ่านความกลัวจาก comfort zone ไปยัง leadership zone ให้ได้  โดยรักษาอารมณ์ให้ปกติ เพื่อให้การนำเสนอความรู้สามารถถ่ายทอดออกมาได้มาก และทำให้ผู้ฟังประทับใจ


วันที่  14 พ.ค. 56 

กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

สุขภาพที่ดีเริ่มจากการปรับวิธีการและอาหารที่รับประทาน กินเนื้อ กินผัก ลดการกินแป้งและผลไม้

การออกกำลังเป็นสิ่งจำเป็นการออกกำลังกายในน้ำจะช่วยลดการบาดเจ็บ

ของกล้ามเนื้อและข้อสำหรับผู้มีน้ำหนักมากและผู้สูงอายุได้

วันที่ 15 พ.ค. 5

ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ/การก้าวสู่ AEC

กฟผ. ต้องเตรียมรีบปรับตัว ปรับรูปแบบบางจุดของ กฟผ ใหม่ เช่นอาจจะต้องหามืออาชีพทางด้านการเงิน มาช่วยในการบริหาร ซึ่งในอนาคตจะมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของ กฟผ. อย่างมาก การพิจารณาพลังงานทางเลือก การประสานงานใกล้ชิดกับภาครัฐก็มีความสำคัญเช่นกัน

วันที่ 16 พ.ค. 5

EGAT Leader & Teamwork / Art& Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

Teamwork จะขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทีมต้องมีการร่วมกันทั้ง กายและใจ รวมถึงการสื่อสารที่ดี ใช้ภาษาพูดและภาษากาย ได้อย่างเหมาะสม

วันที่ 17 พ.ค. 56 

บุคคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

สร้างความประทับใจต่อผู้พบเห็น ทั้งการแต่งการ – น้ำเสียง - คำพูด

การปฎิบัติตนและมารยาทในที่ชุมชน ต่อสถานการณ์ต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

วันที่ 18 พ.ค. 56 

การนำเสนอผลงานกลุ่ม”นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

เป็นการนำเสนอผลงานทั้ง 6 กลุ่ม ซึ่งมีหลายมุมมองที่ปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้นใน กฟผ. ในอนาคตมีความเป็นไปได้ในหลายนวัตกรรมที่อาจเกิดขึ้นจริง ก็น่าจะได้เอามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


** อรรถพร ชูโต **

วันที่17 และ 18 พฤษภาคม 2556

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

อ.นภัสวรรณ  จิลลานนท์

- ทำให้ทราบถึงวิธีดูแลและปรับปรุงบุคคลิกภาพของตัวเราเอง เพื่อให้เกิดบุคลิกภาพที่ดูดีและเหมาะสมในการเข้าสังคม การปรับปรุงบุคลิกภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้ของที่มีราคาแพง แต่เลือกให้เหมาะกับลักษณะของตนเองก็ดูดีขึ้น

-เนื่องจากคนเราจะประทับใจหรือไม่ ก็เกิดจากครั้งแรกที่พบเจอกัน ก็มักที่ตัดสินว่าเราชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งมีผลถึง 55 % อาจารย์แนะนำการดูแลตัวเองให้ดูดี ทั้ง รองเท้า เสื้อผ้า หน้า ผม

- ต่อไปก็เป็นการแนะนำการเข้าสังคม เช่น การนั่ง การเดินเข้าไปนั่งเก้าอี้ การไหว้ ไปเยี่ยมผู้ใหญ่ที่บ้าน การนั่งรถ

การขึ้นบันได ผู้อาวุโสขึ้นก่อน ตามด้วยผู้หญิง แล้วก็ผู้ชาย พิธีรดน้ำสังข์ให้รดผู้หญิงก่อนเพราะเป็นการให้เกียรติผู้หญิง  แล้วรดผู้ชาย มารยาทบนโต๊ะอาหาร

จากประสบการณ์การทำงานที่ ปปช.”สู่การปรับใช้ที่กฟผ.

อ.วิชา  มหาคุณ

อ.วิชาได้อธิบายว่าปัญหาความเสียหายอย่างรุนแรงจากการทุจริตในสังคมไทยนั้น มีรากเหง้ามาจากระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมานานในสังคมไทย ซึ่งแต่เดิมเป็นไปทั้งเอเชีย แต่ปัจจุบันแก้ไขไปได้แล้วในหลายประเทศเช่น สิงคโปร์  ฮ่องกง ญี่ปุ่น  เกาหลี ไต้หวัน เป็นต้น

-   ดัชนีชี้วัดความโปร่งใส ประเทศไทยอันดับ 88 ในขณะที่ สิงคโปร์ อยู่อันดับที่ 1 และ 2 ตลอด ญี่ปุ่นอันดับ 10  ญี่ปุ่นตั้งเป้าว่าต้องเอาชนะระบบอุปถัมภ์ให้ได้ ต้องเปลี่ยนความคิดด้วย  จึงจะทำได้สำเร็จ

- องค์กรจะมีคุณค่า ต้อง ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ต้องซื่อสัตย์ ต้องมีความกรุณา ต้องมีการแบ่งปัน

สรุป การเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นการเปลี่ยนวิถีการกระทำ เปลี่ยนวิถีความเป็นอยู่ เปลี่ยนความเชื่อ เปลี่ยนรากฐานของพฤติกรรม สรุปให้ชัดเจนก็คือ ต้องไม่คอรับชั่น ต้องไม่การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

ที่น่าประทับใจคือ การตอบคำถาม ท่านสามารถตอบได้เป็นอย่างดี ชั้ดเจน เข้าใจง่าย น่าจะใช้เวลาสำหรับตอบคำถามให้มากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติตนเมื่อรับของขวัญจากผู้อื่น ทำให้เข้าแนวทางปฏิบัติ และสามารถนำไปปรับใช้ได้

ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

อ.ประกาย  ชลหาญ

อาจารย์จะแนะนำในเชิงปรัชญา หรือบทสรุป ทำให้เข้าใจง่ายในเวลาที่จำกัด และมีเรื่องเล่าทาแทรกบ่อยๆ ถือเป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง พอสรุปได้

- หน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานคือสร้างผลงานให้องค์กร

- หน้าที่หลักในฐานะหัวหน้ามี 2 เรื่องคือ

 1. สร้างทีมให้เก่ง พร้อมจะทำงาน

 2. สร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ทำงาน

การทำ project ใดๆ ให้ถาม 2 คำถามก่อนคือ

 1. ทำให้คนของเราเก่งขึ้น เพิ่ม competency ขึ้นหรือไม่?

 2. เป็นการกระตุ้น (motivation) ให้คนทำงานได้ดีขึ้นหรือไม่?

-การสื่อสาร.. ให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ และไม่ให้รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้

-หลักในการสื่อสารคือ ....ให้ข้อมูลในปริมาณที่จำเป็นกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และในเวลาที่เหมาะสม

-ปัญหาที่มักจะทะเลาะกันคือ....... งานนี้ผมควรทำ ทำไมคุณมาแย่งผมทำหรืองานนี้คุณต้องทำ ทำไมมาให้ผมทำ 
ทั้งนี้มีสาเหตุจากโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน......แต่แม้ว่าโครงสร้างจะชัดเจนก็ยังมีเหตุให้ทะเละกันได้เช่นกัน

-วัฒนธรรมองค์กรแต่ละอย่าง (เช่นรักองค์กร) จะต้องแปลงให้เป็น behavior ให้ได้

- หัวหน้าอย่าทึกทักไปเองล่วงหน้า ให้ถามลูกน้องก่อน

-การเปลี่ยนแปลง มี 2 แบบคือ เรื่องที่เราอยากให้เปลี่ยน และเรื่องที่เราไม่อยากให้เปลี่ยน

-อย่าปล่อยให้อะไรเกิดไปตามบุญตามกรรม

-ให้เปลี่ยนแปลงตนเองเสียก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน

-ให้แจ้งข่าวดีก่อนแจ้งข่าวร้าย

-การประเมินให้ประเมินทั้งด้านดีและไม่ดี โดยเฉพาะด้านไม่ดีต้องพิจารณาให้ละเอียด

-อาจารย์ได้นำเอา GEs  Change Model มาอธิบาย ทำให้เข้าใจได้มากโดยที่ไม่ต้องไปอ่านตำราหลายๆหน้าเลย และคิดว่าสามารถมาปรับใช้กับการเปลี่ยนแปลงหลายๆเรื่องของหน่วยงานได้

วันที่18พฤษภาคม2556

นำเสนอผลงานกลุ่ม นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.

  ทำให้ทราบถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมในด้านต่างๆรวม 6 กลุ่ม ที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย  บางคนได้รับมอบหมายเรื่องที่ไม่ตรงกับหน่วยงานมากนัก แต่ก็สามารถนำเสนอมุมมองอีกด้านได้ดี เมื่อได้รับฟังแล้วทำให้ได้ความคิดใหม่ๆ  ถ้าตรงกับความรับผิดชอบก็สามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดได้ โดยเฉพาะช่วงที่มีการสรุปการนำเสนอ จากทั้ง 3 ท่าน มีประโยชน์มาก

สุดท้ายต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่สามารถเชิญวิทยากรระดับแนวหน้า รวมทั้ง ผวก. อดีต ผวก. และ รอง ผวก. มาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้พวกเรา ขอขอบคุณ อาจารย์ทุกท่านที่มาให้ความรู้ และทีมงานของ อ.จิระ ทุกท่าน รวมทั้งทีมงาน กฟผ. ที่ดูแลพวกเราเป็นอย่าดี และทำให้หลักสูตรนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่าดี


วันที่ 16 พฤษภาคม2556

หัวข้อเรื่อง “EGAT Leader & Teamwork”

โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  คนเราต่างกันที่โอกาสและการก้าวเข้าสู่ความประสบผลสำเร็จ มีปัจจัยที่เริ่มต้นด้วย

1.  Value(คุณค่า) เป็นกรอบภาพใหญ่ขององค์กร เช่น กฟผ.ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

2.  Inspiration(แรงบันดาลใจ)ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนก้าวไปข้างหน้า เป็นขวัญที่มีอนาคต

3.  Dream(ความวาดฝัน)ทำให้เกิดต้นทุน

4.  Capability(ความสามารถ)

5.  Endurance แรงอึกเพื่อบรรลุเป้าหมาย

6.  Goal

การทำอะไรก็ตามสิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง(เช่นภูเขาน้ำแข็ง)เมื่อเทียบกับสิ่งที่เขาเป็นบุคลิกภาพของคนแบ่งได้เป็น 4 ประเภท(อย่างไรก็ตามในหนึ่งคนอาจจะมีหลายบุคลิกด้วยกัน)

1.  ประเภท C นักทฤษฎี

2.  ประเภท D นักผจญภัย

3.  ประเภท Sนักปฏิบัติ

4.  ประเภท  I นักกิจกรรม

การสร้างทีม Leader ต้องเป็นผู้ให้ ที่ถูกที่ ถูกเวลาและถูกคน มีกติการอยู่ร่วมกันอย่างโปร่งใสยุติธรรม ปล่อยวางตัวตนและประโยชน์ของตน การสร้างทีมจะต้องมีความพร้อมทั้งกายและใจ การสร้างทีม จะต้องเห็นอกเห็นใจกัน ใจกว้าง(เช่น ตัวอย่าง กระบอกใส่น้ำ ที่ใหญ่กว่าน้ำแทบไม่หก) มีการสื่อสารสองทาง ตัวอย่างที่อาจารย์นำเสนอและประทับใจได้แก่ ขวดน้ำตัดครึ่ง คว่ำลง แล้วใส่น้ำไม่ปิดจุก น้ำจะไหลออกจนหมด อีกตัวอย่างหนึ่ง ขวดน้ำถูกกรีดทะลุส่วนหนึ่งใส่น้ำเกือบเติมและปิดฝา คว่ำขวดลงน้ำไม่ไหลออก

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้อาจารย์ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ได้ชี้ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ตระหนักและเข้าใจการก้าวเข้าสู่ความประสบผลสำเร็จขององค์การและพฤติกรรมของคน ดังนั้นการใช้งานให้เหมาะสมกับบุคลิกของลูกน้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้บริหารและองค์กร


หัวข้อเรื่อง “Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking”

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล ได้นำเสนอกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจ คือ การเป็นผู้บริหารจะต้องจัดกระบวนความคิด มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ฝึกการ Coachingและทักษะในการนำเสนอ การสื่อสาร

Art & Feeling of Presentation เป็นศิลปะหนึ่งในการสื่อสารซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนเป็นอย่างดีให้กับผู้บริหาร ทำให้ ตรึงใจ ดึงดูด ที่อาจารย์เปรียบไว้กับJuicy and Jazz  วิชา AFP เรียนด้วย C+P คือ C คือ content และ P คือ presenter

การ communication โดยทั่วไปสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ได้แก่ น้ำเสียง 38% ท่าทาง 35% ทฤษฎี 7%

ที่สำคัญคือผู้นำเสนอจะต้องก้าวผ่านความกลัวให้ได้

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้การนำเสนอสิ่งต่างๆของผู้บริหารเป็นรูปแบบหนึ่งที่จะก้าวสู่ความสำเร็จ ดังนั้นวิธีการนำเสนอเพื่อให้ผู้รับรายงานได้รับรู้และเข้าใจตรงประเด็นถือว่าเป็นสำคัญมาก ผู้นำเสนอจะต้องมีศิลปะในการนำเสนอ เช่นเดียวกับหลักสูตรนี้สามารถนำไปใช้ได้เลยแต่จะต้องรู้ความเหมาะสมกับการแสดงออก

วันที่ 17 พฤษภาคม 2556

หัวข้อเรื่อง บุคลิกของนักบริหารยุคใหม่”

โดย อาจารย์ นภัสวรรณ จิลลานนท์

อาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์ เป็นกูรูผู้รู้ในการสร้างภาพและบุคลิกให้กับตนเอง เพื่อให้มีความสง่างานในการทำงานธุรกิจและการเข้าสังคม เริ่มตั้งแต่การสร้างความประทับใจแรกพบของผู้ที่เจอกันครั้งแรก ภาพลักษณ์ภายนอก เช่น การแต่งกาย การดูแลตนเอง บุคลิก ซึ่งความประทับใจในการแต่งกายมีถึง 55% น้ำเสียง 38%คำพูด 7%นอกจากนี้ อาจารย์ได้สอนถึงสิ่งที่เหมาะสมและมรรยาท ต่างๆ ดังนี้

Øศิลปะการแต่งตัวสไตล์ผู้บริหารยุคใหม่

Øเทคนิคในการดูแลใบหน้าและแต่งหน้าให้ดูดีมีสไตล์

Øเครื่องของใช้ เช่น  ปากกา ผู้บริหารควรเลือกปากกาที่ดูดี จะเสริมบุคลิก

Øมาดและท่วงท่าอริยะบทของคนทันสมัย เช่น การนั่งนั่งให้ดูดี สง่างามการเข้าไปเยี่ยมผู้ใหญ่ตำแหน่งการการนั่งรถการขึ้นบันได เป็นต้น

Øมารยาทในการการไปร่วม งานพิธีต่างๆ เช่น พิธีรดน้ำสังข์รดผู้หญิงก่อนเพราะเป็นการให้เกียรติผู้หญิง

Øมารยาทในการรับประทานอาหารแบบต่างๆบนโต๊ะอาหาร

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้ ทุกสิ่งที่อาจารย์สอน แนะนำ ล้วนเป็นสิ่งมีประโยชน์ทั้งสิ้น สามารถนำไปใช้ได้ทั้งที่ทำงาน งานสังคม และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติและเสริมบารมีให้กับตนเองได้ทันที สิ่งที่อาจารย์ย้ำเสมอว่าอย่าลืมเวลาเราทำอะไรก็ตามจะมีคนที่เราคาดไม่ถึงจับตามองเราตลอดเวลา


หัวข้อ จากประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช.” สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

โดย  ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ

การทุจริตคือการโกง เอาเปรียบ ได้มาโดยไม่ชอบธรรม เริ่มต้นเกิดจากระบบอุปถัมภ์ เกิดขึ้นเหมือนกันทั้งหมดในแถบเอเชียแต่มีหลายประเทศที่ได้แก้ไขจนเป็นประเทศแนวหน้าที่จากดัชนีความโปร่งใส ไม่ทุจริต เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทย อยู่อันดับที่ 88 การที่จะเป็นประเทศโปร่งใสประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือ

ประเทศภูฐาน เป็นประเทศเล็กๆ อยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ยึดหลักการบริหารแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเจ้าชายจิ๊กมี่ มีความศรัทธาต่อหลักพอเพียงและมีการยึดหลักแห่งความสุข  ความสุขของประชากรภูฐาน ไม่ได้ขึ้นกับรายได้ตรงกันข้ามยิ่งมีรายได้น้อยยิ่งมีความสุขมาก 

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้การทุจริตเป็นสิ่งที่ทำลายทั้งองค์กรและประเทศชาติ การต่อต้านทุจริตที่ดีที่สุดคือตัวเราจะต้องไม่ทุจริตนั้นเอง


หัวข้อเรื่อง ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

อาจารย์ประกาย ชลหาญได้นำเสนอ Human Performance Framework สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกรอบด้านในสุด Individual ประกอบด้วย Competency และ Motivations ซึ่งส่วนของ Competency สามารถแยกย่อได้เป็น Knowledge Skills และ Attitude ส่วน Motivation สามารถแยกย่อได้เป็น เงินเดือน Promotion การยอมรับ คำชม ความท้าทายเป็นต้น 

Leader จะต้อง Do the right thing

Manager จะต้อง Do the thing right

Supervisor จะต้อง Execution Expert

การเปลี่ยนแปลงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เรื่องที่เราอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่เกิด กับเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงงบแต่เกิด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารการเปลี่ยนแปลงคือ”Change before  you forced to Change”

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้  GE’s Change Model: Change Acceleration Process เป็น Model ที่ทำให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ สามารรถนำไปพิจารณาประกอบเป็นแบบอย่างต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร หน่วยงานหรือแม้แต่เรื่องส่วนตัวได้เป็นอย่างดี 

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556

นำเสนอผลงานกลุ่มนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.

ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร EAPD ได้แบ่งเป็น 6 กลุ่ม นำเสนอผลงานในหัวข้อ ดังนี้

Øกลุ่ม 1 วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรม เพื่อการสร้างและบริหารทุนมนุษย์ของ กฟผ. กับการพัฒนาที่ก้าวไกลและยั่งยืน

Øกลุ่ม 2 กลยุทธ์และแผนงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของ กฟผ. “SEPA”

Øกลุ่ม 3 นวัตกรรมทางสังคมของ กฟผ.สร้างศรัทธาที่แท้จริงจากปวงชน

Øกลุ่ม 4 ภาพอนาคตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2025

Øกลุ่ม 5 นวัตกรรมเพื่อการพัฒนากิจการของ กฟผ. ให้ก้าวไกลในเวทีอาเซียน 2015

Øกลุ่ม 6 นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ของ กฟผ.

การนำเสนอของแต่ละกลุ่มต่างมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่ได้คือเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนได้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในการอบรมหลักสูตร EADP นอกจากจะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆทั้งเรื่องเกี่ยวกับ กฟผ.โดยตรงและโดยอ้อมแล้ว มีสิ่งที่ได้ยิ่งกว่าความรู้คือ Connection การได้รู้จักกันของผู้เข้ารับการอบรมที่มาจากต่างสายงาน การมีกิจกรรมร่วมกัน การสนิทสนมกัน ล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่ผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงานของข้าพเจ้าต่อไป คงมีอีกหลายเรื่องที่ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้เพราะเรามีเพื่อร่วมรุ่น

การอบรมครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ค้นพบศาสตร์แห่งการเรียนรู้ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีขีดจำกัด จาก อาจารย์  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ ซึ่งได้สอน แนะนำ ให้ข้อคิดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีทั้งในหน่วยงาน กฟผ.และ ส่วนตัว ขอขอบพระคุณ อาจารย์  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ อีกครั้งครับ สวัสดีครับ 

สรุปความรู้วันที่ 14พฤษภาคม2556

ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง

นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

วารีบำบัดอานุภาพแห่งน้ำ

พญ.ลลิตา ธีระสิริ

ได้รับความรู้จากการโภชนาการ การลดน้ำหนักโดยวิธีธรรมชาติ อาหารใดควรลดหรืองดเว้น อาหารใดที่สามารถบริโภคได้ รวมทั้งทราบถึงประโยชน์ของสมุนไพรต่างๆ วารีบำบัดในหลายวิธี เช่น อบซาวน่า อบสมุนไพร อาบแสงตะวัน การออกกำลังกายในน้ำ เพื่อเผาผลาญแคลอรี่ ซึ่งจะสามารถลดน้ำหนักลงได้ รวมทั้งการอาบน้ำแร่อย่างถูกวิธี แต่สิ่งที่ได้รับจากบทเรียนก็จะต้องนำมาปฏิบัติอย่างตั้งใจจริง เพื่อความแข็งแรงของร่างกายในอันจะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สรุปความรู้วันที่ 15พฤษภาคม2556 (เช้า)

หัวข้อ กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

โดย   ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รับทราบแนวคิดและเป้าหมายของ AEC รวมถึงกลยุทธ์ที่จะต้องผลักดันให้กฟผ. เป็น Power need of modern people ของอาเซียน ซึ่งกฟผ. ควรที่จะหาหนทางในการให้ข้อมูลข่าวสารสำหรับประชาชนให้เกิดการรับรู้ข้อมูลของ กฟผ. อย่างไรก็ตามต้องร่วมมือกันทุกๆฝ่าย เพื่อแก้จุดอ่อนของ กฟผ. หรือหาแนวร่วมที่จะช่วยให้ กฟผ. สามารถลงทุนและมีรายได้เติบโตในอนาคตต่อไปอย่างยั่งยืน

สรุปความรู้วันที่ 15พฤษภาคม2556 (บ่าย)

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.

(วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Stakeholder)

โดย   ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้มุมมองในการสะท้อนภาพของ กฟผ.ในฐานะคนภายนอก จากภาพของผู้ใช้ไฟฟ้า ของผู้ลงทุน และ ผู้เสียภาษี  กฟผ.ยังมีประเด็นท้าทายในการก้าวสู่เวทีอาเซียน ในหลายด้านอาทิเช่น กฟผ.ยังมีโอกาสสร้างรายได้เสริมจากการจัดการพลังงานชนิดต่าง ๆ กฟผ.ยังมีปัญหากับการเข้าไปในชุมชน กฟผ. ต้องมีกลยุทธ์กำหนดความสัมพันธ์ที่สมดุลในการรับมือการแข่งขัน เป็นต้น


สรุปความรู้วันที่ 16พฤษภาคม2556

Learning Forum –Activities & Game Simulations

หัวข้อEGAT LEADER & TEAMWORK

โดย  ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

รับทราบแนวทางค้นหาธาตุแท้ของตนเอง คนเราประสบความสำเร็จ และทีมมีความสำเร็จต้องหา Valueให้เจอ สร้างแรงบันดาลใจและมีความเพียร ช่วยกันสร้างฝันให้ไปถึงเป้าหมาย ทั้งนี้ต้องมีองค์ประกอบ 4 ด้านคือ IQ EQ  MQ & SQ สำหรับช่วยการตัดสินใจ ซึ่งใช้ได้กับบุคคลิกภาพของคนที่มี 4 ด้านหลักการทำงานเป็นทีม เป็นเรื่องของใจ ต้องเอาใจมาทำงานด้วยกันผู้บริหารต้องเปิดใจให้กว้าง  ทำยังไงให้ทุกใจเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวให้ได้รวมถึงต้องมีการสื่อสารอีกทั้งการจะประสบความสำเร็จสูง ต้องมองหาตัวช่วยที่เหมาะสม

หัวข้อ  Art & Feeling of Presentation andEffective Public Speaking

โดย  อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

นอกจากเนื้อหาการบรรยาย 7% แล้ว Art & Feeling of Presentation ที่ทำให้ครองใจ ตรึงใจ ชอบ ช่วย ดึงดูด (ตชด.) คนฟังเหมือน Juicy and Jazz  มีผลอีก 93%  แบ่งเป็น 38%  คือ Voice  กับ 55 % คือท่าทาง กิจกรรมฝึกให้เกิดการจัดกระบวนความคิดฝึกการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มมีการตื่นตัวฝึกการ Coachingทำให้การสื่อสารกันดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

สรุปความรู้วันที่ 17พฤษภาคม2556

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย  อาจารย์นภัสวรรณ จิลลานนท์

ทราบถึงแนวทางเลือกเครื่องแต่งกายรวมทั้งของใช้(เช่น กระเป๋า ปากกา)ให้เหมาะสมกับบุคคลิก และสถานที่ การดูแลใบหน้า ทรงผม รวมถึงมารยาทต่างๆ เช่น การไหว้ การรับประทานอาหาร

3องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก คือ  สีสัน สัดส่วน และเส้นสาย ต้องให้แมทซ์กัน

หัวข้อจากประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช.” สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

โดย  ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ

การทุจริต เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของประเทศ การเกิดการทุจริต ฉ้อโกง การเอารัดเอาเปรียบ มาจากระบบอุปถัมภ์

ทำให้ชาติบ้านเมือง ไม่ได้คนใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ เราจะเลี่ยงพ้น ต่อเมื่อเราไร้ระบบอุปถัมภ์ในองค์กร เมื่อใดที่ยังต้องติดต่อเกื้อกูล ก็จะเกิดปัญหาใหญ่กับองค์กร เพราะยังขาดความตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา

องค์กรที่มีคุณค่าต้องฝึกฝนพฤติกรรมผู้นำและบุคคลากรตามหลัก 4 ข้อ ตือ1. Trust 2. ความซื่อสัตย์

3. ความกรุณา  4. การแบ่งปัน 

หัวข้อ ผู้นำวัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย  อาจารย์ประกาย ชลหาญ

รับทราบแนวคิดของ Chang management และ Key success factor

   Human Performance Framework

  องค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยมีตัววัด 6 ตัว

หน้าที่ของผู้นำ ต้องสร้างทีมให้เก่ง Qualify เพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี (Knowledge Skill & Attitude) รวมถึงสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ทีมทำงานตามเป้าหมาย เช่น  อย่าทึกทัก สรุปไปเอง ควรมีการถามไถ่ โดยหลักการสื่อสาร ต้องให้ข้อมูลในปริมาณที่จำเป็นกับผู้เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม

Cooperate Culture เปรียบเหมือน DNA ต้องแปลงให้เป็น Behavior เช่น รักองค์การ

การบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นหรือบรรเทาให้โทษที่จะเกิดน้อยลงได้ ทั้งนี้มีแนวปฏิบัติตาม GE’s Change model  คือ Change Acceleration Process


ชัยศักดิ์ ยงบรรเจิด

14/5/56

กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

สุขภาพที่ดีเริ่มจากการปรับวิธีการและอาหารที่รับประทานกินเนื้อ กินผัก ลดการกินแป้งและผลไม้

การออกกำลังเป็นสิ่งจำเป็นการออกกำลังกายในน้ำจะช่วยลดการบาดเจ็บ

ของกล้ามเนื้อและข้อสำหรับผู้มีน้ำหนักมากและผู้สูงอายุได้

15/5/56

ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ/การก้าวสู่ AEC

กฟผ. ต้องเตรียมรีบปรับตัว ปรับรูปแบบบางจุดของ กฟผ ใหม่ เช่นอาจจะต้องหามืออาชีพทางด้านการเงิน มาช่วยในการบริหาร ซึ่งในอนาคตจะมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของ กฟผ. อย่างมาก การพิจารณาพลังงานทางเลือก การประสานงานใกล้ชิดกับภาครัฐก็มีความสำคัญเช่นกัน

16/5/56

EGAT Leader & Teamwork / Art& Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

Teamwork จะขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทีมต้องมีการร่วมกันทั้ง กายและใจ รวมถึงการสื่อสารที่ดี ใช้ภาษาพูดและภาษากาย ได้อย่างเหมาะสม

17/5/56

บุคคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

สร้างความประทับใจต่อผู้พบเห็น ทั้งการแต่งการ – น้ำเสียง - คำพูด

การปฎิบัติตนและมารยาทในที่ชุมชน ต่อสถานการณ์ต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

18/5/56

การนำเสนอผลงานกลุ่มนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.

เป็นการนำเสนอผลงานทั้ง 6 กลุ่ม ซึ่งมีหลายมุมมองที่ปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้นใน กฟผ. ในอนาคตมีความเป็นไปได้ในหลายนวัตกรรมที่อาจเกิดขึ้นจริง ก็น่าจะได้เอามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


ชัยศักดิ์ ยงบรรเจิด

วันที่ 27 มีนาคม 2556 หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

ได้รับแนวความคิดต่างๆดังนี้

White Ocean

ISR = Individual Social Responsibility

อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจาก 10 -> 15 องศา ===>>> โลกกำลังปรับตัว

สิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงที่สุด ก็ไม่แน่ว่าจะรักษาสายพันธ์ไว้ได้ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตัวเอง

ความโง่งม คือการทำซ้ำในสิ่งเดิมๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆตามที่ต้องการ

What analysis?

What are we?

What do you want to go? 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 28มีค.56

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น2ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ผวก.

การเข้าอบรมหลักสูตร EADPเป็นการเปิดมุมมองในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความหลากหลาย เตรียมความพร้อมสำหรับสำหรับภารกิจที่อาจจะได้รับในภายหน้า  และได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย กำลังดีขึ้น  รวมถึงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำลังจะเริ่มต้น  กฟผ. จะต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายนอก

หัวข้อTQM/SEPA :และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

นโยบายด้านคุณภาพของ กฟผ. คือ การเป็นองค์กรชั้นนำในระดับสากล  ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการดังนี้

1. Corporate Good Governance

2. High Performance Organization

3. Operational Excellent

4. National Pride

5. Financial Variability

กฟผ. ใช้ TQMในการดำเนินนโยบายด้านคุณภาพ โดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของ กฟผ. และเรียกว่า EGAT WAY ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ โดยที่ปรึกษา

TQMเป็นเครื่องมือด้านคุณภาพที่ดี แต่ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องร่วมมือด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผล

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่29มี.ค. 56

แนวคิดBlue Oceanกับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

แนวคิด Blue Oceanเป็นแนวคิดในการทำธุรกิจสมัยใหม่ ที่จะต้องสร้างสินค้าและบริการตัวใหม่ (Innovation) เพื่อสร้างความต้องการใหม่ (New Demand) โดยไม่เน้นการแข่งขันกับคู่แข่ง แต่จะใช้กลยุทธ์และสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Vulue Innovation)

การปรับใช้กับ กฟผ. อย่ามองจากมุมมองของตัวเอง มองศักยภาพของตัวเองว่าในปัจจุบันยังไม่ได้ทำ แต่ต้องทำในอนาคต

High Performance Organizationที่ กฟผ.

กฟผ. จะเป็นองค์การที่มี High Performance Organizationต้องประกอบด้วย

- ผู้นำ ต้องมีทัศนคติเชิงบวก มีวิสัยทัศน์ มีวินัย มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมาย และมีความน่าเชื่อถือ

- พนักงาน ต้องทำงานเป็นทีม เข้าใจภารกิจ

- องค์การ ต้องเป็น Dynamic Structure

- วิธีการทำงาน ต้องมุ่งเน้นให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข

14/5/56

กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

สุขภาพที่ดีเริ่มจากการปรับวิธีการและอาหารที่รับประทานกินเนื้อ กินผัก ลดการกินแป้งและผลไม้

การออกกำลังเป็นสิ่งจำเป็นการออกกำลังกายในน้ำจะช่วยลดการบาดเจ็บ

ของกล้ามเนื้อและข้อสำหรับผู้มีน้ำหนักมากและผู้สูงอายุได้

15/5/56

ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ/การก้าวสู่ AEC

กฟผ. ต้องเตรียมรีบปรับตัว ปรับรูปแบบบางจุดของ กฟผ ใหม่ เช่นอาจจะต้องหามืออาชีพทางด้านการเงิน มาช่วยในการบริหาร ซึ่งในอนาคตจะมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของ กฟผ. อย่างมาก การพิจารณาพลังงานทางเลือก การประสานงานใกล้ชิดกับภาครัฐก็มีความสำคัญเช่นกัน

16/5/56

EGAT Leader & Teamwork / Art& Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

Teamwork จะขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทีมต้องมีการร่วมกันทั้ง กายและใจ รวมถึงการสื่อสารที่ดี ใช้ภาษาพูดและภาษากาย ได้อย่างเหมาะสม

17/5/56

บุคคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

สร้างความประทับใจต่อผู้พบเห็น ทั้งการแต่งการ – น้ำเสียง - คำพูด

การปฎิบัติตนและมารยาทในที่ชุมชน ต่อสถานการณ์ต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

18/5/56

การนำเสนอผลงานกลุ่มนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.

เป็นการนำเสนอผลงานทั้ง 6 กลุ่ม ซึ่งมีหลายมุมมองที่ปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้นใน กฟผ. ในอนาคตมีความเป็นไปได้ในหลายนวัตกรรมที่อาจเกิดขึ้นจริง ก็น่าจะได้เอามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


วันที่ 14 พฤษภาคม 2556

หัวข้อ กิจกรรมรักกาย – รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน)

  เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ทั้งภาพในและภายนอก การกำลังกายในน้ำสำหรับผู้สูงอายุ การบำบัดด้วย การซาวน่า และการอบสมุนไพร ทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น เป็นอย่างมาก 

วันที่ 15 พฤษภาคม 2556

“Learning Forum and Workshop”

หัวข้อ “วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.”

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ  และ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล 

  ท่านอาจารย์ พงษ์ชัยฯ ได้สรุปสถานะการณ์การผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ที่ไม่เป็นไปในแนวทางที่ควรจะเป็น ไว้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะแนวโน้มการลดลงของกำลังผลิตที่เริ่มมีนัยสำคัญมากขึ้น รวมทั้งมีการทดแทนจากคู่แข่งรายอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ ข้อเสนอแนะคือการหาหรือพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อมาเสริมส่วนที่ขาดหายไป

  ท่านอาจารย์ ไกรฤทธิ์ฯ ให้แนวทางการอยู่รอดของ กฟผ. ไว้ถึง 10 แนวทาง

1.  การหาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน (หรือ พ่อมดทางการเงิน) เพื่อมาช่วยในกาบริหารจัดการด้านทุนให้มีประสิทธิภาพ

2.  ต้องจัดหา หรือมีแหล่งพลังงานเพิ่มเพื่อเสริมธุรกิจ อย่างน้อย 2-3 ชนิด

3.  การประชาสัมพันธ์ต้องมีประสิทธิภาพ ต้องกระทบต่อพื้นฐานความเป็นจริง

4.  ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อทำนายปริมาณการใช้ไฟฟ้า ที่แม่นยำมากขึ้น

5.  การผลิตไฟฟ้าทางเลือก เช่น การสร้างแผง Solar Cells เพื่อผลิตไฟฟ้าขาย กฟน.

6.  การมีกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับการแข่งขัน ต้องมีภาคีในการร่วมกันผลิตกรแสไฟฟ้า

7.  กฟผ. ต้องเป็นศูนย์กลางของการผลิตและส่งไฟฟ้า ด้วยประสบการณ์ที่มีในด้านนี้มานานหลายปี โดยมีการแบ่งปันกับเพื่อนบ้าน ในแนวรุก

8.  กฟผ.ต้องมียุทธศาสตร์ ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ด้านการเมือง เศษรฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี เพื่อกำหนดนโยบายให้สอดคล้อง

9.  การจัดทำ Business Models ให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ AEC กฟผ.ต้องเตรียมความพร้อมในทางเลือกต่างๆ เช่น การจัดจำหน่าย การหาแหล่งเงินทุน การร่วมทุนกับพันธมิตร เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

10.  กฟผ.ควรแตกธุรกิจอื่นๆ นอกจากการผลิตและการจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้า โดยอาจจะดำเนินการผ่านบริษัท ในเครือ ก็ได้ ด้วยประสบการณ์ และทรัพยากรของ กฟผ.โดยการลงทุนในธุรกิจพลังงานอื่น ๆ

ทั้งของท่าน อาจารย์ พงษ์ชัยฯ และ ท่านอาจารย์ ไกรฤทธิ์ฯ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และควรนำมาพิจารณาถึงทิศทางที่ กฟผ.และหน่วยงานที่เกี่ยวควรจะดำเนินกิจการต่อไป


วันที่ 16 พฤษภาคม 2556

1.  หัวข้อ“EGAT Leader & Teamwork”  โดย ดร.เฉลิมพล  เกิดมณี

  อาจารย์ ดร.เฉลิมพลฯ นำเสนอวิธีการสร้างทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจาก ลักษณะธรรมชาติของแต่ละบุคคลที่อยู่ในทีมงาน ว่ามีบุคลิก นิสัย หรือความต้องการ  ที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้บริหารจัดการให้เกิดการทำงานที่สามารถไปด้วยกันได้ดี อย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้แบ่งคนออกเป็น 4 ประเภท

1.  ประเภท C นักทฤษฎี – ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล

2.  ประเภท D นักผจญภัย – กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง ชอบการแข่งขัน มั่นใจตัวเอง

3.  ประเภท S นักปฏิบัติ – สงบนิ่ง อดทน ถ่อมตน ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ เชื่อถืดได้

4.  ประเภท  I นักกิจกรรม – ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น ร่าเริง ไม่ระมัดระวัง

ผู้นำ หัวหน้าทีม ต้องเข้าใจบุคคลทั้ง 4 ประเภทนี้ จึงจะนำทีมได้อย่างราบรื่น

2.  หัวข้อ“Arts & Feelings of Presentation”  โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

  ท่านอาจารย์ ได้แนะการนำเสนอที่ทำให้ผู้ฟังประทับใจ ตรึงใจ และจดจำในสิ่งที่เราพูดได้ นอกจากนั้นพูดถึงความสำคัญในการสื่อสาร การแสดงออก และท่าทางต่าง ซึ่งมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 7%-ความคิดสร้างสรรค์  38% - การสื่อสาร พลังการสื่อสาร  55% - ภาษากายหรือพลังกาย ซึ่งจะเห็นว่า 2 ส่วนหลังมีผลถึง 93% เป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด

 

วันที่ 17 พฤษภาคม 2556

1.  หัวข้อ“บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่  อาจารย์ นภัสวรรณ  จิลลานนท์

  เป็นหัวข้อที่เป็นประโยชน์สำหรับการดูแลบุคลิกภาพในการเข้าสังคม และการให้เกียรติ ในการต้อนรับแขกผู้มาเยือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน้าตาขององค์กรด้วย เช่น

-  การเลือกเสื้อผ้า กางกเง รองเท้า ให้เข้ากับ บุคลิกภาพ

-  การนั่ง บนโต๊ะอาหาร ห้องรับแขก เป็นต้น

องค์ประกอบอื่นๆ  เช่น สีสัน  เส้นสาย และสัดส่วน ต่างๆ เช่น เนคไทร์ คอปกเสื้อ

2.  หัวข้อ“ประสบการณ์ทำงานที่ ปปช. สู่การปรับใช้ที่ กฟผ. ”  อาจารย์ วิชา มหาคุณ

อาจารย์ วิชาฯ เล่าถึงต้นต่อของการคอรัปชั่น เกิดจากระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมานาน ในสังคมแถบ เอเซีย แต่มีหลายประเทศที่ได้รับการแก้ไขไปบ้างแล้ว เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เป็นต้น การคอรัปชั่น ในทยนั้นเกิดจาก การขาดจิตสำนึกสาธารณะอยู่อีกมาก

  โดยสรุปก็คือ อย่าคิดทำผิดต่อหน้าที่ เพราะวันนี้ ความผิดอาจไม่ปรากฏ แต่กฎแห่งกรรมสักวันก็จะตามทัน

3.  หัวข้อ“ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง”  อาจารย์ ประกาย ชลหาญ

พนักงานในองค์กร มีภารกิจตามกรอบความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ในการสร้างผลงานขึ้นอยู่กับ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่มีต่อองค์กร ผลงานต่างๆ เกิดจากการ Motivation ของแต่ละคนที่มีความต้องการแตกต่างกัน

ในการพัฒนาคน ต้องดูที่เป้าหมายขององค์กร รวมทั้งเป้าหมายของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป หัวหน้า จะต้องคอยช่วยเหลือ สนับสนุนในแต่ละขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยการทำหน้าที่เป็น Coach

การบริหารการเปลี่ยนแปลง Jack Welch อดีตประธานบริษัท GE Electric เคยกล่าวไว้ว่า จงเปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน ดังนั้นในการเปลี่ยนแปลงเราจะต้อง วางแผน ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องถึงเป้าหมาย ของการเปลี่ยนแปลงและเป็นที่ยอมรับ ในแนวทางเดียวกัน ต้องยึดถือเป้าหมาย ติดตามความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงนั้น


18 พฤษภาคม 2556

 กลุ่ม 1 นำเสนอ      

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรม เพื่อการสร้างและบริหารทุนมนุษย์ของ กฟผ.

กับการพัฒนาที่ก้าวไกลและยั่งยืน

ประเด็นปัญหา

•  การรับพนักงานใหม่ ในแต่ละปี จะได้นักศึกษา ที่ไม่ตรงตามความต้องการ เท่าที่ควร

•   ต้องใช้เวลาในการ อบรม พัฒนาพนักงานใหม่ 1-2 ปี จึงสามารถทำงานในระดับ เบื้องต้นได้

•  กฟผ. รับคน ที่ไม่มีความรู้ ตรงตามภารกิจในสายงานต่างๆ

ดังนั้นจึงมีแนวคิดใหม่ว่าควรจัดตั้งเป็น Academy แทน เนื่องจากสามารถหาแนวร่วม พันธมิตรมาร่วมกันทำได้ จึงเกิดเป็นแนวทางของ EGAT Academy โดยมีเป้าหมาย ร่วมกันจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานต่างๆ ใน กฟผ. ทั้งทางภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ซึ่งความคาดหวังก็คือ เมื่อนักศึกษาจบออกมาแล้ว สามารถเข้าไปทำงานในหน่วยงานที่ชอบ และมีความถนัดได้เลย

ท่านอาจารย์ จิระ:

       ให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมว่าควรคิดไปถึงการเตรียมบุคลากร เพื่อ AEC ด้วย รวมทั้งพันธมิตรอื่นๆ ใน อาเซียน


เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 15 พฤษภาคม 2556

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.

(วัฒนะธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร และลูกค้า และ Stake holder)

โดย  ศาสตราจารย์ ภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ,  ผศ.ดร. พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล

ประโยชน์ที่ได้รับ

ประเด็นท้าทายได้ถูกวิเคราะห์จาก อาจารย์ 2 ท่าน สรุป ดังนี้

1) กฟผ. มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าปัจจุบันประมาณ 46% ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง ความสำคัญของ กฟผ.ก็จะลดลง

2) กฟผ. ต้องควบคุม Supply chain ให้ได้ เช่น เป็นเจ้าของแหล่งถ่านหิน แหล่งก๊าซ(ซึ่งเป็นไปได้ยาก)

3) ต้องทำราคาไฟฟ้าให้ถูกลง

4) สัญญาผูกมัด ลูกค้าปลายน้ำ เช่น กฟน., กฟภ.

5) ถือหุ้นในบริษัท supply เช่น บริษัทผลิต Solar Cell

6) ใช้สายส่ง บริการในสาธารณูปโภคอื่น ๆ

7)Source of Fund เช่น เข้าตลาดหลักทรัพย์, ลงทุนในธนาคาร หรือ ซื้อหุ้นในบริษัทที่มีสภาพคล่อง (เงินสด)

กฟผ. กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ประโยชน์ที่ได้รับ

  เป้าหมาย AEC

  - เปิดเสรีการลงทุน

    - เปิดเสรีทางการค้า

  - เปิดเสรีการค้า บริการ

  - การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี

  - เปิดเสรีการเคลื่อนย้าย เงินทุน

  อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ได้วิเคราะห์ประเด็นท้าทายที่ถูกมองจากภายนอก ได้ 10 ข้อ ดังนี้

1. ด้านต้นทุนและลงทุน ต้องมี CFO และมีผู้เชี่ยวชาญในระดับนโยบายและปฏิบัติการ

2. วัตถุดิบน้ำ วิจัยพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยและประเทศเพื่อนบ้าน

3. มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนในพื้นที่ ต้องมี CIO ประชาสัมพันธ์ที่ กฟผ. มีผลงานและต้นแบบที่ดีอยู่แล้ว เช่น แม่เมาะ

4. การทำนายปริมาณใช้ไฟได้ยากขึ้น กฟผ. ต้องมีวิธีพัฒนากลไกในการตอบสนองความต้องการฉับพลัน

5. การผลิตไฟฟ้าทางเลือก กฟผ.ต้องเตรียมพร้อมเรื่องพลังงานทางเลือก พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าสะอาด

6. การรับมือ การแข่งขัน กฟผ.ต้องริเริ่มและส่งเสริมให้เกิดหน่วยผลิตไฟฟ้านานาชนิด

7. ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย กฟผ.มีการบริหารเรื่องนี้ดีอยู่แล้วต้องมีการแลกเปลี่ยนกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ

8. ประเด็นนโยบายภาครัฐ และทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ กฟผ.ต้องประเมินผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี

9. รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC กฟผ.ต้องรวบรวม Model การผลิตไฟฟ้าจากทั่วโลกเพื่อเป็นทางเลือก และทิศทางเชิงยุทธศาสตร์

10.  โอกาสในการทำธุรกิจอื่น ๆ กฟผ.มีโอกาสสร้างรายได้เสริมจากการจัดการพลังงาน การจัดการน้ำและชลประทานทำธุรกิจด้านสื่อสาร โทรคมนาคม โดยอาศัยเครือข่ายระบบส่ง

วันที่ 16 พฤษภาคม 2556

EGAT Leader & Team Work

โดย  ดร.เฉลิมพล  เกิดมณี

ประโยชน์ที่ได้รับ

1)  ได้เรียนรู้เทคนิคการบริหารและการสร้าง Team Work สู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้บุคลิกภาพของคน ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ นักทฤษฎี นักผจญภัย นักกิจกรรม และนักปฏิบัติ

2)  การสร้างทีมสู่ความสำเร็จ ต้องเห็นคุณค่าร่วมกัน (Value) มีแรงบันดาลใจ หรือแรงผลักดัน (Inspiration) และมีจินตนาการ (Imagination) นำทีมสู่เป้าหมาย โดยมีความสามารถ (Capability) ความเพียร (Endurance) เป็นเครื่องมือที่สำคัญ

3)  การเป็นผู้นำต้องมีความใจกว้าง เปิดใจสื่อสาร ฝึกการเป็นผู้ฟังให้เข้าใจ แล้วจึงเป็นผู้พูด

4)  ผู้นำต้องอยู่กับปัจจุบัน

5)  ผู้นำต้องยอมรับ และเข้าใจในมุมลบ และในธรรมชาติของลูกน้อง

Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

โดย อ.จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล

  Art & Feeling of Presentation เป็นศิลปะในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้ฟังสนใจ จดจำ และเข้าใจได้ โดยใช้เทคนิค Juicy & Jazz  ซึ่งในการนำเสนอ 93% เป็นเทคนิค Juicy & Jazz ซึ่งได้แก่ พลังเสียง 38% และ 55% เป็นภาษาท่าทาง ส่วนเนื้อหาการบรรยาย 7% เท่านั้น

  นอกจากนี้ ใช้เทคนิค 3C คือ Connection คือ เชื่อมโยงกับผู้ฟัง Change ให้ผู้ฟังสนใจและ Contribute ผู้ฟังสามารถนำไปต่อยอดได้

วันที่ 17 พฤษภาคม 2556

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย  อ.นภัสวรรณ จิลลานนท์

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ความประทับใจแรกพบของการเจอกันครั้งแรก คือ Image หรือภาพลักษณ์ภายนอก การแต่งกาย เครื่องใช้ ซึ่งแสดงถึงรสนิยม ซึ่งความประทับใจในการแต่งกาย 55% น้ำเสียง 38% และคำพูด 7%

2. ได้เรียนรู้ การแต่งกาย, การนั่ง, การไหว้ มารยาทบนโต๊ะอาหาร, พิธีรดน้ำสังข์

3. หลักการนั่งรถในตำแหน่งต่าง ๆ การเยี่ยมเยียนบ้านผู้ใหญ่ ให้คำนึงถึง

-  การให้เกียรติคน

-  ความปลอดภัย

-  ความสะดวกสบาย

-  อัธยาศัยไมตรี

-  ความเป็นระเบียบ

จากประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช. สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

โดย  ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. หลัก 4 ข้อที่ทำให้องค์กรมีคุณค่า

  -  Trust

  -  ความซื่อสัตย์

  -  ความกรุณา

  -  การแบ่งปัน

  2.  ระบบอุปถัมภ์ เป็นระบบที่ทำลายประเทศ เป็นที่มาของการคอร์รัปชั่น

  3.  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวให้น้อยลง

ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย อ.ประกาย ชลหาญ

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.  ผู้นำมีหน้าที่สร้างทีมให้มีประสิทธิภาพและสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ลูกน้องทำงาน (Motivations) โดยอาศัย Competency ประกอบด้วย Knowledge Skills และ Attitude

2.  เครื่องมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงใช้ GE’s Charge Model ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอน

1)  Leading Change หาผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2)  Creating a share need สร้างความต้องการร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนแปลง

3)  Share vision วาดภาพที่ดีหลังการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้อยากมีการเปลี่ยนแปลง

4)  Mobilizing Commitment กระตุ้น/ผลักดันให้แต่ละคนมีส่วนร่วม

5)  Monitoring progress ติดตามควบคุมความคืบหน้าในการเปลี่ยนแปลง

6)  Making Change last ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน

7)  Changing system structure นำเข้าระบบโครงสร้าง

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556

นำเสนอผลงานกลุ่ม นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

  การนำเสนอผลงานทั้ง 6 กลุ่ม เป็นการนำเสนอแนวคิดที่สร้างสรรค์ และแตกต่างตามที่ได้รับมอบหมายซึ่ง กฟผ. สามารถนำไปต่อยอดในการผลิตไฟฟ้า และการยอมรับของสังคม ตลอดจนองค์กร กฟผ. สามารถดำรงอยู่เอย่างมั่นคง

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

สายงานเชื้อเพลิง


สรุปหนังสือ Global HR โดยกลุ่ม 3

Global HR Competencies Mastering Competitive Value from the Outside In

Dave Ulrich , Wayne Brockbank , Jon Youngger , Mike Ulrich

OVERVIEW AND LOGIC

องค์กรจะเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนได้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่นำไปใช้ บริษัทใหญ่ๆเช่น TATA ก็มีรูปแบบที่ Egat น่าที่จะเรียนรู้และพิจารณานำไปปฏิบัติคือ ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายสนับสนุน กลุ่มแรงงาน ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม สิ่งแวดล้อม พัฒนาสมรรถนะพนังงาน มีการสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ และ HR คือแหล่งที่ดีที่สุดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

THE GLOBAL PERSPECTIVE   โดย Jade White และ Jon Younger

Egat ต้องเป็นองค์กรที่ปรับตัวได้ดีกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในเรื่องเรื่องเศรษฐกิจ สังค และการเมือง ฯลฯHR เพิ่มศักยภาพขององค์กรได้  งาน HR คือการเปลี่ยนยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กรเป็นวัฒนธรรม/ทักษะพิเศษ/ความเป็นผู้นำ ของทรัพยากรบุคคล โดยจะต้องตระหนักถึงความต้องการ ด้วยกรอบความคิดแบบ outside-in
  สมรรถนะหลักของ HR professional มี 6 เรื่อง คือ
1.Credible activistHR professional ที่เก่งนั้นไม่เพียงแต่จะต้องทำงาน HR อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องส่งผ่านประสิทธิผลนั้นไปยังทีมและองค์กรด้วย
2.Strategic positionedHR professional รู้และเข้าใจทิศทางของธุรกิจ
3.Capability builder สามารถระบุสิ่งที่องค์กรทำได้ดีและความสามารถขององค์กรที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จได้
4.Change champion คือผู้ที่เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงและทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลเป็นความสำเร็จ
5. HR innovator and integrator ผู้นำ/หัวหน้า เข้าใจบทบาทในการเป็นผู้ผลักดันให้เกิดคุณค่า  เข้าใจในการคิดต่าง  เข้าใจการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เกี่ยวกับแหล่งที่มาของทรัพยากรบุคคล และ การสื่อสารที่ดีภายในองค์กรจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กร6. Technology proponent  ต้องมีTechnology เข้ามาเกี่ยวเพื่อนัยต่อความสำเร็จของธุรกิจ

สรุป HR professional จะต้องคิดแบบ outside-in / สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก / ริเริ่มและจัดการกับการเปลี่ยนแปลง / สร้างสมรรถนะขององค์กรด้วย innovation / integrated HR practices และใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์

บทสรุป

ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีความเหมือนและความแตกต่างในสภาพแวดล้อมธุรกิจ แต่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของออสเตรเลียมีลักษณะองค์กรขนาดใหญ่กว่าที่อยู่ในนิวซีแลนด์

ระบบความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมได้เกิดการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การให้ความร่วมมือระหว่างกันและลดลงของจำนวนสหภาพ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อุตสาหกรรมในประเทศทั้งสองได้เปลี่ยนไปจากภาคการผลิตและการเกษตรไปสู่ภาคการบริการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในออสเตรเลียที่เปลี่ยนไปสู่ภาคทรัพยากร การพัฒนาทางอุตสาหกรรมเหล่านี้ประกอบกับทัศนคติและแรงบันดาลใจของพนักงานใหม่ ได้นำไปสู่ความท้าทายด้านแรงงาน ซึ่งรวมถึงการขาดแคลนทักษะของผู้เชี่ยวชาญและความต้องการที่เพิ่มขึ้นของพนักงาน

ผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรบุคคลของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นมีทั้งเพศชายและหญิงโดยสมดุลและมีคุณสมบัติโดยทั่วไปดี แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องความสูงวัย/อายุของผู้ประกอบวิชาชีพ

ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลมีความสามารถสูงในการสร้างกิจกรรมที่น่าเชื่อถือและสร้างความสามารถให้แก่ผู้อื่น พวกเขามีความสามารถสูงกว่าค่าเฉลี่ย

สรุป Egat ให้ความสำคัญในการพัฒนา HR และผู้เกี่ยวข้องให้ช่วยกัน อนาคต กฟผ.  HR-function  ต้องเปลี่ยนมาเป็น  Smart HR โดย Line Manager และ Non – HR จะต้องมีบทบาทในการพัฒนาร่วมกันมากขึ้น CEO ต้องให้ความสำคัญใน HR ต้องแบ่งปันความรู้ รับฟังความต้องการและแชร์ความรู้จาก Non HR และต้องเพิ่มบทบาทในการพัฒนาไม่แฉพาะเรื่องงาน ต้องดูแลชุมชน ติดตามการเมืองเนื่องจากการเมืองจะเข้ามายุ่งกับเรา ต้องเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าและการประหยัดพลังงานและที่สำคัญต้องช่วย HR
China โดย Arthur Yeung และ Wang Tao

ความสำเร็จ ไม่ได้มาจากการมีสูตรอาหารลับหรือการมีรสชาดเฉพาะตัว แต่ได้มาจากการบริการ การบริการของพนักงานที่เหนือมาตรฐาน กล่าวคือ มีการดูแลเด็นเล็ก ส่ง fax ให้ หรือ ซื้อไอศครีมจากร้านข้างเคียงให้ เป็นต้น ให้ความยุติธรรมและความโปร่งใสกับพนักงาน โดยให้คำขวัญว่า” เราสามารถเปลี่ยนโชคชะตาชีวิตได้ด้วยมือเราเอง ”  เขาให้ความเท่าเทียมกันของพนักงานโดยไม่คำนึงถึงประวัติ ฐานะ พนักงานทุกคนเข้ามีความเข้าใจชัดเจนในเรื่องการปฏิบัติตนเองและทีม ถึงการให้บริการที่เหนือระดับแก่ลูกค้า ซึ่งจะสัมพันธ์กับกับการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ จะได้รับการเลื่อนระดับ วิธีการพัฒนากลยุทธ์ เริ่มจากมุ่งไปที่พนักงาน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย สิ่งแวดล้อม และชุมชน ในหนทางที่ไปสู่ความสำเร็จที่ยาวนาน ขึ้นเงินเดือน และมีโบนัสมุ่งไปที่การเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยี นวัตกรรม   

สรุป HR มืออาชีพในจีน ทำงานโดยแรงกระตุ้นจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มคุณค่าและดำเนินการสู่สากล โดยใช้กระบวนการทาง HR ด้าน เป็นผู้สร้าง เปลี่ยนเป็นผู้ชนะ เป็นผู้เปลี่ยนแปลงและผู้บูรณาการ นอกจากนี้ HR มืออาชีพต้องเรียนรู้อย่างรวดเร็วและปรับปรุงความสามารถพิเศษของตน

นวัตกรรมที่ทาง HR ใช้ในการขาดแคลนผู้มีความสามารถพิเศษ จาก บริษัทที่กล่าวมา วิธีที่ใช้ในการหาผู้มีความสามารถพิเศษ คือการที่บริษัทเข้าไปคัดเลือกนักศึกษาที่จะจบ เพื่อมาทำงานทุกปี ทั้งนี้จะต้องมีการธำรงผู้มีทักษะ ความสามารถพิเศษ นี้ให้คงอยู่กับบริษัท วิธีการนี้ทาง กฟผ. ควรนำมาใช้และเลือกนักศึกษาที่อยู่ในชุมชนใกล้เคียงกับ หน่วยงาน กฟผ.

CHAPTER 6 – EUROPE

ยุโรปมีพื้นที่รวมแล้วเท่าๆกับสหรัฐอเมริกา  เศรษฐกิจของ EU โดยรวมแล้วถึงจะมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นแต่ถ้าเทียบกับทั่วทั้งโลกแล้วจะเห็นได้ว่าลดลงเป็นเพราะมีการเจริญเติบโตที่มากกว่าในประเทศ จีน,อินเดีย,บราซิล และอื่นๆ  HR มืออาชีพจึงมีบทบาทในการเพิ่มความสามารถให้กับองค์กรที่จะทำให้เกิดตลาดใหม่ๆ ซึ่งจะเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและในขณะดียวกันก็จะต้องดูแลด้านผลผลิตและทำให้ได้ผลกำไร เช่น

1.  HR จะต้องหาวิธีที่จะช่วยรักษาสัญญากับลูกค้าและต้องหาวิธีมัดใจลูกจ้างที่มีความสามารถสูง  รวมทั้งต้องคิดหาวิธีเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันโดยใช้มุมมองจากนอกองค์กร

2.  HR จะต้องช่วยบริษัทต่างๆที่ย้ายฐานการผลิตเนื่องจากค่าแรงยุโรปตะวันออกถูกกว่าตะวันตกประมาณ 10 เท่าโดยถ่ายเทความสามารถด้านต่างๆเช่น ด้านการบริหารและด้านผลผลิต ไปที่บริษัทใหม่ด้วย

3.  HR จะช่วยพลักดันธุรกิจทั้งในเรื่องของการหาแรงงาน,การอบรม,และการให้ผลตอบแทน

4.  HR ต้องช่วยพัฒนามาตรฐานระดับสูงให้กับคนงานและโรงงานเพื่อให้แข่งขันได้ กับค่าแรงที่ถูกกว่าจากแรงงานเอเซีย

5.  HR จึงต้องดูแลหาทางพัฒนาคนงานในแต่ละกลุ่มที่มีหลากหลาย เช่น อายุ,เพศ,ศาสนา

6.  HR จะค้นหาคนที่มีความสามารถและให้ตำแหน่งที่เหมาะสมและมีนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น ใช้เทคโนโลยีช่วยหรือลดเวลาการเดินทาง อบรมและให้ความรู้ในเรื่องการทำงานแบบสมดุลกับการใช้ชีวิต

7.  HR จะต้องช่วยเรื่องการขาดแคลนแรงงานโดย อาจจะใช้วิธีการขยายอายุผู้เกษียณที่ยังทำงานได้ดี

8.  HR จะต้องปรับปรุงศักยภาพให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของ Capability Builder, Chang Champion, HR Innovator & Integrator, Technology Proponent

สรุป: หลายๆคนในยุโรปทำงานแบบ inside out โดยพยายามเพิ่มศักยภาพทางเทคนิค แต่ไม่พัฒนาความสามารถในงานให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจจริงๆในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเผชิญกับความสูญเสีย สิ่งที่ HR มืออาชีพจะต้องทำคือ ต้องทำงานแบบ outside in คือใช้ความคาดหวังหรือความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งที่นำมาปรับปรุงภายในองค์กร

CHAPTER 7 – INDIA

  อินเดียมีเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดมี GDP สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก ตัวอย่างของ HR ที่ประสบความสำเร็จ แห่งหนึ่งคือที่ ICIC Bank ซึ่งเป็นธนาคารเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย เป็นธนาคารที่บริหารทรัพย์สินที่มากที่สุดในประเทศ  HR ขององค์กรแห่งนี้ได้วางยุทธศาสตร์เรื่องคนและองค์กร โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบเดิมๆของการบริหารด้วยการริเริ่มทำเรื่องต่างๆ ดังนี้

1.  ใช้คนให้ถูกต้องกับความรู้ที่คนๆนั้นมีอยู่และตรงกับตำแหน่งในธุรกิจนั้นๆด้วย

2.  ทำให้คนอยู่รวมกันด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทำให้องค์กรมีความสามัคคี

3.  สร้างผู้นำให้มีคุณภาพเพื่อจะสร้างองค์กรที่มีความสามารถ

4.  เลือกเด็กที่จบจากวิทยาลัยแล้วมาฝึกสอนที่โรงเรียนสำหรับฝึกเรื่อง Finance, Banking และ Insurance

5.  เร่งการฝึกผู้นำโดยยังทำมากกว่าการพัฒนาในเรื่องปกติ เช่น การประเมิณ 360 องศา, coaching และ mentoring คือ

·  ให้ผลตอบแทนเพื่อจูงใจสำหรับผู้ที่ได้รับมอบหมายงานสำคัญ

·  ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างดี

·  เลือกหัวหน้าดูจากความแข็งแกร่งและพิจารณาจุดอ่อนด้วย

  ผลสรุปจาก HRCS ปี 2012

  Credible Activist: HRCS ได้ให้ความเห็นว่ามีการให้ความสำคัญของ HR และ Non HR มากแต่กลับให้ผลกระทบต่อธุรกิจไม่มาก ซึ่งต้องระวังในความเชื่อดังกล่าวและต้องปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป

  Capability Builder, Chang Champion, Strategic Positions  ผลการวิจัยของ HRCS แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของ HR ในเรื่องนี้อยู่ในระดับปานกลางและผลกระทบต่อธุรกิจที่อยู่ในระดับเท่าๆกัน

  Technology Proponent มุมมองของ HR เห็นว่าเรื่องนี้มีผลกระทบน้อย แต่จากผลการวิจัยจะมีผลกระทบต่อธุรกิจมาก

  สรุป: อินเดียเป็นพื้นที่ที่กำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในโลก ธุรกิจกำลังเจริญเติบโต  มีการใช้ HR เข้าไปช่วยดำเนินงานอย่างมั่นคง

CHAPTER 8 - LATIN AMERICA

  ในละตินอเมริกามี 20 ประเทศ ทุกประเทศจะมีเศรษฐกิจคล้ายๆกัน พื้นฐานมาจากทรัพยากรธรรมชาติเช่นแร่ ผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งน้ำมันและแก๊ส ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าผลผลิตที่ได้จากงานฝีมือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น IT หรืองานบริการต่างๆ

  รูปแบบของธุรกิจในกลุ่มประเทศลาตินมี 3 แบบ คือ

1.  Multinational Companies โดยใช้ทีมงานบางอย่างร่วมกันเช่น HR, IT, Finance และ Procurement

2.  National Economic Groups

3.  Small – Medium Size Enterprises

  ข้อจำกัดของการฉุดรั้งความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ คือ ลูกจ้างขาดความสามารถ ผู้ที่มีฝีมือต่ำถึงปานกลางจะทำงานในธุรกิจเล็กๆ ผู้ที่มีฝีมือดีจะทำงานในบริษัทที่ใหญ่ขึ้น ผู้หญิงมีการศึกษาดีขึ้นและได้เข้าทำงานมากขึ้นแต่ยังมีน้อยรายที่ได้ทำงานในตำแหน่งสูงๆ เนื่องจากเป็นค่านิยมของกลุ่มในประเทศลาตินที่ยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมากนัก

  การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่และการเชื่อมโยงกับตลาดโลก ทำให้จำเป็นต้องใช้ HRM Practices ในการดึงคนไว้ทำงานกับบริษัทตัวเอง เนื่องจากคนที่มีความสามารถจะย้ายไปทำงานกับบริษัทอื่น ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาฝีมือแรงงานของบริษัทตัวเองด้วย

  ผลสรุปจาก HRCS ปี 2012

  HR มืออาชีพมีคะแนนของ Credible activist domain สูงกว่าอีก 5 domain อย่างเห็นได้ชัด เป็นเพราะประชาชนส่วนใหญ่เชื่อและมุ่งเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้น ในองค์กรจึงยังใช้ HR ในเรื่องสร้างความสัมพันธ์มากกว่าเรื่องอื่นๆ

สรุป: เศรษฐกิจในลาตินอเมริกา ยังคงท้าทาย HR ที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการปรับปรุงเทคโนโลยีและความต้องการแรงงานที่มีฝีมือ ธุรกิจในปัจจุบันยังต้องการ HR ไปสร้างความสามารถของแรงงานโดยเฉพาะบางประเทศที่การศึกษายังไม่ดีนัก อาจต้องนำเข้าแรงงานที่มีฝีมือ การบริหารงานแบบวันต่อวันของเจ้าของกิจการยังคงเป็นความเข้าใจที่ฝังลึกว่าเป็นความเหมาะสมกับธุรกิจของเขา

CHAPTER 9 – THE MIDDLE EAST

  GCC (Gulf Corporation Council) ซึ่งประกอบด้วย Qatar, Bahrain, Saudi Arabia, Kuwait, The United Arab Emirates และ Oman  ในปี 2012 เป็นช่วงเวลาที่สังคมเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง  Leader ได้ปฏิรูปโดยหลีกเลี่ยงนโยบายทางการเมืองที่ไม่สมดุล  ซึ่งเกิดปัญหาเศรษฐกิจจากผลของวิกฤตการทางการเงินทั่วโลก และการเติบโตที่ช้าลงของเศรษฐกิจโลก ได้ส่งผลกับบริษัทในกลุ่ม GCC

  เดิมในปี 2004 GCC มีประชากร 33.2 ล้านคน และเพิ่มเป็น 49.8 ล้านคน ในปี 2013 มีอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรสูงมาก ถึงแม้ว่าแนวโน้มอัตราการเพิ่มของประชากรในปัจจุบันจะลดลงแต่ก็ยังสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกถึง 2 เท่า

  ในเรื่องการศึกษา สถาบันการศึกษายังไม่มีความสามารถที่จะผลิตแรงงานได้ดีพอและเหมาะสมกับแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคต กลุ่มประเทศ GCC ยังต้องการแรงงานในสายการเงินและในโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันได้ใช้แรงงานจากต่างประเทศและธุรกิจหรือองค์กรเหล่านี้ยังต้องการ HR ที่มีความสามารถอีกมาก  ซึ่งปัจจุบันมีน้อยมาก

  ในปี 1975 มีอัตราส่วนของคนในประเทศต่อพื้นที่ทั้งประเทศ 90%  แต่ในนปี 2010 ลดลงเหลือ 57% ที่เหลือเป็นคนต่างชาติที่มาทำงาน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเซีย เป็นผู้ชาย และมากกว่าครึ่งทำงานใช้แรงงาน และงานบริการ ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายจำกัดแรงงานต่างชาติโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ

  สัดส่วนของผู้หญิงที่ได้ทำงานในธุรกิจเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยแต่หลายคนมีการศึกษาสูงกว่าผู้ชาย ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

  ผู้ที่ทำงานในส่วนของรัฐบาลจะมีการศึกษาสูงรายได้ดีแต่ผลผลิตต่ำ แต่แรงงานในภาคเอกชนกลับมีรายได้ที่ต่ำกว่า ดังนั้นงานในด้านสาธารณะจะทำโดยรัฐบาลและงานเอกชนจะทำโดยใช้คนงานต่างชาติ

  ผลการศึกษา HRCS แสดงว่า HR ของกลุ่มประเทศ GCC ยังมุ่งเน้นไปที่ Credible Activist, strategic Positions และ Capability builder แต่ในทางกลับกัน HR Innovator จะมีผลต่อธุรกิจมากกว่า

  สรุปเพื่อจะเตรียมความพร้อมของผู้นำ ผู้มีศักยภาพ เพื่อความสำเร็จขององค์กรในสถานการณ์ที่ภูมิภาคกำลังเผชิญ  ผู้บริหารด้าน HR จะมีอิทธิพลต่อผลงานโดยรวมของธุรกิจโดยการปรับปรุงพัฒนา innovation and integration ให้พร้อมรับอนาคตที่ท้าทายและการพัฒนา Technology เพื่อระบบการบริหาร และเชื่อมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร HR จะต้องนำเทคโนโลยีมาบูรณาการ

CHAPTER 10 – NORTH AMERICA

  ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  ด้านเศรษฐกิจ : หลังจากธุรกิจซื้อขายบ้านในอเมริกา ปี 2007 เกิดฟองสบู่แตก  ส่งผลต่อความเสียหายทางด้านการเงินทั่วโลก ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง คนว่างงานพุ่งสูงขึ้นเป็น 1 ใน 5  ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเป็นประเด็นหลักทางเศรษฐกิจ มีค่าใช้จ่ายเป็น 10 เท่าของปี 1980 และยังมีปัญหาเรื่องการใช้จ่ายเกินตัวของคนอเมริกัน ทำให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวม

  ด้านการเมือง : หลังจากเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2007 รัฐบาลพยายามจะอัดฉีดเงินเข้าระบบ แต่ก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาของการทำสงครามในประเทศอิรักและอัฟกานิสถาน ทำให้ไม่สามารถมีเงินมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากนัก

  ด้านสังคม : คนในอเมริกาเหนือคำนึงถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ดังนั้น สินค้าที่ผลิตจะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย ทางบริษัทฯ ไม่ได้ดูแลความเป็นอยู่ของคนงานและให้เงินเดือนที่เหมาะสมทำให้มีปัญหาต่อการทำงานร่วมกัน

  ด้านธุรกิจ : มีการปลดคนงานและย้ายแหล่งผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถทางด้านการแข่งขัน การสร้างความสามารถหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งปรับปรุงเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความเร็วในการสื่อสารและความร่วมมือเพื่อเพิ่มผลผลิต

  ด้านประชากร : ในอเมริกาและแคนาดา มีอัตราการเกิดต่ำ ในขณะที่อายุเฉลี่ยของคนที่ทำงานมากขึ้น ดังนั้น ในอนาคตจะขาดแคลนคนทำงาน

  ระบบการศึกษาในอเมริกาเหนือไม่ได้ดีที่สุดอีกต่อไปแล้ว เพียง 25% ของนักเรียนไม่ผ่าน high school นี่จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของ HR ในการที่จะหาแรงงานที่มีความสามารถมาทำงานในอนาคตทดแทนคนที่จะเกษียณอายุ  HR จึงต้องเน้นในเรื่องต่างๆ ดังนี้

1.  จะต้องวางแผนกลยุทธ

2.  พัฒนาองค์กร สำหรับขยายธุรกิจไปที่ต่างๆ ของโลก

3.  ช่วยรวบรวมกับบริษัทอื่น

4.  ต้องรู้ถึงความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

5.  จัดหาคนและนำวิธีการดีๆ มาสู่บริษัท

  ผลการศึกษา HRCS พบว่า ทีม HR จะตัองทำดังนี้

1.  การมุ่งเน้นชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก

2.  การเชื่อมโยงกิจกรรม HR กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร

3.  การเป็น Culture role model ของหน่วยงาน HR

4.  การมีบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจนของแต่ละกลุ่มในทีม HR

5.  การที่ทีม HR ถ่ายทอดวิธีการแก้ปัญหาในภาพรวมให้แต่ละหน่วยงานขององค์กร

  สรุปสรุปสิ่งที่ HR จะต้องทำคือ การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงโดยจะต้องรักษาระดับความสามารถที่มีอยู่ปัจจุบันและสร้างขึ้นมาใหม่ และเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจที่มีความซับซ้อน HR จะต้องไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น นโยบายของรัฐบาล และจะต้องสามารถคาดการณ์ได้ว่าองค์กรจะต้องเตรียมรับมือกับนโยบายหรือมาตรการนั้นอย่างไร นอกจากนี้ยังต้องเกาะติดเทคโนโลยีใหม่ๆและเข้าใจว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะเอื้ออำนวยการทำงานของลูกจ้าง การค้นคิดงานรูปแบบใหม่ๆและการสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรกับลูกจ้างได้อย่างไร โดยจะต้องสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆจากทั่วโลกเพื่อให้การบริการของ HR ส่งผลกระทบที่ดีในต้นทุนที่ต่ำสุด หน่วยงาน HR ต้องบุกเบิกกระบวนการที่ทำให้ผู้บริหารดึงศักยภาพขององค์กรให้ได้มากที่สุด  HR มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรในฐานะที่ระบบเศรษฐกิจอยู่ในช่วงเปลี่ยนจากฐานการผลิตเป็นฐานองค์ความรู้ โดยองค์กรใน North American มีวัฒนกรรมและความคิดแบบมองไปข้างหน้าและแนวคิดการบริหาร ที่ก้าวหน้าทึ่สุดซึ่งเป็นหน้าที่ของ HR ที่จะนำองค์ความเหล่านี้ไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ

CHAPTER 11 – TURKEY

  ตัวอย่างในการแก้ปัญหาของ HR มาจากการปรับปรุงการบริการของธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งในตุรกี โดยการวัดคุณภาพของการทำงานผ่านสายตาของลูกค้า และมีการให้คะแนนของลูกค้า ทำให้ทราบว่าในแต่ละส่วนของการให้บริการมีมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว ก็ทำการตรวจสอบหาปัญหาที่แท้จริงว่าปัญหาเกิดเพราะอะไร เช่น ทราบว่า เมื่อลูกค้าเดินเข้ามารับบริการไม่มีใครสนใจ ดูแลให้ความช่วยเหลือ พนักงานไม่ยิ้ม HR team จึงแก้ปัญหา 2 แนวทาง คือ

1.  On The Job Traning   ฝึกอบรมพนักงาน

2.  On The Job Coaching  หาผู้ชำนาญเป็นโค้ชให้

  ตุรกีได้รับอิทธิพลด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมจากตะวันออกและตะวันตก เพราะภูมิประเทศอยู่ระหว่างยุโรปและเอเชีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเนื่องจากเป็นประเทศที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย จึงเป็นจุดพักของการขนส่งสินค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซ

  ในปี 2011 มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของยุโรป และเป็นอันดับที่ 16 ของโลก

  ตุรกีมีการปฏิรูปทางด้านการเงินไปเมื่อปี 2001 ที่เกิดวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ จึงทำให้ได้รับผลกระทบไม่มากเมื่อเจอวิกฤตทางด้านการเงินในปี 2008

  ธุรกิจภาคเอกชนเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่ปี 1980 เพราะ รัฐบาลเริ่มเห็นความสำคัญของตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนของต่างชาติ ประเทศจึงเปลี่ยนจากภาคเกษตรกรรมไปสู่งานบริการโดยเปลี่ยนจากการเน้นผลผลิต เป็นเน้นที่คนซึ่งเป็นกุญแจที่จะไขไปสู่ความสำเร็จ องค์กรต่างๆ เริ่มลงทุนในเรื่อง HRM มากขึ้น ปัจจุบัน ตรุกี มีความยืดหยุ่นและเปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เช่นบริษัทตุรกีได้ซื้อกิจการจากต่างชาติแล้ว 68 บริษัท

  จำนวน HR ของบริษัทในตุรกี ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท บริษัทใหญ่ก็จะลงทุนในเรื่องของ HR มาก

  HR ในตุรกี พยายามที่จะดึงนักลงทุนต่างประเทศเข้ามา ความสามารถในการวิเคราะห์ด้านการเงินในอนาคต และการคาดการ์ณถึงผลสำเร็จโดยการวิเคราะห์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ HR  การตื่นตัวและทำตัวให้พร้อมสำหรับธุรกิจใหม่ๆ รวมทั้งการขอนวัตกรรม มาปรับปรุงองค์กร เป็นคุณสมบัติที่เห็นได้ของ HR ในตุรกี

  สรุปการจัดการด้าน HR  จากภายนอกจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับงาน  HR  ในอนาคต  โดยพิจาณาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทและนำมาสู่การพัฒนากลยุทธ์ด้าน  HR  ผู้บริหารงาน  HR  ในตรุกีเชื่อว่าการเข้าใจธุรกิจขององค์กรจะทำให้รู้ความต้องการขององค์กรในการที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาทางด้าน  HR  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร  คือ  พนักงานและผู้บริหารไม่ต้องการหน่วยงาน  HR  ที่ปฏิบัตินโยบายที่ตายตัวและเคร่งครัดแต่พวกเขาต้องการความยืดหยุ่นและความสร้างสรรค์เพื่อที่จะนำมาซึ่งผลดีต่อการทำธุรกิจ  ดังนั้น  การให้น้ำหนักการพิจารณากลุ่มลูกค้าภายนอกบริษัทจะเป็นการเปลี่ยนทิศทางการทำงานของหน่วยงาน  HR  ที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จ

CHAPTER 12 - Common And Customized Competencies:

  HR ทั่วโลก ควรจะเรียนรู้ HR จาก outside in ด้วยความเข้าใจด้านสังคม, เทคโนโลยี, เศรษฐกิจ, การเมือง, สิ่งแวดล้อม และแนวโน้มด้านประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องรู้ความต้องการของลูกค้า, ผู้ลงทุน, ผู้ดูแลควบคุมและชุมชน แล้วสร้างวิธีการบริหาร HRM จากภายใน โดยต้องสอดคล้องกับความต้องการภายนอก  สร้างความสัมพันธ์กับภายนอกโดยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับคำสัญญาที่ให้

  ท้ายที่สุดแล้ว สำหรับการจะได้ประโยชน์สูงสุดนั้น HR ของแต่ละบริษัทหรือหลายบริษัท จะต้องร่วมกันจัดตั้ง องค์กรร่วมกันแล้วร่วมลงทุนเพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เพื่อเรียนรู้ในเรื่องศักยภาพทั้ง 6 domain โดยมีตัวแทนจากแต่ละบริษัทมาร่วมบริหาร แล้วพัฒนาหลักสูตร Consortium ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของทุกบริษัทในภาพรวม  Consortium อาจจะตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ดังมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว คือ The HR exertive program at the Ross School of Business at University of Michigan

CHAPTER 13 – FUTURE OF GLOBAL HR: WHAT’S NEXT?

  มองย้อนกลับไปประมาณ  25  ปีก่อนเราจะเห็นว่า  ด้านสังคม  เทคโนโลยี  เศรษฐกิจ  การเมือง  สิ่งแวดล้อม  และประชากรศาสตร์  เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกมากขึ้น ซึ่ง  HR  ไม่ได้เกาะติดแนวโน้มนี้  ดังนั้นมูลค่าของ  HR  จึงลดน้อยถอยลง

  ในบทนี้จะมองอนาคตของ  HR หากผู้ที่ทำงาน HR  จะเพิ่มมูลค่าของงาน  HR  โดยพิจารณาว่า

1.  สิ่งที่ HR ต้องทำความเข้าใจและคาดการณ์เมื่อสภาวะแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเปลี่ยนแปลง

·  แรงขับจากความเป็นโลกาวิวัฒน์ เนื่องจากองค์กรจะเปลี่ยนเป็น Multinational มากขึ้น

·  ความหลากหลายทางด้านประชากรศาสตร์ที่มากขึ้นตามกระแสโลกาวิวัฒน์

·  การเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยี ซึ่งทำให้โลกแคบลง ข้อมูลข่าวสารที่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนเปลี่ยนวิธีการคิดและการกระทำด้วย

·  การปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก

2.  สิ่งที่ HR ต้องทำในอนาคต

·  Talent (พนักงานผู้มีความสามารถ) มีความสำคัญในอนาคตและส่งผลถึงความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร

·  ความสามารถขององค์กรเป็นข้อบ่งชี้ว่าองค์กรเป็นที่รู้จักในแง่มุมไหน, องค์กรทำอะไรได้ดี และมีกระบวนการจัดรูปแบบของกิจกรรมอย่างไร

·  Leadership มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการคัดเลือก/เสาะหา Talent และสร้างความสามารถขององค์กร

3.  Future HR Competencies  ถ้าหากการคาดการณ์ของานวิจัยนี้ถูกต้อง  ความสามารถของผู้ทำงานด้าน  HR ก็เป็นการง่ายที่จะบ่งชี้ เนื่องจากโลกเปลี่ยนและนั่นหมายถึงความสามารถของ HR Professionals จะต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย

  การนำเรื่อง  “GLOBAL HR COMPETENCIES”  มาปรับใช้ใน กฟผ.

จากหนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่า HR  มีความสำคัญต่อการดำเนินงานต่อบริษัทและองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยงาน/ทีมงาน ที่มีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและการเจริญเติบโตของบริษัทหรือองค์กร เป็นหน่วยงาน/ทีมงานในการที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับบริษัทหรือองค์กรอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นหน่วยงาน/ทีมงาน HR ของกฟผ. จะต้องมีทีมงานในการวางแผน วิเคราะห์แนวโน้มผลกระทบต่างๆที่วิ่งเข้าหา กฟผ. และเขียนแผน กำหนดยุทธศาสตร์ให้กับหน่วยงานภายในนำไปปฏิบัติ โดยต้องมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษากับหน่วยงานภายใน ตลอดเวลา คอยตรวจสอบและเตือนให้หน่วยงานภายในทราบว่าการบริหารงานด้าน HR ของแต่ละหน่วยงานยังคงมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่


สรุปหนังสือ HR from the Outside in โดยกลุ่ม 3

การวิวัฒนาการของคลื่น HR

  ในอดีตที่ผ่านมาครึ่งศตวรรษ  คลื่น HR ได้ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของธุรกิจ  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  และกลยุทธ์ วิธีการทำงานของ HR ทั่วไปได้ผ่าน  3 Wave  และคลื่นที่ 4  เกิดขึ้นจากเริ่มเจริญเติบโตที่มั่นคงขึ้น

  คลื่นที่ 1  HR Administration : เน้นการบริหารงานทรัพยากรบุคคล  ที่มุ่งเน้นในเรื่องข้อกำหนด  และเงื่อนไขของการทำงาน  จะส่งมอบงานบริการและกฎระเบียบในเรื่องบุคคลเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งความเชื่อถือขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แบบธุรกรรม

  คลื่นที่ 2  HR Practice : จะเน้นการออกแบบการบริหารรูปแบบใหม่เชิงนวัตกรรมการบริหาร  ในการชดเชยหรือจัดหารางวัลการเรียนรู้และบูรณาการการบริหารทรัพยากรบุคคลและความเชื่อถือที่เกิดจากการส่งมอบปฏิบัติที่ดีที่สุด

  คลื่นที่ 3  HR Strategy : เป็นการมุ่งเน้นเชื่อต่อบุคคล  เพื่อบูรณาการการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความสำเร็จทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการทำงานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของธุรกิจ  ซึ่งจะรวมถึงผลประโยชน์  วัฒนธรรม  และความเป็นผู้นำ

  คลื่นที่ 4  HR Outside in: เป็นการใช้  HR Practice  ในการขับเคลื่อนและการใช้สภาวะธุรกิจจากภายนอกมาตอบสนอง  เราเรียกว่า  “HR from Outside in”  ซึ่งเป็นการมองไปถึงกลยุทธ์ในข้างหน้ากับบริบทของธุรกิจรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  สำหรับทรัพยากรบุคคลที่จะส่งผ่านมาตรฐาน  โดยเริ่มจาก  3 คลื่น และรวมผูกพันไปถึงคลื่นที่ 4 (Outside in)  ซึ่ง HR  จำเป็นต้องเรียนรู้  facing ในสิ่งที่ทางอีกด้านเสมอ  ซึ่งเรียกว่า  Six Paradoxes facing HR

  Outside and inside  ที่เรานำมาพิจารณาเป็นการท้าทายเริ่มแรกที่จะให้ HR มุ่งไปข้างหน้า  โดยการคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  และภายนอกธุรกิจ

Human Resource Competency Study (HRCS) สามารถรวบรวมข้อมูลที่แสดงสมรรถนะของ HR Professionals  ซึ่งในบทนี้สามารถสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องได้ 5 ประเด็นดังนี้

1.  Purpose and Vision

2.  Development of the competency approach

3.  Research methods

4.  Evolution of the HR competency models

5.  Overview of our 2012 finding

Strategic Positioner: ผู้วางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์

ผู้วางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของบริษัทสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร โดยยกตัวอย่าง

 บริษัท MOL Group ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันและก๊าซในยุโรปตะวันออก ซึ่งเกิดจากทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่ติดลบต่อองค์กร จำนวนพนักงานที่ลดลงเรื่อยๆ จากการเกษียณ ลาออก และเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรรหาพนักงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านพลังงานมาทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงต้องหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่จะสรรหาพนักงานรุ่นใหม่ โดยต้องดึงดูดความสนใจของนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา ที่จะไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) เพื่อเพิ่มทรัพยากรบุคคลขององค์กรในอนาคต

การเป็น Strategic Positioner ที่มีความสามารถนั้น ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.  เรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับภาษา และการดำเนินธุรกิจ เช่น ความรู้ด้านการเงิน

2.  ตระหนักและใช้กลยุทธ์ รวมถึงทรัพยากรที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน

3.  ทำความเข้าใจ และคิดไปพร้อมๆกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เช่น ลูกค้า นักลงทุน

4.  รู้และตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อมต่อธุรกิจ

บทสรุปของ HR Professionals ในฐานะ Strategic Positioners

HR Professional ช่วยให้องค์กรรู้ตำแหน่งที่เหมาะสมที่องค์กรจะอยู่ โดยคำนึงถึงแนวโน้มทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะระบุและคาดการณ์สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร HR Professionalต้องรู้ความต้องการของลูกค้า และอำนวยการให้เกิดการสร้างกลยุทธ์ หาก HR Professional ทำสิ่งเหล่านี้ จะได้รับความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจเพิ่มขึ้น

  นักการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องเป็นนักปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นเลิศในงานของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝ่ายการวางตัวบุคคลเชิงกลยุทธ์ จำต้องมีความเข้มแข็งเป็นที่น่าเชื่อถือได้ ไม่ได้มากน้อยไปกว่านักปฏิบัติในสายงานอื่น ๆ เลย เพราะจะทำให้บุคลากรในองค์การให้ความสนใจเมื่อฝ่ายจัดการทรัพยากรมนุษย์กำลังทำความเข้าใจและชัดเจนถึงทิศทางภายนอกที่มีผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ นักการจัดการทรัพยากรมนุษย์มืออาชีพที่มีประสิทธิภาพนั้น จะสร้างความน่าเชื่อถือของตนโดยผ่านผลลัพย์ของการปฏิบัติงาน หรือสร้างสัมพันธ์ภาพแห่งความไว้ใจ และค่อย ๆ เรียนรู้ด้วยตนเองทีละเล็กน้อยว่าจะลงมือปฏิบัติให้ถูกกาลเทศในสถานะอันควร

HR มีส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศและรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมให้กับองค์กรได้ เราจะเรียก HRเหล่านั้นว่า “ผู้สร้างสมรรถนะ”(Capability Builder) ซึ่งCapability Builder จะผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและความร่วมมือกันเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

Right Organization จะช่วยให้ผู้นำองค์กรเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม นำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ โดย HR จะมีส่วนช่วยในการค้นหา Capability ที่มีความสำคัญ และนำ Capability เหล่านั้นผสมผสานเข้ากับกลยุทธ์ขององค์การและพฤติกรรมส่วนบุคคล และสุดท้ายที่จะทำให้ Capability ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การสร้างบรรยากาศการทำงานที่มีคุณภาพ พนักงานมีความสุขในการทำงาน ลูกค้าและนักลงทุนมองว่าเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ได้มุ่งเน้นแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่อยู่ดีๆ จะเกิดขึ้น แต่จะต้องทำผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวไปทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในการดำเนินชีวิตและการทำงาน  ในการเปลี่ยนแปลงของแต่ละองค์กรนั้นเกิดจากหลายปัจจัยและบุคคลหลายหน่วยงาน แต่หน่วยงานที่ถือว่ามีความเป็นเลิศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก หน่วยงานทางด้านทรัพยากรบุคคล เพราะหน่วยงานทางด้านทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรนั้นจะช่วยในการคิด ปรับ แก้ไข และ เน้นย้ำ นโยบายและแผน กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ และ วิสัยทัศน์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจการของธุรกิจหรือองค์กร รวมถึงการวัดผลประเมินบุคลากรทุกระดับตั้งแต่พนักงานระดับล่างจนถึงผู้บริหารระดับสูง เพื่อนำผลประเมินเป็นตัวชี้วัดผู้มีแววและทำแผนผู้สืบทอดตำแหน่งในระดับสูงขึ้นๆไปในอนาคต ตัวอย่างดังเช่น ธุรกิจโรงแรมของ HILTON และ ธุรกิจทางด้านเกษตรกรรม Viterra ที่หน่วยงานและบุคลากรทางด้านทรัพยากรบุคคลนั้นมีส่วนช่วยในการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจและแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่ 2 ธุรกิจนั้นกำลังตกอยู่ในสภาวะวิกฤติทางการเงิน

การตีความการเปลี่ยนแปลง

  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเราสามารถตีความการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้หลายๆรูปแบบได้แก่

1.  เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง – การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในชีวิตและการทำงานของเรานั้นล้วนมีอิทธิพลมาจากเทคโนโลยีทั้งสิ้น เทคโนโลยีทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์สะดวกสบายมากขึ้น สำหรับนักทรัพยากรบุคคลแล้วมีหน้าที่ทำให้คนในองค์กรเปิดใจ ยอมรับ

2.  การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง – เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วนอกจากจะเปิดใจยอมรับแล้ว จะต้องกล้าที่เผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมๆ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแล้วคนที่ไม่เปลี่ยนก็จะเสื่อมสลาย ถดถอย และ หายไปในที่สุด หน้าที่ของนักทรัพยากรบุคคลคือต้องสร้างและพัฒนาให้องค์กรและบุคลากรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ

3.  ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงมักล้มเหลวในครั้งแรกๆเสมอเพราะต้องเรียนรู้สิ่งที่เข้ามาใหม่ หน้าที่ของนักทรัพยากรบุคคลคือ การนำความล้มเหลวนั้นมาเป็นบทเรียนเพื่อการปรับเปลี่ยนที่ประสบผลสำเร็จในครั้งต่อไป

4.  การเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่มีผลกระทบอะไรเลยกับผู้ที่มีความรู้สึกไวกับสิ่งที่จะเปลี่ยนไปเพราะบุคคลผู้นั้นจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม ดังเช่นผู้นำที่มีความกระตือรือร้น คล่องแคล่ว และ รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วนั้นจะอยู่ในตำแหน่งได้อย่างยาวนาน

5.  เมื่อเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงแล้วจะต้องมีแผนในการดำเนินการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ไม่หลงทาง นักทรัพยากรบุคคลจะช่วยในการชี้แจงและควบคุมองค์กรให้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร

6.  การเปลี่ยนแปลงที่ล้มเหลวในหลายๆครั้งนั้นไม่ได้เกิดจากความไม่รุ้ที่จะเปลี่ยนแปลงแล้วต้องทำอย่างไร แต่เกิดจากรู้ว่าควรจะเปลี่ยนแปลงหรือกระทำอะไร แต่ไม่ทำ นักทรัพยากรบุคคลต้องทำหน้ทาที่เป็นผู้คุมกฎและพฤติกรรมองค์กรเพื่อดำเนินกระบวนการสู่ความสำเร็จที่สัมฤทธิ์ผล

7.  แรงขับจากการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดได้จาก 2 ปัจจัย คือ เกิดจากวิวัฒนาการซึ่งเกิดจากกการพัฒนาอย่างช้าๆทีละขั้นตอนและต่อเนื่อง และ เกิดจากการปฏิวัติซึ่งมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ต่อเนื่อง ก้าวกระโดด ทันทีทันใด นักทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่ทำให้หัวหน้างานทราบว่าช่วงเวลาใดควรใช้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใด

8.  การเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถผลักดันได้โดยมีแผนและแนวทางในการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน รวมถึงการใช้ค่านิยม แรงบันดาลใจ ในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

9.  การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ใน 3 ระดับ คือ การเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและศักยภาพ การเปลี่ยนแปลงในบริบทต่างๆ เช่น กระบวนการหรือโครงการต่างๆ ที่มีเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพ นวัตกรรม ทุน บริการ เป็นต้น และ ระดับสถาบันซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมและวัฒนธรรมของสถาบันนั้นๆ

10.กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงนั้นมีความเหมือนและคล้ายคลึงกันมาก หนังสือและตำราหลายๆเล่มได้ระบุและแสดงให้เห็นถึงกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีความแตกต่าง แต่สิ่งที่สำคัญคือ เราจะต้องรวบรวมความคิดและนำวิธีและกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงไปปรับใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา

สรุป

  การเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานขึ้นอยู่กับว่าเราจะปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วแค่ไหน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเราจะต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับและปรับตัวตาม นอกจากนั้นยังต้องรักษาสถานะในการเปลี่ยนแปลงอีกด้วยเพื่อความอยู่รอดของสถาบัน องค์กร และตนเอง 

   สรุปว่าแนวทางหนึ่งในการยกระดับบทบาทของนัก HR ในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต นั่นก็คือ การผลักดันให้ตนเองมีบทบาทของการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กร มีบทบาทในการกระตุ้นให้บุคคลจากคนภายนอกและภายในองค์กรมีความรู้สึกที่ดี เกิดความภาคภูมิใจและความประทับใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร พร้อมทั้งมีความปรารถนที่สร้างผลงานได้ตามหรือดีเกินกว่าเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้


เปลี่ยนกรอบความคิด(Mindset) ชีวิตเปลี่ยน

นิยาม: กรอบความคิด หมายถึง ชุดความเชื่อ หรือวิธีคิดที่กำหนดการแสดงพฤติกรรมการมองโลก และทัศนคติ ในทางปฏิบัติคือ เมื่อเราแสดงพฤติกรรมหรือแสดงความคิดเห็นประการใดประการหนึ่ง เราสามารถสะท้อนกลับไปถึงกรอบความคิดที่มาของพฤติกรรมและความคิดนั้นๆได้เสมอ

เมื่อเราสะท้อนตนเองทีไร  เราก็ยังพบกรอบความคิดแบบเดิมอยู่เสมอๆ  นั่นแสดงว่าเรากำลังติดอยู่กับกรอบความคิดที่ตายตัวหรือกรอบความคิดแบบจำกัด(Fixed mindset) แต่หากเราสะท้อนพบกรอบความคิดเดิม

และไม่ยอมแพ้กับกรอบความคิดเหล่านั้น นั่นหมายถึงเรากำลังมีกรอบความคิดที่เติบโต(Growth mindset)

กรอบความคิดแบบจำกัด(Fixed mindset)

สัญญาณที่บอกว่าเรามีกรอบความคิดตายตัว คือเรารู้สึกกลัวต่อความท้าทายที่เข้ามา กลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น และมีแนวโน้มล้มเลิกความพยายามได้ง่ายๆเมื่อเจอกับอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นการต่อว่า ความผิดพลาด ความล้มเหลว เป็นต้น

กรอบความคิดที่เติบโต(Growth mindset)

สัญญาณที่บอกเราว่ามีกรอบความคิดเติบโต คือเรารู้สึกสนุก ตื่นเต้น และมันส์ กับความท้าทายที่เข้ามา รู้สึกได้บทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น มีความใส่ใจ อดทน และความพยายามทำแล้วทำอีก แม้จะพบเจออุปสรรคมากน้อยเพียงไรก็ตาม ไม่หวั่นไหวกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ มองติให้เป็นก่อ ล้มแล้วลุก ผิดแล้วเริ่มต้นใหม่ เป็นต้น

สรุปกรอบความคิด(Mindset)

กรอบความคิดจำกัด ประมเนตัวเองจากผล และรู้สึกกลัวมากกว่าจะไปถึงเป้า

กรอบความคิดเติบโต ประเมินตัวเองจากกระบวนการ และรู้สึกสนุกกับแต่ละก้าวที่ยังไม่ถึง

เมื่อเราหมั่นสะท้อนตนเองในระดับกรอบความคิดอยู่เสมอ   ขยันทดลองทำต่างที่ข้ามกรอบความคิดอยู่เรื่อยๆ อดทนไม่ย่อท้อกับเสียงต่อว่า หรือไม่หวั่นไหวเมื่อไม่ได้ยินเสียงที่อยากได้ยิน หมั่นปลูกกรอบความคิดให้เติบโตอยู่เสมอ เปรียบดั่งชาวนาชาวไร่หมั่นปลูกพืชพรรณ รดน้ำ พรวนดิน ไม่ย่อท้อกับสภาพอากาศ ร้อนหนาวอย่างไรก็จะปลูก เราจะเริ่มถึงจุดที่เราโอบกอดความท้าทาย มันส์กับการล้มแล้วลุก สนุกกับการผิดแล้วเริ่มใหม่ เราจะพบกับความงามของการเติบโตอยู่เสมอ

บททดสอบกรอบความคิด เพื่อการพัฒนา

ลองตอบคำถามที่เกี่ยวกับความฉลาด อ่านแต่ละข้อความและพิจารณาว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

1.  ความฉลาดของคุณคือสิ่งที่เป็นพื้นฐานของตัวคุณที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก

2.  คุณสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความฉลาดของคุณได้จริง

3.  ไม่ว่าคุณจะมีความฉลาดมากเท่าใด คุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทีละน้อยได้เสมอ

4.  คุณสามารถเปลี่ยนแปลงความฉลาดของตัวเองได้อย่างมากเสมอ

5.  คุณเป็นคนที่มีลักษณะที่แน่นอน และไม่มีอะไรที่จะทำให้คุณเปลี่ยนแปลงได้

6.  ไม่ว่าคุณจะเป็นคนแบบใด คุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก

7.  คุณสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างแตกต่าง แต่ส่วนสำคัญที่ว่าคุณเป็นใครนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

8.  คุณสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับประเภทของคนที่คุณเป็น

เฉลยคำตอบจากคำถามด้านบน

คำถามข้อที่  1  , 2  ,  5 , 7  เป็นคำถามจากกรอบความคิดจำกัด

คำถามข้อที่  3  , 4  ,  6 , 8  เป็นคำถามที่สะท้อนกรอบความคิดเติบโต

ทีนี้ลองใส่กรอบความคิดเติบโตให้ตัวคุณสำหรับผู้ที่มีกรอบความคิดแบบจำกัด หรือเพิ่มกรอบความคิดเติบโตสำหรับผู้ที่มีกรอบความคิดเติบโตอยู่แล้ว

กรอบความคิดและการตัดสินใจของผู้บริหารที่มีกรอบความคิดเติบโต

ผู้นำที่มีกรอบความคิดเติบโตเริ่มต้นด้วยความเชื่อในศักยภาพและการพัฒนาของคน ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นแทนที่จะใช้บริษัทเป็นเครื่องมือสร้างความยิ่งใหญ่ให้ตนเอง พวกเขาใช้มันเป็นเครื่องจักรแห่งการเติบโต เพื่อตัวเอง พนักงาน และบริษัทในภาพรวม

คุณอยู่ในสถานที่ทำงานที่มีกรอบความคิดจำกัดหรือกรอบความคิดเติบโต? คุณรู้สึกว่าผู้คนกำลังตัดสินคุณหรือพวกเขากำลังช่วยคุณพัฒนา? บางทีคุณอาจจะช่วยทำให้สถานที่นี้กลายเป็นที่ๆมีกรอบความคิดเติบโตมากขึ้น โดยเริ่มจากตัวคุณ มีหนทางที่คุณสามารถรับมือความผิดพลาดน้อยลงหรือไม่? คุณสามารถได้ประโยชน์จากผลสะท้อนที่ได้รับหรือไม่? มีทางที่คุณสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่อมเติมหรือไม่?

คุณปฏิบัติกับคนในที่ทำงานอย่างไร? คุณเป็นเจ้านายที่มีกรอบความคิดจำกัดที่มุ่งเน้นอำนาจของตัวคุณมากกว่าความเป็นอยู่ของพนักงานหรือไม่? คุณต้องการยืนยันสถานภาพของตนโดยทำให้คนอื่นรู้สึกต่ำต้อยหรือไม่? คุณเคยเตะถ่วงพนักงานที่มีผลงานดีเพราะว่าพวกเขาเป็นภัยคุกคามตัวคุณหรือไม่?

รองพัฒนาทางที่จะช่วยให้พนักงานของคุณพัฒนาการทำงาน เช่น การฝึกงาน การสัมนาแลกเปลี่ยนความคิด การสอนงานหรือให้คำแนะนำ ลองคิดว่าคุณสามารถจะมองและปฏิบัติต่อพนักงานในฐานะผู้ร่วมงาน หรือทีมงานของคุณได้อย่างไร เขียนวิธีต่างๆออกมาและลองทำดู ทำสิ่งนี้แม้คิดว่าตัวเองเป็นเจ้านายที่มีกรอบความคิดเติบโตแล้ว การสนับสนุนที่ดีและผลสะท้อนที่ส่งเสริมการพัฒนาไม่เคยทำลายองค์กร

องค์กรของคุณสนับสนุนการคิดเหมือนกันทั้งกลุ่มหรือไม่? ถ้ามีกระบวนการตัดสินใจกำลังมีปัญหา ลองหาหนทางส่งเสริมความคิดทางเลือกอื่นๆ และการวิพาษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์  ให้มีกล่องเสนอความคิดเห็นที่ไม่เปิดเผยชื่อเพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ จำได้ว่า คนเราสามารถเป็นนักคิดอิสระและคนที่ทำงานเป็นทีมได้ในเวลาเดียวกัน  ช่วยพวกเขาเล่นทั้งสองบทบาทนี้


สรุปบทความ

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในการเยือนรัสเซีย เพื่อเซ็นต์สัญญาการร่วมมือกันในด้านพลังงานและข้อตกลงด้านอื่นๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการรวมกลุ่มของแต่ละประเทศจากแต่ละมุมโลกเพื่อเป็นการประสานงานช่วยเหลือกันและพัฒนาร่วมกัน โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังมองว่าการเติบโตและพัฒนาของทั้งสองประเทศเป็นโอกาสที่จะช่วยเหลือกันมากกว่าการแข่งขัน โดยสรุปแล้วทั้งสองประเทศมีแผนที่จะร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคต

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

  จีนจะเพิ่มขยายความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆและแอฟริกาให้มากขึ้น โดยจีนจะให้ความช่วยเหลือแก่แอฟริกาอย่างต่อเนื่องและให้กู้เงินสูงถึง 200 ล้านดอลลาร์ในปี 2012 และจะให้การกู้เพิ่มอีก 20 ล้านดอลลาร์ในปี 2013ถึง2015 รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนชาวแอฟริกา 18,000 ทุน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

Grouping on track to be ‘global force’

  การประชุมกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 ประกอบด้วยประเทศ Brazil Russia India China และ South Africa ที่เมื่อ Durban ประเทศอัฟริกาใต้ ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศให้นักลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีนการหารือที่สำคัญได้แก่ คือ แผนจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งใหม่ ซึ่งถูกมองเป็นการ ท้าทายอำนาจ ของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ในการประชุมได้มีการก่อตั้ง BRICS Business Council ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 5 ประเทศ ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ร่วมกันดำเนินการโดยไม่มีการตั้งผู้นำที่ถาวร โดยจะทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่า มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้าที่ประชุมเห็นว่ายังคงที่จะจัดตั้ง BRICS new development bank 



วีระศักดิ์ ศรีกาวี

วันที่ 14 พฤษภาคม 2556

กิจกรรม รักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

          เป็นกิจกรรมที่ดี มีประโยชน์ แม้ว่าเราจะทำงานเก่งปานใดก็ตาม แต่หากมีปัญหาสุขภาพ ร่างกายไม่แข็งแรง ป่วยประจำและไม่พร้อมในการทำงานแล้วเป็นเรื่องยากที่จะประสบผลสำเร็จได้ ในกิจกรรม รักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนยะรรมชาติบำบัดบัลวี(สามเสน) จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เตือนให้เรารักษาสุขภาพไปพร้อมๆกับการพัฒนาด้านอื่น กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนยะรรมชาติบำบัดบัลวี มี 3 ภาค ดังนี้

          ภาคที่ 1 การบรรยาย”ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง” โดยอาจารย์ นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล เป็นนำเรื่องการกินเข้ามาปฏิบัติซึ่งจะช่วยให้เกิดการเจ็บป่วยน้อยลงและถือว่าการกินอาหารเป็นยารักษาโรคอย่างหนึ่ง การนำมาปฏิบัติจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

          ภาคที่  2 เป็นการแนะนำการออกกำลังกายของผู้สูงวัย เช่น การอบรังสีสีเขียวจากใบไม้ การออกกำลังกายในน้ำ(Hydro-aerobics) การอบสมุนไพร การอบซาวน่าสลับการอาบน้ำเย็น

          ภาคที่ 3 การลงมือทำกิจกรรมในภาคที่ 2

          สิ่งที่ได้จากกการเข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ เป็นการแนะนำให้เรารู้จักดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมต่อสู้กับงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดลำดับแรกของชีวิต การร่วมกิจกรรมที่กิจกรรม รักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี(สามเสน) คงไม่ใช่เข้าร่วมกิจกรรมแล้วจบ แต่กิจกรรมครั้งนี้เป็นการแนะนำการออกกำลังกาย เปิดมุมมองให้กับผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านเพื่อนำไปปฏิบัติเป็นประจำต่อไป และเป็นความจำเป็นต้องถือปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี

วีระศักดิ์ ศรีกาวี

วันที่ 15 พฤษภาคม 2556

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. (วัฒนะธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร และลูกค้า และ Stake holder)

ประเด็นท้าทายได้ถูกวิเคราะห์จาก อาจารย์ 2 ท่าน สรุป ดังนี้

1) กฟผ. มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าปัจจุบันประมาณ 46% ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง ความสำคัญของ กฟผ.ก็จะลดลง

2) กฟผ. ต้องควบคุม Supply chain ให้ได้ เช่น เป็นเจ้าของแหล่งถ่านหิน แหล่งก๊าซ(ซึ่งเป็นไปได้ยาก)

3) ต้องทำราคาไฟฟ้าให้ถูกลง

4) สัญญาผูกมัด ลูกค้าปลายน้ำ เช่น กฟน., กฟภ.

5) ถือหุ้นในบริษัท supply เช่น บริษัทผลิต Solar Cell

6) ใช้สายส่ง บริการในสาธารณูปโภคอื่นๆ

7) Source of Fund เช่น เข้าตลาดหลักทรัพย์, ลงทุนในธนาคาร หรือ ซื้อหุ้นในบริษัทที่มีสภาพคล่อง (เงินสด)

กฟผ. กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

เป้าหมาย AEC

เปิดเสรีการลงทุน

เปิดเสรีทางการค้า

เปิดเสรีการค้า บริการ

- การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี

- เปิดเสรีการเคลื่อนย้าย เงินทุน

ประเด็นท้าทายที่ถูกมองจากภายนอก ได้ 10 ประเด็น ดังนี้

1. ด้านต้นทุนและลงทุน ต้องมี CFO และมีผู้เชี่ยวชาญในระดับนโยบายและปฏิบัติการ

2. วัตถุดิบน้ำ วิจัยพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยและประเทศเพื่อนบ้าน

3. มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนในพื้นที่ ต้องมี CIO ประชาสัมพันธ์ที่ กฟผ. มีผลงานและต้นแบบที่ดีอยู่แล้ว เช่น แม่เมาะ

4. การทำนายปริมาณใช้ไฟได้ยากขึ้น กฟผ. ต้องมีวิธีพัฒนากลไกในการตอบสนองความต้องการฉับพลัน

5. การผลิตไฟฟ้าทางเลือก กฟผ.ต้องเตรียมพร้อมเรื่องพลังงานทางเลือก พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าสะอาด

6. การรับมือ การแข่งขัน กฟผ.ต้องริเริ่มและส่งเสริมให้เกิดหน่วยผลิตไฟฟ้านานาชนิด

7. ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย กฟผ.มีการบริหารเรื่องนี้ดีอยู่แล้วต้องมีการแลกเปลี่ยนกับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ

8. ประเด็นนโยบายภาครัฐ และทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ กฟผ.ต้องประเมินผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี

9. รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC กฟผ.ต้องรวบรวม Model การผลิตไฟฟ้าจากทั่วโลกเพื่อเป็นทางเลือก และทิศทางเชิงยุทธศาสตร์

10. โอกาสในการทำธุรกิจอื่น ๆ กฟผ.มีโอกาสสร้างรายได้เสริมจากการจัดการพลังงาน การจัดการน้ำและชลประทานทำธุรกิจด้านสื่อสาร โทรคมนาคม โดยอาศัยเครือข่ายระบบส่ง


วีระศักดิ์ ศรีกาวี

วันที่ 16 พฤษภาคม 2556

หัวข้อ : EGAT Leader & Team Work

สรุปประเด็นได้ดังนี้

1)  ได้เรียนรู้เทคนิคการบริหารและการสร้าง Team Work สู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้บุคลิกภาพของคน ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ นักทฤษฎี นักผจญภัย นักกิจกรรม และนักปฏิบัติ

2)  การสร้างทีมสู่ความสำเร็จ ต้องเห็นคุณค่าร่วมกัน (Value) มีแรงบันดาลใจ หรือแรงผลักดัน (Inspiration) และมีจินตนาการ (Imagination) นำทีมสู่เป้าหมาย โดยมีความสามารถ (Capability) ความเพียร (Endurance) เป็นเครื่องมือที่สำคัญ

3)  การเป็นผู้นำต้องมีความใจกว้าง เปิดใจสื่อสาร ฝึกการเป็นผู้ฟังให้เข้าใจ แล้วจึงเป็นผู้พูด

4)  ผู้นำต้องอยู่กับปัจจุบัน

5)  ผู้นำต้องยอมรับ และเข้าใจในมุมลบ และในธรรมชาติของลูกน้อง

ข่าวโครงการ

ที่มา: Stock Review กันยายน 2556 หน้า 20-21

ข่าวโครงการ

ที่มา: Stock Review กรกฎาคม 2556 หน้า 20-21

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท