สาระสำคัญ จากการเรียนวิชาบริบทการศึกษา โดย ผศ.ดร. ปราโมทย์ เบญจกาญจณ์ 11-พ.ค.-56


สาระสำคัญ จากการเรียนวิชาบริบทการศึกษา 

โดย ผศ.ดร. ปราโมทย์ เบญจกาญจณ์ 

1. ความหมายของปรัชญา1.1 ปรัชญาคืออะไร
1.1.1 ความหมายของคำ “Philosophy” ตามรากศัพท์
คำว่า “Philosophy” มาจากคำว่า “Philosophia” (เป็นคำภาษากรีก
โบราณ) ซึ่งมาจากคำ “Philia” (แปลว่า “ผู้รัก”) และ “Sopia” (แปลว่า
“ความปราดเปรื่อง”)

ดังนั้น คำว่า “Philosophia” (Philosophy) จึงแปลว่า “ความรักในปรีชาญาณ” (Love of wisdom) เนื่องจากชาวกรีกโบราณมักเรียกตัวพวกเขาว่า “Wise men” เช่น Pythagoras (ราวปี 510 – 500 ก่อน ค.ศ.) ต้องการให้เรียกท่านว่า “Lover of wisdom” หรือ “Philosopher” นี่จึงเป็นที่มาของคำ “Philosophy” ซึ่งในสมัยต่อมา นักบุญโทมัส อาไควนัส (ค.ศ. 1225 – 1274) ก็ใช้คำว่า Philosophy มาแทนคำว่า “Wisdom”

สรุปแล้วคำว่า “Philosophy” ตามความหมายของภาษา คือ ความรักความปราดเปรื่อง ความปรารถนาจะเป็นปราชญ์ นั่นคือ การรู้ว่าตัวเองไม่ฉลาด แต่อยากฉลาด

1.1.2 ความหมายของคำ “ปรัชญา” (ภาษาไทย)
คำว่า “ปรัชญา” มีที่มาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์วรรณ) อดีตราชบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา เป็นผู้แปลศัพท์คำว่า Philosophy เป็นคำว่า “ปรัชญา” 
"ปร" เป็นรากศัพท์ แปลว่า ประเสริฐ 
โดยใช้รากศัพท์จากภาษาสันสกฤตว่า “ชฺญา” (รู้/เข้าใจ) เติมอุปสรรค ปฺร เป็น ปฺรชฺญา รวมแปลว่า “ความปราดเปรื่องหรือความรอบรู้ อันประเสริฐ”


ดังนั้น คำว่า “ปรัชญา” (ภาษาไทย) จึงแปลว่า “ความรอบรู้ปราดเปรื่อง” ซึ่งเป็นความหมายในเชิงอวดตัว (ไม่เหมือนคำ Philosophy ซึ่งแสดงถึงความถ่อมตน) ความหมายของคำ “ปรัชญา” จึงไม่ตรงกับภาษาอังกฤษ/กรีก (Philosophy/Philosopia) มากนัก
1.1.3 ข้อสังเกตเกี่ยวกับนิยามของคำว่า “ปรัชญา”
แม้ว่าไม่อาจนิยามความหมายของ “ปรัชญา” ได้ตรง หรือได้มติทางการ/สากล เราบอกได้เพียงแต่ว่าปรัชญามีลักษณะอย่างไร แต่จะให้นิยามตายตัว
เหมือนศาสตร์อื่น ๆ เช่น ศาสนาหรือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ คงไม่ได้

1.1.4 คำ “Philosophy” สะท้อนถึงอะไร
จากนิยามของคำว่า “Philosophy” แสดงถึงคุณลักษณะของมนุษย์ ว่าเป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีสติปัญญา (Intellectual) กล่าวคือ

มนุษย์ เป็นสัตว์ ต้องการอาหาร (เหมือนสัตว์) เพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย แต่มนุษย์มีสติปัญญา มีความปรารถนาที่จะรู้ความจริง เพื่อตอบคำถาม “อะไร” และ “ทำไม” (Desire to know – Truth, What + why) เกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้น (Cause of event and happening) รอบตัว

มนุษย์จึงหาคำตอบที่ “พอคิด/หาเหตุผลได้” เพื่อได้คำตอบ (What) และเหตุผล (Why)

1.1.5 สรุปความหมายของ “ปรัชญา”
สรุปความหมายของปรัชญาได้ว่า
ก. ปรัชญา คือ การแสวงหาความจริง อาศัยเหตุผล
ข. ปรัชญาคือการค้นพบความรู้เกี่ยวกับ “ความจริง” ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่เหนือความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ตายตัว และเป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็น “ศิลป์” และเป็นความรู้ในฐานะ “ศาสตร์พิเศษ” ของมนุษย์


---- ส่วนต่อไปนี้ รอการปรับแก้ไขครับ ---- 

ปรัชญา : Philosophy

ความสำคัญของปรัชญา
1.วาดภาพเชื่อมโยงมวลประสบการณ์
2.ช่วยแสวงหาคุณธรรม
3.วิพากษ์วิเคราะห์มูลบทของศาสตร์ต่างๆ
4.เรียนรู้3อย่าง


กลุ่มปรัชญาทั่วไป
1.ปรัชญาจิตนิยม (Idealism)
2.ปรัชญาวัตถุนิยม (Realism)
3.ปรัชญาเทวะนิยมใหม่ (Neo-Thomism)
4.ปรัชญาประสบการณ์นิยมหรือปฏิบัตินิยม (Experimenralism or Pragmatism)
5.ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
6.ปรัชญาที่ยึดปรัชญาของศาสนาต่างๆ (Religionism)


เรียนปรัชญา ต้องตั้งคำถามไว้ 3 อย่าง

1.อะไรคือความจริงที่จริงที่สุด (อภิปรัชญา:Metaphysics) ใจ
2.มนุษย์รู้ได้อย่างไร (ญาณวิทยา:Epistemology) ศึกษาเล่าเรียน ทดลอง ศาสนา สัญฌาณ(รู้ได้เองโดยฌาณ)
3.ความดี ความชั่ว ความงาม ความสุนทรียะเป็นอย่างไร (คุณวิทยา:Axiology)


ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy)
ความหมาย : ปรัชญาการศึกษา คือแนวคิดที่อาศัยข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางการศึกษาเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปัญหาขั้นพื้นฐาน คือ
I.ลักษณะของชีวิตที่พึงปรารถนา เป็นเช่นไร
II.ธรรมชาติของมนุษย์ เป็นเช่นไร
III.สภาพสังคม เป็นเช่นไร
IIII.สัจจธรรม หรือ ปรมัตถธรรม มีหรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา#philosophy
หมายเลขบันทึก: 535649เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท