ขุดทองจากสมองธนินท์ เจียรวนนท์ ตอนที่ 4 (ตอนจบ)


เด่นทุกประโยค.....นักบริหาร หัวหน้างาน หัวหน้าคน นักธุรกิจ น้อยหรือใหญ่ แนะนำให้อ่าน จะอ่านต้นฉบับก็ได้ อ่านที่วิพากษ์ไว้ก็ได้ สะสมไว้เป็นทุนทางปัญญา

ผมอ่า่นอย่างตั้งใจจนจบแล้ว  ตอนที่ 4 ซึ่งเป็นตอนสุดท้่ายนี้ ที่อยากให้อ่านกัน เอาไว้เป็นปัญญา  ซึ่งคงหาคนเก่งอย่างท่านธนินท์ ไม่ได้ง่ายๆ  พิสูจน์ความเก่งได้แบบเห็น ๆ เซเวนอีเลเว่นซื้อเข้าของจากห้องแถวเย็นได้ทุกวันกันทั่วก็เพราะใคร ถ้าไม่ใช่ธนินท์ เจียรวนนท์   

Christine Tan : ท่านมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตกับการที่ใช้แอนตี้ไปโอติก ซึ่งบางคนบอกว่าการใช้ยาปฎิชีวนะไม่ดีต่อสุขภาพต่อสัตว์และคนในระยะยาว

ท่านประธานธนินท์ : สำคัญที่สุดคือ ถ้าหากว่าเราสร้างโรงเรือนทันสมัยให้ไก่และสุกรอยู่อย่างมีความสุข สุกรและไก่ก็จะไม่เป็นโรคไม่ป่วย ก็ไม่ต้องใช้ยา ประหยัดทั้งเงินและในเรื่องเนื้อหมูเนื้อไก่ก็ปลอดภัย ดังนั้นการใช้ยานี่ล้าสมัยไปแล้วโดยเฉพาะฮอร์โมนนี่ไม่ต้องพูดถึงเลย ประเด็นสำคัญอยู่ที่พันธุ์กับอาหารและต้องไปค้นคว้าที่พันธุ์ให้อาหารที่เหมาะสมกับพันธุ์ส่วนยาปฏิชีวนะถ้าเลี้ยงไก่และสุกรแข็งแรงก็ไม่ต้องใช้ยา (เมื่อไรฟาร์มไก่ หมูที่ชาวบ้านเลี้ยงโดยใช้พันธ์ใช้อาหารขอซีพี แล้วไก่หมูไม่แข็งแรงจะใข้ยาหรือไม่  ต้องขอให้ Christine Tan ถามท่านประธานอีก)

Christine Tan : ในเวลานี้ท่านถูกขนานนามว่าเป็นผู้ที่รวยที่สุดในประเทศไทยโดยมีมูลค่าถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐและเป็นบุคคลที่รวยเป็นอันดับ134 ของโลกความสำเร็จของท่านขึ้นอยู่กับโชคหรือขึ้นอยู่กับการทำงานที่ขยันขันแข็ง

ท่านประธานธนินท์ : ความสำเร็จของเครือซีพีคือการใช้เทคโนโลยีมาตลอด และก็เรื่องสามประโยชน์ซึ่งเป็นหลักของเครือซีพี และการสนับสนุนคนเก่งในเครือซีพี ความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่ฟลุค แต่เกิดจากความร่วมมือกันของพนักงานในเครือซีพี (ความร่วมมือของพนักงานก็คือความสามารถในการบริหาร การเลือกคนมาจัดการให้เกิดความร่วมมือ  ความร่วมมือไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง เป็นฝีมือการบริหารของเจ้าของกิจการที่มีอำนาจบริหารสูงสุด ก็มิใช่ใครถ้าไม่ใช่ธนินท์) และเราเข้าใจไปลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศเหล่านี้ต้องการที่จะมีอาหารโปรตีน (อาหารโปรตีนคืออาหารที่ทำให้ชีวิตอยู่ได้ ไม่่ใช่หางน้ำชาที่เอามาใส่ขวดขายเป็นหวยออนไลน์ แล้วโฆษณาให้คนเล่น ธนิืนท์เห็นความจำเป็นแล้วทำใหญ่เลี้ยงขายในไทยให้ได้วันละสามแสนตัวที่บริษัทใหญ่ และให้ชาวบ้านไปเลี่ยงอีก ซีพีจึงมีอนุสาวรีย์ได่ไว้บูชา ที่เอาชีวิตไก่มาให้คนกิน เพื่อชีวิตที่แข็งแรง และซีพีก็แข็งในความรวยไปด้วย) ซึ่งซีพีเข้าใจมากกว่าว่าประเทศที่กำลังพัฒนาต้องการใช้เทคโนโลยีเข้าไป ไม่ใช่ยิ่งประเทศที่ด้อยพัฒนายิ่งเอาเทคโนโลยีที่ด้อยพัฒนาเข้าไป ซึ่งมันจะยิ่งทำให้ไม่ประสบความสำเร็จไปให้เกษตรกรทำงานเหน็ดเหนื่อยเป็นไปไม่ได้แต่ต้องให้เกษตรกรทำงานสบายกว่าเดิม มีประสิทธิภาพกว่าเดิมและมีรายได้มากกว่าเดิม ถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ ดังที่เป็นตัวอย่างในหลายประเทศ เราลงทุนใน14ประเทศรัฐบาลให้การสนับสนุนและเห็นด้วยกับสามประโยชน์ของซีพีและยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปในประเทศแล้วก็แบ่งผลประโยชน์กันคือซีพีได้ประโยชน์เกษตรได้ประโยชน์ผู้บริโภคได้ประโยชน์ประเทศชาติได้ประโยชน์ ซีพีก็ได้ประโยชน์ไปด้วย  และซีพีก็อยู่ใน14ประเทศที่มีประชากร 3,000 กว่าล้านคน แล้วซีพียังมีธุรกิจมีสาขาอยู่ในประเทศอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสในเยอรมันในประเทศที่มีกำลังซื้อเรามีสาขาทุกประเทศที่จะนำสินค้าของซีพีไปขาย  (ก็ไม่ค่อยรู้ว่ามีบริษัทคนไทยมีบริษัทอะไรอีกบ้างที่ไปทำกิจการอยู่ในยุโรป อเมริกา ให้เป็นที่ภาคภูมิใจ อย่างน้อยก็มีซีพี ที่ต้องภาคภูมิใจกันไปก่อน)

Christine Tan : CNBC จะให้รางวัลท่านเกี่ยวกับเรื่องความสำเร็จในชีวิตของท่านรางวัล ท่านมีความเห็นข้อคิดเห็นที่ท่านจะให้กับคนอื่นเกี่ยวกับเรื่องความสำเร็จในการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง

ท่านประธานธนินท์ : คือ ผมพูดมาตลอดว่าธุรกิจที่จะสำเร็จได้ต้องทำอย่างไรให้ได้ 3 ประโยชน์ นี่แหละที่เป็นความสำเร็จของซีพีและอีกตัวหนึ่งคือต้องรู้จักการใช้เทคโนโลยีใหม่ของโลก (ประโยชน์ตน และประโยชน์์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อย่างถูกต้องและเป็นธรรม จึงทำให้ซีพีรวยขึ้น ๆ และอยู่ได้นาน)  ทั้งในด้านการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจ และต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง เช่น ซีพีจะไปลงทุนการผลิตอาหารสำเร็จรูปในประเทศอเมริกา ต้องรู้ว่าค่าแรงงานอเมริกาสูง จะไปลงทุนได้อย่างไร นี่คือความสำเร็จของซีพี  เลี้ยงซีพีมีวิสัยทัศน์ที่เห็นก่อนคนอื่น ช่นสบการณ์์ รวยแล้วหาใช้ไม่ยาก  วันนี้มีเทคโนโลยีไฮเทค เรามีสินค้าหลายตัวไม่ต้องใช้คนเลยใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ  วันนี้เราเลี้ยงไก่ คนอเมริกาคนหนึ่งเลี้ยงไก่ได้แสนตัว (การใช้เทคโนโลยีต้องมีประเหมือนฒนา  ค่อย ๆ ซื้อหา หรือว่าคิดเองได้ก็ยิ่งดี แล้วค่อยต่อยอดพัฒนา ถ้าไม่ได้ดี ก็ส่งต่อให้ลูกหลานไปต่อยอด)  เราก็ต้องแสนตัว วันนี้เลี้ยงไก่ไข่ 4 -5 แสนตัวซีพีอยู่ในประเทศด้อยพัฒนาแต่ก็สามารถเลี้ยงได้ ดังนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าประเทศที่ด้อยพัฒนาต้องทำธุรกิจที่ด้อยพัฒนา ต้องเข้าใจใหม่ด้วยว่าพวกการเกษตรต้องยิ่งใช้เทคโนโลยีไฮเทคเข้ามาใช้เข้ามาลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนา นี่แหละคือความสำเร็จ

Christine Tan : ในฐานะที่ท่านเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย ท่านจะอธิบายเกี่ยวกับคุณภาพการเป็นผู้นำของท่าน และวิธีการบริหารของท่านเป็นอย่างไร

ท่านประธานธนินท์ : คนเป็นผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้จักให้ และส่งเสริม สำหรับนั้นซีพีวันนี้ทุกบริษัทต้องมีองค์กรที่ให้ความรู้พนักงานแต่ยังไม่พอ วันนี้เรากำลังหาระดับโลกเพื่อมาพัฒนาคนของซีพีให้สามารถก้าวทันโลกได้ (จะอะไรให้ได้ในระดับโลกก็ต้องนำด้วยความรู้ความเข้าใจจากคนระดับโลก ถึงจะทำได้รักษาไว้ได้นาน ๆ)  และทำอย่างไร ไปเรียนรู้จากบริษัทใหญ่ ๆ ที่ประเทศอเมริกาที่ยุโรป เราต้องยอมรับว่าในเรื่องการบริหารการจัดการของโลกนั้นที่เก่งที่สุดในวันนี้คือประเทศอเมริกา รองลงมาก็คือประเทศยุโรป  เพราะมีประวัติศาสตร์ตั้งหลายร้อยปี เมืองไทยก็ยังไม่ถึงร้อยปี แล้วเพิ่งเริ่มทำธุรกิจใหญ่ ๆ ก็ไม่ถึง 10 ปี ตรงนี้ต้องยอมรับว่าซีพีเรียนรู้จากบริษัทที่ประสบความสำเร็จในสังคม ซึ่งจะต้าน งเป็นประโยชน์ต่อผู้นำที่จะนำเอาเครือฯไปสู่ความสำเร็จ สำคัญที่สุดคือคน ต้องคนเก่ง ในซีพีคนเก่งเร้าเราสร้างได้อย่างไร ต้องให้เกียรติกับคนเก่ง ให้อำนาจและให้เงินที่เหมาะสม (ความเหมาะสมคืออะไร คงไม่มีสูตรสำเร็จ ต้องคิดต้องสังเกต ต้องคิดว่าถ้าเราเป็นเขา เราควรจะได้้รับเงินเดือนสักเท่าไรด้วย แล้วลองใช้ความคิดของตัวเอง และพัฒนาด้วยตัวเอง ถ้าเข่อยู่กับเราได้นาน เราได้งานเขาได้เงินไป ก็อยู่กันได้ยาว แต่ก็เก่งเขาก็อยากมีอาณาจักร์ของเขาเหมือนกัน) ต้องเตรียมใจ เพราะคนกับสังคมและหน้าที่ของเขา สามตัวนี้ต้องไปพร้อมกันและสำคัญที่สุดซีพีมีนโยบายมานานแล้วว่า   คนเก่งที่สุดในโลกนี้เป็นของซีพี เงินของในโลกนี้เป็นของซีพี วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของซีพี ตลาดในโลกนี้เป็นของซีพี ซีพีถึงจะมีโอกาสยิ่งใหญ่และไปขยายได้ทั่วประเทศ (อาจพูดง่่าย ๆ ได้ว่า โลกนี้ก็เป็นของข้าฯ ปัญญาเหนือคนอื่น ๆ เท่านั้นที่ข้าฯจะครองโลกได้) 

Christine Tan : ตอนนี้ท่านก็มีอายุ 73 ปีแล้ว ท่านก็มีลูกชาย คนที่มีการศึกษาสูงและยังทำงานกับเครือของท่านอยู่ ท่านจะมีแผนเกี่ยวกับการผ่อนถ่ายอำนาจหน้าที่ให้กับลูกชายอย่างไร

ท่านประธานธนินท์ : คือเรื่องนี้ ผมให้ลูกผมเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นและไม่ต้องลงมาทำธุรกิจเพียงแต่อยู่ข้างบนดูแลเรื่องการเงินและบุคคล และต้องให้คนเก่งของแต่ละบริษัทเป็นผู้บริหาร และก็ใช้คนเก่งให้ยิ่งมากขึ้น (เรียกว่าคุมเงินคุมคนให้ได้งานง่ายงานยากให้คนอื่นเขาทำ ทำได้ดียังไม่พอก็เอาคนเก่งๆ มาสอนให้ทำได้ดีขึ้น) กัน ต่างประเทศก็เหมือนกัน ส่วนลูกของผมนั้น ให้ทำธุรกิจที่เครือยังไม่เคยทำ อย่างเช่น ค้าปลีก อย่างเช่นโลตัส ตอนนั้นลูกชายคนที่สอง ส่วนโทรศัพท์กับเรื่องเคเบิ้ลทีวีทีวีดาวเทียมก็ลูกชายคนที่หนึ่งและคนที่สองทำ ตรงนี้เป็นประโยชน์มากถ้าเขาทำสำเร็จ เขามีความสามารถแล้วเขามาบริหาร แต่ไม่ใช่ไปบริหารแทนบริษัทที่สำเร็จแล้วเพราะที่สำเร็จเพราะมีคนเก่งจึงต้องพัฒนาคนเก่งขึ้นมา ถ้าลูกชายผมเก่งต้องไปสร้างอาณาจักรใหม่ ถ้าสร้างไม่ได้ก็ให้อยู่เฉย ๆ ดีกว่า  (หลักการสืบทอดมรดกรวยที่ต้องจำนำไปใช้สำหรับตระกูลรวย) ไปบริหาร ซีพีเอฟซีพีออลล์หรือธุรกิจอื่น ๆ เช่น ปิโตรเคมี ฯลฯ ไม่มีประโยชน์ มีแต่ทำให้เสียหาย นี่คือความสำเร็จของซีพีอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่ก็เห็นด้วยที่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแทนผม ไม่ใช่ไปบริหารทุกบริษัท แต่ต้องส่งเสริมทุกบริษัท  (ส่งเสริมก็เป็นการบริหาร แต่ก็เบาลงไปหน่อย ) เพียงแต่เข้าไปดูแลเรื่องการเงินเรื่องกฎหมายเรื่องบุคคล ไม่เข้าไปก้าวก่ายการบริหารการจัดการ

Christine Tan : เวลาท่านเกษียนแล้ว ท่านออกไปแล้วคนที่จะเข้ามาบริหารต่อก็จะเป็นมืออาชีพที่ท่านจะต้องมีส่วนวางแผนด้วยหรือไม่

ท่านประธานธนินท์ : ตอนนี้เราพูดชัด และทางครอบครัวก็วางแผนห้ผมเป็นคณะกรรมการบริหารงานอยู่เบื้องบน ม่ลงมาบริหารบริษัทที่สำเร็จแล้ว มีแต่สนับสนุนและพัฒนา (สำเร็จนี่คงแปลว่ารวยต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปทำอะไร ให้กระบวนการมันดำเนินไปด้วยกลไกที่วางไว้) ตอนนี้เราจ้าง ดร.โนเอล ทิชชี่ (เขาเป็นใครอ่านได้ที่นี่ครับ http://easy.tc?gr5)

 กำลังสร้างโรงเรียนที่จะหมุนเวียนเอาคนเก่งในแต่ละบริษัทมาหมุนเวียน แล้วคัดคนเก่งออกมาเป็นประธานบริษัทมาบริหาร (ปกติคนเก่งทั้งหลายเมื่อเห็นว่าตนเองจะสืบต่อความเก่งไม่ได้ เพราะวัยชราจะมาเยือน ก็จะขวยขวายหาศิษย์เข้ามาสอน  หรือ มีศิษย์อ้อนวอนขอให้สอนให้ ความเก่งก็จะสืบสานต่อไปได้  แต่การสืบสานต่อกิจการด้วยการตั้งโรงเรียนสอนเสียเอง ก็เป็นอะไรที่คิดใหม่ ให้ได้ใช้เป็นกรณีตัวอย่าง  กิจการที่เล็กลงไปหน่อยก็เห็นมีโรงเรียนสอนตลกของเป็ด เชิญยิ้ม  ก็เป็นกรณีตัวอยาางได้เหมือนกัน) ต่อไปเราจะมีซีอีโออยู่สองคน คนหนึ่งคือเป็นซีโอที่มาดูแลจัดการทรัพย์สมบัติและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นใหญ่ กับอีกคนคือประธาน ประธานนั้นทำหน้าที่อะไร คือกฎหมายกับบุคคลและก็การเงิน ซึ่งสามส่วนนี้(กฏหมาย บุคคล และเงิน)มีทางครอบครัวเป็นคนดูแล ส่วนบริษัทที่บริหารอยู่เราจะคัดหาคนเก่งมาบริหารธุรกิจ

Christine Tan : แล้วท่านได้ค้นพบคนที่จะบริหารงานแทนท่านหรื้้อยัง

ท่านประธานธนินท์ : ในส่วนนี้มีพร้อมหมดแล้วและมีทั้งคนที่จะทดแทนด้วยจากกลุ่มซีพีออล์ ซีพีเอฟ ทรู จากกลุ่มเหล่านี้เราได้เตรียมพร้อมไว้แล้ว แต่กำลังหาคนที่จะมาดูแลทั้งหมดในการบริหาร ขณะนี้กำลังสร้างคน โดยให้คนจากหลายบริษัทที่ไม่เคยรู้จักกันมาสัมผัสกันมาเข้าใจกันเพราะธุรกิจของเรามีทั้งโทรศัพท์มีทั้งทีวีและมีทั้งอินเตอร์เน็ต ยา รถยนต์ มอเตอร์ไซต์ ค้าปลีก และห่วงโซ่อาหาร ปุ๋ย ซึ่งได้ทำการศึกษาสำเร็จแล้วเพียงแต่ว่าทำอย่างไรจะหาคนขึ้นมาดูแลทุกกลุ่ม

Christine Tan : คนนี้คือใคร

ท่านประธานธนินท์ : คนนี้กำลังหาอยู่ แต่จะพยายามหาคนที่ทำงานอยู่ในเครือฯ

Christine Tan : ท่านอายุ 73 ปีแล้ว ท่านเคยพูดหลายครั้งแล้วว่าจะเกษียนอันนี้ เรื่องนี้จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้หรือไม่

ท่านประธานธนินท์ :คืออย่างนี้ ความจริงตั้งเป้าไว้ว่าจะเกษียนอายุ 55 ปี วันนี้ผมเปลี่ยนวิธีใหม่คือต้องทำงานให้น้อยลง คือการทำงานเหลือครึ่งวัน ให้ยืดอายุมากขึ้น แต่ผมยังทำไม่ได้นะครึ่งวัน แต่ผมต้องทำให้ได้ แล้วก็พยายามให้คนเก่งที่มีอยู่ทำไป แล้วความจริงตอนนี้ผมทำหน้าที่อะไร หน้าที่ของผมคือทำอะไรที่ใหม่ ๆ โลกกำลังเปลี่ยนแปลง นี่คือหน้าที่ของผม  เพราะคนต้องมีอำนาจเต็มที่ถึงจะทำได้ ซึ่งทุกวันนี้เราเรียนรู้จากหลายฝ่าย การเปลี่ยนแปลงจะต้องกิดจากคนที่มีอำนาจสูงสุ (นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  อธิการบดี  เลขาธิการ ผู้อำนวยการ ตำแหน่งเหล่านี้เป็นตำแหน่งที่นำการเปลี่ยนได้  การเปลี่ยนแปลงอะไรที่ทำให้ดีขึ้น ก็จะสมกับตำแหน่งที่ได้มา) พอเปลี่ยนแปลงตรงนี้แล้ว ผมเชื่อว่าเครือก็เริ่มจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

Christine Tan : หลังจากที่ท่านเกษียนจริงๆ แล้ว ท่านคิดว่าจะมีแนวทางในการพักผ่อนหย่อนใจหรืออยากจะทำอะไรได้ข่าวว่าท่านชอบไก่ชน

ท่านประธานธนินท์ :ผมชอบดูไก่ชนเพื่อที่จะไปส่งเสริมให้กับชาวบ้านที่ยากจน แต่ที่ผมชอบจริง ๆ คือนกพิราบ แต่ผมแพ้ฝุ่นนก ทุกวันนี้ก็พยายามถ้าไปดูนกก็ให้เขาจับมาให้ดู แต่คิดว่าคงออกกำลังกายมากกว่า อย่างตีไก่ประมาณอาทิตย์ละครั้ง แต่บางทีเดือนสองเดือนยังไม่เคยไปดูตีไก่ สำหรับผมนั้นถ้าทำอะไรที่ไม่มีประโยชน์ผมจะทำเงียบ ๆ แต่อย่างเรื่องตีไก่สังคมได้ประโยชน์คือสถานที่ตีไก่เนี่ยเป็นสถานบันเทิงของชาวนา เป็นตลาดหลักทรัพย์ของชาวนา ชาวนาไม่มีคาราโอเกะ ไม่มีสปา เพราะฉะนั้นวันเสาร์อาทิตย์เขาก็จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ เอาไก่มาชนตัวที่ชนะก็ได้ราคาแพงหน่อยสิบเท่ายี่สิบเท่าร้อยเท่า ผมกำลังสร้างให้คนเลี้ยงไก่ ถ้าเค้ามีสวน อย่างสวนยางสวนผลไม้ก็เลี้ยงแล้วกินเอง ตีไก่เนี่ยไม่ใช่เป็นหลัก แต่ถ้าฟลุคก็มาขายตัวเป็นหมื่นเป็นพัน ที่เหลือเค้าก็กินเองเอาตัวนี้มาล่อให้เค้าไปเลี้ยงไก่ แล้วสุดท้ายก็ทำให้เขามีทั้งโปรตีนจากการเลี้ยงไก่เป็นอาหารประหยัดรายจ่ายก็เท่ากับเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร สำคัญที่สุดผมไปเปลี่ยนแปลงเรื่องการทรมานสัตว์ถ้าไม่ไปเปลี่ยนแปลงต่อไปพวกอนุรักษ์ก็มาให้ปิดก็เสียดายเพราะเป็นประโยชน์ต่อชาวสวนชาวไร่ผมเลยต้องไปเปลี่ยนแปลงให้การตีไก้ต้องใส่นวม มียกเหมือนนักมวย  เหมือนคน ตรงนี้แหละถ้าจะอยู่ได้นานเป็นประโยชกันมาเแต่นิ่นนาน น์ต่อเกษตรกร  (นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เป็นทางเลือกใหม่ให้คนรักสัตว์ สงสารสัตว์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ที่คนธรรมดาจะไปเปลี่ยนแปลงได้ยาก  แต่รสชาดของความเป็นวัฒนธรรม ความเป็นไทยคงจะลบเลือนไปไม่ได้เช่นกัน เพราะมันมีมานานจนเกิดความเป็นไทย คล้าย ๆ กับความเป็นสเปนที่คนสู้กับกะทิง จนคนไปสเปนบางส่วนก็อยากไปชมความเป็นสเปน)

จบแล้วครับ   

ข่าววันที่ : 3 ธันวาคม 2555

จาก CP e-news 

http://www.easy.tc?gos 



หมายเลขบันทึก: 535648เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท