เทคนิคการทำงานเป็นทีม


ขอให้ความหมายของการ การใช้วิธีทำงานเป็นทีม กับ การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม จากประสบการณ์การทำงานเป็นทีม ดังนี้ครับ

การใช้วิธีการทำงานเป็นทีม  เป็นความตั้งใจของคนใดคนหนึ่งที่จะทำงานใดๆ ให้สำเร็จโดยอาศัยความร่วมมือจากคนอื่น

การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เป็นความพยายามของหัวหน้าหน่วยที่ประสงค์จะให้บุคลากรร่วมกันทำงานใด ๆ ทั้งที่เป็นงานที่บุคลากรคิดขึ้นเอง หรือเป็นคำสั่งของหน่วยงาน

การใช้วิธีการทำงานเป็นทีม  ต้องเป็นผู้นำทีม ที่อยากเห็นความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

 - อยากเห็นความสำเร็จเป็นเป้าหมายหลัก

  - ประสานงาน และประสานคนให้ร่วมกันทำงานได้เก่ง

  - สร้างความเห็นพ้องต้องกันในสิ่งที่จะทำตั้งแต่ วัตถุประสงค์  เป้าหมาย วิธีการทำงาน  การแบ่งหน้าที่กันทำอย่างชัดเจน 

 -  งานใดที่สมาชิกทำไม่ได้ ตัวเองต้องทำได้ และยินดีที่จะทำงานหนักกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ

 - ใจกว้าง มือไว พร้อมจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความสัมพันธ์ทีดีของสมาชิกในทีม

 -  เมื่อไรจะได้หน้า ได้รับคำยกย่อง รางวัล ต้องยกให้สมาชิกในทีมงานก่อนตนเองเสมอ

การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมในหน่วยงาน

ผู้นำองค์กรส่งเสริมให้บุคลากรร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม หรือทีม ที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่มาก สื่อสารกันได้สะดวก ๆ  เช่น ไม่เกิน 7 คน  หากเป็นงานในหน้าที่ตามโครงสร้างการจัดองค์กร หัวหน้างานต้องทำหน้าที่หัวหน้าทีม  หากเป็นงานอาสาสมัครจากสมาชิกข้ามสายงานต้องมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานและคุณภาพคนด้วยการร่วมพกันพัฒนางานขององค์กร ที่ช่วยกันค้นหาปัญหา หาทางแก้ปัญหา ลงมือแก้ปัญหา โดยให้หลักในการทำงานว่า  ต้องเป็นงานที่ทำได้เอง  เหมาะสำหรับการทำเป็นกลุ่มหรือทีม  เป็นงานที่ไม่ขัดนโยบายขององค์กร  และจัดการให้มีการนำผลงานมานำเสนอในที่ประชุมขององค์กร เพื่อแสดงออกถึงความสำเร็จ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวม  และรับการยกย่อง อย่างสม่ำเสมอทุกปี  ร่วมกับการนำเสนอผลงานในหน้าที่ตามโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงาน


หมายเลขบันทึก: 535327เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ที่่บันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนกันนี้ เป็นข้อสรุปจากการที่ได้ทำงานมาเกี่ยวกับสร้างทีมงาน และ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมตามวิธีการคิวซีเซอร์เคิลเป็นเวลา 10 ปี   2527 - 2537 ทั้งตั้งกลุ่มเอง เดินสายแนะนำโรงเรียน จัดเสนอผลงาน  นำเข้าแนวคิด PDCA จากญี่ปุ่น คุณครูวิืทยากรที่สอนให้ ได้แก่ ดร.เจริญ วัชระรังษี   ดร.สุรศักดิ์ นานานุกูล  จากแบงค์กรุงเทพฯ คุณอัจฉรินทร์ สารสาส จากบริษัทไทยฮีโน่   คิดเซอร์เคิล  หรือ กลุ่มสร้างคุณภาพงาน  เป็นเทคนิคการทำงานเป็นทีมที่สุดยอด(ย้ำ..ตามความคิดของผมเน้อ!!) หน่วยงานใดจะส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ต้องพลิกตำราคิวซีเซอร์เคิลของต้นตำหรับ ชาวญี่ปุ่น ชือว่า ดร.อิชิกาว่า และมีตำราไทยอยู่มาก หรือลองไปดูงานในบริษัทญี่ปุ่น  เข้าใจว่ายังมีอยู่  ช่วงที่ทำกลุ่มคิวซีกับสมาชิกจำได้ว่ามีความสุขมาก  และแนวคิดการทำงานเป็นทีมฝังลึกอยู่ในใจนำมาใช้ต่อมายาวนาน  เพราะการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมนี่คิดว่าเป็นวิชาเอกในการเป็นวิทยากรอยู่เหมือนกัน แต่ปัจจุบันแขวนแผ่นใสไปแล้วครับ 555

..ความเป็นทีม...ตัวชี้วัด หรือภาพสะท้อนหลักอีกประเด็นก็คือ "เป้าหมาย" เดียวกัน
ในวิธีการที่แตกต่าง แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ...

นั่นคือสิ่งที่ผมบอกเล่าในเวทีต่างๆ เช่นกัน

ขอบพระคุณครับ

เข้ามาเพิ่มความเห็นในเรื่องนี้  ขณะที่ดูรายการครัวคุณต๋อย ทางช่อง 3  เวลาบ่ายโมงสี่สิบนาที  จันทร์ถึงศุกร์ ที่คนทำงานบางท่านอาจไม่มีโอกาสได้ดู  ถ้าดูก็จะเห็นการทำงานเป็นทีมที่สนุกสนานของทีมงานทั้งสี่คน และเราซึ่งเป็นคนดูก็เพลินไปด้วย  แนเรื่องอาหารการกินทางทีวีก็มีให้ดูหลายรายการ แต่รายการนี้ดูแล้วได้เนื้อหาการทำอาหารและความเพลิดเพลิน ที่สำคัญก็คือเป็นกรณีตัวอย่างการทำงานเป็นทีมที่ดีกรณีหนึ่ง


ทีมคงอยู่ได้ด้วยภาวะผู้นำ และผลประโยชน์ ทางตรง ทางอ้อม ของสมาชิกลงตัว เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นธรรม ถ้าดูทีมงานในพรรคการเมืองใหญ่ ๆ   อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นทีมที่สัมผัสได้ทั้งภายในที่เห็นกันเอง  และคนนอกที่มองเห็น   เมื่อไรความไม่ถูกต้องเป็นธรรม ก็จะเกิดปรากฏการณ์ฟากหัวฟาดหาง เจ็บปวดทั้งคนข้าง ๆ สูง ๆ และตัวเอง แล้วอาจจะลงท้ายด้วยการย้ายพรรค  เพื่อศักดิ์ศรี ที่ได้บำเพ็ญเพียรบารมีมานาน ๆ ที่มีทั้งชาวบ้านยินดี และไม่ยินดี เพราะนี่คือธรรมชาติของทีมงาน ที่เบ่งบานแล้วโรยรา แล้วกลับมาเบ่งบานใหม่ เป็นไปตามสัจธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท