อ้างอิง บทความเรื่อง ความดีคืออะไร


Post ไม่ค่อยติด เลยยกมาที่นี่เลยละกัน

 


 [1] เน้นโดยผมเอง - จำนงค์ ทองประเสริฐ. ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ. พระนคร : แพร่พิทยา(๒๕๑๔) น. ๓๒๔. อ้างใน ฟื้น  ดอกบัว. ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพฯ : ศยาม(๒๕๔๔) น. ๑๑๐

[2] ดูทฤษฎี และวิธีการทางปรัชญาของโสคราตีส โดยสรุปโซคราตีสกล่าวว่าเหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ ช่วยให้คนพ้นมโนภาพที่แต่ละคนมีในแต่ละสิ่ง ซึ่งต่างคนต่างมีนิยามของแต่ละคน โซคราตีสจะใช้วิธีตั้งคำถามเพื่อหานิยาม โดยผู้นิยามนั้นเป็นผู้อธิบายนิยามของตน  เช่น ความดี  ดู Richard Lewis Nettleship. Lecture on the Replublic of PLATO. [chapter X The Giood as the Supream Object of Knowledge] New York : st. Martin Press(1961) P. 212 – 237. ประกอบ พระราชวรมุนี(ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ : ศยาม(๒๕๔๔) น.๑๒๑ ๑๒๗. วิธีการของโสคราตีสเรียกว่า Dialectic ที่จะเริ่มด้วย What is ……….?[อ้างจาก : Leo Strass et. al. History of Political Philosophy.(2nd edition) Chicago and London : University of Chicago Press(1981).p. 5.] อนึ่งต้องไม่ลืมว่าโสคราตีสนั้นที่รับรู้กันในปัจจุบันนั้นก็โดยผ่านพลาโต้มากกว่าศิษย์คนอื่น

[3] ฟื้น  ดอกบัว. อ้างแล้ว น. ๑๓๓.

[4] Being หรือ ภาวะ ถูกใช้ครั้งแรกโดย Parminedes เพื่อโต้แย้งปรัชญาเรื่องการเปลี่ยนแปลง(change)ของ Heracritus กล่าวอย่างสรุป ความเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงปรากฏการณ์หน้าฉาก แก่นแท้หรือภาวะของโลกไม่เคยเปลี่ยนแปลง จะเข้าใจว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ก็ด้วยการใช้เหตุผล ปรัชญาของพาร์มิเนเดสเป็นจุดเริ่มต้นของปรัชญาจิตนิยม(idealism) ดูรายละเอียดเพิ่ม ประยูร ธมฺจิตฺโต. อ้างแล้ว น. ๖๕ ๖๘. ส่วนปรัชญาของเฮราคริตุส เล่มเดียวกัน น. ๕๓ - ๕๗.

[5] Logos เป็นรากศัพท์ของ reason เฮราคลิตุสกล่าวว่า ผู้เข้าถึง logos จะพบเอกภาพในสรรพสิ่ง แม้ในสิ่งที่ขัดแย้งกัน เช่น ดีคือเลวน้อย และเลวคือดีน้อย เป็นต้น ดู เล่มเดียวกัน น. ๕๕. อนึ่งวิธีการที่ผมอธิบายนั้นเป็นการสร้างขอบเขตของความดีให้เห็นชัด(คร่าวๆ) แต่หากทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในอาณาเขตของความดี ในทางสุดขั้วความดีก็สมควรจะไร้ขอบเขต และในเมื่อความดีไม่กินที่ก็ยิ่งสมควรที่จะไม่สามารถระบุขอบเขตของความดีได้ หรือก็คือในทุกๆสิ่งมีความดีอยู่ด้วยเสมอ

[6] ในขณะที่ความรู้ของโสคราตีสคือการค้นพบมโนภาพ(concept) ความรู้ของพลาโต้คือการค้นพบมโนคติ(Idea) (ประยูร ธมฺจิตฺโต. อ้างแล้ว น. ๑๔๒.) และการใต้มาซึ่งความรู้ของทั้ง ๒ กล่าวเหมือนกัน คือความรู้ได้มาจากการใช้ หรือการเข้าถึง logos ฟื้น  ดอกบัว. อ้างแล้ว น. ๑๓๖.

[7] Nettleship เล่มเดียวกัน chapter XI The Four State of Intelligence. P. 238 – 254.

[8] syntrophos แปลตรงตัวว่า companion หรือนัยยะหนึ่งอาจแปลได้ว่า to participate ส่วน anta สื่อความหมายว่า to copy ส่วน antanaklastikos แปลตรงตัวว่า reflective อนึ่งผมจงใจที่จะเลี่ยงคำว่า Μίμεςης(mimesis) - imitation เพราะผมมองว่า ในนิยามแบบนี้กระบวนการ mimesis นั้นคือกระบวนการ syntrophos  และ antanaklastikos ไปพร้อมๆกัน

[9] สมมติว่า เด็กชาย ก. ไม่เคยอ่านหนังสือหรือมีความรู้ใดๆเลยนอกจากหนังสือเล่มหนึ่งที่กล่าวว่า วงกลมมีลักษณะดังนี้  []    เด็กชาย ก. จะไม่สามารถเข้าใจถึงแบบของวงกลมที่สมบูรณ์ที่เป็นจริง เขาก็จะสร้างสมมติฐานของวงกลมจากสิ่งที่เขารับรู้จาก ความรู้(หนังสือ) และเขาก็จะคิดว่าวงกลมเบี้ยวๆของเขา คือวงกลมอันสมบูรณ์ แต่ในขณะที่ความรู้ในระดับการคำนวณ(reasoning)ของพลาโต้นั้น เป็นเรื่องในเชิงคณิตศาสตร์ และเรขาคณิต วงกลมของเด็กชาย ก. จึงเป็นวงกลมที่สมบูรณ์ไปไม่ได้จนกว่าเด็กชาย ก. จะได้อ่านหนังสือคณิตศาสตร์(รับรู้ความรู้) แต่หากในห้องของเด็กชาย ก. ไม่มีหนังสือคณิตศาสตร์ หรือหนังสือคณิตศาสตร์ในห้องถูกเขียนขึ้นจากลายมือ(ที่วงกลมไม่ได้จำลองแบบของวงกลมในอุดมคติ) คำถามคือการคำนวณอย่างที่พลาโต้อธิบายเกิดขึ้นหรือไม่ ผมตอบเลยว่าทั้งเกิด และไม่เกิด คือเกิดการใช้เหตุผลคำนวณและสร้างตรรกะ,สมมติฐานถึงวงกลมอันสมบูรณ์ แต่วงกลมไม่มีวันสมบูรณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงเพราะ ทัศนะที่เด็กชาย ก. มีนั้น หากเป็นใน ทัศนะแบบพลาโต้ เด็กชาย ก. ผิดตั้งแต่ต้น หรือนั่นคือเด็กชาย ก. ก้าวพ้นการรับรู้ในระดับความเชื่อแล้ว แต่ยังไปไม่ถึงระดับการคำนวณ เขาตกอยู่ในระดับบางอย่างที่พลาโต้ไม่ได้อธิบาย การที่มนุษย์ผู้ใดจะสามารถอธิบาย ความเป็นจริงในมุมของเขา นั้น ไม่สามารถไกลไปกว่าพื้นฐานความรู้หรือทัศนะของผู้ที่ตกอยู่ภายใต้ โครงสร้างความรู้ เลย

[10] จะเห็นว่าศัพท์คำนี้มีความหมายหลากหลาย แต่สิ่งที่เป็นส่วนร่วมในแต่ละความหมายคือ การยอมรับนับถือ ซึ่งประเด็นคือการที่มีการส่งผลแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อการให้ความหมายต่อความเชื่อของอัตบุคคล ดังนั้นหากใช้อย่างหยาบที่สุด ผมจะใช้ fideslitas ในความหมายที่ว่า the loyalty to the somebody’s trust(s). ซึ่ง the somebody นี้ใช้ในความหมายว่า คนสำคัญ กล่าวคือ ผู้ที่มี  fideslitas นั้นจะเห็นว่าสิ่งที่ตน ยอมรับนับถือ ทำให้ตนเองกลายเป็นคนสำคัญต่อ อะไรบางอย่าง ที่ตนถือว่าอยู่ ณ จุดสูงสุดของการยอมรับ เช่น God, นิพพาน, ความดี, เหตุผล ฯลฯ และในแต่ละ somebody นั้นจะมี trust เพียง ๑ หรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าทั้งใช่ และไม่ใช่(เช่นการนับถือปรัชญาพุทธะผสมกับผีบรรพบุรุษ)จึงใส่ (s) เอาไว้ด้วย อนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าคำที่ใกล้เคียงกับ fideslitas คือภาษากรีกคำว่า Δόξα แต่ผมคิดว่า doza ไม่น่าอธิบาย สิ่ง ที่ผมคิดได้เพียงพอจึงขอใช้คำละตินดีกว่า ดังกล่าวมาแล้ว

[11] กล่าวไว้ใน Course in General Linguistics อ้างใน Catherine Belsey(เขียน) อภิญญา เฟื่องฟูสกุล(แปล). หลังโครงสร้างนิยม ฉบับย่อ. กรุงเทพฯ : ศมส(๒๕๔๙) น. ๑๑

คำสำคัญ (Tags): #reference
หมายเลขบันทึก: 53516เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไม่เข้าใจถึงการเขียนเรียงความช่วยบอกให้ละเอียดมากกว่านี้ได้ไม่ค่ะ

ยังไม่เข้าจ๋าย

บทความก็พอสรุปได้แต่รูปภาพไม่ค่อยเหมาะสมนะคะ ทราบแล้วเปลี่ยน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท