ว่าด้วยเรื่องสถิติ 4 : ข้างหลังโพลล์


     เรื่องของโพลล์ในบ้านเราเป็นเรื่องยอดฮิตเมื่อประมาณสักไม่เกิน 10 ปีที่ผ่านมา อะไรๆ ก็เอามาทำโพลล์ จนกระทั่งบางคนบอกว่าผลของโพลล์เป็นการชี้นำหรือเปล่า แต่วันนี้เราจะไม่คุยกันประเด็นนั้นครับ สิ่งที่เราจะคุยกัน คือเราจะอ้อมเข้าไปดูด้านหลังว่าเขาวิเคราะห์โพลล์กันอย่างไร
      โพลล์เป็นรูปแบบการวิจัยอย่างหนึ่ง ที่เรียบง่าย สะดวก รวดเร็ว ได้ผลทันตา ไม่ต้องคอยนาน เหมาะในการสำรวจความรู้สึก หรือประเด็นอะไรก็ตาม ณ เวลานั้น ว่าประชากรให้ความสำคัญ หรือสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ แล้วพรรคการเมืองบางพรรคในบ้านเราก็เลยใช้ในการสำรวจคะแนนนิยม การสำรวจโพลล์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบสอบถาม ง่ายๆ ธรรมดา มีให้ติ๊กเลือกอย่างเดียว ผู้สำรวจก็จะออกแบบสอบถามออกมาเป็นสองตอน ตอนแรกจะสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา  การสมรส จำนวนบุตร หรืออะไรก็ตามที่สนใจ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มประชากรที่สำรวจ กับตอนที่สอง ก็คือเนื้อหาที่จะสำรวจ หรือประเด็นสำคัญที่ต้องการทราบว่าประชากรมีความคิดเห็นในเรื่องนั้นๆ อย่างไร
      ผลการวิเคราะห์ของโพลล์ ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นเรื่องของ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก อย่างเช่น จากกลุ่มที่สำรวจจำนวน 3000 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามคืนกลับมา 1000 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 แยกเป็นเพศชาย 650 คน คิดเป็นร้อยละ 65 และเพศหญิง  350 คน คิดเป็นร้อยละ 35 อย่างนี้เป็นต้น สบายมากใช่ไหม  ดูภาพประกอบ เพราะงานนี้เราแค่คลิ๊ก ความถี่ เจ้าความถี่ก็ลอยออกมาดังภาพ

      ในส่วนของประเด็นต่างๆในเนื้อหาที่เราสำรวจก็เหมือนกัน อย่างเช่นดูซิว่าคนที่สนใจจะทำ R2R โดยตอบในแบบสอบถามว่าสนใจจำนวน 600 คน คิดเป็นร้อยละ 60 และไม่สนใจจำนวน 400 คน คิดเป็นร้อยละ 40  เห็นไหมว่าไม่ยาก ก็แค่คลิ๊กเสร็จแล้วก็เอาไปเขียน หรือทำภาพประกอบให้สวยงาม งานนี้ไปโลด  เริ่มสนุกแล้วล่ะซิ ใช่มั้ย
      ในระดับที่เริ่มซับซ้อนขึ้นมาอีกหน่อยก็คือการดูว่าตัวแปรสองตัวที่เราสนใจมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างเช่น เราต้องการทราบว่าเพศมีผลต่อความสนใจในการทำ R2R หรือไม่  ก็แค่คลิ๊กเลือก Crosstab แล้วระบุตัวแปรที่สนใจใส่เข้าไป เหมือนเนรมิต เจ้าตัวแปรสองตัวที่เราสนใจก็จะโผล่ออกมาให้ยลโฉม  เราเข้าไปดูผลกันดีกว่า

      จากตารางเราพบว่า เพศชายร้อยละ 61.5 (400 คน) ให้ความสนใจที่จะทำ R2R ในขณะที่ เพศหญิงร้อยละ 57.1 (200 คน) ให้ความสนใจที่จะทำ R2R เพราะฉะนั้น สรุปว่า เพศชายมีความสนใจที่จะทำ R2R มากกว่าเพศหญิง
      ตอบได้เลยครับว่าสรุปผิด
 เอ้าก็ตัวเลขมันเป็นอย่างนี้นี่นา ลองสรุปดูใหม่ก็ได้ว่า
      ในจำนวนคนที่ตอบว่าสนใจทำ R2R เป็นเพศชายร้อยละ 66.7 (400 คน) และเป็นเพศหญิงร้อยละ 33.3 (200 คน) สรุปว่า เพศชายก็ยังให้ความสนใจทำ R2R มากกว่าเพศหญิง
      ตอบได้อีกครับว่ายังสรุปผิด  ตัวเลขนะถูก แต่สรุปผิด นี่แหละเป็นความซับซ้อนของสถิติ แล้วจะมาเล่าให้ฟังครับว่าสรุปผิดยังไง
 งง !
หมายเลขบันทึก: 53492เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 05:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อรุณสัวดิ์ค่ะ  คุณไมโต

  • ตื่นแต่เช้าเลยนะคะ
  • ครูอ้อยอ่านบันทึกเรื่องสถิติของคุณไมโตแล้วเข้าใจดีมากเลยค่ะการทำโพลล์  มิน่ารวดเร็วเนอะ แล้วก็เชื่อถือไม่ได้ใช่ไหมคะ
  • ขอบคุณมากเลยค่ะ  จะเชิญชวนให้เพื่อนๆเข้ามาอ่านค่ะ
สวัสดีครับ ครูอ้อย
  • ครูอ้อยก็ตื่นเช้าเหมือนกันครับ ผมนอนไม่ค่อยหลับ แล้วไปแอบหลับอีกทีตอนทำแล็บ
  • ทำโพลล์มักเป็นการสำรวจความคิดเห็นครับ ก็เป็นการวิจัยแบบหนึ่ง ซึ่งหากทำถูกต้องตามกระบวนการ ก็มีความน่าเชื่อถือ เพียงแต่การใช้สถิติ มักมีหลุมพราง ก็เลยอาจเป็นเจตนาของคนทำให้เราเข้าใจผิดพลาด เหมือนที่ผมยกตัวอย่างให้ฟัง ถ้าเราเข้าใจการใช้สถิติที่ดี เราก็จะไม่ตกหลุมพรางเหล่านี้ครับ
  • คิดถึงบ้านจังเลย

หนูจะรอฟังคำตอบนะคะ  หนูขออนุญาตเรียกคุณไมโต ว่าอาจารย์นะคะ  เพราะทุกคนที่ให้ความรู้กับเราหนูถือว่าเป็นครูหรืออาจารย์สำหรับหนูทุกคนคะ 

ขอบพระคุณคะ

จริงๆแล้ว ผมเป็นนักเทคนิคการแพทย์ แต่หากน้องนิว จะเรียกว่าอาจารย์ ด้วยเหตุผลที่เสนอนั้นผมก็ไม่ขัดครับ ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนเสมอๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท