ทำไม 3 ห่วง ต้องร้อยเรียงกัน


วันนี้ 2 พฤษภาคม 2556 ผมร่วมเดินทางมาราชการ กับผู้บริหารและครูแกนนำขับเคลื่อน ปศพพ. ของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม  เราคุยกันตั้งแต่ขึ้นรถ จนถึงกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 7:00 ถึง 16:00 น.

ช่วงใกล้ถึง อ.วังน้อย มีประเด็นสำคัญที่ ผมคิดว่าอาจมีประโยชน์ จึงนำมาบันทึกไว้..... 

ทำไม 3 ห่วง ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้องร้อยเกี่ยวกัน

ผมแสดงความคิดเห็นอย่างนี้ครับว่า....................

จากพุทธพจน์ว่า การเรียนรู้หรือการพัฒนาปัญญา มาได้ 3 ทาง ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา คือ เรียนรู้จาก การฟังอ่านดู จากการคิด และการลงมือปฏิบัติ เจริญสติภาวนา

จากหนังสือ How Learning Work ที่ ศ.นพ.วิจารณ์ สรุปความไว้ที่นี่ ว่า หลักการเรียนรู้ที่สำคัญคือ  "ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อ เขาได้คิดหรือทำเท่านั้น" 

การฟังดูอ่าน ในทางพุทธนั้น ต้องใช้ "ใจ" .... ใจเป็นคนฟัง ใจเป็นคนดู ใจเป็นคนอ่าน  สังเกตง่ายคือ เราได้ยินเสียงเยอะมาก แต่หากเราไม่ "ฟัง" จะไม่รู้ว่าเสียงอะไร  แสดงว่าหูได้ยินแต่ใจไม่ได้ยิน

ดังนั้น "การฟัง" ต้องใช้ความตั้งใจ ต้องให้ "พอดี" ระหว่าง "สติ" และ "สมาธิ" ผมเปรียบความพอดีนี้เป็นห่วง "พอประมาณ"

โดยธรรมชาติของคนเราเข้าใจได้เพราะเรา "ฟัง" จะสลับกับ "คิด" .... "ฟังแล้วคิด" ทำให้เข้าใจเรื่องราวที่ฟังได้ และการคิดที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้คือ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดอย่างมีวิจารณญาณ หากผมเปรียบเป็นห่วง "เหตุผล" แสดงว่าชัดเจนอย่างยิ่งว่า "ห้องพอประมาณจะต้องร้อยเกี่ยวกับห่วงเหตุผลอย่างแยกไม่ได้"

การภาวนาแปลว่าพัฒนา การพัฒนาแปลว่าทำให้ดีขึ้น เจริญขึ้น สิ่งใดก็แล้วแต่จะเจริญขึ้นหรือดีขึ้นได้ จำเป็นจะต้องผ่านการ "ปฏิบัติ" หรือลงมือทำ ที่เราเรียกกันต่อติดปากว่า "ปฏิบัติพัฒนา"  ในทางโลก การภาวนา ก็คือการลงมือทำ หรือการปฏิบัตินั่นเอง

การลงมือทำ เราก็ตั้งใจทำ เมื่อตั้งใจนั่นหมายถึงเราฟังเราดู เมื่อนำสิ่่งที่ได้ยินได้เห็นขณะลงมือทำ มาคิดพิจารณาอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างมีสติ  การลงมือทำอย่างตั้งใจบ่อยๆ เราเรียกว่า "การฝึกฝน" การฝึกฝนจะทำให้เกิด "ทักษะ" เกิด "ความสามารถ" ที่จะทำได้ด้วยตนเองได้   การที่มีทักษะที่ดี พึ่งตนเองได้ มีสติ รอบคอบ แสดงว่ามีภูมิคุ้มกันใจตัวที่ดี นี่ถือเป็นห่วงสุดท้ายที่ร้อยเกี่ยวกันอย่างแยกไม่ออกทีเดียว

ผมตกผลึกกับตนเองว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ที่ในหลวงท่านพระราชทานให้เรานั้น พระองค์ท่านไม่ได้แค่ฟังมา ไม่ได้แค่คิดขึ้นมา แต่เป็นสิ่งที่ "ตกผลึก" ออกมาจากการทรงงาน จากการปฏิบัติที่ร้อยรัดกันอย่างแยกไม่ออก เหมือน 3 ห่วงที่ร้อยเกี่ยวกัน ดังที่เห็น

ท้ายนี้ขอตั้งคำถามว่า คำว่า พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกี่ยวข้องกับคำเหล่านี้อย่างไรครับ

โลภ โกรธ หลง

เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ความรู้ ทักษะ ความสามารถ

ฯลฯ


ผมเอง ..... ยิ่งศึกษา ยิ่ง "ทึ่ง" ใน พระปรีชา....

ท่านว่าไงครับ


หมายเลขบันทึก: 534641เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 06:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 06:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ศีล  สมาธิ ปัญญา

ศีล คือ พอประมาณ

สมาธิ  คือ  ความมีเหตุผล

ปัญญา  คือ ภูมิคุ้มกันที่ดี


"ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท