รู้ – รับ – ปรับ - เปลี่ยนทิศทางบริหารองค์กรสู่อนาคต


รู้ – รับ – ปรับ - เปลี่ยนทิศทางบริหารองค์กรสู่อนาคต

 

บทนำ

            ภาวะปัญหาเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาที่สร้างผลกระทบในวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้องค์กรขนาดเล็กที่มีสายป่านยาวไม่เพียงพอหลายองค์กร ต้องยอมออกจากสนามรบการค้า เนื่องมาจากสภาวะการผันผวนทางเศรษฐกิจโลก ผนวกกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่เกิดขึ้น เช่น การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ กระแสโลกาภิวัตน การเมือง การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่รุนแรง และกำลังการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่มีน้อยลง เมื่อเทียบกับกำลังการขายในตลาดที่มีมากเกิน  นักลงทุนหรือผู้ประกอบการหลายฝ่ายจึงลดการขยายตัวทางธุรกิจ เช่น ลดอัตราจ้างงานหรือตัดงบประมาณบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ บางองค์กรเลือกที่จะหยุดเพื่อชะลอดูภาวการณ์ที่เกิดขึ้นว่าจะมีทิศทางในภาพบวกหรือลบและรอดูการปิดฉากมหากาพย์เศรษฐกิจในครั้งนี้ว่าจะจบลงอย่างไร

            ดังนั้น อะไรคือเครื่องมือหรือกลยุทธ์ในการบริหารและจัดการองค์กร ที่ทำในองค์กรนั้นสามารถคงอยู่ได้ในสภาวการณ์แข่งขันทางเศรษฐกิจที่เข้มข้นแนวทางอะไรที่ผู้นำควรมุ่งเน้นก่อนเป็นลำดับแรกในการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับปัจจัยภายในและภายนอกองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของโลกทั้งในด้านเทคโนโลยี สังคม และระบบเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเป็นหนึ่งเดียวกับกลยุทธ์คือหัวใจสู่ความสำเร็จองค์กร

         การที่คนในองค์กรสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์ที่ดีมาสู่ผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพผลได้อย่างรวดเร็วก็เป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบที่ทำให้องค์กรเราก้าวนำสู่ผู้อื่น การขาดกลยุทธ์ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารต้องโหมทำงานหนักจนไม่ได้ผักผ่อน แต่เป็นผลจากการที่องค์กรขาดความส่ามารถในการนำกลยุทธ์มาปฏิบัติ

สร้างความต่าง ‘’Build from the Top to the Bottom’’ 

           จะต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถคิดวิเคราะห์ คาดการณได้อย่างเป็นระบบ และหรับเปลี่ยน ตนเองให้ทันตามธุรกิจที่ผันผวน ดังข้อมูลที่ได้กล่าวมา  มีแผนกลยุทธ์ที่ใช้และสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจขององค์กรได้ ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าองค์กรนั้นจะประสบความสำเร็จได้ ประเด็นที่กล่าวคือผู้นำเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง เนื่องจากผู้นำจะต้องเป็นสื่อสารและเป็นแบอย่างให้ลูกน้องเห็นความสำคัญของกลยุทธ์

‘’Keep lnnovative ‘’  กุญแจสู่ความสำเร็จความยั่งยืน

            ในยุคการแข่งขันสูงการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน เราต้องบริหารธุรกิจแบบก้าวกระโดดให้ได้แต่เป็นการก้าวกระโดดอย่างมั่นคง และการบริหารแบบก้าวกระโดดได้นั้น การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร สามารถช่วยยกระดับมาตรฐานการทำงานในองค์กรและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ง่ายขึ้น และยังช่วยบุคลากรให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้เพื่อให้ธุรกิจเจริญเติบโตด้วยตัวเองของธุรกิจเอง โดยผ่านระบบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการปฏิบัติการหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่สามารถตรวจสอบและเช็คผลการปฏิบัติงานบุคลากร เพื่อให้พนักงานมีแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับนโยบายหลักขององค์กร ผ่านการใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยี เช่น ระบบ Cloud System และสื่อออนไลน์ต่างๆ เข้ามาใช้ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ ช่วยให้หัวหน้าไม่จำเป็นต้องสังเกตการณ์ลูกน้องตลอดเวลา ในทางตรงกันข้าม บุคลากรต้องมีเป้าหมายตัวเองชัดเจน และรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมาย ขณะเดียวกัน องค์กรต้องปลูกฝังและใส่ระบบ Performance Culture เข้าไปในวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้ทุกคนอยาก Drive Performance ด้วยตัวเขาเอง โดยสร้างความพร้อมของพนักงานทุกระดับให้สามารถบริหารจัดการตนเองและแข่งขันได้จริง ๆ

บทสรุป

           การยกระดับผลปฏิบัติงานของพนักงานให้สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพผ่านวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง โดยปลูกจิตสำนึกบนพื้นฐานของความเข้าใจค่านิยม ความเชื่อมั่นในองค์กร และการมั่นใช้คำ 2 คำ นี้” ขอบคุณ-ขอบใจ” ดิฉันเชื่อมั่นว่า การร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กรเป็นพลังงานที่มีแรงขับเคลื่อนในองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนและการที่สร้างความสามัคคีดังนั้นเราต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เสริมสร้างแรงบันดาลใจให้คนในองค์กรปรับปรุง และพัฒนาระดับประสิทธิภาพการทำงานทั่วทั้งองค์กรผ่านการแสดงออกทางคำพูดหรือการปฏิบัติที่ดีเช่นการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ ไว้ใจและชมเชยผู้อื่น การสร้างperformance Culture ในองค์กรคุณให้แข็งแกร่ง สามารถแข่งขันได้ สามารถพัฒนาองค์กรให้เกิดความยั่งยืน และเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องธุรกิจสามารถเดินหน้าอย่างรวดเร็วประหยัดค่าใช้จ่าย ยังเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

อริญญา  เถลิงศรี. SME  INSPIREDจุดประกายความคิดธุรกิจเอสเอ็มอี.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  กรุงเพทฯ : โรงพิมพ์ 

         บริษัทเพนนินซูลาร์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด, ๒๕๕๖.


หมายเลขบันทึก: 534603เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท