Knowledge Management ในรูปแบบที่ "เข้าถึง" หัวอกหัวใจคน


แรงบันดาลใจมาจาก บทความของ Margaret Wheatley

โดยพยายาม "ถอดรูป" ออกมาเป็นภาษาไทย ให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด


นับเป็นศิลปะที่ยากยิ่ง เมื่อต้องเผชิญกับคำศัพท์อย่างเช่น Human Being, Chaotic Process และ Insight







หากการสร้างสรรค์ความรู้เป็นธรรมชาติของมนุษย์ และความปรารถนาในการแบ่งปันความรู้เ็ป็นสิ่งที่สร้างความพึงพอใจให้มนุษย์แล้ว เหตุใดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงเป็นเรื่องที่ยากเย็นนัก


นี่คือ ข้อสังเกตที่น่าสนใจ ในการทำให้กระบวนการจัดการความรู้ได้รับความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้


1.  ความรู้ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยมนุษย์ และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมรอบตัว (Human Beings)

การทำงานกับความรู้จึงต้องใส่ใจกับความต้องการของมนุษย์และความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง (Human needs and dynamics)


2.  การสร้างแรงจูงใจให้มนุษย์ จะนำไปสู่การผลิตและพัฒนาความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ

มนุษย์กระหายที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย ปรารถนาการยอมรับจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทั้งมีแรงปรารถนาที่จะแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ การได้ทำงานในภาวะเช่นนี้จะทำให้มนุษย์สามารถผลิตความรู้ที่มีผลิตภาพและเต็มไปด้วยความสนุกสนาน


3.  มนุษย์ทุกคน  คือ พนักงานที่สร้างและใช้ความรู้ในการขับเคลื่อนองค์กร (Knowledge Worker)

นวัตกรรมและการตกผลึกของความรู้ (Insights and Innovation) เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะและฟูมฟัก ดังนั้น องค์กรจึงควรเปิดเผยและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารให้ไหลไปทั่วองค์กรตลอดเวลา เพื่อให้พนักงานได้มีเวลาในการพัฒนาทีละน้อย แทนที่จะเปิดโอกาสให้เข้าถึงข้อมูลเฉพาะในเวลาที่ต้องการผลิตสร้างความรู้ใหม่ๆในองค์กรเท่านั้น


4.  มนุษย์เลือกที่จะแบ่งปันความรู้ ในสถานการณ์ที่แตกต่าง

ปัญหาสำคัญของกระบวนการจัดการความรู้ คือ บางคนในองค์กรไม่ได้แบ่งปันความรู้ออกมาอย่างเต็มที่

มนุษย์เต็มใจที่จะแบ่งปันความรู้ เมื่อพวกเขาถูกกระตุ้นให้เกิดความกระหายในการเรียนรู้ และปรารถนาจะช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะหากความรู้ของตนเองมีความสำคัญต่อผลสำเร็จของงาน


5.  กระบวนการจัดการความรู้ ไม่ควรเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี

เทคโนโลยีไม่สามารถทำหน้าที่เชื่อมร้อยผู้คนได้ หากทว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เป็นสิ่งที่ร้อยรัดผู้คนทั้งหลายไว้ด้วยกัน

มนุษย์ต้องการแบ่งปันความรู้ เพราะพวกเขารู้จักและสนิทสนมกัน ไม่ใช่เพราะความเร็วและช่องสัญญาณทางอินเทอร์เน็ตที่ขยายกว้างขึ้น


6. ความรู้ จะเกิดขึ้นท่ามกลางกระบวนการและสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน (chaotic processes) และต้องอาศัยเวลาในการเติบโต

สิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ดี คือ ความอดทนกับภาวะที่วุ่นวาย ไม่เป็นเส้นตรง และไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้

นี่คือ สิ่งที่มนุษย์และองค์กรส่วนใหญ่ยากจะตอบสนองได้

หากทว่า เมื่อเราปล่อยวางให้กับความสับสนของโลกรอบตัว เปิดใจยอมรับในความไม่รู้สิ่งใด  และเฝ้ารอคอยด้วยจิตเบิกบาน สุดท้ายแล้ว คำตอบของปัญหาทั้งมวลก็จะผุดขึ้นมาอย่างไม่คาดคิด



หมายเลขบันทึก: 534585เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท