ปุ๋ยทางดิน ถ้าเอาไปผสมน้ำ แล้วใช้พ่นแทนปุ๋ยทางใบ จะได้ผลเหมือนใส่ปุ๋ยทางดิน หรือไม่


สารคีเลต (Chelate) ซึ่งมีทั้งในธรรมชาติ และการสังเคราะห์ มาเป็นตัวจับธาตุอาหารที่มีประจุบวกเหล่านี้ ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า คึเลตชั่น (chelation) ซึ่งจะเข้าไปล้อมธาตุอาหารเหล่านั้น ไม่ให้ประจุลบภายนอกเ้ข้ามาทำปฏิกริยาได้

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

        วันนี้ว่างๆ เลยอ่านเข้าไปในเว็ป

http://www.gotoknow.org/posts/362284

ของคุณ ฤทธิ์ ตาลี  ใช้ชื่อว่า "หนุ่มดอยเต่า"

และมีโอกาส ได้อ่านคำสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกที่ถามตอบกันอยู่ ในเว็ปดังกล่าวระหว่าง คุณโก้ กับ คุณหนุ่มสอยดาว

             เห็นอึมๆ ครึมๆ กันอยู่ในเรื่องดังกล่าว  

         จึงได้ขออนุญาตเสนอแนะความคิดเห็นลงไป

  

                                     เลยคิดว่าน่าจะนำคำตอบนั้นมาลงในบันทึกของตนเอง  

                                     เพื่อว่าเกษตรกรท่านอื่นๆ จะได้ทำความเข้าใจ

                         ในเรื่องดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น...ค่ะ

ตอบคุณโก้

ขออนุญาต ให้ข้อคิดเห็นเรื่องปุ๋ยทางใบ กับปุ๋็ยทางดินค่ะ

         ปุ๋ยทางใบใช้ได้ทั้งทางใบ และดิน (แต่ถ้านำมาใช้ทางดินจะถือว่าสิ้นเปลือง..ค่ะ)

          ปุ๋ยทางดินใช้ได้เฉพาะทางดิน...ค่ะ

ขอขยายความ

             เนื่องจากในกระบวนการผลิตธาตุอาหารสำหรับให้ต้นพืชนั้น มีการผลิตออกมาในสองลักษณะคือ ให้ทางราก กับให้ทางใบ  ดังนั้นคุณสมบัติการจับของโมเลกุลของธาตุอาหาร ่จะมีความแตกต่างกัน ธาตุอาหารบางชนิดที่มีประจุบวกได้แก่เหล็ก  สังกะสี  ทองแดง แมงกานีส ฯลฯ  

             ธาตุอาหารเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ทางดินก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด  เนื่องจากลักษณะการดูดซึมของต้นไม้นั้น ่จะใช้วิธีดูดธาตุอาหารในรูปของ สารละลายจากน้ำ  โดยใช้กระบวนการปรับระดับความดันภายในต้นไม้  เพื่อให้สารอาหารสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆ ของต้นไม้ได้ ด้วยการใช้วิธีัการลดความดันยอดด้วยการคายน้ำออกทางใบทำให้แรงดันส่วนปลายลดลง  สารที่ละลายธาตุอาหารในดินจึงสามารถถูกดูดซึมผ่านขึ้นไปทดแทนแรงดันที่ลดลงนั้นตามระบบรากได้ 

              แต่เมื่อนำเรานำธาตุอาหาร (ปุ๋ยทางดิน) เหล่านั้น  มาละลายน้ำ และฉีดพ่นทางใบ  ปรากฎว่าโมเลกุลของธาตุอาหารบางประเภทมีประจุไฟฟ้าบวกอยู่   มื่อไปกระทบกับประจุลบบริเวณใบ จึงเกิดการจับตัวกัน     แ่ละพืชไม่ปล่อยให้ธาตุอาหารดังกล่าวซึมผ่านเ่ข้าทางปากใบได้  จึงเิกิดการตกตะกอนค้างอยู่บนใบ  รอวันฝนชะล้างลงดินละลายไปกับน้ำฝน แล้วซึมผ่านตามระบบรากปกติ  ดังนั้นในบางครั้งที่เราไม่รู้ เราก็ยังคงคิดว่ามันสามารถใช้ได้กับทางใบได้  ซึ่งในความเป็นจริงๆ  มันใช้ซึมผ่านเข้าต้นไม้ในทางใบ....ไม่ได้

              ดังนั้นเราจึงใช้สารคีเลต (Chelate) ซึ่งมีทั้งในธรรมชาติ และการสังเคราะห์  มาเป็นตัวจับธาตุอาหารที่มีประจุบวกเหล่านี้  ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า คึเลตชั่น (chelation)  ซึ่งจะเข้าไปล้อมธาตุอาหารเหล่านั้น ไม่ให้ประจุลบภายนอกเ้ข้ามาทำปฏิกริยาได้ (ประจุต่างกันพบกันจะดูดกันไว้ ทำให้เกิดการตกตะกอน)   จึงทำให้ธาตุอาหารดังกล่าวกลายเป็นสารประกอบที่ไม่มีประจุไฟฟ้า  ทำให้ไม่เกิดการตกตะกอน  และพืชสามารถปล่อยให้ผ่านเข้าทางปากใบ และเนื่องจากสารประกอบคีเลต สามารถละลายน้ำได้ดี  พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านราก  หรือปากใบ และสามารถนำสารธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็ว และใช้ได้ในทันที


สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภท คือ

             1. สารอินทรีย์จากธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก และ กรดอะมิโน                                                              

             2. สารคีเลตสังเคราะห์ เช่น EDTA  ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด 


สารประกอบเหล่านี้ เรามักจะเรียกว่า "จุลธาตุ" เป็นกลุ่มธาตุอาหารที่เราให้ทางใบ...ค่ะ

             ดังนั้น ในผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารทางเคมี  ที่มีคำเ่ขียนกำกับไว้ว่า  "อยู่ในรูปสารประกอบคีเลต"  จึงเป็นธาตุอาหารที่พัฒนามาเพื่อใช้เฉพาะทางใบโดยเฉพาะ แต่ถ้าจะเอาไปใช้กับทางดินก็สามารถใช้ได้ แต่มันเปลือง...ค่ะ

             ส่วนธาตุอาหารที่สร้างมาสำหรับใช้ทางดิน ไม่ได้ผ่านกระบวนการคีเลตชั่น จึงไม่ได้เป็นสารประกอบในรูปของคีเลต  ที่จะสามารถนำมาใช้ทางใบได้  ถ้าเอาไปใช้จะเกิดการตกตะกอน แ่ละตกค้างอยู่ตามใบ รอเวลาฝนมาชะลงดิน...ค่ะ

่ข้อมูล เรื่องอื่นๆ หากสนใจ  http://www.gotoknow.org/blog/2012-01

หมายเลขบันทึก: 534466เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท