พระครูอุดมธรรมานุกิจ
พระ พระครูอุดมธรรมานุกิจ อุตฺตโม บัวทะราช

หลักในการใช้ตรัสของพระพุทธเจ้า ๖ อย่าง


หลักในการใช้ตรัสของพระพุทธเจ้า ๖ อย่าง

       ราชกุมาร ถาม

 ๑.ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น

๒.ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น

๓.ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้  อันประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่นตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาลเพื่อกล่าววาจานั้น

๔.ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น

๕.ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง   อันแท้  แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น  ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น

๖.ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด  อันจริง  อันแท้   อันประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาละที่เหมาะสมเพื่อกล่าววาจานั้น

เปรียบเทียบกับ  ไม้

๑.ไม้เปียกชุ่มด้วยยาง   แช่ไว้ในน้ำ  นำมาสีให้เกิดไฟย่อมไม่ได้ไฟ (แม้มีความเพียรสักปานใดก็เปล่า...)

๒.ไม้เปียกชุ่มด้วยยาง  วางไว้บนบก นำมาสีให้เกิดไฟย่อมไม่ได้ไฟ(ต้องใช้เวลาที่เหมาะสม)

๓.ไม้แห้ง  แช่ไว้ในน้ำ  นำมาสีให้เกิดไฟย่อมไม่ได้ไฟ (ต้องใช้ความเพียรให้มาก)

๔.ไม้แห้ง  วางไว้บนบก นำมาสีให้เกิดไฟย่อมเกิดไฟได้โดยง่าย  (ดอกบัวพร้อมที่จะบานเมื่อได้รับแสงตะวันในยามเช้านั้น)

ข้อนี้เพราะเหตุใดเล่า ราชกุมาร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย นั้นเอง


หมายเลขบันทึก: 534391เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2013 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท