วิเคราะห์วรรณศิลป์ ในนิราศนครราชสีมา


วิเคราะห์วรรณศิลป์ ในนิราศนครราชสีมา  ของ  ชิต  บุรทัต

นิราศ คือ บทประพันธ์ร้อยกรองที่กวีแต่งขึ้นเพื่อเล่าการเดินจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง บรรยายถึงหมู่บ้าน สถานที่ และเหตุการณ์ที่ได้พบเห็น  โดยแทรกบทคร่ำครวญพรรณนาความอาลัยรักถึง "นาง" ในนิราศ ซึ่งอาจจะเป็นคู่รักจริงๆ ของกวี หรือสมมติขึ้นก็ได้  วรรณคดีประเภทนิราศไม่มีต้นกำเนิดแน่นอนว่าไทยได้รับมาจากไหน แต่ผู้แต่งนิราศส่วนใหญ่ก็ยังคงยึดกฎเกณฑ์เก่าๆ เป็นแนวทางในการเขียน คือ นิยมเขียนแบบคร่ำครวญ แสดงอารมณ์สะเทือนใจของผู้แต่งที่มีต่อนาง

ผู้เป็นที่รักที่อยู่ข้างหลังเป็นอันดับแรก รองลงมาคือบันทึกการท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ

วรรณศิลป์ มีความหมาย ตามพจนานุกรรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ว่า “ศิลปะในการแต่งหนังสือ,ศิลปะทางวรรณกรรม,วรรณกรรมที่ถึงขั้นวรรณคดี,หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี  การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ต้องศึกษาตั้งแต่การเลือกชนิดคำประพันธ์ให้เหมาะสมกับประเภทของงานเขียน การรู้จักตกแต่งถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวยอันเป็นลักษณะเฉพาะของภาษากวี และทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์


วิเคราะห์วรรณศิลป์.pdf
หมายเลขบันทึก: 534327เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2013 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2013 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท