531. วิทยาศาสตร์ของ"พี่มากพระโขนง" (The Science of Pee-Mak-Phra-Kha-Nhong)


มองปรากฏการณ์หนังไทย ที่สร้างปรากฏการณ์่ผ่านมุมมองแบบ OD

เช้านี้เข้าไปดูโปรแกรมหนัง ก็พบว่าพี่มากพระโขนงยังยืนโรงอยู่ น่าชื่นชมครับ หนังเรื่องนี้สร้างรายได้ในระดับปรากฏการณ์ ผมไปดูก็เข้าท่าดี ขำกลิ้งครับ หนังเรื่องนี้น่าสนใจตรงที่เป็นหนังที่ฉายในมุมมองพี่มากพระโขนงครับ คือตั้งโจทย์ว่า ถ้าเป็นพี่มาก พี่มากจะมองเรื่องนี้อย่างไร มีการตีความหนังเรื่องนี้ใหม่จากเดิมเป็นหนังที่มองจากน้องนาค เป็นความเศร้า พอมาเป็นพี่มากมองก็จะมองไปอีกแบบ ที่สำคัญขมวดปมจบแบบไม่เศร้า เราอยู่กันได้ ถ้ารักกันจริง

                                        

                             Cr: http://news.tlcthai.com/entertainment/116290.html


เราจะเห็นว่าการตีความใหม่ นี่สร้างความสำเร็จให้หนังไทยเรื่องนี้ได้ครับ

ทำให้ผมนึกถึงหนังที่ผมรักมากอีกเรื่องนั่นคือ Star Wars ที่มีมาตั้งแต่สามสิบปีกว่าปี แล้ว และได้ข่าวเร็วๆนี้ว่าจะสร้างใหม่ หนังเรื่องนี้ก็มีการตีความที่น่าสนใจครับ มีการวิเคราะห์ว่า Star Wars อยู่ยงคงกระพัน เพราะตัวละครแต่ละตัว มีความ “ลึก” ของตนเอง เช่นดาร์ธ เวเดอร์ ที่ร้ายมากๆ ในตอน 4 5 6 ก็เคยดีมากๆ เป็นเจได รักคุณธรรม มาก่อน เก่งมากๆ ด้วยในสองตอนแรก แต่มาหักเหในตอนที่สาม ด้วยเพราะปมสมัยเด็กๆ ที่ต้องถูกพรากจากแม่ และความกลัวที่ภรรยาสุดที่รักจะต้องตายจากไป เลยหักเหตนเองมาอยู่ในด้านมืด  ... ยังมีตัวละครอีกหลายตัวที่มีที่มาที่ไป ทำให้การตีความของ Star Wars ไม่จบง่ายๆ สมารถทำนิยาย ทำการ์ตูน ออกมาได้อย่างไม่สิ้นสุด 


                     

                                  Cr: http://collider.com/jj-abrams-star-wars-7/


ผมเห็นวรรณกรรมไทยที่พยายามตีความได้อย่างน่าทึ่งเช่น หม่องราชวงค์คึกฤทธิ์ ปราโมชท์ ก็ตีความ “สามก๊ก” หใม่ เพราะสามก๊กเดิมเขียนในมุมมองของขุนนางที่เคยอยู่ในแคว้นเล่าปี่  เลยออกจากอคติไปหน่อย  ท่านเลยลองตีความในมุมมองของโจโฉ ได้เรื่องใหม่คือ “โจโฉ นายกตลอดกาล” ก็เข้าท่าดี ครับก็แปลกไปอีกมุม ผมว่าน่าเอาไปทำหนังได้เลย


                                       

                                  Cr: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=674672


วกกับมาเรื่องของ OD ที่ผมถนัด การตีความแบบนี้จริงๆ แล้วเราเรียกว่าการทำ KM หรือการจัดการความรู้ครับ Takeuchi และ Nonaka ผู้คิดทฤษฎี The Organizational Knowledge Creation หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า SECI Model ได้บอกว่า บริษัทในญี่ปุ่นมีการสร้าง “พื้นที่” ให้พนักงานคิดนอกกรอบครับ คือการพยายามใส่อะไรที่ดูไม่ค่อยเกี่ยวเข้าไป เช่นฮอนด้า เอาวิวัฒนาการของแมลงไปให้วิศวกรออกแบบรถยนต์ดู กลายเป็นที่มาของรถฮอนด้า ซิตี้ ...

คุณลองดูกระป๋องหมึกพิมพ์ ที่ดูเป็นทรงกระบอกในเครื่องปริ๊นเตอร์สิครับ ที่มามาจากแคนนอน บิรษัทญี่ปุ่นครับ แรงบันดาลใจมาจาก “กระป๋องเบียร์” ครับ.. นี่คือการสร้างพื้นที่คิดของญี่ปุ่นอีกกรณีหนึ่งครับ

พื้นที่การคิดต่างนี้ ท่านเรียกว่าการทำ Externalization (เอ็กซ์เตอร์นอลไล๊เซชั่น) คือการคิดนอกกรอบครับ โดยอาจเอาคำอุปมาอุปไม แนวคิดแปลกๆ การตีความใหม่ ใส่เข้าไปในให้คนลองคิดกันดู นี่เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้บริษัทญี่ปุ่นกลายเป็นบริษัทที่สามารถ “สร้างความรู้” ได้ด้วยตนเอง (สองท่านนี้เขียนหนังสือเรื่อง The Knowledge Creating Company เดอะ โนวเลจ ครี๊ทติ้ง คอมปะนี่)  กลายเป็นบริษัทที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้โลกได้ตลอดมา

                                

                         Cr: http://powerknowledge.edublogs.org/2010/08/10/seci-time-d/


เราจะเห็นได้ชัดว่า “พี่มากพระโขนง และสตาวอร์” กลายเป็นหนังประสบความสำเร็จ ด้านการเงิน ก็ด้วยการทำ Externalization  นี่แหละครับ  ลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยแนวคิดการ พัฒนาองค์กรแบบนี้ดูครับ เราจะกลายเป็นองค์กรที่ “สร้างความรู้” ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเลียนแบบใคร ผมว่าน่าจะได้อะไรแปลกใหม่น่าสนใจ และสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของเราได้ครับ  และวันนี้ผมของปรบมือให้กับ “พี่มากพระโขนง” ดังๆ อีกครั้งครับ


หมายเลขบันทึก: 534322เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2013 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2013 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดิฉันชอบและชื่นชมบันทึกนี้ของท่านอาจารย์ ดร.ภิญโญ มากค่ะ  ขอบคุณค่ะ

มองหลายด้านก็จะเห็นหลายอย่าง ทุกด้านจะมีความแตกต่าง เหมือมองเสากลมๆ แต่ล่ะด้านก็จะมีแสงมีเงาต่างกันไป -/\-

เห็นด้วยกับอาจารย์ทุกประการครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท