แตกต่างกันชัดดีเหลือเกิน


                                        

                                                         แตกต่างกันชัดดีเหลือเกิน 

                                          (ความตายกับวิทยาศาสตร์ของซีกโลกต่างกัน)

                                             

                มันทำงานอย่างไร? แต่ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์กลับกลายจะมีความหมายไปในทิศทางเดียวกันกับคำว่าตัณหาราคะ “บ่อเกิดแห่งทุกข์” จึงดูเหมือนว่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มากๆ พวกนี้ต้องการที่จะให้ประชาชนในประเทศของตน ทุกสังคมเลย มีแต่กิเลสตัณหาราคะและความทุกข์กันทั่วทั้งโลก จนกระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมเกิดมีคนตายมากมาย “ตามมา” ซึ่งทำให้เกิดความรู้อย่างหนึ่งในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งตรงกับความเชื่อทางศาสนา นั่นคือ ความเห็นพ้องต้องกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับสภาวะจิตวิญญาณ  (spirituality) นั่นคือ ผู้เขียนเชื่อว่า ศตวรรษนี้จะเป็นศตวรรษที่เราจะเห็นวิทยาศาสตร์แห่งความตาย ส่วนความพินาศของโลกนั้นมีความจำเป็น เพราะคนเรากดขี่ข่มเหงธรรมชาติด้วยกิเลสตัณหาจนโลก “ติดลบ”  ที่พูดมานั้น เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของเราแต่วันนี้เดี๋ยวนี้ เพราะเป็นเรื่องของชีวิต ก็ต้องพูดถึงการจบสิ้นของชีวิตหรือความตายในทางวิทยาศาสตร์หรือชีววิทยาที่ใครๆ ไม่อยากพูดถึงกันบ่อยนัก ความตายที่คนชาวตะวันตกกลัวกันนักกลัวกันหนาจนไม่ค่อยพูดถึง จึงทำให้ผู้เขียนคิดว่าประเทศหรือสังคมตะวันตกหรือสังคมที่ยิ่งพัฒนาขึ้นมาเท่าไร สังคมนั้นๆ ก็ยิ่งมีความเสื่อมสลายทางศีลธรรมหรือทางจิตลงไปเท่านั้น การพัฒนาที่เราพยายามทำให้สังคมและประชาชนที่อยู่ในสังคมนั้นๆ ให้มีคุณภาพของชีวิตที่ดีขึ้น หรือ “เจริญ” ขึ้นนั้น “ผิด” ธรรมชาติทั้ง 2  ระดับเลย เพราะว่าธรรมชาติไม่มีการพัฒนา มีแต่การ “ค่อยๆ” เปลี่ยนแปลง เรียกว่า วิวัฒนาการ และแล้วการพัฒนากับความเจริญที่ว่านั้น เราชาวตะวันออกก็ค่อยๆ รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้า เพราะคิดว่าชาวตะวันตกฉลาดกว่า เก่งกว่า หล่อกว่าเรา ฯลฯ พลอยทำให้เราไม่คิดให้รอบคอบ เกิดกลัวความตายเหมือนฝรั่งตะวันตกไปเช่นเดียวกัน และนั่นเป็นวัฒนธรรมของฝรั่งอันแรกๆ ที่ผู้เขียนสังเกตเห็น โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของชาวตะวันตกอย่างไร ก็อยากจะบอกเสียตอนนี้และเดี๋ยวนี้ว่า การกลัวตายนั้นกลัวได้ เพราะเป็นธรรมชาติของความไม่รู้ แต่ว่าเราจะต้องไม่กลัวถึงขนาดที่ชาวตะวันตกกลัว เพราะเรารู้ตามที่ศาสนาพุทธสอนเราว่า เราเองก่อประกอบขึ้นด้วยรูปกับนาม หรือกายกับจิต ฉะนั้น ความตายของเราจึงเป็นความตายของกายเท่านั้นที่แน่นอน เราต้องคืนร่างกายที่มี 3 มิติของเรา คืนให้กับโลกที่มี 3 มิติเช่นเดียวกัน จะให้เราทำอย่างอื่นได้อย่างไรอีกในกรณีนี้ แต่จิตที่เป็นเราที่แท้จริง ไม่ได้ตายไปจริงๆ ทั้งหมด แต่เราจะต้องมีการ “เกิดใหม่” มารับความทุกข์ต่อไปจนกว่าจะสิ้นกรรมหรือบรรลุนิพพาน  ส่วนจิตรู้ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าใจอันเป็นแต่ตัวรู้ จะต้องตายไปจากโลกเช่นเดียวกัน เพราะตั้งแต่นี้ต่อไปเราไม่ต้อง “รู้” เรื่องของโลก 3 มิติอันเป็นเพียง “มายา” เพื่อให้เราอยู่ได้รอดและปลอดภัยในโลก 3 มิติโลกนี้อีกต่อไป จิตสำนึกจึงเป็นเพียงตัวเชื่อมประสานระหว่างภายในกับภายนอก จิตสำนึกก็เป็นเหมือนกับสมองคือเป็นกาย แต่ประเด็นที่ว่า สิ่งอะไรหรืออะไรหรือ? ที่สมองต้องบริหารจัดการ? อันนี้ต้องฝากคำถามไว้กับทุกคนคิดเองว่า มนคืออะไรกันแน่

                                                                                                              อาจารย์อภิเดช  นวลเกลี้ยง  

                                                                                                     วิทยาลัยเทคโลยีหาดใหญ่อำนวยวิทย์


คำสำคัญ (Tags): #kmanw#kmanw3#kmamw2
หมายเลขบันทึก: 534267เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2013 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2013 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท