การฉ้อราษฎร์บังหลวง ตอนทีี่ 6 สาเหตุของการฉ้อราษฎร์บังหลวงของไทย


2. สาเหตุการฉ้อราษฎร์บังหลวงในมุมมองของไทย

ผมได้อธิบายถึงสาเหตุการคอร์รัปชันของประเทศไทยในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสาระสำคัญอยู่ที่เจ้าหน้าที่รัฐ หรือนักการเมืองชั่งน้ำหนักดูแล้วว่า ผลประโยชน์ที่ได้จากการคอร์รัปชันนั้นสูงกว่า” ต้นทุนของการคอร์รัปชัน โดยต้นทุนของการคอร์รัปชันประกอบไปด้วยต้นทุนจากโอกาสที่จะถูกจับได้กับต้นทุนจากโอกาสที่จะถูกดำเนินคดี ซึ่งในมุมมองของผู้ที่คอร์รัปชันเห็นว่าต้นทุนดังกล่าวต่ำกว่าผลประโยชน์ที่พวกเขาได้รับจากการคอร์รัปชัน

อย่างไรก็ตามถ้าผู้ที่ไม่คิดจะฉ้อราษฎร์บังหลวงก็เพราะพวกเขาเห็นว่าต้นทุนจากการคอร์รัปชันและมีคุณธรรม (Integrity) ที่คอยยับยั้งชั่งใจอยู่นั้นสูงกว่าสินบนที่ได้จากการคอร์รัปชัน ต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนส่วนตัว เช่น ความมีชื่อเสียงก็นับเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง คนเหล่านี้ไม่อยากให้มีมลทินหรือแปดเปื้อนกับการคอร์รัปชัน

  ในวันนี้เราจะได้ทำความเข้าใจกันเรื่องสามเหลี่ยมเหล็ก ซึ่งเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ-ข้าราชการ และพ่อค้านักธุรกิจ ดังนี้


จากภาพข้างบน กลุ่มนักการเมืองหรือฝ่ายบริหารที่ต้องออกกฎหมายหรือบริหารราชการแผ่นดินนั้นมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ซึ่งกลุ่มใหญ่ในกลุ่มนี้คือกลุ่มพ่อค้านักธุรกิจ ขณะเดียวกัน กลุ่มนักการเมืองซึ่งเป็นยอดบนของสามเหลี่ยมเหล็กก็จะเป็นผู้กำกับดูแลและให้นโยบายกับกลุ่มข้าราชการ (Bureaucracy) หรือเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐจะคอยทำหน้าที่นำนโยบายของกลุ่มนักการเมืองที่บางนโยบายก็ถูกส่งต่อมาจากกลุ่มผลประโยชน์ที่มีพ่อค้านักธุรกิจอยู่เบื้องหลัง ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายต่อหลายครั้งนักการเมืองทั้งที่มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีหรือ ส.ส. ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายจะพยายามทำหน้าที่เป็น“นายหน้าค้าโครงการรัฐ”โดยผ่านการผลักดันจากกลุ่มพ่อค้าและนักธุรกิจ

ตัวอย่างการคอร์รัปชันที่แสดงบทบาทของคน 3 กลุ่ม ได้อย่างชัดเจนที่สุด คือการคอร์รัปชันในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (Corruption in Public Procurement) ที่มีผู้เกี่ยวข้องทั้งนักการเมือง พ่อค้านักธุรกิจ และข้าราชการในทุกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งแต่การริเริ่มโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ การประมาณราคากลาง การกำหนดสเป็ค การลงนามในสัญญา การบริหารสัญญา จนกระทั่งการตรวจรับงาน


การศึกษาวิชาคอร์รัปชันและทุจริตวิทยานั้นมีความ “ละเอียดอ่อน” มาก เพราะการอธิบายพฤติกรรมการคอร์รัปชันด้วยแนวทางใดแนวทางเดียวนั้นเห็นทีจะ “ไม่พอ” ดังนั้น การศึกษาวิชานี้จึงเป็นการศึกษาที่ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่มนุษย์เรายังมี “กิเลส” มีความโลภ และขาดความยับยั้งชั่งใจในการใช้อำนาจ


หนังสืออ้างอิง

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.ความหมายของคอร์รัปชัน.

government.polsci.chula.ac.th/Article/coruption.doc  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน2556

สรวิศ   อยู่รอด.ความเรื่อง การคอรัปชั่นในระบบราชการไทย. http://sd-group2.blogspot.com/2012/12/53242643.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-studies/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 1. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-studies-1/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 2. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-assessment-in-thailand-2/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 3. http://thaipublica.org/2013/02/corruption-assessment-in-thailand-3/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน2556

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง 4. http://thaipublica.org/2013/03/corruption-assessment-in-thailand-4/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556 


หมายเลขบันทึก: 534112เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2013 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท