เรียนรู้ผักพื้นบ้านล้านนา 2


การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเรื่องการดำรงชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงแต่ไม่ควรลืมวิถีความเป็นอยู่แต่ดั่งเดิม

ต่อจากบันทึกที่แล้วค่ะ ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องผักพื้นบ้านล้านนานี้ มี  6 แผนการจัดการเรียนรู้ 

บันทึกนี้ขอนำเสนอแผน ฯ ที่ 2  เรื่องประโยชน์ของผักพื้นบ้านล้านนาค่ะ


( นำเสนอกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม)


                                                      แผนการจัดการเรียนรู ที่ 2

 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  เรื่อง ผักพื้นบ้านล้านนา  เรื่องประโยชน์ของผัก และสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา  

รายวิชาช่างอาหารพื้นเมือง (ง20205 (สาระเพิ่มเติม)   ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1  จํานวน   2  ชั่วโมง

ชื่อผูสอน นางรุจี  เฉลิมสุข  โรงเรียนสันทรายวิทยาคม  จังหวัดเชียงใหม่   สพม. 34

..............................................................................................................................................................

1. มาตรฐานการเรียนรู/ผลการเรียนรู้

  มาตรฐาน 1.1 เข้าใจการทำงานมีความคิดสร้างสรรค์มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ

  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้  มีคุณธรรม  และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม  เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ผลการเรียนรู

พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันในการทำงานกลุ่มเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของผักและรู้จักผักที่เป็นสมุนไพรของพื้นบ้านล้านนา

สาระสำคัญ

การสร้างความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการทำงานกลุ่มในเรื่องประโยชน์ของผักพื้นบ้านล้านนาสามารถพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่มอย่างเป็นระบบมีวิธีการแก้ปัญหา การจัดการดยเน้นทักษะการคิด และทักษะการทำงานกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายประโยชน์ของผักพื้นบ้านล้านนาได้

2. สามารถบอกผักพื้นบ้านล้านนาที่เป็นสมุนไพรได้

3. สามารถทำงานกลุ่มร่วมกันด้วยการออกแบบการนำผักพื้นบ้านทำเป็นอาหารได้

4. มีพฤติกรรมการใฝ่เรียนรู้ในการทำงานกลุ่มร่วมกันอย่างมีความสุข

5. สามารถคิด วิเคราะห์ได้

สาระการเรียนรู้

ความรู้

1. ประโยชน์ของผักพื้นบ้านล้านนา

2. ผักที่เป็นสมุนไพรของพื้นบ้านล้านนา

ทักษะ/กระบวนการ

1. ทักษะการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะ อันพึงประสงค์

ใฝเรียนรู

สมรรถนะสําคัญของผูเรียน

ความสามารถในการคิด

ภาระงาน / ชิ้นงาน

- บันทึกการสืบค้น เรื่อง การกำหนดแนวทางการเรียนรู้

- แผนผังความคิดเรื่องประโยชน์ของผักพื้นบ้านล้านนา

กิจกรรมการเรียนรู

ขั้นเชื่อมโยงปัญหาและระบุปัญหา

1.  ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตาม

อาหารหลัก 5 หมู่ และหลักโภชนาการ

  2.   นักเรียนสังเกตรูปภาพคนที่มีอาการท้องผูกและคนที่มีอาการปกติ สุขภาพดี อภิปราย

  3.  นักเรียนแบงกลุม ๆ ละ 5  คน ระดมพลังสมองในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาการเกิดท้องผูกเพราะอะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ประเด็นปัญหา

1.  การเกิดอาการท้องผูกเพราะอะไร 

2.  จะมีผลต่อสุขภาพอย่างไร

3.  ผักและสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา

  จะช่วยให้สุขภาพร่างกายดีได้อย่างไร

ขั้นกำหนดแนวทางที่เป็นไปได้

4. แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกทุกคนโดยให้สมาชิก ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

   - วิเคราะห์ภาระงาน

  -  วางแผนการทำงาน

  -  ลงมือปฏิบัติงาน

  -  ประเมินผลงาน

โดยให้เขียนแนวทางในการสืบค้นถึงสาเหตุการเกิดอาการท้องผูก ที่เกี่ยวกับผักและสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา

5. นักเรียนระดมพลังสมองโดยระบุแนวทางในการสืบค้นที่เป็นไปได้ และได้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยแต่ละกลุ่มบันทึกลงใน แบบบันทึกเรื่อง การกำหนดแนวทางการเรียนรู้

ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า

  6. นักเรียนกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในกลุ่มโดยบอกวิธีการทำงานที่จะเกิดผลสำเร็จนั้นควรทำอย่างไรบ้างของแต่ละคน แล้วให้แยกกันไปศึกษาค้นคว้าตามแนวทางที่ได้ระบุไว้

ขั้นสังเคราะห์ความรู้

7. นักเรียนในแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นมาอภิปรายร่วมกันในกลุ่มแล้ว สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ของผักพื้นบ้านและสมุนไพร กับโรคท้องผูก และศึกษาใบความรู้ที่ 1 เรื่องประเภทของผักพื้นบ้านล้านนา

ขั้นสรุปและประเมินค่า

8. แต่ละกลุ่มสรุปผลการศึกษาของกลุ่มตนเองเพื่อนำเสนอหน้าห้องเรียนให้กลุ่มอื่นๆ และอภิปรายร่วมกันในหัวข้อสาเหตุของการเกิดอาการท้องผูก และการกินอาหารประเภทผักต่างๆ โดยเฉพาะผักที่เป็นสมุนไพร

9. ครูรวบรวมคําตอบโดยการสุมถามในแตละกลุม จากนั้นครูสรุปเพิ่มเติมในประเด็น

10. ใหตัวแทนนักเรียนนำเสนอประโยชน์ของผักพื้นบ้านล้านนา เช่น ผักกินใบ ผักกินผล

และเมล็ด

ขั้นนำเสนอ และประเมินผลงาน

11.  นักเรียนดำเนินการสรุปองค์ความรู้จากการศึกษาเป็นแผนผังความคิดลงใน

กระดาษชาร์ทแล้วนำเสนอ เพื่อให้ครูและเพื่อนๆในห้อง ประเมินผลงานการทำงานกลุ่ม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของนักเรียน

สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้

1. รูปภาพคนที่มีอาการท้องผูกและคนที่มีอาการปกติ

2. ใบความรู้ที่ 1 เรื่องประเภทของผักพื้นบ้านล้านนา

3. ใบงานที่ 1 เรื่องการกำหนดแนวทางการเรียนรู้

4. กระดาษชาร์ท / สีเมจิก

5. สื่อทางอินเตอร์เน็ต /เว็ปไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  - http://www.lannafood.com/lanna_vegetable.php

  - http://kwangkrung.com/forum/index.php?topic=119.30

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

เป้าหมาย

วิธีวัด

เครื่องมือวัด

เกณฑ์ประเมิน

ด้านความรู้

1. อธิบายประโยชน์ของผักพื้นบ้านล้านนาได้

2. สามารถบอกผักพื้นบ้านล้านนาที่เป็นสมุนไพรได้

1. การซักถามปัญหา

2. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียน

2.  การสรุปความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติงานกลุ่ม

1. แบบบันทึกการกำหนดแนวทางการเรียนรู้

2. แบบบันทึกการทำงานกลุ่ม

จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ   80

ด้านทักษะกระบวนการ

3. สามารถทำงานกลุ่มร่วมกันด้วยการออกแบบการนำผักพื้นบ้านทำเป็นอาหารได้

1. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียน

2.  การสรุปความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติงานกลุ่ม

2. แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม

จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ    80

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

4. มีพฤติกรรมการใฝ่เรียนรู้ในการทำงานกลุ่มร่วมกันอย่างมีความสุข

3.  สังเกตพฤติกรรม

การใฝ่เรียนรู้ของกลุ่ม

3.  แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ    80  

ด้านสมรรถนะสำคัญ

5. สามารถคิด วิเคราะห์ได้

สังเกตพฤติกรรม

การนำเสนองาน

3.  แบบประเมินสมรรถนะสำคัญ

นักเรียนที่ได้

ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ  80

                                                        

                                                      

                                                                      (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)


หมายเลขบันทึก: 533969เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2013 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2015 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)


             

ฝักเพกา ..... นำมาเผา .... แล้วลอกเปลือกออก .... หั่นบางๆเหมือนหน่อไม้ นำมาผัดไข่อร่อยแบบสุดๆๆ นะคะ

-สวัสดีครับครู....

-ตามมาดูแผนการสอน...หากผมเป็นนักเรียนคงชอบวิชานี้มาก ๆครับ 55

-"ในการดำรงชีวิตประจำวัน กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง...แต่ก็ไม่ควรลืมวิถีความเป็นอยู่แต่ดั่งเดิม" ครับ..

-ขอบคุณครับครู

ชอบค่ะ สมุนไพรบ้านเรา

พี่ครูตูมเจ้า

ขอแสดงความยินดีกับรางวัลสุดคะนึงอีกรอบค่ะ สุดยอดแห่งความเหมาะสมจริงๆ

วันหน้าจะไปขอคำปรึกษาเรื่องผักไม้บ้านเฮานะเจ้า ;)))

ทำให้พี่ดามีการบ้านด้วยเลย ว่า ผักพื้นบ้านมีผักอะไรบ้างที่ทำให้ไม่ท้องผูก ช่วยให้ระบายท้อง ดีมากเลยค่ะ ทำให้ต้นตว้า เรียนรู้จริง และนำไปใช้ตั้งแต่เดี่ยวนี้จนถึงเป็นผู้ใหญ่หรือสอนผู้อื่นได้ด้วย  ผักดีต่อสุขภาพมากทุกวัย  สนับสนุนและให้กำลังใจนักเรียนทุกคนนะคะ

 ใช่ค่ะ เพกา อยู่ปลายฟ้า เผาแล้วผัดกับเครื่องปรุงอร่อยค่ะ  ทางเหนือเรียก มะลิดไม้

  น้องเพชรเป็นนักเคหกิจแบบนั้นดีแล้วล่ะ สนุกกับชาวบ้าน  เป็นนักเรียนจะไม่ยอมโตสักที  อิอิ

  สมุนไพรมีคุณค่าหาง่ายในสวนครัวเรานะคะ

   ยินดีจ๊าดนักเจ้า น้องสาว มาแอ่วก็เอิ้นเน้อเจ้า

   เด็กๆ เค้าจะหาผักที่มีเส้นใยเซลลูโลสค่ะ เช่นผักสีเขียว ผักพื้นบ้าน ผักแคบ ผักปั๋ง ค่ะ


"ไอดิน-กลิ่นไม้" ชื่นชมว่า นี่เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ มีองค์ประกอบครบถ้วน ละเอียดชัดเจน และสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้เรียน จึงมีคุณค่ามากค่ะ เหมาะที่ครูบาอาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง 

แวะมาเรียนรู้เรื่องผักพื้นบ้าน
น่าสนใจมากค่ะ

 ขอบคุณพี่ใหญ่มากค่ะ

  ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ให้กำลังใจในการพัฒนากระบวนการค่ะ

  ขอบคุณมากค่ะที่สนใจเรื่องผักพื้นบ้านค่ะ แต่งกลอนเรื่องผักบ้างนะคะ

                        

           มาเรียนรู้ผักพื้นบ้าน  ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท