KM00130 : คิดไปเรื่อย 22 "หมั่นเขี้ยว"


"หมั่นเขี้ยว" วันก่อนลูกคนเล็กเข้ามากอดอย่างแน่นแล้วบอกว่า "รักป๊าจัง" จากนั้นก็กัดเข้าที่ไหล่ผมอย่างแรง "โอ๊ย" ผมร้องเพราะเจ็บ พอเปิดเสื้อออกมาดู โอ้ เป็นรอยฟันลูกเลย ความรู้สึกของ "พ่อ" ที่ถูกลูกกัดมันบอกไม่ถูก แว๊บแรกมันมีแต่ความรู้สึกเจ็บแต่ไม่มีความ "โกรธ" เจือปน และรู้ได้ในวินาทีเดียวกันว่าเป็น "ความเจ็บที่เกิดจากความรักของลูก" หลายคนคงเคยเป็นนะครับ บางครั้งเราอาจมีความรู้สึกอะไรที่มันมากๆ บอกไปถูก ทำอะไรไม่ถูก ก็อาจมีอาการแบบนี้ได้ ในสัตว์เราอาจเคยเห็นในสารคดีที่บางทีก็หยอกล้อกันด้วยการ "กัด" กัน นักฟุตบอลที่เป็นข่าวว่าไป "กัด" เขา โดยหาว่า "ใช้ความรุนแรง" อาจไม่ใช่ก็ได้ แต่อาจเกิดจากความรักอีกฝ่าย (ฮา) และนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมโดยลูกกัน ครั้งหนึ่งเจ้าลูกคนโตตอนวัยเดียวกับเจ้าตัวเล็กก็เคยกัดไหล่ผมจนเลือดซิบ และก็มีความเหมือนกันอีกอย่าง คือ หลังจากผมร้อง "โอ๊ย" แล้ว ทั้งสองก็ร้องไห้ต่อ อาจเพราะตกใจกับเสียงผม และพอนึกได้ก็กลัวพ่อเจ็บ (อันนี้ถามเขาหลังจากร้องไห้ไปซักพัก) เด็กจึงมักรู้สึกผิดเมื่อเผลอไปทำอะไรกับคนที่เขารัก คนโดยกัดก็เลยต้องปลอบคนกัดไปตามระเบียบ "หมั่นเขี้ยว" จึงเป็นความรู้สึกที่อยากทำอะไรแรงๆ แต่เป็นเชิงบวก ส่วน "หมั่นไส้" ไม่ต่างกันมาก แต่เป็นเชิงลบ เพราะอยากทำอะไรแรงๆ เหมือนกัน แต่กับคนที่ไม่ชอบ ข้อดีของ "หมั่นไส้" คือ ไม่ลงมือ แต่แค่คิดเท่านั้น ส่วน "หมั่นโถว" นั้นตรงข้ามกับ "หมั่นไส้" เพราะไม่มี "ไส้" ครับ ราตรีสวัสครับ 

คำสำคัญ (Tags): #หมั่นเขี้ยว
หมายเลขบันทึก: 533716เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท