บทคัดย่องานวิจัย 2


ชื่อเรื่อง       การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา    

                  ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต  1

ผู้วิจัย          นายอุทัย  วรสิทธิ์ 

ตำแหน่ง     รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

หน่วยงาน    โรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทอง ตำบลป่าไม้งาม  อำเภอเมือง  จังหวัดหนองบัวลำภู

ปีที่พิมพ์      2556

                                                                                  บทคัดย่อ

              งานวิจัยการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต  1 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต  1เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Methods )  โดยใช้รูปแบบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  ( Participatory Action  Research : PAR ) ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของ  Kemmis. & Mc Taggart ซึ่งมีการดำเนินการ  4  ขั้นตอน คือ ขั้นการร่วมกันวางแผน  ( Plan )  ขั้นการร่วมกันปฏิบัติการ ( Act )  ขั้นการร่วมกันสังเกตการณ์  ( Observe )  และขั้นการร่วมกันสะท้อนผล  ( Reflect )  และในกระบวนการมีส่วนร่วมนั้นผู้วิจัยใช้รูปแบบการประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมหรือที่เรียกว่าเทคนิค A-I-C ( Appreciation Influence Control )  ซึ่งมีการดำเนินการ  3  ขั้น คือ ขั้นตอนการสร้างความรู้  ( Appreciation หรือ A )  ขั้นตอนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence หรือ I)  และขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ  ( Control หรือ C )โดยมีคณะผู้วิจัยที่มาจากภายในและนอกโรงเรียน ได้แก่  รองผู้อำนวยการโรงเรียน (ผู้วิจัย) ครู  กรรมการนักเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนและตัวแทนชุมชน รวม  74  คน  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การพรรณนาข้อมูล และการวิเคราะห์หา  ค่าเฉลี่ย  (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) ของข้อมูล ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

              ขั้นการเตรียมการ พบว่า  ผู้ร่วมวิจัยได้เกิดความตระหนักในความสำคัญและความจำเป็นของแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  และได้รับการพัฒนาโดยการศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้  สภาพปัจจุบันของแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่พบ คือ ผู้ปกครองและคณะผู้วิจัยส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เท่าที่ควร และครูซึ่งเป็นตัวแทนในกลุ่มผู้วิจัยที่มาจากในโรงเรียนก็ยังมีการใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  การใช้แหล่งเรียนรู้ เพื่อการจัดการเรียนการสอนยังมีน้อย  แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่มีอยู่ถูกใช้ประโยชน์  เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย  อาจเนื่องมาจากสภาพของแหล่งเรียนรู้ไม่เอื้อต่อการใช้งาน  การดูแลแหล่งเรียนรู้ให้มีสภาพพร้อมใช้งานเป็นไปน้อย  กล่าวคือขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร  เช่น  ห้องสมุดมีหนังสือน้อยไม่หลากหลาย  มีสื่อ Internet  เพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน  การจัดสภาพแวดล้อมในห้องสมุดไม่เหมาะสมหรือไม่เอื้อต่อการใช้งานเพียงพอ  พื้นที่บางส่วนในบริเวณโรงเรียนไม่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการเรียนรู้อย่างคุ้มค่า  ในห้องคอมพิวเตอร์มีคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้  ที่มีอยู่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งานเท่าที่ควร  เครื่องเก่าไม่ทันสมัย ระบบ Internet  ไม่มีประสิทธิภาพดีพอ  ปัญหาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน  โรงเรียนไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการดำเนินการจัดซื้อ  จัดหาสื่อ/อุปกรณ์ เพื่อการดำเนินการให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย  โรงเรียนขาดแคลนสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ที่ใหม่และทันสมัย  เพื่อให้นักเรียนใช้ในการสืบค้นข้อมูลทาง  Internet  ห้องสมุดโรงเรียนไม่สามารถให้บริการแก่นักเรียนและชุมชนได้อย่างเต็มที่  เนื่องจากมีหนังสือหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ  อีกทั้งเวลาในการให้บริการแก่ชุมชนนั้นไม่สอดคล้องกันกับเวลาดำเนินการของโรงเรียน  ซึ่งภายหลังทำการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลประกอบกับการพิจารณาตัดสินใจร่วมกันของคณะผู้วิจับ  ได้ข้อสรุปว่าแหล่งเรียนรู้ที่ต้องได้รับการพัฒนา ได้แก่  1) ปรับปรุงสมุดให้สามารถให้บริการแก่ผู้เรียนและชุมชนได้อย่าง  2) จัดมุมชุมชนรักการอ่านโรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทอง  และ 3) ปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่เสริมไอโอดีน โรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทอง 

              ขั้นการดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนโคกกลางใหม่โพธิ์ทองในครั้งนี้  เมื่อพิจารณา เรื่องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้  พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (X= 4.47) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการร่วมกันสะท้อน (Reflect)  ด้านการร่วมกันปฏิบัติการ (Act ) ด้านการร่วมกันวางแผน (Plan) และด้านการร่วมกันสังเกตการณ์  ( Observe )  ตามลำดับ และระดับความพึงพอใจ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีระดับความพึ่งพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 4.42)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย  พบว่า  ด้านการร่วมกันปฏิบัติการ  ( Act )  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านการร่วมกันสะท้อน  ( Reflect)  ด้านการร่วมกันวางแผน ( Plan ) ด้านการร่วมกันสังเกตการณ์      (Observe)  ตามลำดับ

หมายเลขบันทึก: 533697เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท