หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์


1. กำหนดนิยามของคำต่อไปนี้
"เวรรักษาการณ์" หมายถึง เวรเฝ้าดูแลเหตุการณ์ประจำสถานที่นั้นๆ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด
"ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร" หมายถึง ผู้อยู่เวรรักษาการณ์นอกเวลาทำการ
"หัวหน้าเวร" หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรที่เป็นผู้ควบคุมพิจารณาตัดสินใจกรณีต่างๆ ในการปฏิบัติ
หน้าที่เวร
"ผู้ตรวจเวร" หมายถึง ผู้ตรวจตราดูแลการปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร
2. ให้กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วย
งานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการหรือหน่วยงานนอกเวลาราชการ
และในวันหยุดราชการตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อดูแลป้องกันความเสียหายอันจะบังเกิดแก่สถานที่ ราชการ หรือหน่วยงาน จากรณีต่างๆ
3. การจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรในแต่ละผลัด ให้มีหัวหน้าเวร 1 คน และผู้อยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เวรอีก 1 คน
หากส่วนราชการหรือหน่วยงานแห่งใดมีจำนวนผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรน้อยไม่สะดวกแก่การปฏิบัติ ให้ลดจำนวนผู้ปฏิบัติ หน้าที่เวรได้ตามความจำเป็น โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น
4. ในแต่ละผลัดของการจัดเวรรักษาการณ์ ให้มีผู้ตรวจเวร 1 คน โดยให้ผู้ตรวจเวรต้องเป็นผู้ดำรง
ตำแหน่งระดับที่สูงกว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร
5. การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับใดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ หรือผู้ตรวจเวร ให้อยู่ใน
ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นจะกำหนดตามความเหมาะสม
6. ให้จัดทำหลักฐานการจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวร โดยกำหนดวันเวลา และตัวบุคคลไว้ให้
แน่นอน
7. การจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวรของสตรี ให้จัดให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเวลากลางวันของ
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่โดยเฉพาะที่จะต้องปฏิบัติในเวลากลางคืน โดยจัดให้มี
มาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวรสตรีในกรณีนี้ด้วย
8. ถ้าปรากฏว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร หรือผู้ตรวจเวร จงใจละทิ้งหน้าที่ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษให้
เหมาะสมกับความผิดหรือความร้ายแรงแห่งกรณี
9. ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีหน่วยรักษาความปลอดภัยประจำสถานที่ราชการ หรือมีการ
จ้างเอกชนให้บริการ ดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย หรือหน่วยงานนั้นรับผิดชอบในเรื่องนี้โดย เฉพาะอยู่แล้ว จะไม่จัดให้มีเวรรักษาการณ์และผู้ตรวจเวรก็ได้
10. กรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีความจำเป็นไม่อาจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ ให้ผู้บังคับ
บัญชาใช้ดุลพินิจในการที่จะสั่งการ การอยู่เวรรักษาการณ์ตามความเหมาะสมได้ โดยไม่ให้เกิดผลเสียหายกับงาน และทรัพย์สินของทางราชการหรือหน่วยงาน

ที่มา : http://genad.obec.go.th/data/saisanom/safty36.pdf

คำสำคัญ (Tags): #เวรรักษาการณ์
หมายเลขบันทึก: 533186เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2013 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท