การเข้าทำงานในประเทศสวิสเซอร์แลนด์


แรงงานนอกประเทศแล่มสมาชิกสหภาพยุโรปจะสามารถเข้าไปทำงานในประเทศนี้ได้หรือไม่??

ลักษณะการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นเนื่องด้วยประเทศสวิสเซอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปซึ่งมีความคิดในการเปิดเสรีระหว่างประเทศสมชิกด้วยกัน

เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายเสรีบุคคลเป็นหนึ่งในเสรีภาพพื้นฐานที่กฎหมายประชาคมได้ให้หลักประกันและสิทธิต่อปัจเจกชนที่เป็นแรงงานที่จะอาศัยและทำงานในรัฐสมาชิกอื่นของประชาคม เพราะเสรีภาพเช่นนี้มีความจำเป็นโดยตรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปัจเจกชนและครอบครัว การเคลื่อนย้ายเสรีเป็นวิธีในการสร้างตลาดการจ้างงานของยุโรป ซึ่งมีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพเพราะได้สร้างความหวังในการหางานทำด้วยอนุญาตให้ปัจเจกชนอย่างมากมายต่อตลาสหภาพยุโรปและการเป็นตลาดเดียวของสหภาพยุโรปนั้นได้ให้สิทธิและโอกาสแก่พลเมืองรวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจไว้อย่างกว้างขวาง พลเมืองชาวยุโรปสามารถมีสิทธิอาศัยอยู่ มีสิทธิในการทำงาน มีสิทธิได้รับการศึกษาและซื้อสินค้า และการบริการในรัฐใดๆของ 25 รัฐสมาชิก ในขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจก็มีความสามารถในอันที่จะผลิต และจำหน่ายสินค้าและบริการให้แก่รัฐสมาชิกต่างๆในสหภาพยุโรปได้การขออนุญาตการทำงาน

โดยที่สนธิสัญญาก่อตั้งประชาคมยุโรป (European Community Treaty) ได้วางหลักไว้ชัดเจนในมาตรา 48 จนถึงมาตรา 51ของสนธิสัญญาดังกล่าว ที่มีทั้งหลักทั่วไปอันทำให้แรงงานทุกคนที่เป็นพลเมืองชาวยุโรปมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการเคลื่อนไหวโดยเสรี

เนื่องจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ใช้ คำว่า อนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือ วีซ่าเพื่ออยู่อาศัย (Residency Visa) ระบบควบคุมการอนุญาตให้คนต่างชาติพำนักอาศัยเป็นการรวมของการอนุญาตทั้งสองประเภทข้างต้น คือเป็นการได้รับอนุญาตให้ทำงานกับนายจ้างในสวิตเซอร์แลนด์ และพำนักอาศัยในสวิตเซอร์แลนด์ควบคู่กันไป และการขออนุญาตนี้จะกระทำได้โดยจะต้องให้ผู้ที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง หรือบุคคลซึ่งมีสิทธิขอนำญาติติดตามเข้าไปพำนักในสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ดำเนินการอย่างไม่มีการแบ่งแยกแรงงาน ให้ผลประโยชน์กับคนทำงาน ลูกจ้าง และรัฐสมาชิกในส่วนของการขออนุญาตทำงาน

เดิมสวิตเซอร์แลนด์ใช้ระบบ 3-Circle Model (ปี 1991 หรือ 2534) โดยจะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1บุคคลที่อยู่ใน EU/EFTA area สหภาพยุโรป เขตการค้าเสรียุโรป

2 บุคคลที่อยู่ในประเทศที่ทำการค้าและได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำงานในสวิตเซอร์แลนด์แต่เดิม

3 บุคคลจากประเทศอื่นๆ

ต่อมาสภาของสวิตเซอร์แลนด์ได้นำระบบ Dual Recruitment System มาใช้แทน เพื่อตอบสนองต่อความตกลงระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับ EU ที่อนุญาตให้บุคคลใน EU สามารถเดินทางเข้าออกได้อย่างอิสระ (Free Movement of Persons) ซึ่งมีผลใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2545 โดยบุคคลจาก ประเทศในกลุ่ม EU/EFTA ยังได้รับการพิจารณาให้ทำงานในสวิตเซอร์แลนด์ (gainfully employment) เป็นอันดับต้น และลดข้อจำกัดที่จะอนุญาตให้บุคคลที่มีคุณภาพหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานด้านใดจากประเทศอื่นๆเข้าไปทำงาน

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดโควตาจำนวนคนต่างชาติเข้าไปพำนักอาศัยและทำงานในแต่ละเขต(Canton) ซึ่งโควตาสำหรับบุคคลจากประเทศนอกสหภาพยุโรปจะมีระเบียบและข้อจำกัดค่อนข้างมาก โดยจะต้องพิจารณาจากโควตาในแต่ละเขต จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นงานที่ไม่สามารถหาคนสวิสฯหรือจากสหภาพยุโรปทำงานได้ และสัญญาจ้างและค่าจ้างต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสวิสเซอร์แลนด์

หลักการในการเดินทางเข้าไปทำงานในสวิตเซอร์แลนด์ที่สำคัญ คือ บุคคลที่เดินทางเข้าประเทศโดยวีซ่าท่องเที่ยวจะไม่สามารถเปลี่ยนสภาพหรือขออนุญาตทำงานในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ บุคคลที่ประสงค์จะเข้าไปทำงานในสวิสเซอร์แลนด์ จะต้องมีนายจ้างดำเนินการขออนุญาตทำงานให้กับบุคคลนั้นและได้รับอนุญาตจากทางการสวิตเซอร์แลนด์แล้ว (และได้แจ้งผลให้สถานทูตในประเทศต้นทางทราบ) จึงจะขอวีซ่าจากประเทศต้นทางเพื่อเดินทางเข้าไปขอเปลี่ยนสภาพเป็นผู้พำนักอาศัยและทำงาน

เนื่องจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป  ซึ่งได้มีการเปิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน  ทำให้แรงงานที่จะเข้าไปทำงานในประเทศนี้ที่อยู่นอกลุ่ม  เข้าไปทำงานได้แต่เกิดความยากลำบากมากขึ้น  และถ้าเปรียบเทียบกับการควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวของประเทศไทยแล้วก็จะพบได้ว่ามีความแตกต่างกัน  ก็คือ  มีการกำหนดโควต้าแรงงานที่เข้มงวดมาก  โดยการที่จะรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานต้องปรากฏว่าไม่สามารถที่จะหาแรงงานในประเทศของตนหรือกลุ่มประเทศสมาชิกได้อีก  และต้องการขอใบอนุญาตต้องทำโดยนายจ้างเท่านั้น  คนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้

จากการที่ศึกษาการทำงานของแรงงานต่างด้าวมาทั้ง 3 ครั้ง  ก็จะพบได้ว่ากฎหมายของประเทศไทยมีความแตกต่างจากทั้งสองประเทศอย่างสิ้นชิง  โดยกฎหมายของไทย  มีเพียงบทบัญญัติที่กล่าวถึงงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ  แต่ไม่มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงโควต้าและการควบคุมนายจ้างเหมือนดังประเทศอื่นๆ  ถ้าได้มีการควบคุมนายจ้างควบคู่กันไปเหมือนดังประเทศอื่นๆ  น่าจะทำให้การควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 53314เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ไม่น่าจะจริง แต่เค้าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ถ้าต่างกลุ่มเข้าไปทำจะได้รับการปฏิบัติต่างกันหรือเปล่านะ

การหางานในสวิตฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากหลายปัจจัย เช่นภาษา คนส่วนใหญ่ที่นี้ไม่พูดภาษาอังกฤษ อีกอย่างเป็นจริงตามบทความเลยคะ ดิฉันอยู่สวิตฯ มาหางานไม่ได้เลยคะ แม้แต่งานทำความสะอาด ยังหายาก

นางสาวธันยนันท์ ปินตาเชื้อ

อยากไปเปิดร้านที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จะได้ช่วยคนไทยที่นั่น คนไทยจะได้มีงานทำช่วยสามี อีกอย่างมีแฟนอยู่สวิสเซอร์แลนด์ สงสารแฟนค่ะ อยากช่วยแฟนด้วย ตอนนี้ก็ฝึกเรียนภาษาเยอรมันทุกวันเพื่อจะพูดได้มากกว่าเดิม เข้าใจมากกว่าเดิม รักแฟนค่ะ ทำงานคนเดียว ตอนนี้ยังไม่มีงานทำอยู่ที่จังหวัดลำปางค่ะ พยามหาที่เปิดร้านอยู่ พยามทุกอย่าง กลุ้มใจเหมือนกันให้กำลังใจคนที่อยู่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ด้วยนะคะ สู้สู้ ติดต่อมาได้นะคะ +6694555148 ยินดีช่วยเหลือค่ะ

อยากทำงาน ตอนนี้มองหาร้านนวดไทย ในเขต ซูริค ค่ะ มีพี่ๆคนไหนพอจะแนะนำได้บ่างไหมค่ะ มาสวิทเซอร์แลนด์ 2 ครั้งแล้วค่ะ ไปๆมาๆ ตอนนี้กำลังเรียนภาษาอยู่..ขอบคุนค่ะ

วัณณุวรรธน์ ปิยะจันทร์

พอดีมีญาติเปิดร้านอาหารเล็กๆแนวสตรีทฟู้ด เลยอยากไปทำงานกับเขา อยากทราบเงื่อนไขในการไปสวิตเซอร์แลนด์ครับเพราะตอนนี้เขาก็จ้างคนงานเป็นชาว อิตาลี อยากทราบว่ามีวิธีไหนไปได้บ้าง1.ไปในฐานะลูกจ้าง2.ไปในฐานะญาติ3.ไปในฐานะนักท่องเที่ยวก่อนแล้วค่อยขอใบอนุญาตทำงาน

วัณณุวรรธน์ ปิยะจันทร์

พอดีมีญาติเปิดร้านอาหารเล็กๆแนวสตรีทฟู้ด เลยอยากไปทำงานกับเขา อยากทราบเงื่อนไขในการไปสวิตเซอร์แลนด์ครับเพราะตอนนี้เขาก็จ้างคนงานเป็นชาว อิตาลี อยากทราบว่ามีวิธีไหนไปได้บ้าง1.ไปในฐานะลูกจ้าง2.ไปในฐานะญาติ3.ไปในฐานะนักท่องเที่ยวก่อนแล้วค่อยขอใบอนุญาตทำงาน

กำลังมองหางานทำที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เช่นแม่ครัวพ่อครัว หรืองานเติมสินค้าซุปเปอร์มาร์เก็ท อายุ42ปี สามีอายุ58ปี

ดวงจันทร์ ศิริจันทรานนท์

อยากไปทำงานที่ร้านอาหารไทยในประเทศสวิสเซอร์แลนด์มีวิธีไหนไปได้บ้างค่ะ

เป็นหมอนวดคะ อยากไปทำงานสวิตเซอร์แลนด์คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท