ม่านหมอก...Sfumato (๑)


Sfumato = Going Up in Smoke

              ใน weekly meeting สคส. วันนี้ดิฉันเป็นผู้นำเสนอเรื่อง Sfumato ซึ่งเป็นหลักข้อที่ ๔ ของ Part 2 The seven da vincian principle หนังสือ How to think like Leonardo Da Vinci….เป็นการนำเสนอที่แสนสนุกสำหรับดิฉันเลยนะคะ....

              ในครั้งแรกที่อ่านดิฉันไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่กับคำว่า “Sfumato” เพราะหนังสือเล่มนี้ได้แปลว่า “Going Up in Smoke”....นี้เป็นหลักอะไรของ Leonardo นะ??..หลักกลายเป็นหมอกควันหรือดั่งควันไฟ คืออะไร??.......แต่พออ่านไปเรื่อยๆ และหาข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า “Sfumato” เพิ่มเติม ก็พอจะเข้าใจว่า 
            หลักข้อนี้ใช้คำว่า “Sfumato” เพราะเป็นเทคนิคภาพสีหม่นที่เป็นแบบฉบับของ Leonardo เป็นการลงสีที่บางและเบาเหมือนหมอกหรือควันจางๆ โดยไม่มีเส้นตัดหรือขอบที่ชัดเจน ประกอบกับภาพส่วนใหญ่ของ Leonardo เป็นภาพที่มองได้หลายแง่ ตีความได้หลายมุม ตามแต่ผู้มองภาพจะจินตนาการ........
           ประเด็นสำคัญของหลัก “Sfumato” จึงเป็นการฝึกให้เรามี ความพร้อม / ความเต็มใจ ที่จะต้องเผชิญกับความคลุมเครือ (Ambiguity) ความขัดแย้ง (Paradox) และความไม่แน่นอน (Uncertainty) ผู้เขียนกล่าวว่า จาก ๓ หลักก่อนหน้านี้ คือ
           - curiosita (การสืบเสาะแสวงหาความรู้ใหม่) 
           - dimonstrazione (การพร้อมที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์) 
           - sensazione (การเรียนรู้จากประสาทสัมผัส)  
        หลักที่ ๓ ข้อนี้ล้วนเป็นบุคลิกลักษณะนิสัยที่ฝั่งลึกอยู่ในตัว Leonardo    ซึ่งถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้ว หลัก ๓ ข้อดังกล่าว ล้วนมีต้นเหตุมาจากความสงสัย ความคลุมเครือ ความขัดแย้ง และความไม่แน่ใจ ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงแสดงว่า Leonardo เผชิญอยู่ในสภาพ Sfumato อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งนี้แหละที่เป็นตัวกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้กับ Leonardo เพราะต้องคิดและจินตนาการอยู่เสมอ  ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ Leonardo เป็นอัจฉริยะของโลก

            ปัจจุบันเราก็ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ความคลุมเครือ และความขัดแย้งต่างๆ ในการดำรงชีวิต  ดังนั้นถ้าเราฝึกฝนให้ยอมรับหรือรับมือกับความไม่แน่นอนและความสับสนเหล่านี้ได้..จะทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น....และอาจทำให้เราเป็นอัจฉริยะเหมือนอย่าง Leonardo ก็เป็นได้.........สำหรับวิธีการฝึกของหลัก Sfumato นั้น...จะขอพูดถึงใน  ม่านหมอก....Sfumato (๒) นะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 53299เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท