chacha2907
ฝ่ายอำนวยการ สพจ.ปทุมธานี CDD Pathum thani

บ้านศาลาแดงเหนือ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ


ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

  หมู่บ้านศาลาแดงเหนือเป็นหมู่บ้านของคนไทย  เชื้อสายมอญ  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒  ตำบลเชียงรากน้อย  อำเภอสามโคก  จังหวัดปทุมธานี  บรรพชนของชาวบ้านศาลาแดงเหนือส่วนใหญ่อพยพมาจากเมือง เมาะตะมะ  (หรือเมาะลำเลิง)  เนื่องจากพ่ายแพ้สงครามพม่า  จึงพากันอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระ บรมโพธิสมภารใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ซึ่งเป็นการอพยพครั้งที่ ๘ ของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย    ผู้นำมอญหลายคนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางดูแลปกครองมอญด้วยกัน  ภายใต้ความคุ้มครองของราช สำนักไทย

ปัจจุบันชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ  เป็นชุมชนขนาดเล็ก  มีเนื้อที่  ๑,๓๔๐ ไร่  เป็นที่อยู่อาศัย  ๒๐๐ ไร่  พื้นที่การเกษตร  ๑,๐๘๕ ไร่  ที่สาธารณะ  ๔๕  ไร่

   การประกอบอาชีพดั้งเดิมคือการเดินเรือค้าขายสินค้าเช่น  โอ่ง  อ่าง  หม้อ

 กระถาง  เครื่องปั้นดินเผา ถ้วยชาม  ไตปลา  ปูเค็ม  ปัจจุบันยังคงอาชีพเดิมบ้าง 

 แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีรายได้จากบุตรหลาน  ซึ่ง  ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงาน

 อุตสาหกรรม  ฯลฯ ส่วนพื้นที่นา  จะให้ชุมชนหมู่บ้านอื่นเช่า 

อาณาเขตพื้นที่หมู่บ้าน

ทิศเหนือ     ติดต่อกับ   คลองโคกตาเขียว  หมู่ที่ ๕  ตำบลเชียงรากน้อย  อำเภอสามโคก  จังหวัดปทุมธานี

ทิศใต้     ติดต่อกับ   หมู่ที่ ๑  ตำบลบ้านงิ้ว  อำเภอสามโคก   จังหวัดปทุมธานี   
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  ถนนทางหลวงหมายเลข ๓๓๐๙    จังหวัดปทุมธานี     

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ   แม่น้ำเจ้าพระยา

ปัจจุบันชุมชนบ้านศาลาแดงเหนือ  เป็นชุมชนขนาดเล็ก  มีเนื้อที่  ๑,๓๔๐ ไร่  เป็นที่อยู่อาศัย  ๒๐๐ ไร่  พื้นที่การเกษตร  ๑,๐๘๕ ไร่  ที่  สาธารณะ  ๔๕  ไร่

ลักษณะภูมิประเทศพอสังเขป

  บ้านศาลาแดงเหนือ  หมู่ที่ ๒  ตำบลเชียงรากน้อย  ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เรียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และมีคลองไหลผ่าน  พื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ราบลุ่ม มี ๓ ฤดู  ( ร้อน ฝน หนาว )  พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูก  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรแบบผสมผสาน ระหว่างการทำสวนผลไม้ กาทำสวนผัก  การเลี้ยงปลาในร่องสวน และรับจ้างทั่วๆ ไป 

ที่ตั้งหมู่บ้าน

  บ้านศาลาแดงเหนือ  หมู่ที่  ๒  ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากน้อย  ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบล  ประมาณ  ๑  กิโลเมตร  ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามโคก  ประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร  ใช้เวลา  ๓๐ นาที   

  มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก   ชื่อ  กำนันเสถียร  สุนทรบุระ

   ชื่อ  นายผ่าน  แสงน้ำ 

   ชื่อ   นายประยงค์  กองรัตน์

  ชื่อ  นายอดิศร  แสงทนต์

  ชื่อ  นางนิภา  แสงทนต์

   ชื่อ  นายอนุวัตร  ใจชอบ  คนปัจจุบัน

จำนวนประชากร   

จำนวนครัวเรือน  81   ครัวเรือน  จำนวนประชากร  294  คน เฉลี่ยจำนวนคน....3  คน/ครัวเรือน

อาชีพหลักของหมู่บ้าน  รับจ้างทั่วไป  และรับราชการ

ชื่อผู้ใหญ่บ้าน  นายอนุวัตร  ใจชอบ 

 ตามข้อมูลการจัดเก็บ ( จปฐ. ๒)  พ.ศ. ๒๕๕๔  ชาย  143  หญิง  151   คน   

 รายได้เฉลี่ยของประชากร   (ตามเกณฑ์  จปฐ. ปี  ๒๕๕๔)  จำนวน  ๖๒,๘๕๓.๗๔  บาท/คน/ปี

ชื่อผู้นำคนสำคัญด้านต่างๆ (ตามที่มี)

ชื่อ  -  สกุล

สำคัญด้าน

หมายเหตุ

1. นายหมื่น  จักรกลม

ศาสนา วัฒนธรรม-ไทยรามัญ/ สวดมนต์ภาษามอญ

2. นายอนุวัตร  ใจชอบ

บ่อดักไขมัน / ผู้ใหญ่บ้าน/ กองทุนแม่ของแผ่นดิน

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

3. นายนภดล  แสงปลั่ง

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

4. นายพยุง  ผลละมุด

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

5. นายบุญสม  สืบสาย

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต การทำกระปิ

7. นางสาวปารีณา  บุตรทิม

กลุ่มอาชีพสตรีทำหมี่กรอบ /และหางหงส์

8. นายมานพ  แก้วหยก

ภูมิปัญญาประวัติศาสตร์ชาวบ้านศาลาแดง

 

ô หมู่บ้านต้นแบบคุณธรรม

    ชาวบ้านในชุมชนศาลาแดงดำเนินวิถีชีวิตตามครรลองในพระพุทธศาสนา  และยึดมั่น  ในอัตลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมอญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์ต่างร่วมมือกันช่วยกันดูแลชุมชนและรักษาสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านให้งดงาม  เป็นระเบียบ  สะอาด  ปราศจากมลภาวะและอบายมุข  ชาวบ้านดำรงตนอยู่ในหลักศีลธรรม  ยึดมั่นในการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ร่วมมือกับทางราชการในการ  ต้อนรับผู้นำต่างประเทศ นักศึกษา นักวิชาการ  ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม

ô วิถีชีวิตประจำวันที่สะอาดเป็นเลิศ

ด้วยเชื่อว่านิสัยรักความสะอาดเป็นศิริมงคลต่อครอบครัว  ชาวบ้านจะไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำลำคลอง  น้ำเสียจะผ่านบ่อบำบัดน้ำเสีย  และกรองให้สะอาดก่อนไหลลงสู่แม่น้ำ ดังนั้นแทบทุกบ้านจะสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนไว้ใช้  ซึ่งเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียที่  เกิดจากแนวคิดและภูมิปัญญาในชุมชน

ความน่าสนใจของหมู่บ้านศาลาแดงเหนือ  นอกจากวิถีชีวิตของพระสงฆ์และชาวบ้านที่เคร่งครัดในหลักธรรม  เรียบง่ายตามที่ควรจะเป็นในแต่ละสถานภาพแล้ว  วัดศาลาแดงเหนือยังเก็บรักษาสิ่งของเครื่องใช้ของพระสงฆ์ และชาวบ้านอีกจำนวนมากส่วนหนึ่งได้นำออกแสดงไว้ในวัด บางส่วนยังไม่ได้สำรวจและจัดทำทะเบียน

เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ

สามารถเดินทางเข้าชมได้โดยรถยนต์สะดวก เพราะมีถนนเข้าถึงหมู่บ้าน ห่างจากตัวจังหวัด

ปทุมธานี เพียง 14 กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที 

หรือถ้านั่งเรือข้ามฟากจากท่าวัดสุราษฎร์รังสรรค์ (วัดดอน) อำเภอสามโคก  ขึ้นท่าวัดศาลาแดง  ใช้เวลาเดินทางเพียง  10  นาที 

ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี

  ประเพณีวัฒนธรรม  ชาวบ้านศาลาแดงเหนือ มีพระพุทธศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ครัวเรือนทุกครัวเรือนนับถือศาสนาพุทธ และมีการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน (ประเพณีวัฒนธรรมชาวมอญ) และมีวิถีชีวิตแบบแบ่งปันเอื้ออาทร

õ ประเพณีจุดลูกหนู

    กระทำในงานฌาปนกิจศพของพระสงฆ์ชาวรามัญ

õ ประเพณีสงกรานต์

    ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13–15 เมษายน ของทุกปี

  ก่อพระเจดีย์ทราย 

ประเพณีการส่งข้าวแช่

การแห่หางหงส์

õ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

    กระทำในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 (วันพระกลางเดือน 10)

õ ประเพณีทำบุญวันสารท

    ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (วันพระสิ้นเดือนสิบ)

õ ประเพณีตักบาตรพระร้อย

    เริ่มในช่วงเทศกาลออกพรรษา  แรม 11ค่ำ เดือน 11

õ ประเพณีลอยกระทง

    ในช่วงเทศกาลเดือน 12  วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12  (พฤศจิกายน) ของทุกปี

õ ประเพณีวันสำคัญทางศาสนา

    วันมาฆบูชา    วันเพ็ญ เดือน 3 (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3) ของทุกปี

  วันวิสาขบูชา    วันเพ็ญ เดือน 6 (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ของทุกปี

  วันอาสาฬหบูชา  ( ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8)  วันเข้าพรรษา  (แรม  1 ค่ำเดือน 8

õ ประเพณี ทำบุญบ้าน งานแต่ง  งานบวช  งานศพ  (มีตลอดทั้งปี)


หมายเลขบันทึก: 532689เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2013 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2013 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท