จุดกำเนิด แนวคิด และหลักธรรมาภิบาลในประเทศไทย


สรุปจุดกำเนิด
แนวคิด และหลักการของหลักธรรมาภิบาลในประเทศไทย


 
  จุดกำเนิด
 
แนวคิด
 
หลักการ
 
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 
 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี การสร้างเสริมระบบกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2542

พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5 พ.ศ.2545) มาตรา 3/1 
 

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
 

จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี
  2540 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อทุกภาคส่วนของสังคม
  โดยสาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการในระดับชาติและระดับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
  เกิดจากการขาดประสิทธิภาพ รวมถึงการกระทำผิดทุจริตและขาดจริยธรรม
  ส่งผลให้ประเทศไทยมีการบังคับใช้และปรับกฎหมายต่างๆ
  เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมธรรมาภิบาลในการจัดการทุกภาคส่วน
  ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
  การสร้างเสริมระบบกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2542
  พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5 พ.ศ.2545) มาตรา 3/1
  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
  และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

หลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
  การให้ความสำคัญกับประชาชน แนวคิดเรื่องการเป็นพลเมืองชุมชน ประชาสังคม
  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน ให้การตอบสนองความต้องการของประชาชน
  โดยให้คุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ สาธารณะ
  การตระหนักและรับผิดชอบ 
 
ใช้กลไกเครื่องมือแนวทาง
  การดำเนินเชื่อมโยงกันของภาคเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยเน้นการสร้างความมือของภาครัฐและภาคเอกชนอย่างจริงจัง
  ต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศมีพื้นฐานระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
  มีความชอบธรรมของกฎหมาย เสถียรภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
  นำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 

แผนพัฒฯ
  ฉบับที่ 8


 

แผนพัฒฯ
  ฉบับที่ 9


 

แผนพัฒฯ
  ฉบับที่ 10


 

แผนพัฒฯ
  ฉบับที่ 11


 
 
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.)
  ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมให้การพัฒนาระบบราชการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจึงกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายให้ชัดเจนในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้าราชการไทย
  พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555  ภาครัฐได้ตระหนักความสำคัญของธรรมาภิบาล
  เกิดขึ้นในประเทศไทย นำระบบหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหลักการบริหาร
  รวมถึงแวดวงด้านวิชาการ ได้นำความสำคัญมาสร้างระบบการจัดการที่ดีในสังคมไทย
  ในช่วงแผนพัฒฯ ฉบับที่ 8-11 

  
 
สร้างการจัดการที่ดีในยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพ
  ของภาคราชการ ให้ความเข้มแข็งกับภาคประชาชน เพื่อให้เข้ามาพัฒนาการมีส่วนร่วม
  อย่างมีศักยภาพ สร้างความเข้าใจอันดีกับภาครัฐและเอกชน 
 
รายละเอียดของแผนให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับระบบการบริหารที่ดี
  ได้ขยายกรอบการดำเนินงานครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม ได้แก่การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี
  ภาคธุรกิจเอกชน
  สนับสนุนกลไกตรวจสอบที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
  และกลไกตรวจสอบสาธารณะในภาคประชาชน เพื่อปลุกจิตสำนึกของประชาชนในเรื่องคุณธรรม
  จริยธรรม ความพอดี เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญของการบริหารที่ดีในสังคมไทย
 

 

หมายเลขบันทึก: 532586เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2013 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2013 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท