ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม


ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of Innovation )

การที่สังคมมนุษย์จะมีใช้นวัตกรรมใดในสังคมได้ต้องผ่านกระบานการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประดิษฐ์และผู้ใช้ในสังคม(Interactive Between Innovator and User)กลับไปกลับมาหลายครั้งจนเกิด”การยอมรับ”  หรือที่เรียกว่าTechnology Adoption กระบวนการนี้เป็นสิ่งที่นักวิจัยให้ความสนใจเป็นพิเศษ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีการแพร่กระจายทางนวัตกรรมที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด Rogers(1962) เรียกว่าทฤษฎี Diffusion of Innovation  ซึ่งทำให้ได้เห็นกระบวนการยอมรับนวัตกรรมของคนในสังคม ซึ่งตามแนวคิดทฤษฎีของ  Rogers ได้แบ่งกลุ่มคนในสังคมที่จะยอมรับการแพร่กระจายของนวัตกรรมไว้ดังนี้

  กลุ่มคนในสังคม

  จำนวน%

  พฤติกรรมบุคลิกลักษณะ

Innovators

  2.5%

ผู้ที่ชอบเสี่ยง มีความรู้  เป็นนักประดิษฐ์  หรือมีความรอบรู้ด้านเทคโนโลยี

Early adopters

  13.5 %

ชอบของใหม่  ชอบเป็นผู้นำ  ได้รับความนิยมทางสังคม มีการศึกษา  ชอบความใหม่

Early majority

  34%

อยากมีบ้างเป็นคนรอบคอบ  ชอบแบบสบายๆ  ไม่เป็นทางการ

Late majority

  34%

จำเป็นต้องมี  เป็นคนช่างสงสัย  หัวโบราณ  ฐานะไม่ดี

Laggards

  16%

ก็ดีเหมือนกัน  รับฟังข้อมูลจากคนอื่น  กลัวการเป็นหนึ่ง

ทฤษฎีนี้อธิบายให้เห็นพฤติกรรมและบุคลิกลักษณะของบุคคลแต่ละกลุ่มสังคมเพื่อให้เข้าใจวิธีการ 

รับนวัตกรรมของคนแต่ละกลุ่มได้ดังนี้

  Inventor คือคนกลุ่มแรกในสังคมที่นอกจากเป็นทั้งผู้ประดิษฐ์คิดค้นแล้วยังรวมไปจนถึงผู้ใช้งานที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี และชอบติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอนั่นเอง

  Early Adopters เป็นกลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ และค่อนข้างมีฐานะ อาจเป็นนักวิชาการหรือคนดังในสังคม

  Early Majorityกลุ่มนี้จะตัดสินใจได้ต้องคิดหลายรอบแต่ต้องใช้งานได้ง่าย และมีประโยชน์การตัดสินใจเลือกนวัตกรรมของกลุ่มนี้มักดูจากการตัดสินใจของสองกลุ่มแรก

  Late Majorityกลุ่มนี้กว่าจะมีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอาจจะเริ่มตกรุ่นไปแล้วแ ละมีความจำเป็นต้องการใช้งานจริงๆ จึงจะใช้ ในความคิดของผู้เขียนคิดว่า นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใดเข้าถึงการยอมรับของคนกลุ่มนี้ได้ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว

  Laggard เป็นกลุ่มที่มีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเมื่อตกรุ่นไปแล้ว และเป็นกลุ่มสุดท้ายในสังคม กลุ่มนี้จะเลือกซื้อโดยสอบถามข้อมูลจากคนรอบข้างโดยเฉพาะดูพฤติกรรมของคนในสังคมกลุ่มก่อนๆ

    กระบวนการ Social Adoption นั้น  การยอมรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมจะต้องอาศัยช่องทาง (Channels) ในการสื่อสารของบุคคลกลุ่มต่างๆในสังคมเพื่อสื่อสารจากกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งเมื่อ Innovators หรือผู้ชื่นชอบนวัตกรรมหรือนักประดิษฐ์หรือผู้สร้างกระบวนการทางสังคมเกิดการยอมรับนวัตกรรมใดแล้วจะเกิดการสื่อสารให้บุคคลกลุ่มถัดมาได้รับรู้ข้อมูลและการยอมรับ  กลุ่มต่อมาคือกลุ่มEarly Adopters เป็นกลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ มีความรู้สูงค่อนข้างมีฐานะและสนใจข่าวสารใหม่ๆการยอมรับนวัตกรรมของกลุ่มนี้ถือว่าสำคัญที่สุดเพราะถือว่าเป็นกลุ่มชั้นนำในการยอมรับของสังคมไม่ว่านวัตกรรมหรือหารยอมรับองค์กรใดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี  จะเป็นผู้ชี้ว่า”มีอยู่” หรือ”ดับไป” ด้วย

ซึ่ง Rogers (1962) ได สร้าง  S-curve เพื่ออธิบายการกระบวนการแพร่กระจายของเทคโนโลยีในสังคมเป็นขั้นเป็นตอนให้เห็นภาพเข้าใจง่ายดังภาพที่  1  เพื่อที่จะคาดการณ์ว่าช่วงเวลาใดสังคมจะเกิดการยอมรับเทคโนโลยีช่วงเวลาใดเทคโนโลยีหมดความต้องการ

    

                                                     ภาพที่  1

 S-Curve of Technologyอธิบายปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในสังคม โดยแกน Y แทนประสิทธิภาพหรือเทียบจำนวนผู้ใช้ในสังคมก็ได้เช่นกัน ส่วนแกน X เป็นเวลา

สถานะที่1 (Section I) เป็นช่วงเวลาของการประดิษฐ์คิดค้นจนประสบความสำเร็จออกมา และเริ่มทดสอบวางตลาด

สถานะที่2 (Section II) เป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมีการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมให้รับรู้ว่ามีเทคโนโลยีนี้แล้ว และสังคมเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีนี้ไปจนถึงการได้รับความนิยมจากคนในสังคม เกิดเป็นธุรกิจนวัตกรรมรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีมีการพัฒนาประสิทธิภาพได้สูงขึ้นเรื่อยอย่างรวดเร็ว และพร้อมกับการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำธุรกิจที่สุด และทุกคนอยากทำธุรกิจในช่วงเวลานี้ และแน่นอนที่สุดผู้ที่มีนวัตกรรมใหม่ ควรจะเข้าสู่ตลาดในช่วงนี้

สถานะที่3(Section III) เป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีอิ่มตัว ประสิทธิภาพการพัฒนาของเทคโนโลยีนั้นถึงขีดสุดของทรัพยากรที่ใช้ผลิตไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้แล้ว ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีจะมีใช้คงที่ โดยไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้จนกว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่มาทดแทน และเทคโนโลยีนี้ก็จะหายไปจากสังคม

S-Curve of Technology นั้น Roger ได้อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนถึง การเกิด การนิยม และการตกรุ่น ตามประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นๆ จะสอดคล้องกับการแพร่กระจายเทคโนโลยีนั้นๆ ไปในสังคมผ่านกลุ่มคนแต่ละกลุ่มในสังคมตามที่ได้แบ่งไว้ดังรูปที่ 2 นี้

 

  รูปที่2  S-Curve and Adopter segmentation

Rogers, Everett M.  (1962). Diffusion of Innovations.  2nd ed.  New York: The Free Press of

Glencoe.

Rogers, Everett M.  (1983).  Diffusion of Innovations.  3ed ed.  New York: The Free Press of

Glence.


หมายเลขบันทึก: 532528เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2013 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2013 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

              นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน   อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับ   ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท