เปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน


สวัสดีค่ะ  สำหรับวันนี้ขอกล่าวถึงการเปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน  ว่ามีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร  ดังนี้

                         เปรียบเทียหลักธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน

ความเหมือน

การบริหารและการจัดการในภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการให้ความสำคัญกับระบบคุณธรรมและจริยธรรม  เนื่องจากการบริหารและการจัดการทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนประสบกับภาวะวิกฤติอันเกิดจากการทุจริตที่ระบาดออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ความไม่รับผิดชอบต่อสังคมหรือส่วนรวม  คำนึงแต่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องอันเป็น การบริหารจัดการที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม

หลักธรรมาภิบาลที่ใช้กับภาคธุรกิจเอกชน (Corporate Governance)  กับหลักธรรมาภิบาลที่ใช้กับภาครัฐ  (Public
Governance)  เป็นหลักเดียวกัน เพราะมีเป้าหมายเหมือนกัน  คือ  ความมั่นคงและความยั่งยืนของบริษัทหรือของประเทศ

ความแตกต่าง

"ธรรมาภิบาล"ในองค์กรภาครัฐ แตกต่างจากองค์กรภาคเอกชนโดยสิ้นเชิงในด้านของตัวหลักของธรรมาภิบาล  เพราะในองค์กรภาคเอกชนนั้นตัวหลักของธรรมภิบาล (Good Governance) มีกลไกเชิงระบบหรือเชิงองค์กรชัดเจนคือ  บอร์ด (Board of Directors, Board of Trustees) หรือคณะกรรมการนโยบาย ซึ่งเป็นคนอีกชุดหนึ่งที่เป็นคนน่าเชื่อถือ  และไม่ได้ปฏิบัติงานในฝ่ายจัดการหรือฝ่ายปฏิบัติการขององค์กร  คือ ไม่มีหน้าที่ตัดสินใจในงานประจำ  ระบบธรรมาภิบาลในองค์กรภาคเอกชนมีโครงสร้างและรูปแบบที่ชัดเจน  แต่ธรรมาภิบาลในองค์ภาครัฐนั้น เป็นคนละแบบเป็นธรรมาภิบาลแบบดำเนินการกันเองในกลุ่มผู้ปฏิบัติ และควบคุมดูแลโดยผู้บริหารระดับสูง

ธรรมาภิบาลภาครัฐตั้งอยู่บนฐานของนิติธรรมหรือหลักการปกครองโดยกฎหมาย(the rule of law) องค์กรสาธารณะต่าง ๆ เกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารการนำกฏหมายสู่การปฏิบัติ   ดังนั้นองค์ประกอบต่างๆขององค์กรไม่ว่าจะเป็น    จุดมุ่งหมาย  โครงสร้าง  อัตรากำลังคน  และงบประมาณมีผลมาจากอำนาจทางกฏมายธรรมาภิบาลภาครัฐจึงผูกพันกับกฎหมายและกระบวนการกาหนดกฏหมาย  โดยเฉพาะ กฏหมายสูงสุดของสังคมคือรัฐธรรมนูญแต่ธรรมาภิบาลขององค์กรภาคเอกชนตั้งอยู่บนฐานของความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและตลาด

สรุป
ธรรมาภิบาลเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกองค์กรไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน เนื่องจาก " ธรรมาภิบาล" เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อกันในทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐภาคเอกชนหรือองค์กรอิสระ การปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ความโปร่งใส(Transparency) อธิบายได้(accountability)และความรับผิดชอบ (responsibility)  องค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ  ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ต้น  ศตวรรษที่ 20    ไม่ว่าจะเป็น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา  (OECD), ธนาคารโลก  (the World Bank), UNDP, UNCTAD, UNIDO and ILO

การที่ภาครัฐหรือภาคเอกชนจะมี `ธรรมาภิบาล´ นั้น นอกจากต้องปฎิบัติตามกฎหมายแล้ว ต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมโดยไม่ไปเบียดเบียนฝ่ายใด  ภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มี ธรรมาภิบาล ย่อมไม่เอาเปรียบหุ้นส่วน  ไม่ขูดรีดแรงงานลูกจ้างไม่ฉ้อโกงลูกค้า  ไม่เอาเปรียบคู่ค้า  ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำร้ายชุมชนโดยรอบที่ตั้งของภาครัฐหรือภาคเอกชนด้วยการก่อมลพิษ




คำสำคัญ (Tags): #หลักธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 532412เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2013 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2013 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ที่เพิ่มเติมให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท