วิธีเพาะ "นักเขียนน้อย" ด้วยสื่อการ์ตูน



สื่อการ์ตูนเหล่านี้ สามารถออกแบบสื่อบัตรคำ

บัตรภาพ แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดการเรียน เกม

ประกอบกิจกรรมการฟัง อ่าน พูด เขียน

เพื่อพัฒนาสุ่การเป็น "นักเขียนน้อย" ของเด็กได้


รู้สึกอย่างไรกับภาพเหล่านี้?




วิธีเพาะ “นักเขียนน้อย” ด้วยสื่อการ์ตูน

โอกาสเป็น “นักเขียนน้อย” ของเด็กๆ  คงไปไม่ถึงไหน ถ้าหากการเรียนรู้ทางภาษายังอยู่ในระดับการอ่านคล่องเขียนคล่อง โดยที่ยังไม่ก้าวต่อไป ถึงขั้นที่เด็กได้ฝึกฝนการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด จากการอ่าน หรือประสบการณ์ในชีวิตจริง แล้วสื่อสารออกมาโดยวิธีการบอกเล่า การเขียน การอธิบาย วิเคราะห์ ประเมิน ตามระดับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งแน่นอนที่สุดสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ย่อมเกิดจากความเข้าใจ ใส่ใจในการจัดกิจกรรมของครูในชั้นเรียนเป็นเบื้องแรก

เป็นที่รู้กันดีว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษาที่ดี เด็กต้องใช้ทั้งการฟัง การอ่าน การพูด การเขียน อย่างผสมผสาน ในบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนาน แต่เมื่อพิจารณาผลการสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 496,196 คน จาก 28,240 โรงเรียนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา พบว่า ความสามารถด้านภาษาระดับ Literacy ได้คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศร้อยละ 42.94 หรือได้คะแนนเฉลี่ย 12.88 จากคะแนนเต็ม 30 นั่นเอง  ในจำนวนนี้เด็กได้คะแนนระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 15.98 ระดับดี ร้อยละ35.02 ระดับพอใช้ ร้อยละ 32.61 และระดับปรับปรุงร้อยละ 16.39  (ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) จากผลการทดสอบนี้ ย่อมสะท้อนระดับความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กได้ชัดเจน โดยเฉพาะมาตรฐานการเขียนสื่อความ การเขียนสร้างสรรค์

สื่อการ์ตูนนับเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการนำไปใช้ออกแบบสื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษาในชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอาเซียน ที่เรากำลังตื่นตัวกันอยู่ในเวลานี้ สื่อการ์ตูนนอกจากจะช่วยเสริมบรรยากาศการเรียนรู้แล้วยังช่วยให้ให้เด็กเข้าใจ กระตุ้นการคิดการแสดงออกเพื่อสื่อสารทางภาษาได้ดีมีผลการวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยัน ตัวอย่างที่เห็นได้จากครูที่ประสบความสำเร็จในการสอน ก็คือ การใช้สื่อการ์ตูนไปออกแบบสื่อเสริมทักษะการเขียนสื่อความของเด็ก โดยใช้บัตรคำ บัตรภาพ แถบประโยคที่ออกแบบด้วยสื่อการ์ตูน นำไปใช้ในกิจกรรมฝึกเรียงคำ แต่งประโยค เรียงประโยค เล่นเกมชิงรางวัล ก่อนใช้ แผ่นภาพ แบบฝึก ที่ออกแบบด้วยสื่อการ์ตูน ฝึกให้เด็กสื่อความหมายออกมาเป็นคำบรรยายภาพ หรือแสดงความคิดเห็นด้วยภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน ตามพัฒนาการของเด็ก บางครั้งให้เด็กระบายสี  หรือฝึกวาดภาพประกอบด้วยตนเอง  เด็กๆ เรียนรู้อย่างสนุกสนาน และมีความสามารถในการเขียนเรื่องสั้นๆ ง่ายๆ ด้วยความคิดใสๆ แบบเด็ก น่าชื่นชมทีเดียว

ดูสื่อการ์ตูน เหล่านี้แล้ว เชิญชอปปิ้ง นำไปออกแบบสื่อเสริมทักษะทางภาษา หรือออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน (โดยเฉพาะการเขียนสื่อความของเด็ก)  ได้ตามอัธยาศัยนะครับ 


 บรรยายภาพทีละภาพ แล้วนำข้อความมาเขียนต่อกันเป็นเรื่องราว



หมายเลขบันทึก: 532200เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2013 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

-สวัสดีครับ..

-ตามมาดูวิธีการเพาะนักเขียนน้อย...

-วันนี้ขอนำเอาวิธี"เพาะถั่วงอก"มาฝากด้วยครับ...

-ขอบคุณครับ


เป็นรูปแบบที่สื่อความหมายได้ดีมาก...ภาพเข้าใจง่าย..สามารถเดินเรื่องอย่างมีเนื้อหาค่ะ...

ขอบคุณครับ  เข้าใจเปรียบเทียบ เพาะถั่วงอก ก็ concept เดียวกับเพาะความเจริญงอกงามของคน นั่นแหละครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบพระคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยมกัน

มาชมวิธีเพาะนักเขียนน้อย ได้วิธีเพาะถั่วงอกกลับไปเป็นของแถมด้วยค่ะ

ตอนเด็กผมมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขัยนภาพการ์ตูนมากครับ...ขอบคุณนะครับที่หวนให้ระลึกเห็นความทรงจำของผมเองครับ

ขอบคุณทุกท่านครับ ที่แวะให้กำลังใจมือใหม่ เป็นสมาชิก GTK มานานเสียเปล่า พึ่งลองเขียนได้เดือนเศษๆนี่เอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท