การประเมินคุณภาพผลงานวิชาการ



ผลงานวิชาการทั้งในรูปแบบบทความวิชาการ และบทความวิจัย เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอย่างหนึ่งของการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา และคุณภาพของผลงานวิชาการ ยังเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพสำหรับ การพิจารณาขอตำแหน่งทางวิชาการ การพิจารณาจัดสรรเงินทุนอุดหนุนการวิจัย การประกันคุณภาพการศึกษา การตัดสินรางวัลนักวิจัยหรือผลงานวิจัย และสำหรับตรวจสอบคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก


  


สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ด้านต่างๆหลายด้าน และตัวบ่งชี้ที่สถาบันจัดอันดับต่างๆให้ความสำคัญคือ ตัวบ่งชี้ด้านการวิจัย 


The Times Higher Education 
Changhai Jiao Thong University (ARWU) 
QS World University Rankings
ตัวบ่งชี้ด้านการวิจัย
1. จำนวนงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง 
โดยได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล 
Thompson  หรือ Scopus 
2. ชื่อเสียงด้านผลงานวิจัย
3. รายได้ของมหาวิทยาลัยที่มาจาก
เงินทุนวิจัย
3. สภาพแวดล้อมของการวิจัย เช่น
จำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ จัดทำโดย Thompson 

ตัวบ่งชี้ด้านการวิจัย
1. จำนวนงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง
2. จำนวนนักวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง
3. จำนวนบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
ตัวบ่งชี้ด้านการวิจัย
1. จำนวนการวิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Academic peer review)
2. จำนวนงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับการอ้างอิง (Citation per faculty)
3. ความมีชื่อเสียงในผลงานของอาจารย์ในระดับนานาชาติ


ตัวบ่งชี้หรือดัชนีชี้วัดคุณภาพของผลงานวิชาการที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ ค่า Journal Impact Factor  อย่างไรก็ตามยังมีดัชนีชี้วัดคุณภาพชนิดอื่นที่เริ้่มได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น ค่า SJR (Scimago Journal Ranking) ค่า h-index   เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสถาบันต่างๆ  ได้นำเกณฑ์การพิจารณาหลายอย่างมาประกอบกัน อาทิ การมีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาพิจารณาเนื้อหาของบทความ ปริมาณหรือจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์ จำนวนครั้งที่บทความได้รับการอ้างอิงโดยบทความอื่น (Citation frequency)  การเป็นวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีระบบผู้ประเมินอิสระ (Peer Review)  รวมถึงความมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมในสาขาวิชา 


เกณฑ์ชี้วัดคุณภาพผลงานวิชาการ  

1.  Journal Impact Factor (JIF) หรือ ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร


ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร  หรือ Journal Impact Factor หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี คำนวณค่าโดยการนำจำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างอิงในปีปัจจุบันของบทความวารสารที่ตีพิมพ์ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา   หารด้วยจำนวนบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ภายใน 2 ปีนั้น 

ค่า Impact Factor นี้เกิดจากการคิดค้นของบริษัท Thompson Reuter หรือชื่อเดิม Thompson ISI ที่ผลิตฐานข้อมูล Journal Citation reports (JCR) มานานกว่า 40 ปี  ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าวจะเก็บรวบรวมข้อมูลของวารสารวิชาการมาคำนวณค่า Impact Factor  โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้ 





ค่า Impact Factor และอันดับของวารสารมักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ขึ้นอยู่กับจำนวนการอ้างอิงในแต่ละปี วารสารที่มีค่า Impact Factor สูงสุดเป็นประจำทุกปี มักจะเป็นวารสารที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมาก 

หมายเหตุ  ฐานข้อมูลดังกล่าวต้องจัดซื้อในรูปแบบ CD-ROM หรือ Web edition ซึ่งจะสามารถช่วยค้นหาค่า IF ของวารสารรายชื่อต่างๆได้ ซึ่งมีจำนวนมาก แต่หลายสถาบันไม่ได้จัดซื้อมาใช้บริการ จึงต้องอาศัยข้อมูลที่หาได้จากเว็บไซต์ต่างๆทั่วโลก เช่นบน Google จะปรากฏข้อมูลตารางค่า IF แต่ต้องพิจารณาความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของแหล่งที่ได้ก่อนการนำไปใช้ เนื่องจากมีวารสารวิชาการหลายชื่อที่คำนวณค่า IF เอง โดยไม่ใช้หลักเกณฑ์ของ Thompson Reuter

แหล่งอ้างอิง

http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/impact-factor.htm http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/FAQ.html
http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/IF.htm
http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/pdf/if.pdf
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Download/quality_TCI55-1.pdf

  

2.  ค่า SJR   ย่อมาจาก SCImago Journal Ranking

ค่า SJR  หรือ SCImago Journal Ranking   เป็นดัชนีที่พัฒนาโดย Professor Felix de Moya จาก SCImago Research Group มีพื้นฐานจากแนวความคิดที่ว่า “all citations are not created equal”  ซึ่งฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier ได้นำ SJR  มาใช้เป็นเครื่องมือประเมินคุณภาพวารสาร (Journal metrics)  

หลักการของ SJR  มีหลักการเช่นเดียวกันกับ Google’s PageRank  โดยพิจารณาจากสาขาวิชาของวารสาร คุณภาพและชื่อเสียงของวารสาร มีผลโดยตรงต่อค่าของ citation

วิธีการตรวจสอบ สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของ SCImago โดยตรงคือ http://www.scimagojr.com และเว็บไซต์http://www.journalmetrics.com รวมถึงในฐานข้อมูล Scopus ภายใต้ชื่อวารสารวิชาการแต่ละชื่อ จะมีลิงก์ไปดูข้อมูลของแต่ละวารสารผ่านเว็บไซต์ของ Scopus ได้  

วารสารส่วนใหญ่ที่ปรากฎดัชนีในฐานข้อมูล Scopus จะมีค่า SJR  และได้รับการจัดอันดับในกลุ่มหมวดหมู่ในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ที่เรียกว่า Quartile Score (Q) 

Q1 = top postion (highest 25% of data) เป็นกลุ่มวารสารที่ดีที่สุดในสาขานี้
Q2 = middle-high postion (อยู่ระหว่าง top 50% และ top 25%)
Q3 = middle-low postion (อยู่ระหว่าง top 75% และ top 50%)
Q4 = bottom position (bottom 25%)


ตัวอย่างวารสารทางด้านแพทยศาสตร์ ในตารางค่า SJR มีวารสารชื่อต่างๆ ในละดับ Quartile ที่ 1-4 



แหล่งอ้างอิง :

วิธีการเข้าใช้ SJR http://www.surdi.su.ac.th/search_SJR[1].pdf
Journal Quartile Score (Q) ttp://www.rdi.ku.ac.th/index_Manual/Manual_Kurdi/Document_Pragard/Year2554/Paper/JournalQuartile.pdf

  

3.  h-index  คือ ตัวเลขที่แสดง “จำนวนผลงานวิจัย” ของผู้วิจัย หรือกลุ่มผู้วิจัย ที่มีจำนวนผลงานวิจัยนั้นๆ

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยท่านหนึ่ง มีค่า h-index=15 หมายความว่า นักวิจัยท่านนั้น มีผลงานวิจัยจำนวน 15 บทความ (จากจำนวนทั้งหมด) ที่ได้รับการอ้างอิง 15 ครั้งหรือมากกว่า 

h-index มาจาก highly-cited index หรือ Hirsch index ตั้งตามชื่อของผู้คิดค้นคือ Prof. Jorge Hirsch นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ที่เผยแพร่ในปี 2005

วิธีการตรวจสอบค่า h-index

การตรวจสอบค่า h-index สามารถตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล ISI web of Science และฐานข้อมูล Scopus รวมถึงฐานข้อมูล SCImagohttp://www.scimagojr.com  ที่มีการเชื่อมโยงลิงก์จากชื่อวารสารและชื่อผู้เขียนบทความในฐานข้อมูล Scopus

3.1  การตรวจสอบจากฐานข้อมูล ISI web of Science  เข้าถึงจากการค้นชื่อผู้เขียนบทความ และเลือก Create Citation Report  จะปรากฎค่า h-index ของผู้เขียน  แต่มีข้อจำกัดที่ฐานข้อมูล ISI ครอบคลุมเฉพาะบทความประเภท Journal Articles และจำกัดเฉพาะวารสารที่อยู่ในฐาน ISI เท่านั้น






3.2 การตรวจสอบจากฐานข้อมูล Scopus  เข้าถึงจากการค้นชื่อบทความ และเลือก View Citation Overview เพื่อดูตารางสถิติการการอ้างอิงของจำนวนผลงานวิจัยของนักวิจัยในแต่ละปี และค่า h-index รวมทั้งหมด  แต่มีข้อจำกัดที่ฐานข้อมูล Scopus จะคำนวณการอ้างอิงเฉพาะผลงานที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาเท่านั้น 










3.3  การตรวจสอบจากฐานข้อมูล Scimago   เข้าที่เว็บ http://www.scimagojr.com โดยตรง หรือลิงก์ผ่าน Scopus แล้วค้นชื่อวารสารจากกลุ่มสาขาวิชา ที่มีการแบ่งตาม Quartile  ซึ่งจัดเรียงตามลำดับค่าความน่าเชื่อถือและความนิยมของสาขานั้นๆ 







เกณฑ์คุณภาพการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ของ สมศ.


เกณฑ์คุณภาพการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ของ สมศ.  ได้กำหนดเกณฑ์ในการประเมินไว้ว่า บทความ 1 บทความ จะมีระดับคุณภาพที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการตีพิมพ์เผยแพร่ ดังนี้


ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพงานวิจัย
0.25 มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ/ระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI
0.50 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ใน ประกาศของ สมศ.
0.75 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้น  ถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 3 หรือ 4 (Q3 หรือ Q4) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.
1.00 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com)  โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ใน
ควอไทล์ที่ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI หรือ Scopus


แหล่งอ้างอิง :  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) 


หมายเลขบันทึก: 532074เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2013 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2013 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท