วิกฤต วงการหมอ และ ประเทศไทย นับจากนี้ไป หากยังคิดไม่ตก


ความมี มันสมอง และ หยิ่งพอสมควร ในความเป็นแพทย์  

แต่เรายอมก้มหัวให้คนไข้  เรายอมรับผิดเมื่อเราทำผิด ตัดสินใจผิด รักษาผิด เพราะโรคมากกว่าที่เราคาดไว้ หรือ ที่เรารู้จัก

แต่ยามที่เลือก สู้มากกว่า ถอย     ( โดยเฉลี่ย จบแพทย์มา 20 ปี ฐานะพอจะมั่นคง ปากกัดตีนถีบน้อยลง  ถอยคือ ลาออก เปิดคลินิค ไม่ยาก  แต่ลาออกไป รพ.เอกชน   จะ เข้าทางเขา medical hub ได้เงินต่างชาติดี )

นับแต่นี้ไป 1 เมษายน 56  แพทย์ รพ. ส่วนหนึ่ง หรือ  ส่วนใหญ่ ของ กระทรวงสาํธารณสุข    ต้องจดผลงาน รายวัน    ว่า ทำงานอะไรไปบ้าง  ตรวจผป. หนัก   / ผป.เบา  / ผป.โรคอะไร    เพราะระบบคอมพ์ ไม่เสถียร ตรวจไปคอมพ์ไม่บันทึกให้อย่างที่เป็น

ต้องนี้ น้องๆ หมอ รพ.ชุมชน    หยุดคิดเรื่องอื่นทั้งหมด แม้แต่เรื่อง รพ. รายรับ น้อยกว่า รายจ่าย    จับกลุ่มคิดแต่ว่า  จะอยู่ต่อ หรือ จะไป

หากไม่ไป ไม่ลาออก  ก็ต้องมั่วคิด เรื่อง สู้อย่างไร  

การเป็นข้าราชการที่ดี เพื่อประชาชน  ไม่พอแล้วครับ  แต่เป็นพนักงานบัญชีที่ดีด้วย 

จดไม่ผิดพลาด  จนน้อยได้น้อย ก็เสียหน้า  

จดมากจดพลาด จดเกิน ก็ถูกตรวจสอบ ตำหนิ ว่า งก

หากอยากประเมินแพทย์ 

ลองถามชาวบ้าน        ดีมั้ยครับ ในการประเมินหมอ ทุก 6 เดือน  ว่า ให้อยู่ต่อ หรือ ให้ลาออก

ลองถามชาวบ้านว่า    ท่านอยากให้แพทย์ จดแต้มการทำงาน เพื่อให้เลี้ยเลี้ยงหมอเพิ่ม  และตัดเบี้ยเลี้ยง เพราะทำงานน้อย  

เรื่องนี้ ให้นิด้า ทำโพล์ ถามประชาชน   ลองเชิงดูได้

เราตั้งคำถามประชาชน ว่า     จะทำอย่างไร ให้แพทย์ ทำงานคุ้มค่าเงิน   

อย่าไปถามแพทย์ว่า  ท่านทำงานมากกว่า เงินเดือนหรือไม่   ขึ้นกับว่า มีหมอมาก  หรือ หมอน้อย ใน องค์กร

หากมีหมอน้อย ก็ย่อมคุ้มค่ามาก  เพราะรัฐ จ่ายน้อย  ได้งานมาก

    หากมีหมอมาก ใน รพ. ก็อาจจะพอสมควร  แต่คุณภาพงานมีโอกาสดีกว่า  เพราะหมอ มีเวลา ก็รอบคอบได้ ไม่ต้องรีบตัดสินใจ  สอบถาม ฟังผป.เล่าอาการได้เต็มที่

ลองถามชาวบ้านว่า   แพทย์คนๆ หนึ่ง 1 ชม ควรตรวจ ตนไข้ กี่คน    

เราประมวลผลหลายด้าน แล้ว สรุป ค่าเฉลี่ยว่า  1 ชม ควรตรวจ กี่คน  ในสาขาแพทย์นั้นๆ

1วัน ควรตรวจ กี่ ชั่วโมง

1เดือน  ควรตรวจ กี่ราย  หักชม. ที่ประชุม    ไปราชการ

1 ปี ควรตรวจ กี่ราย  

เราตั้ง เป้ากว้างๆ ไว้ก่อน  เราสิ้นปี เรามาดูกัน ว่า ใครตรวจน้อยเกินไป    ใครตรวจมากเกินไป

หากเราตั้งเป้าเฉลี่ย ต่อปี  ของแพทย์ไว้ จะมีผลดี คือ

1 ไม่ลาบ่อย

2  เมื่อลา กลับมาก็ขยันช่วยตรวจ แทนคนอื่นที่ลาไปบ้าง   

3  หาก รพ. ขาดแคลน แพทย์ ในบางจุด    เราก็ยินดีไปช่วยงานตรวจในจุดนั้นได้   โดยไม่ต้องบังคับสั่ง


ผมเคยทำงาน รพ.ใหญ่  ที่แพทย์มีความชำนาญ เฉพาะด้าน  มักจะขาดแคลนแพทย์ตรวจโรค ทั่วไป   ต้องจัดระบบหมุนเวียนแพทย์  แบบกึ่งบังคับ      หากเรามีระบบเป้าสวยๆ   ให้แพทย์ทำงาน   คิดยอดสิ้นปี จะดีกว่า คิดรายเดือน ลงชนิดย่อยยิบ

หากแพทย์ขยัน เกิน เป้า  ก็ให้รางวัล พัฒนา แพทยืไป เช่น ให้งบประมาณ 2-3 หมื่นบาท เพิ่มในการเดินทางเข้าประชุมอบรม วิชาการ   ที่เห็น จาก รพ.ใหญ่ ให้งบเดินทางประชุม วิชาการ ไม่ถึง หมื่นบาท ต่อคน ต่อปี    ( แต่ค่าประชุมฟัง   ชี้แจง  นโยบาย    ใช้จริง   หลายหมื่นบาทต่อปี )


ความเป็นแพทย์ที่ดี   ต้อง ครบเครื่อง อย่าง อาจารย์ รุ่นก่อน เป็นแบบฉบับ     


 ปราชญ์   สอนไว้

"ว่าไปแล้วการแข่งขัน  เป็นการถูกกำหนดให้ต้องวิ่งหรือเคลื่อนไหวอยู่ในลู่

แต่การสร้างสรรค์มักต้องทำงานออกนอกลู่นอกทาง  วึ่งหลุดพ้นจากลู่แข่งขัน"


หากเราปฏิเสธ การจดแต้ม ของแพทย์  เราก็ต้องมั่นใจว่า เรามีที่ยืน ตรงอื่นได้   และหวังว่า รพ.ชนบท ไม่ขาดแคลนแพทย์    ซึ่งไม่น่าจะจริงเลย  ขนาดผลิตแพทย์เพิ่ม จากเดิมมาก   ให้เบี้ยเลี้ยงใหม่ มาหลายปี   บังคับใช้ทุนแล้ว ก็ไม่พอสักที

หมายความว่า หากไม่บังคับใช้ทุน  จริง  ยังคงขาดยิ่งกว่านี้   

ตบท้าย เราจะดำรงตน   เพื่อประโยชน์ท่าน (ผู้ป่วย )   ประโยชน์เราให้สร้างสรรค์    ในสถานการณ์สู้รบ ขัดแย้งนี้ กันอย่างไร

วิกฤตประเทศ ด้านหนึ่ง คือ ทุกวันนี้  รพ.ชนบท  มากกว่า ร้อยละ 50  มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ จากรัฐ  ตามลำดับ ของการพัฒนา    ซึงต้องการสมอง มาคิด แก้ปัญหา ซึ่งซับซ้อนมากและยากด้วย  

หากเราเป็นแพทย์ตัวน้อย มาทำงาน ใน รพ.ในชนบท  ที่ขาดทุน  ไม่ค่อยมียาใช้รักษาผป.   น้ำยาตรวจเลือด ก็ไม่ค่อยมีใช้ตรวจ  ท่านนึกออกแล้วยังว่า  ทำไมหมอส่วนใหญ่ ไม่กล้าอยู่ รพ.ชนบท   ถอยดีกว่า สู้  

คำสำคัญ (Tags): #แพทย์ชนบท
หมายเลขบันทึก: 531954เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2013 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2013 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ของแพทย์ ประมาณว่า 3 หมื่นบาท ต่อเดือน  ทำงาน เกินในชนบท 3 ปี    ตกปีละ 3.6 แสน

หากมีแพทย์อย่างนี้   ทำงานคุณภาพ มาตรฐาน ไม่ต้องดีเลิศ  

อย่างนี้ 3 คน    จ่ายรวมแล้ว 1.08 ล้าน บาท ต่อปี  

โรงพยาบาลอำเภอ ทุกวันนี้  หลายแห่ง รวมทั้ง  ขาดทุน มากว่า 5 ล้าน ต่อปั   ตัวอย่างรายจ่าย ที่เพิ่มขึ้น

ทางแพทย์ผู้เชี่ยงชาญ และ สปสช  บังคับว่า   เป็นมาตรฐาน ต้องตรวจเลือด ผป.โรคเรื้อรังบ่อย เพื่อติดตามสภาพผป.

เมื่อผป. มาขอหนังสือส่งตัวไป รักษา  หาก รพใหญ่ ส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ตรวจเลือด เป็นภาระ จ่าย ของ รพ.ที่ส่ง

หาก รพ.ยังไม่ขาดทุน ก็ เลือกส่งตัว ตามความประสงค์ ของ ผป. เพราะรักษา ที่นี้แล้ว ไม่ทุเลา

พอ รพ. ขาดทุน  รายจ่ายมากกว่ารายรับ   อีก หลายล้าน  

 ต้องใช้ สมอง ในการ คิดรักษา ความสมดุลของระบบ  บริการ ให้พอไหว พอไปได้    

ดังนั้น เรื่อง จดแต้ม ยังเป็นเรื่องเล็กกว่า   เรื่อง รพ. อยู่รอด ชาวบ้านรับกับคุณภาพได้    รพ.ใหญ่ ไม่บ่น ตำหนิ 

ดังนั้น  เรื่องยาก ทำทีหลัง   ทำเรื่อง่ายก่อน    คือ สู้เพื่อชนะ เลิกจดแต้ม   

 วัดงานวัดได้  ครับ     สิ้นปี ปลัดกระทรวง  รมต.  สั่งคอมพิวเตอร์ นับงานหมอ   นับแล้วได้น้อย ไล่แพทย์ออก  แต่

อย่ามาให้แพทย์จดแต้มงาน  แลกเงิน       มีศักดิ์ศรีครับ   ทั้งจดแล้วได้แต้มน้อย  ยิ่งต้องแย่งหาแต้ม  

ที่ รพ.   แย่งแต้ม แย่งงานกัน ตั้งแต่  มีข่าวมาล่วงหน้า 

  ความสามัคคี เริ่ม ลดลง  คุณทำอย่างไรได้แต้มมากว่าผม   ผมจะทำอย่างไร ให้แต้มเท่าคุณ 

คนไข้ใครนัดมาแล้ว    อย่าส่งให้ผิดหมอน่ะ    มองในแง่หนึ่งก็ดี     แต่เพิ่งมาบอก  ตอนต้องมีแต้มนี่ซิ   แปลก

หากอยากอยู่ รพ.ชนบท และ    อยากดูดี มีแต้มมาก   ก็ต้องหา และ นัด คนไข้ ถี่บ่อยไว้ก่อน   

ระบบสาธารณสุขใหม่  ชอบ    ปริมาณงาน   เน้นจำนวน วัดนับง่าย คุณภาพ วัดยาก

ระบบคุณธรรม ของ ระบบ ราชการ   ประเมิน เลื่อนเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือนไม่พอ   จึงคิด ระบบจดแต้ม


ที่จริง กระทรวงสาธารณสุข ควรฉลาดคิด   สั่งใหม่ว่า   แพทย์ชนบท ทั้งหลาย ตรวจคนไข้อย่างดี ต่อไป 

 การนับแต้มผลงานแพทย์ นั้น  คอมพิวเตอร์ ของ กระทรวง จะสรุปแต้มให้เอง       ทุกอย่างจบตอน เลย

ในจังหวัดลำปาง  ปี 2556  พวกเรา แพทย์ชนบท ยังต้องวิ่งลอก ระดับ 50-100 กม. เพื่อไปช่วยตรวจแทน รพ อำเภอ อื่น  ที่ขาดแคลนแพทย์   อยู่เนืองๆ  

เข้าใจระบบเลยครับ ไม่ต่างจากอาจารย์เท่าไร ต้องหาคะแนนจากงาน เสียดายว่า

งานบางอย่างไม่ได้พัฒนานิสิตนักศึกษาเท่าไร 

ขอสนับสนุนการทำงานของคุณหมอครับ

  • คงเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ...น่ะครับ

เป็นกำลังใจให้คุณหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ทุกท่านครับ

ขอบคุณ  อ. ขจิต      คุณ สามสัก   คุณ พ แจ่มจำรัส    งานนี้สำคัญ ที่เราทุกฝ่าย จะใช่สติปัญญาเพื่อส่วนร่วม  

ถามชาวบ้าน คนที่พอมีความคิด มีการศึกษา   วิพากษ์ วิจารณ์ว่า เราจะจ้างหมอทำงานในชนบท อย่างไร

และ แพทยสภา  และ อาจารย์แพทย์ ใน หมาวิทยาลัย  ต้องช่วยกันใช้สมอง คบคิดว่า   เราจะประเมิน การทำงาน ของแพทย์ในชนบท อย่างไร  และ จ่ายจ้างอย่างไร  จึงจะเป้นประโยชน์กับสังคม ส่วนรวม


ในนาทีนี้ ปี 2556  ผมย้ายจากเมือง มาอยู่ชนบท ตอนอายุ 50 ปี  สร้างประวัติศาสตร์ เป็นหมอคนแรก ในประวัติศาสตร์ของอำเภอ  ที่มาสร้างบ้าน ปักหลัก อยู่ชนบท   ลูกภรรยา   ยังอยู่ในเมืองห่างไป 55-60 กิโล 

ที่อำเภอ มีบุตรหลานคนในอำเภอ เรียนจบแพทย์นับ สิบหลาย  แต่ไม่มีใครได้อยู่ประจำปักหลัก  จบแพทย์เฉพาะทางก็อยู่ในเมืองใหญ่  มีโอกาสหลายอย่าง ลงตัวกว่า

รพ.นี้  มีแพทย์หมุนเวียน มาทำงานที่นี่ 30 ปี แล้ว  ยังไม่มีใครปักหลัก อยู่ถาวร สักคน

ผมมาอยู่  รพ.อำเภอ ได้ 1 ปี ก็เรื่ม งง กับ ชีวิตครอบครัว  เพราะไม่เคยอยู่ห่างกันมาก่อน  

 มาอยู่ใหม่ๆ รายได้น้อยลงกว่าอยู่ในเมือง ก็พอทน    แต่มีระบบ จดแต้ม เราก็เริ่มถามว่า   

มีระบบประเมิน การทำงานแพทย์ ต่างไปจากที่เราคุ้นเคย   

ทุกวันนี้  หากจะต้องช่วยตรวจ ผป.นัดของแพทย์ท่านอื่น  ก็ต้องตัวเกร็งกันหน่อย ว่าจะมีน้ำใจ หรือ ขอแบ่ง แย่งแต้ม

ปีที่แล้ว 2555  รพ. มีแพทย์ 6 คน รวม ผอ.     ปีนี้ 2556 มีแพทยืลาเรียนต่อ 2 ท่าน  1 ท่านครบใช้ทุน 3 ปี อีก1 ท่าน ใช้ทุนได้ 2ปี ลาเรียน แพทย์สาขาขาดแคลน    เหลือแพทย์ 5 คน รวม ผอ.

และ ตุลาคม 56 เป็นต้นไป  เหลือแพทย์  4 คน   รวม ผอ.  หากไม่รวม ผอ.รพ  จะเหลือ 3 คน เป็นแพทย์ประจำ

หากผอ.ประชุม  แล้ว   แพทย์อีกคนถุกสั่งให้ไปประชุม  จะเหลือแพทย์  2คน ใน รพ. ดูแล ผป.ใน   ผป.นอก ผป.ฉุกเฉิน   

สภาพที่งานของหมอที่เหลือ หนักกว่าปกติ ก็ธรรมดาว่า  ย้ายที่  ดีกว่า    นี้ขนาดยังไม่ได้ลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ที่ รพ. ที่นี้    รพ.ที่นี้ ไม่ได้จัดเป็น พื้นที่พิเศษ    กันดาร   

ผมเลือกมาอยู่ที่นี้ เพราะมี เขื่อน ชลประทาน น้ำท่า สมบูรณ์จริง  ในท้องทุ่ง นาปรังยังเขียวขจี    แต่ผมไม่ใช่เกษตรกร  ไม่มีเวลาไปทำนา  แต่ก็หัดหาความรู้เรื่องเกษตร  ไปทุกอย่าง

เลือกเพราะ ที่ รพ.นี้  แปรรูป ผลิตสมุนไพร ให้ผป.ใช้  ได้บางส่วน 

กลางคืน อยากคุยกับลูก  สอนอะไร บ้างอย่างให้ลูก  ต้องโทรศัพท์คุย  ยังรู้สึกเสียใจ ไม่มีโอกาสใกล้ชิดลูกนัก 

พอลูก สอบแย่งเข้า รร.มัธยม ของรัฐบาลไม่ได้    เอายังไงดีหว่า      อยู่ต่อ  หรือไป  ดีกว่า    และ เพื่อใคร

ชุมชน ยังพอมีแพทย์หมุนเวียนมาได้      เราก็ชำนาญไปอีกแบบ ในสิ่งที่ เป็นทิศทางที่ชาติต้องการ  คือสมุนไพร

แต่ชาวบ้านชอบเรียกขอ ยาฉีด   เราไม่ฉีดยาให้ คะแนนความพึงพอใจของผป.ต่อแพทย์ ลดลง   ก็นำไปคิด เลื่อนขั้นเงินเดือนด้วยจ๊ะ    เราก็ตามใจ เหมือนสังคมเขา ดีกว่า    

เห็นผป.ฉีดยากินยา จนไตเสื่อม   มาพอสมควร    


กรณี นี้น่าสนใจว่า  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด   เลือก เงียบ  .... ไม่เลือกข้างใดข้างหนึ่ง   แสดงว่า รู้จังหวะดี เลือกข้าง แล้ว เสี่ยงแน่    

ทุกปัญหามีคำตอบ เพียงแต่การค้นหาคำตอบบางครั้งก็ต้องใช้เวลาครับคุณหมอ ตั้งสติ ใจเย็น ถ้าใช้อารมณ์เป็นตัวช่วยไม่ถูกหลักแน่ เหรียญทุกเหรียญมีสองด้าน กระทำดีก็จริงก็มีผลสองด้านเช่นกัน คนสั่งไม่ได้ทำ ไม่ทราบถึงปัญหา อีกหน่อยคงต้องขออนุญาติ หายใจเข้า---หายใจออก   เพื่อการมีชีวิตอยู่

นึกถึงในหลวง สิ่งที่ท่านได้ทำต่อชาวไทยมาตลอด ไม่เคยท้อ ท่านบอกว่าอย่างไรคุณหมอคงพอทราบ

ให้ท่านเป็นพลังใจให้คุณหมอก้าวต่อไปซิครับ

อุปสรรคเป็นเพียงการทดสอบตัวเรา

เมื่อย้อนกลับมาดูวันหลัง คุณหมออาจหัวเราะก็ได้

เป็นกำลังใจไห้อีกหนึ่ง ในสังคมที่เสื่อมลงมาก สังคมของการใช้อำนาจบังคับให้ต้องทำผิด แต่ต้องบอกใครๆว่าถูก

สังคมที่ต้องหวามอมขมกลืนจริง

ขอขอบคุณ กำลังใจ และคำแนะนำ ที่มอบให้ กับ กลุ่มแพทย์ชนบท   ตอนนี้เราก็หัวเราะแล้ว  ไม่ต้องรอมองย้อนหลังครับ

ดีใจด้วยครับที่เข้าใจ

อาจารย์ค่ะ ชลัญขออนุญาตไปเผยแพร่ต่อใน FB เป็นกำลังใจให้น้องแพทย์น่ะค่ะ

http://www.facebook.com/atikoms/posts/10151624822025572?comment_id=28993683&offset=0&total_comments=1&notif_t=feed_comment

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท