ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 37


นาม พยัญชนะการานต์

คุณศัพท์ขยายนามหลายเพศ


ก. การแจกนาม พยัญชนะการานต์

1.ในภาษาสันสกฤต มีคำนามจำนวนไม่น้อยที่ลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะ คำเหล่านี้มีการแจกรูปแตกต่างไปเล็กน้อยจากนามที่ลงท้ายด้วยสระ (นามพยัญชนะการานต์บางคำอาจมีรูปคล้ายกับนามสระการานต์ เช่น ราช ราชฺ) โดยมีหลักการกว้างๆ ดังนี้

  1. นามพยัญชนะการานต์จะแบ่งเค้าเป็นหนึ่ง สอง หรือสามตัว
  2. วิภักติที่เป็นพยัญชนะ จะสนธิกับพยัญชนะท้ายคำ ตามหลักสนธิปกติ รูปพยัญชนะจึงอาจเปลี่ยนไป
  3. วิภักติที่เป็นสระ มักจะเติมสระลงไปเลย (ง่ายกว่าสระการานต์อีก)
  4. ตัวที่ยุ่งยากคือ ประธาน เอกพจน์ มักจะมีขั้นตอนพิเศษ
  5. นามเพศชายและหญิง ใช้วิภักติเดียวกัน
  6. นามเพศกลางแตกต่างออกไปก็เฉพาะการกที่ 1 2 และ 8 เท่านั้น (สามการกนี้ในแต่ละพจน์แจกเหมือนกัน)
  7. นามพยัญชนะการานต์อาจทำเป็นนามเพศหญิงได้โดยเติมสระ อี หรือ อาเข้ากับเค้าอ่อนของนามนั้น

2. พยัญชนะที่เป็นการานต์ โดยทั่วไปก็คือ สฺ รฺ มฺ นฺ ตฺ กฺ ปฺ ฏฺ, ที่พบน้อยก็คือ งฺ ลฺ และ ณฺ

3. คำที่แจกรูปแล้วจะมีพยัญชนะท้ายได้เพียง 1 ตัว ดังนั้น เมื่อลงวิภักติแล้ว (คือในกรณี ประธานเอกพจน์ ชายหญิง นั่นแหละ ที่ลง วิภักติ สฺ) หากมีพยัญชนะมากกว่า 1 ตัว ก็ให้ตัดออก จนเหลือตัวเดียว ตัวในสุด และกรณีของวิภักติ สฺ จะลบ สฺ ทิ้ง และชดเชยเสียง เช่น ยืดเสียงสระให้ยาว

4. พยัญชนะท้ายที่ไม่ใช่นาสิก ไม่ว่าเป็นตัวอะไร ให้ใช้พยัญชนะตัวแรกของวรรคนั้นแทน เช่น อนุษฺฏุภฺ+สฺ => อนุษฺฏุปฺ (เปลี่ยนจาก ภ เป็น ป) (จะอธิบายเพิ่มทีหลัง)

5. หฺ จะเปลี่ยนเป็น กฺ หรือ ฏฺ, แต่บางกรณี (ที่ ห แทน ธ รูปเดิม) จะเปลี่ยนเป็น ตฺ

6. พยัญชนะเสียงลมมาก จะเปลี่ยนเป็นเสียงลมน้อย เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ศ ษ ส หรือ ไม่ใช่พยัญชนะนาสิก คือ วิภักติ “ภ-” ทั้งหลาย และ “สุ” (แต่ถ้าอยู่หน้าสระ พยัญชนะกึ่งสระ หรือนาสิก ก็ไม่เปลี่ยน)

7. พยัญชนะท้ายที่เป็นเสียงลมมาก ให้ถอดเสียงลมมาก กลายเป็นเสียงลมน้อย เช่น จาก ธ เป็น ท, จาก ภ เป็น พ แล้วไปเพิ่มเสียงลมมากที่พยัญชนะต้นคำ เช่น พุธฺ > ภุทฺ (บางกรณีไม่สามารถเพิ่มเสียงลมมากที่ต้นคำ เพราะลมมากอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเพิ่ม) ** ข้อนี้เพิ่มมาทีหลัง**

8. การแจกนามพยัญชนะการานต์ ลงท้าย ตฺ , ทฺ, ธฺ และ ภฺ โดยมีการเปลี่ยนเสียงท้าย เมื่ออยู่หน้าวิภัก ภฺ ดังนี้

  ตฺ, ธฺ > ทฺ  และ  ภ > พฺ


ตัวอย่างการแจกนาม มรุตฺ (ปุ. ลม), อาปทฺ (ส. โชคร้าย), ชคตฺ (นปุ. โลก) (คำเหล่านี้มีเค้าเดียว)

.

  .

   มรุตฺ

.

 .

  อาปทฺ

.

 .

 ชคตฺ

.

อาลปน

   มรุตฺ

  มรุเตา

  มรุตสฺ

 อาปตฺ

  อาปเทา

  อาปทสฺ

 ชคตฺ

  ชคตี

  ชคนฺติ

กรรตุ.

   มรุตฺ

  มรุเตา

  มรุตสฺ

 อาปตฺ

  อาปเทา

  อาปทสฺ

 ชคตฺ

  ชคตี

  ชคนฺติ

กรรม

   มรุตมฺ

  มรุเตา

  มรุตสฺ

 อาปทมฺ

  อาปเทา

  อาปทสฺ

 ชคตมฺ

  ชคตี

  ชคนฺติ

กรณ

   มรุตา

  มรุทฺภฺยามฺ

  มรุทฺภิสฺ

 อาปทา

  อาปทฺภฺยามฺ

  อาปทฺภิสฺ

 ชคตา

  ชคทฺภฺยามฺ

  ชคทฺภิสฺ

สัมปทาน

   มรุเต

  มรุทฺภฺยามฺ

  มรุทฺภฺยสฺ

 อาปเท

  อาปทฺภฺยามฺ

  อาปทฺภฺยสฺ

 ชคเต

  ชคทฺภฺยามฺ

  ชคทฺภฺยสฺ

อปทาน

   มรุตสฺ

  มรุทฺภฺยามฺ

  มรุทฺภฺยสฺ

 อาปทสฺ

  อาปทฺภฺยามฺ

  อาปทฺภฺยสฺ

 ชคตสฺ

  ชคทฺภฺยามฺ

  ชคทฺภฺยสฺ

สัมพันธ

   มรุตสฺ

  มรุโตสฺ

  มรูตามฺ

 อาปทสฺ

  อาปโทสฺ

  อาปทามฺ

 ชคตสฺ

  ชคโตสฺ

  ชคตามฺ

อธิกรณ

   มรุติ

  มรุโตสฺ

  มรุตฺสุ

 อาปทิ

  อาปโทสฺ

  อาปตฺสุ

 ชคติ

  ชคโตสฺ

  ชคตฺสุ

โปรดสังเกต นปุ. พหูพจน์ มีการแทรก นฺ ก่อนพยัญชนะท้าย แล้วจึงเติม อิ

8. บางการานต์ เมื่อพยัญชนะท้ายมีลมมาก เสียงก้อง (ฆฺ ธฺ ภฺ และ หฺ ที่เป็นตัวแทนของ ธฺ) กลายเป็นเสียงลมน้อย, พยัญชนะต้นของมัน (คฺ ทฺ หรือ พฺ) จะกลายเป็นเสียงลมน้อย เช่น พุธฺ > ภุตฺ, ภุทฺภฺยสฺ, ภุตฺสุ (จะเป็นกรณีหน้าวิภักติพยัญชนะ)


ข. การแจกคุณศัพท์ (คุณนาม)

คุณศัพท์ หรือคำขยายนามนั้น หากใช้คำเดียว ขยายนามหลายตัว ก็ทำได้ แต่มีปัญหาว่า คุณศัพท์นั้นจะใช้เพศอะไร ให้พิจารณาดังนี้

  1. นามเพศชายและหญิง คุณศัพท์เป็นเพศชาย
  2. ถ้านามเพศชาย หรือหญิง กับนามเพศกลาง คุณศัพท์เป็นเพศกลาง


ศัพท์

ธาตุ

  • √รุหฺ เติบโต. บอกเหตุ โรยติ, โรยติ. ทำให้งอก ปลูก
  • √ลภฺ บอกเหตุ ลมฺภยติ. ทำให้รับ ให้ (คำนี้มีแทรกนิคหิต)

นาม (โปรดสังเกต คำไหนลงท้ายพยัญชนะ คำไหนลงสระอะ)

 
  • อุปนิษทฺ  ส. คัมภีร์อุปนิษัท
  • อุปวีตฺ     นปุ. สายคล้องของวรรณะทั้งสาม
  • ตฑิตฺ      ส. สายฟ้า
  • ทฺฤษทฺ   ส. ก้อนหิน
  • นิรฺวฺฤติ    สฺ. ความสบาย ความสุข
  • โปษก     ปุ. ผู้สนับสนุน
  • ภูภฺฤตฺ     ปุ. พระราชา ภูเขา (ผู้ถือแผ่นดิน)
  • มรุตฺ        ปุ. ลม, ถ้าเป็นพหูพจน์ หมายถึง เหล่ามรุต คือ บรรดาเทพแห่งพายุจำนวนหนึ่ง
 
  • วาต     ปุ. ลม
  • วิศฺวาสฺ ปุ. ความเชื่อถือ
  • วฺฤตฺร   ปุ. อสูรชื่อ วฤตระ (ในคัมภีร์ฤคเวท กล่าวถึงบ่อย นี่ตัวร้ายเลย)
  • ศต       นปุ. หนึ่งร้อย
  • ศรทฺ     ส. ฤดูใบไม้ร่วง, ปี
  • สมิธฺ     ส. ฟืน
  • สริตฺ      ส. แม่น้ำ
  • สุหฺฤทฺ  ปุ. เพื่อน

คุณศัพท์

กุศล ปุ., กุศลา ส.       ชำนาญ มีความรู้                       ตฺริวฺฤตฺ           ปุ.,ส. สามอย่าง, สามเท่า

ทุรฺลภ ปุ., ทุรฺลภา ส.  หายาก ลำบาก                          ภกฺต ปุ. ภกฺตา  ส. มีความภักดี จริง

ศัพท์ไม่แจก

ปศฺจาตฺ   ข้างหลัง, หลัง (ใช้กับ สัมพันธการก)


แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

ते पुत्रा ये पितुर्भक्ताः स पिता यस्तु पोषकाः।

तन्मित्रं यत्र विश्वासः सा भार्या यत्र निर्वृतिः॥ 8 ॥

  • हे शिष्य समिधो वनादाहर। 1 
  • उपनिषत्सु मुक्तेर्मार्ग उपदिश्यते। 2
  • आपदि सुहृदो’ स्मान्पालयेयुः। 3
  • विश्वस्यां भुवि पापा भूभृद्भिर्दण्ड्यन्ताम्। 4
  • समिद्भिरग्निं यजेत। 5 
  • पुण्येन जगती जयेः। 6
  • त्वं जीव शरदः शतम्। 7
  • भूभृतः (gen.) शिखरं वयमारोहाम यूयमधस्तादतिष्ठत। 8
  • काश्चित्सरितः समुद्रेण काश्चिदन्याभिः सरिद्भिः संगच्छन्ते। 9
  • रात्रौ तडिददृश्यत | 10 
  • भक्ताः सुहृदो’ स्मान्सुखं लम्भ्यन्ति । 11
  • अश्रुभिर्नार्यो बालाश्च मनोरथान्साधयन्ति। 12
  • शरदि कासुचित्सरित्सु पद्मानि दृश्यन्ते। 13

2. แปลไทยเป็นสันสกฤต

  1. พระอินทร์ พร้อมด้วยเหล่ามรุต ผู้เป็นเพื่อน ฆ่าวฤตระแล้ว
  2. ปราศจากเพื่อน ไม่มีใครกระทำการยาก(ได้)
  3. บุคคล(ใช้กริยาพหูพจน์ ไม่ต้องมีสรรพนามประธานก็ได้) พึงปลูกต้นไม้บนถนนทั้งหมด เพื่อร่มเงา
  4. เพื่อนเหล่านั้นผู้เป็นจริงในความโชคร้าย ยากที่จะพบได้ในสามโลก
  5. สายคาดเอวและอุปวีตพึงถูกทำขึ้นสามทบ (นปุ. ทวิพจน์)
  6. ยังให้วาง (ใช้ธาตุ สฺถา) หินนี้หลังกองไฟ
  7. ทะเลถูกกวีเรียกว่าสามีแห่งแม่น้ำทั้งหลาย
  8. ประชาชนทั้งปวงต้องถูกคุ้มครองโดยพระราชาทั้งหลาย
  9. บางคนแห่งพราหมณ์เหล่านี้ชำนาญในอุปนิษัท คนอื่นๆ ในคัมภีร์สมฤติ


หมายเลขบันทึก: 531833เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2013 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (81)

ขอบพระคุณสำหรับบทเรียนค่ะ 

แต่เดี๋ยวต้องกลับไปดูที่อาจารย์เฉลยไว้ก่อน นี่เพิ่งเปิดมาเห็นค่ะ

มีข้อสงสัยดังต่อไปนี้ค่ะ ...

- จบบทนี้ก็หมดพยัญชนะการันต์แล้วใช่ไหมค่ะ ที่ถามเพราะเดี๋ยวเผื่อมีคำอื่นแล้วไม่รู้จะแตกเค้ายังไงค่ะ

- 4.) ตัวที่ยุ่งยากคือ ประธาน เอกพจน์ มักจะมีขั้นตอนพิเศษ - ข้อสี่ที่ว่านี้มีขั้นตอนพิเศษยังไงกับ วิภักติ สฺ คะ 

- นามพยัญชนะการานต์อาจทำเป็นนามเพศหญิงได้โดยเติมสระ อี หรือ อาเข้ากับเค้าอ่อนของนามนั้น

อันนี้ก็งงตรงเค้าอ่อน ไม่เห็นอาจารย์จะยกตัวอย่างให้ดูเลยค่ะ เพราะคำตัวอย่างที่แสดงไว้ในบทนี้มีเค้าเดียว

หรือว่า มรุตฺ (ปุ. ลม) ทำให้เป็นเพศหญิงก็ มรุตฺ + อี = มรุตี แบบนี้เหรอค่ะ 

ก็กลายเป็นลมเพศหญิง แล้วก็นำไปแจกวิภักติต่อ ?



เอาข่าวมาฝากด้วยค่ะ ไม่ทราบว่าอาจารย์จะเห็นหรือยัง เผื่อท่านอื่นๆจะสนใจ




เอาข่าวมาฝากด้วยค่ะ ไม่ทราบว่าอาจารย์จะเห็นหรือยัง เผื่อท่านอื่นๆจะสนใจ

เอ๊ะ..อาจารย์ค่ะ 


'' วฺฤตฺร  ปุ. อสูรชื่อ วฤตระ (ในคัมภีร์ฤคเวท กล่าวถึงบ่อย นี่ตัวร้ายเลย) ''

มันจะใช่ตัวเดียวกันกับที่หนูอ่านเจอในโซโรอัสเตอร์หรือเปล่าเอ่ย ตามลิ้งนี้ล่ะค่ะ

http://en.wikipedia.org/wiki/Verethragna


ลองหาดูในพจนานุกรมก็ได้แบบนี้ ..


 ป.ล. ว่าจะถามอาจารย์ตั้งนานแล้วลืมทุกที อยากจะอ่านคัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่แปลไว้เป็นภาษาไทยพอจะหาอ่านได้ที่ไหนบ้างไหมค่ะ แต่ถ้าไม่มีจริงๆคงต้องหาอ่านที่เป็นภาษาอังกฤษ

จริงๆหนูว่ามันน่าสนใจจะตาย น่าจะมีคนทำไว้บ้างนะค่ะ




เรื่องการแจกพิเศษอะไรนี่ ไว้ค่อยว่าในบทต่อๆไปดีกว่าครับ ไม่งั้นจะยุ่งเหยิง

ตอนนี้เล้าไว้กว้างๆ ให้พอเห็นภาพรวม

ขอบคุณมากครับที่บอกข่าว น่าสนใจจริงๆ (พี่อมรา ก็จบ โท เอก สันสกฤตที่ศิลปากรครับ)

คัมภีร์อะเวสตะยังไม่มีคนแปลหรอกครับ ภาษาอังกฤษหาอ่านได้ไม่ยาก

ที่น่าสนใจก็คือ สอดคล้องกับคัมภีร์ฤคเวทอย่างมาก ขนาดว่าเทียบคำกันได้เลย มีเวลาผมก็อยากศึกษาลึกๆ เหมือนกัน

วฤตระ ตัวนั้นแหละครับ. ยังไงก็ไม่ทราบ เทพอสูรในพระเวท พอไปอยู่ในอะเวสตะ สลับดีเป็นร้าย ร้ายเป็นดีเฉยเลย


ยกตัวอย่างหน่อยก็ได้ครับ จะได้หายสงสัย;)

เช่น ราชนฺ แจก ประธาน เอกพจน์ = ราชนฺ+สฺ > ราชนฺสฺ

ราชนฺ (ปุลฺ) มีรูปอ่อน คึอ ราชฺญฺ, เติม อี เป็น ราชฺญี (สฺตฺรี)  แต่ถ้าเติม อา รูปอ่อนคือ ราชฺ = ราชา (สฺตฺรี) แบบนี้ ยุ่งวุ่นวายพอสมควร ก็เลยยังไม่สอนในบทนี้

ข้อเจ็ดตกคำว่า ติ ไปค่ะ 

'' เมื่ออยู่หน้าวิภัก ภฺ ดังนี้ ''

บทนี้ไม่มีแบบฝึกหัดเหรอค่ะ ?


แก้ไขแล้วครับ

เพิ่มแบบฝึกหัดแล้ว ;)

ลมฺภยติ. ทำไมต้องแทรกนิคหิตค่ะ ?

เพราะว่า ลภฺ มีสองรูปครับ ลํภฺ และ ลภฺ

เพราะฉะนั้น รูปปัจจุบัน แจก ลมฺภติ ลมฺภเต ได้ด้วย

แต่บอกเหตุ ใช้ ลํภฺ แบบเดียว

อาจารย์หนูสนใจเรื่อง วฤตราสูร ( เรียกแบบนี้ได้ไหมคะ ? ) มากๆเลยค่ะ

จริงๆเคยอ่านอะไรมาบ้างเรื่องทำเนียบเทพเจ้าของทั้งสองกลุ่มนี้ สนุกมากค่ะ

ตั้งแต่ช่วงที่กลุ่มอารยัน - อิหร่านทะเลาะกัน ตามความเห็นส่วนตัวของหนูยังเคยแอบคิดว่ามหาภารตะนั้นเกิดก่อนรามายณะสะอีก คิดว่าอารยันอิหร่านทะเลาะกันเอง แล้วฝั่งแพ้ก็ถอยร่นลงมา

เลยเกิดการใส่ความโยนความกันขึ้น ต่างฝ่ายต่างก็ว่าอีกฝ่ายว่าเป็นอสูร


ตอนนี้ก็อยากดูสารคดีกรมโบราณคดีอินเดียเขาไปสำรวจทุ่งกุรุเกษตรหรือเมืองทวารกาที่จมอยู่ในน้ำ อยากตามรอยไปมากเลยค่ะ อิอิ

ถ้ามีคนทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะเวสตะกับพระเวท แล้วเอาทำเนียบเทพเจ้ามาเทียบกันคงจะได้ประโยชน์มิน้อยนะค่ะ




อาจารย์ค่ะ ชื่อ กาตยะ นี้มีความหมายอย่างไรบ้างค่ะ เคยได้ยินมาว่าเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า

กับเป็นชื่อของฤาษีหนึ่งตนผู้เป็นบิดาของพระแม่กาตยายินี

ขอบคุณค่ะ

- มรุตฺ ( ประธาน - เอก) มรุตฺ + สฺ = มรุตฺ (อย่างนี้จะเรียกว่าสนธิยังไงค่ะ หรือว่า สฺ เสียงไม่ก้อง ก็ตัดวิภักติ สฺ นั้นทิ้งเลยไม่ต้องสนธิ )

- อาปทฺ + สฺ รูปเดิมคือ อาปทฺ แล้วมันสนธิกันยังไงถึงออกมาเป็น อาปตฺ ค่ะ


การกที่สี่ มรุตฺ + ภิสฺ เหรอค่ะ / ไม่ใช่ มรุตฺ  + ภฺยสฺ นะค่ะอาจารย์ ?

-ภฺยสฺ ครับ แก้แล้ว

ตามหลักต้องสนธิก่อน แต่ ตฺ และ สฺ ไม่ก้อง จึงไม่เปลี่ยนเสียง, จากนั้นตัด สฺ ทิ้ง

อาปทฺ + สฺ เปลี่ยน ทฺ เป็น ตฺ ไม่ก้อง ตาม สฺ, แล้วตัด สฺ ทิ้ง

มรุตฺ ภิสฺ เปลี่ยน ตฺ เป็น ทฺ ตาม ภฺ

ตัวการานต์จะเปลี่ยนก้องไม่ก้อง ตามวิภักติ ครับ


กาตยะ ไม่แน่ใจว่าตัวไหน

แต่ถ้า กาตฺยายน (หมายถึง ลูกหลานของ กาติ) ก็ตรงกับ กัจจายนะ ในภาษาบาลี

มีคนชื่อนี้เยอะครับ แต่ในพุทธศาสนามีพระกัจจายนะด้วย และมีนักไวยากรณ์ชื่อนี้ด้วย


เรื่องเทพฤคเวท และอะเวสตะ คงจะมีคนศึกษามานานพอสมควรแล้วนะครับ

ลองอ่านงานของ Max Muller น่าจะมี

และเรื่องนี้ http://www.ijsrp.org/research-paper-0812/ijsrp-p0879.pdf


เรียก วฤตราสูร ก็ได้ครับ


มหาภารตะ เป็นเรื่องที่ปะติดปะต่อกันในสมัยหลัง แกนเรื่องจริงคงจะเก่ามาก อาจมาจากเรื่องจริงสมัยโบราณมากๆ 

ส่วนรามายณะน่าจะมีความเป็นนิยายมากกว่า แต่ก็เก่าแก่ เพราะมีทสรสชาดกในพระสูตรด้วย 

แต่ทั้งนี้ก็มีหลายเรื่องที่ปรากฏทั้งในรามายณะและภารตะ เช่น เรื่องครุฑกับนาค เรื่องฤษีต่างๆ

มีนักวิชาการบางคนศึกษาประวัติของเรื่องเหล่านี้โดยวิเคราะห์ดวงดาว น่าสนใจเหมือนกัน 


คอยฟังข่าวการประชุมรามายณะนะครับ เคยจัดบ้านเราด้วย ไม่ทราบครั้งถัดไปจัดที่ไหน

√รุหฺ เติบโต. บอกเหตุ โรนติ, โรยติ. ทำให้งอก ปลูก 

อย่างแรกคือทำคุณที่สระอุใช่ไหมค่ะ จาก รุ เป็น โร แต่..

คำแรก โรนติ ตัว นฺ มาจากไหนค่ะ ที่จริงน่าจะเป็น โรหยติ หรือเปล่าค่ะ ?

คำที่สอง  โรยติ  ตัว ปฺ นี้มาจากไหนค่ะ ดูแล้วธาตุก็ไม่ได้ลงท้ายเสียง อา หรือ ฤ

แล้วก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย อิ หรือ อี ที่เป็นเหตุให้ต้องเติม ปฺ เลยค่ะ งง


โรหยติ และ โรปยติ(คำนี้นิยมใช้ในสมัยหลัง สมัยเก่าๆ ไม่มี) ครับ

ตัว โรปยติ นั้น เป็นตัวพิเศษอีกแหละ, คงไม่ใช่การเติม ป ตามหลักบอกเหตุ เพราะมีการใช้ โรป ในรูปอื่นด้วย  

เช่น กรรมวาจกใช้ रोप्यत  ลุงฺ(อดีตกาลแบบหนึ่ง) ใช้ अरोपि

คงมีขั้นตอนบางอย่างที่ทำให้ ห หายไป แล้ว ใส่ ป แทน

หรือธาตุนี้มีสองฐาน ใช้ รุหฺ และ รุปฺ (ธาตุ รุปฺ แจกบอกเหตุเป็น โรปยติ เหมือนกัน)

คำที่มี ห นั้น มักจะแจกเป็นตัวอื่นได้ด้วย คอยสังเกตดูนะครับ

อันที่จริง คำพวกนี้อธิบายที่มาได้ ถ้าเราทราบประวัติคำ (แต่เราไม่ทราบประวัติคำได้หมด)

พอดีหนูไปถ่ายรูปหนังสือของเพื่อนมา ''สัทธรรมปุณฑริกสูตร ''

เจอสามบรรทัดล่างสุดที่สนธิยาวติดกันเป็นพืดนี่ตกใจมากๆค่ะ ฮ่าๆ

ยอมเขาเลยจริงๆ จะไม่ให้ได้หยุดพักหายใจหายคอกันบ้างหรือไงค่ะ

อาจารย์พอจะแยกได้ไหมค่ะ ตาลาย มึนมากๆ



ไม่ยากครับ ตรงนี้เป็นแค่ศัพท์ชิดกัน คือสนธิอย่างง่าย

การกที่ 3 พหูพจน์ ก็ลง ไ-รฺ ร้อยไปเรื่อยๆ

ข้างบนที่มี จ เยอะๆ ก็ การกสาม เอกพจน์

พระสูตรมหายานจริงแล้วอ่านง่ายนะครับ ส่วนมากจะมีคำซ้ำๆ มีพระนามพระพุทธเจ้ามากมาย

ไวยากรณ์ไม่ยากมาก ลองอ่านดูก็ได้ เริ่มต้น เอวํ เม ศฺรุตํ ฯลฯ เอกํ สมยํ ภควา ฯลฯ

ลองอ่านนี้นะครับ มีสรรพนามหลายตัว

Rosa Goes to the City

อาจารย์ค่ะ หนูต้องการทราบวิภักติทั้งหมดของนามพยัญชนะการานต์เพศกลางค่ะ

เพราะตอนจดลงไปในสมุด หนูจะเขียนไว้ด้วยว่าเค้าตัวนี้สนธิกับวิภักติตัวใดถึงได้ออกมาเป็นคำนี้

ขอบคุณค่ะ 

ข้อหนึ่ง วนาทาหร แยกไม่ได้ ฮือๆ

เพศกลาง เฉพาะการก 1, 2 และ อาลปนะ

มฺ    อี     อิ  ที่เหลือก็เหมือนเพศชาย

อา   ภฺยามฺ   ภิสฺ

เอ    ภฺยามฺ  ภฺยสฺ

อสฺ   ภฺยามฺ  ภฺยสฺ

อสฺ   โอสฺ    อามฺ

อิ     โอสฺ     สุ


วนาทาหร, วนาตฺ อาหร(√หฺฤ+อา)



นางเพศกลาง การกที่สอง เอกพจน์นี้  ชคตฺ + มฺ  ทำไมไม่ได้เป็น ชคนฺมฺ ละค่ะ (ตฺ เปลี่ยนเป็น นฺ เมื่อมีพยัญชนะนาสิก {ม} ตามมา )

แต่ถ้าเป็นวิภักติ -อมฺ ก็ได้อยู่ ชคตมฺ 

หนูคิดเยอะไปไหมค่ะ ฮ้าๆๆ

ดีแล้วครับ ต้องคิดให้ละเอียด (ไม่เคยมีใครถามเลยนะเนี่ย...)

ตรงกับข้อสี่ครับ พยัญชนะท้ายที่ไม่ใช่นาสิก ไม่ว่าเป็นตัวอะไร ให้ใช้พยัญชนะตัวแรกของวรรคนั้นแทน

ตัวแรกของวรรค ต คือ ต ก็ได้ ต, ตัวแรกของวรรคที่มี ท ก็คือ ตฺ, ฉะนั้น อาปทฺ(+สฺ) สฺมิธฺ(+สฺ) หรือ ชคตฺ(+มฺ) ก็ได้ ตฺ เป็นพยัญชนะท้ายอยู่ดีครับ...

1.) हे शिष्य समिधो वनादाहर 

โอ้..นักเรียน  (เห ศิษฺย ) เธอจงไปนำ (อาหร) ฟืนทั้งหลายเหล่านั้น (สมิธสฺ) มาจากป่า (วนาตฺ )


2.) उपनिषत्सु मुक्तेर्मार्ग उपदिश्यते।  

หนทาง (มารฺคสฺ) แห่งความหลุดพ้น (มุกฺเตสฺ) ถูกพร่ำสอน (อุปทิศฺยเต) ไว้ในคัมภีร์อุปนิษัททั้งหลายเหล่านั้น (อุปนิษตฺสุ )


3.) आपदि सुहृदो’ स्मान्पालयेयुः।   

ในความยากลำบาก,โชคร้าย (อาปทิ) เหล่าเพื่อน (สุหฺฤทสฺ) พึงคุ้มครอง (ปาลเยยุส) เราทั้งหลาย (อสฺมานฺ)


4.) विश्वस्यां भुवि पापा भूभृद्भिर्दण्ड्यन्ताम्।

  ที่ในแผ่นดินทั้งปวง (วิศฺวสฺยามฺ ภุวิ) จงถูกทำโทษ ( ฑณฺฑฺยนฺตามฺ) โดยพระราชาที่ชั่วร้ายทั้งหลาย(ปาปา ภูภฺฤทฺภิสฺ)/  ข้อนี้ติดคำว่า ปาปา อย่างเดียวค่ะ เลยทำให้แปลไม่รู้เรื่องเลย มันคือคำคุณศัพท์ใช่ไหมค่ะ มิใช่คำนามเพศกลาง


5.) समिद्भिरग्निं यजेत।  

ท่านทั้งหลายพึงสังเวย (((((ยเชต) พระอัคนี,ไฟ (อคฺนิมฺ) ด้วยฟืนทั้งหลายเหล่านั้น (สมิทฺภิสฺ)


6.) पुण्येन जगती जयेः।

  ขอให้ท่านจงชนะ (ชเยสฺ) โลกทั้งสองนั้น (ชคตี) ด้วยผลบุญ (ปุณฺเยน)


7.) त्वं जीव शरदः शतम्।   

ท่าน (ตฺวมฺ) จงมีชีวิต (ชีว) เป็นร้อยปี (ศตมฺ )


8.) भूभृतः (gen.) शिखरं वयमारोहाम यूयमधस्तादतिष्ठत। 

ข้อนี้ติดคำนี้อยู่คำเดียวเลยค่ะ ‘’อธสฺตาตฺ ‘’ เซ็งมาก หาไม่เจอ จะว่าเป็นกริยาอดีตกาลธรรมดาก็ไม่ใช่ ส่วนคำนามนั้นก็หาไม่พบ {–ภูภฺฤตสฺ =ของภูเขา , - ศิขรมฺ =ซึ่งส่วนยอด,ส่วนบน , –วยมฺ =เราทั้งหลาย ,-ยูยมฺ ท่านทั้งหลาย, - ติษฺฐต ={ท่านทั้งหลาย}จงยืน ,ตั้ง}

-สงสัยอีกส่วนนึงตรงนี้ค่ะ  ไม่รู้จะแยกสนธิถูกหรือเปล่า วยมฺ อาโรหาม (รุหฺ +อา) + อาม {ปัจจัยบอกบุรุษ/พจน์ชองอาชญมาลา ปรัสไมบท บุรุษที่1 พหูพจน์ ถูกไหมค่ะ

 แล้ว (รุหฺ +อา)  นี่มันแปลว่าอะไรค่ะ เห็นมีอุปสรรค อา มาด้วย แปลว่า ‘’ขึ้น’’หรือเปล่าเอ่ย


9.) काश्चित्सरितः समुद्रेण काश्चिदन्याभिः सरिद्भिः संगच्छन्ते।  

ข้อนี้มั่วค่ะ แปลไม่ถูก ไม่รู้จะแปลพวก ก จิทฺ ยังไง แยกสนธิได้แต่แปลไม่รู้เรื่อง อิอิ

แม่น้ำอื่นๆมารวมกันโดยมหาสมุทร.


10.) रात्रौ तडिद्दृश्यत| 

 สายฟ้า (ตฑิตฺ)จงถูกเห็น (ทฺฤศฺยต )ในตอนกลางคืน(ราตฺเรา) / ข้อนี้งงคำว่าสายฟ้าและกริยาเนี่ยละค่ะ


11.) भक्ताः सुहृदो’ स्मान्सुखं लम्भ्यन्ति ।

  เหล่าเพื่อนที่จริงใจ (ภกฺตาสฺ สุหฺฤทสฺ )ให้ (ลมฺภฺยนฺติ)ความสุข (สุขมฺ) เราทั้งหลาย (อสฺมานฺ)


12.) अश्रुभिर्नार्यो बालाश्च मनोरथान्साधयन्ति।   

เหล่าบรรดาผู้หญิง (นารฺยสฺ) และเด็กๆทั้งหลาย (พาลาสฺ จ) ทำให้ (สาธยติ) ความปรารถนาทั้งหลายเหล่านั้น (มโนรถานฺ) สำเร็จลง ด้วยน้ำตา (อศฺรุภิสฺ )


13.) शरदि कासुचित्सरित्सु पद्मानि दृश्यन्ते।

  บัวบางเหล่า(ปทฺมานิ กาสุจิตฺ) ที่ในแม่น้ำ( สริตฺสุ)  ถูกเห็น ( ทฺฤศฺยนฺเต) ในฤดูใบไม้ร่วง ( ศรทิ)



นามพยัญชนะการานต์นี่ยากเหมือนกันนะค่ะ ต้องดูให้ละเอียดเลย ไม่คุ้นตาเลยค่ะเวลาที่สนธิกัน

อาจารย์ค่ะ เห กับ hey จะมีฐานมาจากคำเดียวกันไหมค่ะ

แล้วก็ ทรมาน กับ torment ด้วย

อาจารย์เคยดูหนังเรื่องเทวากับซาตานไหมค่ะ นางเอกเธอเป็นนักฟิสิกส์ แปลภาษาละตินในห้องสมุดของวาติกันได้ด้วยค่ะ เท่ห์มากๆ อิอิ


พระอินทร์ พร้อมด้วยเหล่ามรุต ผู้เป็นเพื่อน ฆ่าวฤตระแล้ว

ผู้เป็นเพื่อนนี่ใช้นาม ฤ การันต์ ที่มีความหมายว่าผู้กระทำ เหรอค่ะ ไม่เห็นจะมีเลยคำนี้ หรือไปใช้คำนามธรรมดาที่แปลว่าเพื่อนแทน


เที่ยวนี้แปลยกศัพท์เลยทีเดียว ดีแล้วครับ จะได้ไม่พลาด

อาโรหาม แปลว่า เราทั้งหลายปีน, ขึ้น

อธสฺตาตฺ เป็นอวยย ไม่แจกรูป แปลว่า ด้านล่าง. ถ้าไม่เจอศัพท์ ลองค้นศัพท์ทั้งคำดู

9.) काश्चित्सरितः समुद्रेण काश्चिदन्याभिः सरिद्भिः संगच्छन्ते।  

แม่น้ำบางสาย (กาสฺ จิทฺ สริตสฺ) พบกับมหาสมุทร, แม่น้ำบางสาย (กาสฺ จิทฺ ตัวหลัง) พบกับแม่้น้ำอื่นๆ ทั้งหลาย


10.) रात्रौ तडिददृश्यत | ข้อนี้พิมพ์ตกครับ ตฑิททฺฤศฺยต 

ตฑิตฺ อทฺฤศฺยต, ในตอนกลางคืน สายฟ้าทำให้แลเห็นแล้ว (อดีตกาล, บอกเหตุ, เอกพจน์ บุรุษที่สาม)

13.) शरदि कासुचित्सरित्सु पद्मानि दृश्यन्ते।

  บัวทั้งหลาย(ปทฺมานิ) ถูกเห็น ( ทฺฤศฺยนฺเต) ที่ในแม่น้ำบางแห่ง(กาสุ จิทฺ สริตฺสุ)  ในฤดูใบไม้ร่วง ( ศรทิ)

ให้สังเกตคำที่อยู่ใกล้กันที่สัมพันธ์กัน ปทฺมานิ จะไม่กระโดดไปสัมพันธ์กับ จิทฺ ข้างหน้า

เห คงเป็นเสียงพ้องมากกว่านะครับ เพราะพบในหลายภาษา แต่คงต้องค้นประวัติคำก่อน จึงจะตอบได้

torment มาจากธาตุคนละตัวครับ

เทวาซาตานยังไม่ได้ดูครับ แต่ "เท่" ไม่มี ห์ อิๆๆ

ผู้เป็นเพื่อน ใช้สหาย หรือ มิตร อะไรก็ได้ครับ (ใส่การกที่สาม พหูพจน์)


** จะขึ้นไปอธิบายเรื่องการลงวิภักติเพิ่มเติมนะครับ**

1. อาปทฺ + สฺ เป็น อาปตฺ นั้น สนธิธรรมดา

2. พยัญชนะท้ายที่เป็นเสียงลมมาก ให้ถอดเสียงลมมาก กลายเป็นเสียงลมน้อย เช่น จาก ธ เป็น ท, จาก ภ เป็น พ

แล้วไปเพิ่มเสียงลมมากที่พยัญชนะต้นคำ เช่น พุธฺ > ภุทฺ (บางกรณีไม่สามารถเพิ่มเสียงลมมากที่ต้นคำ เพราะลมมากอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเพิ่ม)

ขอบคุณค่ะ นี่ว่าบทต่อไปเรื่องพยัญชนะการันต์ถ้าไม่ลำบากอาจารย์มากจนเกินไป อยากจะให้เขียนและแสดงให้ดูด้วยว่า เค้าของคำนี้ไปสนธิกับ วิภักติอะไร เพราะดูๆแล้ว ยากจริงๆค่ะ ต้องนั่งเพ่งอยู่พักใหญ่เลย

แบบฝึกหัดที่เหลือ พยายามทำนะครับ

หลังจาก 16 เมษายน จะกลับมาตรวจต่อครับ

โอ้ อาจารย์จะไปธุระนานเลยเหรอค่ะ


स्वगृहे पूज्यते मूर्खः स्वग्रामे पूज्यते प्रभुः ।

स्वदेशे पूज्यते राजा विद्वान् सर्वत्र पूज्यते ॥

- สฺว ทั้งหลายที่นำหน้าคำนามนี้คืออะไรค่ะอาจารย์

สฺว แปลว่า ของตนเอง

สฺวคฺฤเห ในบ้านของตัวเอง ฯลฯ

สวัสดีค่ะ มาขอรบกวนอาจารย์ช่วยแปลประโยคสั้นๆอันนี้ให้นิดหน่อย

เพราะดูท่าแล้วหนูคงยังแปลเองไม่ได้แน่ๆ ไม่ค่อยคุ้นเลย 

อยากให้อาจารย์ช่วยแปลแล้วแยกศัพท์ให้ดูด้วยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

kalyapālakule janma tattenaiva pramāṇitaṃ kṣīvocitāpabhraṃśokter daivī vāg asya nābhavat 5-206

สับสนโจทย์เล็กน้อยค่ะ...

1.) พระอินทร์ พร้อมด้วยเหล่ามรุต ผู้เป็นเพื่อน ฆ่าวฤตระแล้ว

  =  อินฺทฺโร มรุทฺภิะ สุหฺฤทา วฺฤตฺรมมารยนฺ


2.)  ปราศจากเพื่อน ไม่มีใครกระทำการยาก(ได้)

 =   สุหฺฤทา วินา น กศฺจิทฺทุรฺลภํ การฺยํ กรติ


3.) บุคคล(ใช้กริยาพหูพจน์ ไม่ต้องมีสรรพนามประธานก็ได้) พึงปลูกต้นไม้บนถนนทั้งหมด เพื่อร่มเงา

 =   มารฺเคษุ ฉายาภฺโย วฺฤกฺษานฺโรปเยยุะ


4.) เพื่อนเหล่านั้นผู้เป็นจริงในความโชคร้าย ยากที่จะพบได้ในสามโลก

(ข้อนี้ คุณศัพท์คำว่ายาก จะเอาไปขยายนามไหนค่ะ  มันดูแล้วน่าจะขยายกริยามากกว่า)

  อาปที ตฺริวฺฤติ โลเก เต สุหฺฤทะ สตฺเยน สมฺคจฺฉนฺเต


5.) สายคาดเอวและอุปวีตพึงถูกทำขึ้นสามทบ (นปุ. ทวิพจน์)

 เมขลา อุปวีจฺจ ตฺริวฺฤตี กลฺปเยตามฺ


6.) ยังให้วาง (ใช้ธาตุ สฺถา) หินนี้หลังกองไฟ

  ปศฺจาทคฺนิรฺทฺฤษทํ สฺถาปเยตฺ


7.) ทะเลถูกกวีเรียกว่าสามีแห่งแม่น้ำทั้งหลาย

  อุทธิะ ภรฺตา สริตำ กวินา อุจฺยเต


8.) ประชาชนทั้งปวงต้องถูกคุ้มครองโดยพระราชาทั้งหลาย

  วิศฺเว โลกา ถูภฺฤทฺภิะ ปาลฺยนฺตามฺ


9.) บางคนแห่งพราหมณ์เหล่านี้ชำนาญในอุปนิษัท คนอื่นๆ ในคัมภีร์สมฤติ

  =  เก จิทฺ พราหฺณสฺย เอเต กุศเล อุปนิษทิ อนฺเย นราะ สฺมฤเตา

ข้อนี้งงหนัก คำว่า บางคน ค่ะ

ते पुत्रा ये पितुर्भक्ताः स पिता यस्तु पोषकाः।

तन्मित्रं यत्र विश्वासः सा भार्या यत्र निर्वृतिः॥


ใครภักดีต่อบิดาเขาคือลูกที่แท้จริง ใครภักดีต่อบุตรทั้งหลายเขาคือบิดาที่แท้จริง

 


 ป .ล .มั่วเอานะค่ะ รู้สึกว่าโศลกบทนี้จะใช้คุณศัพท์อะไรร่วมกันหลายตัวมาก

หนูไม่ชอบอะไรทำนองนี้เลยค่ะ ไม่ถนัดจริงๆ คือเดาไม่ได้เลยว่า

สรรพนามอันไหน สัมพันธ์กับคำนามหรือคุณศัพท์คำไหน ต่อให้เป็นเพศเดียวกัน พจน์เดียวกันก็เถอะค่ะ

หนูเป็นประจำเลยค่ะ แยกสนธิได้แต่แปลออกมาแล้วไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ใจความ เฮ้อ..

ตอนอาจารย์เฉลยรบกวนช่วยยกศัพท์มาเทียบให้ดูด้วยนะค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

เก็บดอกไม้นี่ ใช้กริยาอะไรดีค่ะ ?

เก็บดอกไม้ ใช้ ฉิทฺ ธาตุหมวด 7, แจก ฉินตฺติ, ฉินฺตฺเต ครับ

ที่เหลือไว้ก่อนนะ คืนนี้คงตรวจได้หมดครับ ขยันดีมากครับ

กิมรฺถํ ส เอวํ วทติ ?

ประโยคนี้ถูกไหมค่ะอาจารย์ เราก็ไม่ต้องใส่ ก เพื่อให้เป็นประโยคคำถามเพิ่มเข้าไปใช่ไหมค่ะ

เพราะมี กิมรถมฺ อยู่แล้ว 


เย้ .. ครูกลับมาแล้ว อิๆๆ

เลยขอให้อาจารย์ช่วยตรวจสองประโยคนี้หน่อยค่ะว่าถูกไหม 

- ตฺวมาปเณน กาภิรฺอคจฺฉะ ?


กับประโยคที่สองนี้มีปัญหาค่ะ หนูจะสร้างประโยคว่า วันนี้ฉันเก็บดอกมะลิสีขาวมีกลิ่นหอมมาถวายแด่พระ

ทีนี้นึกไปนึกมาอาจารย์บอกว่ามีกริยาซ้อนกันสองตัวในประโยคเดียวไม่ได้ เลยไม่รู้จะเลี่ยงอย่างไรค่ะ

 ลองแยกๆ คำมาดูก่อน  

อหมฺ อทฺย สุคนฺธิสฺ มลฺลิกาสฺ เศฺวตาสฺ เทวาย ยจฺฉามิ 

แล้วก็กริยาของอาจารย์ที่ให้มา ฉินฺตฺเต  จะทำให้เป็นบุรุษที่หนึ่งเอกพจน์ ต้องยืดเสียงเป็น -อามิ ด้วยไหมค่ะ

ถ้ายืดแล้วจะยืดอย่างไรดี อิอิ

ขอบคุณคะ

1. กิมฺ ก็เป็นคำถามอยู่แล้ว ใช้ได้แล้วครับ

2. น่าจะเป็น ตฺวมาปเณ กาภิรคจฺฉะ ฯ

3. บุรุษที่ 1 ไม่ต้องยืด  ใช้ छिनद्मि ฉินทฺมิ, छिन्दे ฉินฺเท

แต่งว่า ฉันเก็บดอกไม้ เพื่อ.....  ไม่ต้องใช้กริยา ถวาย


- อยากทราบว่าทำไมในภาษาสันสกฤตนั้นถึงไม่สามารถมีกริยาสองตัวหรือมากกว่าสองตัวนี้ได้ในประโยคนึงค่ะ มันมีเหตุผลไหมเอ่ย ?

- พวกบทสวดมนต์ตลอดจนงานกวีนิพนธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในยุคของอาทิศังกราจารย์นี้ส่วนใหญ่เป็นสันสกฤตแบบไม่ยากมากใช่ไหมค่ะอาจารย์ คือจะแตกต่างกับสันสกฤตในยุคพระเวทใช่ไหมค่ะ ?

ขอบคุณค่ะ.


या देवी स्तुयते नित्यम विभुहैर्वेदपरागिः, सामे वसतु जिह्वाग्रे ब्रह्मरूपा सरस्वती

แปลได้แค่นี้ค่ะ '' เทวีองค์ใดถูกกล่าวสรรเสริญอยู่เสมอ '' ที่เหลือไม่ได้อะค่ะ विभुहैर्वेदपरागिः, सामे वसतु जिह्वाग्रे ब्रह्मरूपा सरस्वती

โดยเฉพาะ विभुहैर्वेदपरागिः แยกเท่าไหร่แล้วก็หาศัพท์ไม่เจอค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยแปลให้หน่อยค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

อันที่จริงใช้กริยาหลายตัวได้ครับ แต่ตอนนั้นเรายังไม่ได้เรียนสรรพนาม เลยต้องใช้ประโยคความเดี่ยวไปก่อน

เก็บดอกไม้ถวายพระ เราอาจเขียนอย่างนี้ครับ

เราเก็บดอกไม้ทั้งหลายใด เราถวายดอกไม้ทั้งหลายนั้นแด่พระ

หรือปรับเปลี่ยนแบบอื่นก็ได้ ลองดูครับ

งานของศังกราจารย์เป็นภาษาสันสกฤตแบบแผนครับ ไม่ยากมาก

ภาษาพระเวทนั้นยุ่ง แจกได้หลายแบบ ไว้จะค่อยทยอยมาเล่าให้ฟัง


विभुहैर्वेदपरागिः แยกเป็น วิภุไหะ เวทปราคิ (ศัพท์แจกแปลกๆ แต่เดาว่าประมาณนี้)

พระเทวีใด ถูกสรรเสริญอยู่เสมอ โดยนักปราชญ๋์ทั้งหลาย (โดย)ผู้รู้พระเวททั้งหลาย

सामे वसतु जिह्वाग्रे ब्रह्मरूपा ,  सामे น่าจะเป็น सा मे

सरस्वती ข้าแต่พระนางสรัสวตี ब्रह्मरूपा ผู้เป็นความงาม(ชายา)ของพระผู้เป็นเจ้า

सा वसतु ขอนางจงดำรงอยู่ मे जिह्वाग्रे บนปลายลิ้นของข้า

ผมไม่แน่ใจตรง สาเม ถ้าติดกันแล้วแปลไม่ถูก

อาจารย์หมูพอจะทราบต้นฉบับนิทานเวตาลที่เป็นภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาครีไหมค่ะว่าจะหาโหลดได้ที่ไหน

พอดีว่าได้กลับมาอ่านเวตาลของอาจารย์ศักดิ์ศรีใหม่ ประทับใจในสำนวนที่ไพเราะงดงามของท่านมากๆค่ะ

เลยว่าจะลองหาต้นฉบับที่เป็นสันสกฤตนั้นมาเทียบดูกับของอาจารย์ศักดิ์ศรี 

ขอบคุณค่ะ 

อหํ มาตฺราปทา ทุรฺลภยา วฺยถยาวะ / ฉันกับแม่ทรมานกับความโชคร้ายอย่างยากลำบาก ถูกไหมค่ะ ?

แล้วก็ถ้าจะเอาคุณศัพท์ขยายกริยา เราก็แจกคุณศัพท์เป็นการกที่สามใช่ไหมค่ะ 

แล้วการกที่หกนี่มันทำหน้าที่ขยายด้วยไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ..

แจกนามเป็นการกที่ 3 ได้ครับ แต่ก็แล้วแต่กรณี จะว่าแบบนั้นเสมอไปก็ไม่ได้

ใช้ อหํ มาตา ... ครับ การกที่ 6 แสดงความเป็นเจ้าของ และเป็นกรรมของกริยาบางตัวเท่านั้นครับ

เวตาล อ.ศักดิ์ศรีท่านแปลขยายความพอสมควรครับ ไว้ค่อยโหลดมาให้ครับ

ป.ล. การบ้านยังไม่ได้ตรวจนะครับ อากาศร้อนมาก ไม่มีสมาธิเลย

อนึ่ง ถ้าใช้ประธานสองตัว เป็นทวิพจน์ กริยาต้องเป็นทวิพจน์

ถ้าใช้ประธานตัวหนึ่ง กับอีกตัวเป็นการกที่สาม กริยาจะเป็นเอกพจน์


แต่กรณีแบบนี้ ควรใช้ประธานเป็นทวิพจน์ (มี "จ" หรือ ไม่ก็ได้) จะได้ไม่สับสนกับการกที่ 3 ตัวอื่่น

อย่างนี้เหรอค่ะ..

- อหํ มาตา จ ทุรฺภยา อาปทา วฺยถยาวะ

- อหํ มาตฺรา ทุรฺภยา อาปทา วฺยถยามิ

แถวบ้านหนูแดดแรงมากๆค่ะ ร้อนเสียจนไม่อยากจะออกไปไหน

เปิดทั้งคอมทั้งแอร์ทั้งวัน ร้อนจนเครื่องจะระเบิดอยู่แล้วค่ะ

แถวบ้านอาจารย์ (นครปฐม ?) มีฝนบ้างไหมค่ะ

ดูพยากรณ์อากาศแล้วเขาว่ามีโอกาสตกอยู่ในช่วงสองสามวันนี้..

'' น โจรหารฺยํ น จ ราชหารฺยํ ''

 - หารฺยมฺ ที่ต่อท้ายทั้งหลายแหล่นี่คืออะไรค่ะอาจารย์ 

ว่าจะลองแปลสุภาษิตดูก่อนค่ะ 

तस्य जायते क्रोधः स्मृत्वा पुत्रस्य मरणम्

คำอื่นแปลได้หมด ติดตรงที่ปัจจัย -ตฺวา ใน स्मृत्वा นี้ล่ะค่ะ

มันคืออะไรอะค่ะอาจารย์ รู้ว่ามาจากธาตุ สฺมฺฤ จะว่าเป็นกรรมวาจกก็มิใช่

เช้านี้มีฝนนิดนึง หายแล้ว อีกหน่อยคงร้อนอีก ฮือๆ

ใช่แล้ว...

 โจรหารฺยํ การลักโดยโจร, ราชหารฺยํ การเอาไปโดยพระราชา

หารฺย(การเอาไป) สมาสกับ โจร, และ ราช

ท่านหมายถึง ความรู้ โจรเอาไปก็ไม่ได้ พระราชาใช้อำนาจบังคับเอาไปก็ไม่ได้

ตฺวา แปลว่า --แล้ว

สฺมฺฤตฺวา เมื่อจำได้แล้ว.  อ่านรายละเอียดที่นี่ 

http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/515673

ว่าจะไปแสดงความเห็นที่หน้านั้น แต่กดดูแล้วไม่ได้ค่ะ เลยขออนุญาตมาถามในหน้านี้แล้วกันค่ะ

นตฺวา (√ นมฺ+ตฺวา) , คตฺวา (√ คมฺ+ตฺวา)

- ทำไมสองคำนี้ตัด มฺ ออกไปค่ะ หรือตามกฎแล้วต้องตัดพยัญชนะนาสิกออก 

- ปัจจัย กฺฤต ที่อาจารย์เคยเขียนไว้ในบทที่ 34 นั้นยังมีเนื้อหาต่ออีกใช่ไหมค่ะ ?

พวกเติมปัจจัยต่างๆ บางทีรูปเปลี่ยนไป เพราะลบนาสิกนั่นแหละ แต่กฎตรงนี้ไม่แน่นอน สังเกตดูหลายตัวก็ลบ ม

เช่น ยมฺ => ยตฺวา, บางทีก็แทรกอิ เช่น ทมฺ > ทมิตฺวา 

ส่วน รมฺ ใช้ รนฺตฺวา, หรือ รตฺวา ก็ได้  ดังนั้น ท่านว่า จำไว้ดีที่สุด อิๆๆ (มีไม่กี่ตัวครับ)

แต่ธาตุ คมฺ ส่วนมากจะเหลือแค่ ค เช่น คมฺ+ต = คต แบบนี้


ปัจจัยกฤต เฉพาะที่ใช้เป็นกริยาย่อยนั้นมีไม่กี่ตัวครับ แต่ที่เติมธาตุแล้วใช้เป็นนามมีอีกเพียบ ;)

อาจารย์ค่ะ หนูว่าจะลองเขียนแนะนำตัวเองเป็นภาษาสันสกฤตดูก่อนค่ะ แล้วให้อาจารย์ลองมาตรวจดู

ว่าถูกหรือผิดอย่างไร เพราะมีเพื่อนชวนเข้ากลุ่มบาลีสันสกฤตค่ะ เลยอยากจะลองเขียนแนะนำตัวเองเป็นสันสกฤตดูบ้าง อิอิ

มม นามะ ศฺรี ภวติ , อหํ ปฺรภูตํ สํสฺกฺฤตํ สฺนิหฺยามิ

ไม่รู้หนูใช้คุณศํพท์ขยายถูกหรือเปล่าเอ่ย..

ดีมากครับ

มม นาม .... ครับ

นาม เป็น กรรตุ เอก แล้วครับ รูปเดิมคือ นามนฺ เป็นนาม นปุ.  

คำขยายใช้ มหตา(มหตฺ) หรือ ปฺรภูเตน ดีกว่าครับ

งง ค่ะ นามนฺ นี่เป็น นฺ การันต์ เพศกลาง ใช่ไหมค่ะ

แล้วทำไมเหลือแค่ นาม ล่ะค่ะ มันเป็นการกไหนพจน์ใดเอ่ย จะว่าเป็นการกที่หนึ่ง เอกพจน์ก็ไม่น่าใช่  

เพราะถ้างั้นต้องดึงติดเป็น นามนฺศฺรี หรือเปล่าค่ะ

เก็บภาพหนังสือภาษาละตินมาฝากอาจารย์ค่ะ เห็นว่าสวยดี อาจารย์ไม่สบายต้องพักผ่อนเยอะๆนะค่ะ

แถวบ้านหนูฝนเริ่มมืดมาแล้วค่ะ คืนนี้คงจะนอนอย่างมีความสุข อิอิ


หนังสือสวยมากเลยครับ อายุคงจะเยอะทีเดียว

นามนฺ เพศกลาง แจกแบบนี้


नपुंसकम् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा नाम नाम्नी | नामनी नामानि
सम्बोधनम् नामन् | नाम नाम्नी | नामनी नामानि
द्वितीया नाम नाम्नी | नामनी नामानि
तृतीया नाम्ना नामभ्याम् नामभिः
चतुर्थी नाम्ने नामभ्याम् नामभ्यः
पञ्चमी नाम्नः नामभ्याम् नामभ्यः
षष्ठी नाम्नः नाम्नोः नाम्नाम्
सप्तमी नाम्नि | नामनि नाम्नोः नामसु

ใช้ว่า "มม นาม ศฺรี (ภวติ)"  แบบนี้ได้เลย

หรือ "อหํ นาม ศฺรี (ภวติ)" ก็ได้

คือ นาม เป็นได้ทั้งนามแจก และศัพท์ไม่แจก

ถ้าเป็นศัพท์ไม่แจก แปลว่า "มีชื่อว่า" ถ้าใช้รูปไม่แจก ต้องใช้ อหมฺ, ถ้าใช้เป็นนามแจก ก็ต้องใช้ มม ประกอบด้วย

งง ไหม

อย่าเพิ่งงง ใช้แบบนี้ไปก่อน ไว้เร็วๆ นี้่คงได้แจกนาม พวกนี้ (แจกเหมือน พฺรหฺมนฺ) 

ते पुत्रा ये पितुर्भक्ताः स पिता यस्तु पोषकः। (พิมพ์สระอาเกิน)

तन्मित्रं यत्र विश्वासः सा भार्या यत्र निर्वृतिः॥


ชนเหล่าใด ये ความภักดีทั้งหลายเป็นของบิดา पितुर्भक्ताः , ชนเหล่านั้นคือบุตร ते पुत्रा 

แต่ผู้ใด यस्तु คอยเกื้อหนุน पोषकः , ผู้นั้นคือบิดา स पिता

ความเชื่อถือมีอยู่ในที่ใด(ในผู้ใด) यत्र विश्वासः , เขาคือมิตร तन्मित्रं

ความสุขมีอยู่ที่ใด(ในผู้ใด)  यत्र निर्वृतिः, นางคือภรรยา सा भार्या


นี่แปลแบบตรงตัว ลองทำความเข้าใจดูนะครับ

1.) พระอินทร์ พร้อมด้วยเหล่ามรุต ผู้เป็นเพื่อน ฆ่าวฤตระแล้ว

  =  อินฺทฺโร มรุทฺภิะ สุหฺฤทา วฺฤตฺรมมารยนฺ

อินฺทฺรสฺ สหาไยสฺ มรุทฺภิสฺ (สห) วฺฤตฺรมฺ อมารยตฺ

> อินฺทฺระ สหาไยรฺมรุทฺภิะ สห วฺฤตฺรมมารยตฺ


2.)  ปราศจากเพื่อน ไม่มีใครกระทำการยาก(ได้) =   สุหฺฤทา วินา น กศฺจิทฺทุรฺลภํ การฺยํ กรติ

กฺฤ ยังไม่เรียน (ถ้าใช้ กโรติ ก็ได้) ใช้ สาธเยตฺ แทน


3.) บุคคล(ใช้กริยาพหูพจน์ ไม่ต้องมีสรรพนามประธานก็ได้) พึงปลูกต้นไม้บนถนนทั้งหมด เพื่อร่มเงา

 =   มารฺเคษุ ฉายาภฺโย วฺฤกฺษานฺโรเยยุะ. ไม่ใช่บอกเหตุ ใช้ โรหเยยุสฺ


4.) เพื่อนเหล่านั้นผู้เป็นจริงในความโชคร้าย ยากที่จะพบได้ในสามโลก

(ข้อนี้ คุณศัพท์คำว่ายาก จะเอาไปขยายนามไหนค่ะ  มันดูแล้วน่าจะขยายกริยามากกว่า)

=   อาปที ตฺริวฺฤติ โลเก เต สุหฺฤทะ สตฺเยน สมฺคจฺฉนฺเต ทุรฺลภาะ. 

ยาก ใช้ ทุรฺลภ แจกเป็นพหูพจน์ ทุรฺลภาสฺ ได้เลย


5.) สายคาดเอวและอุปวีตพึงถูกทำขึ้นสามทบ (นปุ. ทวิพจน์)

=  เมขลา อุปวีจฺ อุปวีตํ จ ตฺริวฺฤตี กลฺปเยตามฺ


9.) บางคนแห่งพราหมณ์เหล่านี้ชำนาญในอุปนิษัท คนอื่นๆ ในคัมภีร์สมฤติ

  =  เกจิทฺ(เขียนติดกัน) พราหฺณสฺย พฺราหฺมเณษุ/พฺราหฺมณานามฺ เอเต กุศเล กุศลาสฺ อุปนิษทิ อนฺเย นราะ สฺมฤเตา


โฮๆ...

'' คือนามเป็นได้ทั้งนามแจกและศัพท์ไม่แจก ถ้าเป็นศัพท์ไม่แจกแปลว่า"มีชื่อว่า"ถ้าใช้รูปไม่แจกต้องใช้ อหมฺ, ถ้าใช้เป็นนามแจกก็ต้องใช้ มม ประกอบด้วย ''

- อันนี้ไม่ งง ค่ะ 

แต่งงที่อันนี้ค่ะ 

 "มม นาม ศฺรี (ภวติ)"  - 

 "อหํ นาม ศฺรี (ภวติ)" -

หนูก็เห็นว่า นาม มันคงรูปเดิม สำหรับนามแจกที่ใช้กับ มม 

แต่เอาไว้ก่อนก็ได้ค่ะ ค่อยเรียนในบทต่อๆไป 


1. มม นาม ศฺรี (ภวติ) แปลว่า นาม(ประธาน เอก.) ของข้าพเจ้า (คือ )ศรี. My name (is) Shri.

2. อหํ นาม ศฺรี (ภวติ) แปลว่า ข้าพเจ้า มีชื่อว่า(นาม ตัวนี้ไม่แจก แปลว่า มีชื่อว่า) ศรี. I, (am) Shri by name. I (am) called Shri. อะไรแบบนี้ครับ

"นาม" ตัวที่แจกแล้วรูปประธาน เอก. มันไปตรงกับรูปไม่แจก "นาม"  เท่านั้นเอง


สา เทวตาวิคฺคหิตา หุตฺวา / วันนั้นนางอมิตตดา

เทวตา เมาะ ภุมฺมเทวตา / มีภูมินทรเทพยดามเหศรศักดิ์สุรเทเวศร์

มหาพฺรหฺเม /ดูกรมหาพราหมณ์พฤฒาเฒ่าผู้ถือสาส์น 

เอส เมาะ เอโส ปพฺพโต / ภูมิพนัสบรรพตพิสัยสูงเสมอเมฆ เสโล เมาะ เสลมโย เทียรย่อมศิลาลายแลอดิเรกอร่ามรุ่ง

คำแปลเพราะจังค่ะอาจารย์ อาจารย์อ่านเล่มไหนพอจะบอกได้ไหมค่ะ หนูจะไปหามาบ้าง อิอิ

ขอบคุณค่ะ

กัณฑ์ชูชก สำนวนพระเทพมุนี (ด้วง) วัดสังกระจาย ครับ

ในอินเทอร์เน็ตก็มี

เอา เวตาล มาฝากครับ

http://www.jambudvipa.net/testi/vetala0-5.txt

อักษรโรมัน แบบ HK

ขอบคุณค่ะ..

 แต่อาจารย์ไม่มีแบบอื่นเหรอค่ะ หนูอ่าน harvard kyoto ได้ช้ามากค่ะ ต้องเปิดตารางเทียบดู

ถ้าเป็น IAST หรือเทวนาครีจะดีมากๆเลยค่ะ ฮ้าๆ

อาจารย์ยังไม่ขึ้นบทใหม่เหรอค่ะ อิอิ


อาจารย์เคยบอกว่า ธาตุ √สฺนิหฺ ต้องใช้กับการกที่หกหรือเจ็ดเท่านั้น

แล้วนี่หนูใช้กับการกที่สองเฉยเลย 

จริงๆแล้วต้องเป็น สํสฺกฺฤตสฺย/สํสฺกฺฤเต สฺนิหฺยามิ

แล้วสํสฺกฺฤตํ สฺนิหฺยามิ ของหนูนี่จะถือว่าผิดไหมค่ะ

พอดีว่ามีคนทักมาเลยมาถามอาจารย์ก่อนค่ะ

ที่อาจารย์เฉลยไว้ข้อ 3 นั้นทั้ง โรปยติ หรือ โรหยติ ที่เป็นกริยาบอกเหตุมาจากธาตุ √รุหฺ แปลว่าเติบโต

ทั้งสองคำนั้นมันก็แปลว่า ปลูก (ทำให้งอก) ไม่ใช่เหรอค่ะ 

แล้วโจทย์ก็บอกว่า  '' พึงปลูกต้นไม้  ''

เลยงงค่ะ..


อ้่อ ข้อนั้น ใช้บอกเหตุ  ก็ได้ทั้งสองตัวครับ ลงท้ายเป็น พึง -เยยุสฺ

สฺนิหฺ ใช้กับ 6 หรือ 7 ครับ ลืมดู.

แล้วข้อสามหนูผิดเหรอค่ะอาจารย์ หนูใช้ โรปย + อียุสฺ

หรือว่ามันไม่นิยมเท่ากับ โรหย  + อียุสฺ

ไม่ผิดครับ ใช้ได้ทั้งสองตัว 

สมัยแรกๆ ใช้ โรห, สมัยหลังนิยมใช้ โรป

ตำราว่าอย่างนั้น

อาจารย์หมูหายไปไหนค่ะเนี่ย จะทิ้งหนูลอยคอกลางทะเลเหรอค่ะ ฮือๆ 

อาจารย์เบื่อสอนเบื่อตรวจการบ้านแล้วเหรอค่ะ อิอิ

อาจารย์จะทิ้งหนูอย่างนี้ไม่ได้นะค่ะ เหมือนเอาหนูมาปล่อยเกาะกลางทะเล

หนูยังหาที่เกาะไม่ได้ ลอยน้ำอยู่ป๋อมแป๋ม ฮ้าๆ

รออาจารย์นั่งเรือ เอาเชือกและห่วงโยนมาให้

ปกติอาจารย์ไม่เคยหายไปนานอย่างนี้ เว้นเสียแต่ว่ามีธุระจะแจ้งไว้

แต่หายผิดปกติ หนูก็เป็นห่วง มิรู้ว่าเป็นอะไรหรือเปล่า

ตอนนี้ก็ขอลอยคอตุ๊บป่องอยู่ในน้ำต่อไปค่ะ ดำผุดดำโผล่ คอยรอครูมานำทาง ..อุอิ



อิๆ ขอโทษด้วยครับ

พอดีมียุ่งๆ แล้วไม่ได้บอก

วันนี้จะขึ้นบทใหม่ครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท