การครองงาน


การครองงาน


          การครองงาน  หมายถึง  การมีความสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายอย่างดี โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

          ๑. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

               ๑.๑ ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ

               ๑.๒ มีความตั้งใจปฏิบัติงานให้ได้รับความสำเร็จ

               ๑.๓ สนใจและเอาใจใส่งานที่รับผิดชอบ

               ๑.๔ ปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบและที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

               ๑.๕ ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน

          ๒. มีความรู้ ความสามารถและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

               ๒.๑ มีความรู้และเข้าใจหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ มติ กฎหมายและนโยบาย

               ๒.๒ มีความสามารถในการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

               ๒.๓ มีความสามารถในการแก้ปัญหาและมีปฏิภาณไหวพริบในการปฏิบัติงาน

               ๒.๔ รักและชอบที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ หรืองานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ

          ๓. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงงาน

               ๓.๑ มีความสามารถในการคิดริเิริ่ม หาหลักการ แนวทาง วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

               ๓.๒ มีความสามารถในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

               ๓.๓ มีความสามารถในการทำงานที่ยาก หรืองานใหม่ให้สำเร็จเป็นผลดี

          ๔. ความพากเพียรในการทำงานและมีผลงานที่เป็นที่น่าพอใจ

               ๔.๑ มีความกระตือรือร้น ต้องการที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ

               ๔.๒ มีความขยันหมั่นเพียร เสียสละและอุทิศเวลาให้แก่ราชการหรืองานที่รับผิดชอบ

               ๔.๓ ได้รับการยกย่องในความสำเร็จของงาน

               ๔.๔ สามารถปฏิบัติงานในภาวะที่มีข้อจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์หรืออัตรากำลัง เป็นต้น

           ๕. การคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชน

                ๕.๑ การปฏิบัติงานยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชน

                ๕.๒ การดำเนินงานสอดคล้องหรือเป็นไปตามความต้องการของส่วนรวมและประชาชน

                ๕.๓ ใช้วัสดุ อุปกรณ์และสาธารณูปโภคได้อย่างประหยัดและเหมาะสม

                ๕.๔ ร่วมมือ ช่วยเหลือและประสานงานระหว่างราชการกับประชาชน

            ผลงานดีเด่น  หมายถึง  ผลงานดีเด่นที่ได้รับความนิยมเป็นที่ยอมรับและปรากฎผลเด่นชัด เช่น โล่รางวัล เกียรติบัตรและอื่น ๆ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

            ๑. ผลงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบ

                ๑.๑ เอาใจใส่ ดูแล การบริการประชาชน

                ๑.๒ งานที่ปฏิบัติสำเร็จด้วยความเรียบร้อย

                ๑.๓ ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ไม่ล่าช้า ทันตามกำหนด

           ๒. ผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อราชการและสังคม

               ๒.๑ เป็นผลงานที่ทางราชการได้รับประโยชน์

               ๒.๒ ประชาชนได้รับประโยชน์จากผลงานที่ปฏิบัติงาน

               ๒.๓ ใช้งบประมาณของทางราชการน้อยแต่ได้รับประโยชน์มาก

           ๓. เป็นผลงานบริการประชาชนที่สามารถใช้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นได้

               ๓.๑ ผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือแก่บุคคลอื่น

               ๓.๒ เป็นลักษณะผลงานที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน

               ๓.๓ บุคคลอื่นสามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่างได้

           ๔. เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

               ๔.๑ มีความคิด ริเริ่ม การพัฒนางาน

               ๔.๒ นำเทคนิค วิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน

               ๔.๓ ผลการปฏิบัติงานเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น

           ๕. เป็นผลงานที่ต้องปฏิบัติด้วยความเสียสละ วิริยะ อุตสาหะ

               ๕.๑ ปฏิบัติงานในเวลาราชการโดยไม่บกพร่อง

               ๕.๒ อุทิศตนปฏิบัติงานนอกเหนือเวลาราชการ

               ๕.๓ มีความพากเพียรพยายามในการทำงาน

            ทั้งหมดนี้ในเรื่องของ การครองตน การครองคน การครองงาน เป็นเรื่องของการทำงานรับราชการของภาครัฐที่ภาครัฐต้องการให้เกิดขึ้นให้มากที่สุดกับวงการรับราชการไทย...สำหรับผู้ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในการครองตน การครองคน การครองงานนั้น จะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งมีพฤติกรรมส่วนลึกของตนที่มีความแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันทุก ๆ คน นั้น อาจมิใช่ ความแตกต่างนี้จะขึ้นอยู่กับบริบทพื้นฐานที่แต่ละบุคคลมีมาหรือได้รับมา พร้อมด้วยจิตใต้สำนึกเดิมด้วยนั่นเอง...


หมายเลขบันทึก: 531753เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2013 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2013 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท