บันทึกจากชั้นเรียน ; ประวัติเบญจกูล


ประวัติยาเบญจกูล

เบญจกูลคือ การกำจัดยา หรือกำหนดตัวยาที่มีรสร้อน 5 อย่าง

เมื่อเอ่ยถึงเบญจกูล ผู้คนที่รู้จักยาสมุนไพรไทยจะบอกได้ทันทีว่า เบญจกูลคือสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ ดอกดีปลี รากช้าพลู  เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิง

พระอาจารย์ได้กล่าวสืบต่อกันมาว่ามีฤษี ๖ ตน แต่ละตนได้ศึกษาค้นคว้าตัวยาและค้นพบโดยบังเอิญ และตัวอย่างแต่ละอย่างนั้นมีสรรพคุณรักษาโรค และสมุฏฐานต่างๆ ได้มีประวัติไว้ดังนี้

ฤาษีตนหนึ่งชื่อ “ ปัพพะตัง”   บริโภคซึ่งดีปลี อาจระงับ อชิณโรคได้ (อชิณโรค คือการแพ้ของแสลง)

ฤาษีตนหนึ่งชื่อ “อุธา”   บริโภคซึ่งรากช้าพลู อาจระงับซึ่งเมื่อยขบได้

ฤาษีตนหนึ่งชื่อ “บุพเทวา”   บริโภคซึ่งเถาสะค้าน อาจระงับซึ่งเสมหะและวาโยได้

ฤาษีตนหนึ่งชื่อ “บุพพรต”   บริโภคซึ่งรากเจตมูลเพลิง อาจระงับโรคอันบังเกิดแต่ดีอันกระทำให้หนาว และ เย็นได้

ฤาษีตนหนึ่งชื่อ “มหิทธิธรรม”   บริโภคซึ่งเหง้าขิง อาจระงับตรีโทษได้

ฤาษีตนหนึ่งชื่อ “มุรทาธร”   เป็นผู้ประมวลสรรพยาทั้งหมดนี้เข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่าพิกัดเบญจกูล อาจระงับโรคอันบังเกิดแก่ ทวัตติงสาการ  บำรุงธาตุทั้ง ๔ให้บริบูรณ์ (สรรพคุณรวม ของพิกัดเบญจกูลคือ กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์)

ตัวยาประจำธาตุ

๑.  ดอกดีปลี   ประจำธาตุดิน (ปถวีธาตุ)

๒.  รากช้าพลู   ประจำธาตุน้ำ  (อาโปธาตุ)

๓.  เถาสะค้าน   ประจำธาตุลม (วาโยธาตุ)

๔.  รากเจตมูลเพลิง   ประจำธาตุไฟ (เตโชธาตุ)

๕.  เหง้าขิง  ประจำอากาศธาตุ(ช่องว่างทวารของร่างกาย)


ขอบคุณความรู้เพิ่มเติมจาก http://www.nkgen.com/807.htm


หมายเลขบันทึก: 531732เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2013 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2013 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะพี่ครูต้อย

ขอบคุณที่นำสิ่งดีดีมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

ขอบคุณอ.นุ ที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ

พิกัดเบญจกูล มีผู้ชอบทดลอง นำไปปรุงยาเพื่อปรับสมดุลธาตุร่างกาย

ครูอาจารย์ท่านก็ให้สูตรคำนวนน้ำหนักตัวยาเพื่อให้เหมาะสมกับธาตุพิการ

ขอบคุณค่ะน้องอ.ดร.ขจิต

แวะไปอ่านบันทึกอาสาแล้วชื่นใจค่ะ

ทั้งงานกลางแจ้งด้วยแล้วก็ดีใจเพราะสุขภาพจะได้แข็งแรงนะคะ

ถ้าธาตุพิการเมื่อไหร่บอกนะคะ พี่จะส่งเบญจกูลทั้ง 5 ไปให้ อิอิ

ค่ะน้องคุณยายยังสาวสวย

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย

การบันทึกความรู้แบบนี้ดีทีเดียว

มันช่วยให้พี่จดจำความรู้ได้มากขึ้นค่ะ

ขอบคุณน้องโอ๋-อโณ

หายดีแล้วนะคะ

วันนี้น้องพยาบาลท่านหนึ่ง ไหลยึดๆๆๆ

ยกแขนไม่ขึ้นค่ะ ยกปวดๆๆ

พี่ทำกัวซาตรงสะบักหลังให้นาน10 นาที

ก็ยกแขนได้ แล้วเราก็ทำท่าโยคะยืดแขนกัน

ด้วยลมหายใจของเราเอง

ลองคิด เล่นๆ  ว่า ใคร  หรือ โรคอะไร  หรือ เมื่อไร ไม่ควรทาน เบญจกูล     ครูต้อยติ่ง ลองตอบก่อน

 แล้วผมจะลองเฉลย ครับ  

ขอบคุณค่ะ นพ. วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์

ดีปลีก็รสร้อนจิกกินเข้าไปลิ้นร้อนผ่าวๆ

ช้าพลูก็ร้อน แต่อร่อยมากเมื่อห่อเมี่ยงคำกินกับแหนมเนืองก็ดี รากแก้คูณเสมหะขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก

เถาสะค้านก็ร้อน เคี้ยวไป แค่ปลายใบเท่านั้นได้เรื่อง

แต่ไม่แรงเท่าเจตมูลเพลิง ชื่อนี้ฟังแล้วร้อนทันที มี2 ชนิดคือเจตมูลเพลิงขาว และแดงค่ะ 

ตัวนี้ถ้าเป็นความดันสูงห้ามเด็ดขาด พระอาจารย์สอนไว้ ลองชิมเองก็ต้องรีบคาย 

ร้อนจริงๆๆๆๆ และเผ็ดยิ่งกว่าพริกกระเหรี่ยง แต่ต้นสวย ใบสวย สีแดงอมส้ม เแต่ต้นขาวยังไม่เคยเจอของจริง

เป็นยาบำรุงโลหิต รสร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ริดสีดวงทวาร ถ้ากินมากแท้งเลย เฉพาะคนตั้งครรภ์นะคะ 

เหง้าขิงแห้ง สมัยเด็กๆคุณปู่หยิบมาใส่หม้อไข่หวานแค่ชิ้นเดียว ไม่มีหลานคนไหนอยากทานด้วยเลย 

แต่คุณปู่กินเอาๆแล้วก็ผายลมเสียงดังคนเดียว ที่จริงน่าจะใช้ขิงอ่อน เด็กๆจะได้ทานได้ ไม่เผ็ดและขม

ตำราเขาว่าไว้ว่าเหง้าขิงแก่เป็นยาประจำทวารของร่างกายคืออากาศธาตุค่ะ

พิกัดเบญจกูลนี้ ห้ามคนตั้งครรภ์ คนท้องกินค่ะ คนที่มีความดันสูงก็ไม่ควรกินเด็ดขาด   

บางอาจารย์ท่านบอกว่าหลังกินตรีผลาติดต่อไปแล้วเจ็ดวัน ก็ให้ปรุงพิกัดเบญจกูลตามสูตรที่ท่านสอนไว้

ตอนนี้ปรุงแล้วแต่ยังไม่ต้ม รอให้อากาศเย็นลงกว่านี้หน่อย จึงยังบอกไม่ได้ว่ารสของพิกัดเบญจกูลนั้นเป็นอย่างไร

ถ้าต้มทานเมื่อไหร่จะมาบอกค่ะ 

ขอบคุณค่ะท่านอ.หมอ ที่ช่วยให้ได้ทบทวน คิด อายุมากแล้วความจำไม่ค่อยดี

มีคนมาช่วยพูดคุยด้วยเป็นการลับสมอง อิอิ จะได้จำได้ค่ะ


ยอดเยี่ยมเลยครับ  ตามคู่มือ

ส่วนนอกคู่มือ    แต่เป็นหลักง่ายๆ

ยาร้อนมาก   ระวังการใช้ฤดูร้อน  คนธาตุร้อน  คน ที่ทานยาร้อนอื่นๆ เช่น ยาต้านวัณโรค   ยาแก้ปวดข้อ เช่น diclofenac  prednisolone  aspirin   

      ยาตำรับร้อน แผนไทย ต่างๆ  เช่น สหัศธารา

ควรระวัง การใช้คู่   /  หรือ ไม่ควรเสี่ยงใช้คู่     กับ ยาละลายลิ่มเลือด  ยาต้านการเกาะตัวของเกร็ดเลือด


ยานี้เหมาะมาก กับ ฤดูฝน หนาว ผู้สูงวัยที่พร่องไฟธาตุ ( เ่ช่น ผิวตัว มือเท้าเย็น  มีเสมหะ มักอาเจียน  ทานอาหารได้น้อย     ทั้งนี้ ก็เริ่มใช้ยา จากน้อยๆไว้ก่อน หากผป มีอายุมากแล้ว

ยาต้มจะเผ็ดปาก ทานยาก กว่า ยาเม็ด ครับ

ขอให้บุญที่ หมอ ต้อยติ่ง บำเพ็ญไว้แล้ว  เสริมสร้าง สติ และปัญญา ทางโลก ทางธรรมด้วย ครับ

เรียนอ.หมอ นพ. วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์

ขอบพระคุณที่กรุณา  ยังเป็นเพียงนร.ที่สนใจเรียนรู้และชอบเอาตัวเองทดลอง

ยาสามตัวที่ท่านอ.หมอแนะนำ  diclofenac  prednisolone  aspirin  รู้จักตัวเดียว และเคยกินเมื่อตอนเด็ก

ก่อนที่ยาเด็ดตร้าไซคลีนจะเป็นที่นิยม แต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยได้สัมผัสอีกเลยค่ะ

ขอบพระคุณอีกครั้งที่มอบวิชาความรู้ให้ในครั้งนี้ จะได้คัดลงในสมุดอีกครั้งค่ะ

สำหรับสหัสธารา นี้เรียนผ่านไปเมื่อเดือนที่แล้ว มีตัวยาทั้งหมด 20 ตัว

ก็คิดจะลองปรุงชิมดูเหมือนกัน เพราะชอบปวดหลัง แต่ก็ยังไม่มั่นใจในวิธีใช้ให้เหมาะกับตัวเอง

โชคดีที่อ.หมอให้คำไแนะนำมาด้วย อิอิ เหมือนจะเห็นความคิดเลยนะคะ

สาธุ อนุโมทนา พรอันประเสริฐค่ะ

ค่ะพี่ใหญ่ ที่บ้านพี่ใหญ่คงปลูกสมุนไพรไว้หลายชนิดนะคะ

ผัก พืช หลายชนิดเป็นทั้งอาหารและยา

น้องกำลังพยายามปลูกดีปลีค่ะ 

เห็นมันสวยดี แต่ดูเหมือนว่าดีปลีจะไม่ชอบน้ำเค็ม

และอากาศเค็ม เมื่อวานได้ต้นตะขบอ่อนมา 2 ต้น

เก็บได้ข้างทางค่ะ เกรงว่าปล่อยไว้ก็ตายเพราะเขากวาดถนนทุกวัน

จึงค่อยๆแซะมาลงกระถาง โตสักหน่อยจะได้เอาไปปลูกที่ไร่ ให้นกกาได้อาศัย

และมันมีประโยชน์ทางสมุนไพรสูงด้วยค่ะ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท