คู่มือประกอบการสอน รายวิชา กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน ในหัวข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์


คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์

เพื่อใช้เป็นคู่มือในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

เป็นการทำงานภายใต้โครงการพัฒนาคู่มือการสอนวิชากฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน

สถาบันอิศรา ภายใต้มูลนิธิอิศรา อมันตกุล และมูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

เป้าหมายที่สำคัญของเอกสารฉบับนี้ เพื่อเป็นคู่มือของอาจารย์ผู้สอนในรายวิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน โดยในส่วนของเนื้อหาสาระของเอกสารฉบับนี้มุ่งเข้าไปอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ "กฎหมายว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์" เป็นหลัก

เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายข้างต้น ผู้เขียนจึงแบ่งเค้าโครงของเอกสารฉบับนี้ออกเป็น ๔ ส่วนสำคัญ กล่าวคือ

ส่วนแรก เป็นการ "เตรียมความคิด" ให้กับผู้อ่าน โดยจะอธิบายถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาว่ามีแนวคิดพื้นฐานอย่างไร ? การทำความเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานเสียก่อน จะช่วยให้ผู้อ่านและใช้คู่มือนี้ "เข้าใจในแนวคิด" อันเป็นหลักการของเรื่องการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อว่า ทำไมต้องมีการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อ ? และ ทำไมการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อจึงอยู่ในรูปแบบของ "กฎหมาย" ?

ส่วนที่สอง หลังจากการเตรียมความคิดในส่วนแรกแล้ว ต่อมาจะเป็นการ "สร้างความเข้าใจ"​ ในรายละเอียดของกฎหมายว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์ โดยจะมีการนำเสนอองค์ความรู้พื้นฐานของกฎหมายการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์ ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลบังคับใช้ในสังคมไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในส่วนของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในการจัดระดับความเหมาะสมของเนืื้อหารายการโทรทัศน์นั้นมีหลายฉบับ ดังนั้น ในส่วนนี้เองผู้เขียนจะพยายามนำเสนอเพื่อทำให้ผู้สอนในรายวิชานี้สามารถมองเห็นระบบกฎหมายว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความสับสนอลหม่านในการเลือกบังคับใช้กฎหมายเพื่อการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้้อหารายการ

ส่วนที่สามในทางหลักนิติศาสตร์นั้น นอกจากการทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระขอบทบัญญัติกฎหมายและหลักกฎหมายแล้ว จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "การบังคับใช้กฎหมาย" โดยในเอกสารฉบับนี้จะนำเสนอเฉพาะในส่วนของกระบวนการ ขั้นตอน ของการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์ ไม่ได้ลงลึกไปในส่วนของการตีความกฎหมาย หรือ นิติวิธี

ส่วนสุดท้าย ในลำดับสุดท้าย เพื่อทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงปัญหาท้าทายในอนาคต ส่วนนี้จะเป็นการเปิดประเด็นคำถามที่น่าสนใจ พร้อมทั้ง มีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้เห็นเป็นตัวอย่าง พร้อมกับชวนวิเคราะห์เพื่อใหเ้ห็นถึง "คำถาม" ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ "วิธีการ" ตั้งคำถามกับนักศึกษา รวมทั้ง "แนวคำถาม" ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ในชั้นเรียน

ดาวน์โหลดเอกสาร   law-rating-tv-handbook.pdf
หมายเลขบันทึก: 531725เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2013 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2013 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท