ปกรณ์
ว่าที่ร.ต. ปกรณ์ ปกรรณกรณ์ คำกอง

โครงงานภาษาถิ่น


โครงงานภาษาไทย

เรื่อง

ภาษาถิ่นที่ใช้ในอำเภอสุไหงโก-ลก

จัดทำโดย

  ๑. เด็กหญิงฐิตินันท์  ไชยสมบัติ

  ๒. เด็กหญิงนูรไลลา  มะแซ

  ๓. เด็กหญิงนอร์ฮาหย๊ะ  เจ๊ะมะ

โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง)

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานภาษาไทย

ประเภท สำรวจ   ระดับชั้น ม.๑ ม.๓

เนื่องในโครงการจัดนิทรรศการทางวิชาการและแข่งขันทักษะทางวิชาการเทศบาล

ประจำปี ๒๕๕๕

โครงงานภาษาไทย

เรื่อง

ภาษาถิ่นที่ใช้ในอำเภอสุไหงโก-ลก

จัดทำโดย

  ๑. เด็กหญิงฐิตินันท์  ไชยสมบัติ

  ๒. เด็กหญิงนูรไลลา    มะแซ

  ๓. เด็กหญิงนอร์ฮาหย๊ะ  เจ๊ะมะ

ครูที่ปรึกษา

        ว่าที่ร.ต.ปกรณ์  คำกอง

 

โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง)

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

อำเภอสุไหงโก-ลก  จังหวัดนราธิวาส

 

ชื่อโครงงาน ภาษาถิ่นที่ใช้ในอำเภอสุไหงโก-ลก

ชื่อผู้ทำโครงงาน

๑. เด็กหญิงฐิตินันท์  ไชยสมบัติ

๒. เด็กหญิงนูรไลลา  มะแซ

๓. เด็กหญิงนอร์ฮาหย๊ะ  เจ๊ะมะ

โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง)

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ครูที่ปรึกษาโครงงาน

ว่าที่ร.ต.ปกรณ์  คำกอง

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่องภาษาถิ่นที่ใช้ในอำเภอสุไหงโก-ลกจัดทำขึ้นเพื่อสำรวจภาษาถิ่นที่ใช้อยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในภาษาถิ่นต่างๆ ที่มีอยู่ สามารถเข้าใจภาษาของแต่ละท้องถิ่น สามารถสื่อสารกันด้วยความเข้าใจภาษาถิ่นที่สำรวจมีอยู่ 4 ภาษาคือ ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ และภาษาถิ่นมลายู โดยแบ่งภาษาออกเป็น 5 หมวด คือ หมวดกิริยาอาการ หมวดสัตว์ หมวดพืชผักผลไม้ หมวดข้าวของเครื่องใช้ และหมวดคำทั่วไป มีคำทั้งสิ้น 65คำคำต่างๆที่ได้สำรวจถือเป็นคำภาษาถิ่นที่มีการใช้คำที่แตกต่างกัน และเป็นคำที่แพร่หลายในการใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน

 
กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการนางรสสุคนธ์ กอและ ที่ให้กำลังใจและเปิดโอกาสให้เข้าร่วมการจัดทำโครงงานรวมถึงสนับสนุนการจัดทำโครงงาน ขอขอบพระคุณคุณครูปกรณ์ คำกอง  และคุณครูในกลุ่มสาระ ภาษาไทยที่ให้คำปรึกษา ให้แนวทางในการทำโครงงาน  

ขอขอบพระคุณคุณครูแปะอะ มะ คุณคุณกัลยาณี กันโน คุณบัวเงิน แสนชมพู คุณอรวรรณ สำแดงริด  คุณเพ็ญศรี เจียอาทิตย์ คุณสุวลักษณ์ คงมี คุณดาวรัตน์ อินทร์แก้ว และคุณสีตีอามีเนาะ สะนิกอเด็งที่ได้ให้ข้อมูลภาษาถิ่น รวมถึงเวลาในการสัมภาษณ์ และ สุดท้ายขอขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ ที่ช่วยให้กำลังใจจนโครงงานชิ้นนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

 

สารบัญ

  หน้า

บทคัดย่อ  

กิตติกรรมประกาศ  

สารบัญตาราง   ง

สารบัญรูปภาพ     จ

บทที่ ๑ บทนำ     ๑

บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง   ๒

บทที่ ๓ วิธีการดำเนินการ  

บทที่ ๔ ผลการดำเนินการ  

บทที่ ๕ สรุปและอภิปรายผลการดำเนินการ   ๑๐

บรรณานุกรม   ๑๑

ภาคผนวก  12

 

สารบัญตาราง

ตารางที่  หน้า

ตารางที่ 1 แผนปฏิบัติงาน        4

ตารางที่ 2 คำหมวดกิริยาอาการ  5

ตารางที่ 3 หมวดคำชื่อสัตว์  6

ตารางที่ 4 หมวดคำพืชผักผลไม้  7

ตารางที่ 5 หมวดข้าวของเครื่องใช้  8

ตารางที่ 6 หมวดคำทั่วไป  9

 

สารบัญรูปภาพ

หน้า

รูปที่ ๑สมาชิกในกลุ่มปรึกษาและเลือกเรื่องที่จะทำ  4

รูปที่ ๒ วางแผนการเก็บข้อมูลและเตรียมตัวลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูล  5 

รูปที่ ๓ สัมภาษณ์คุณกัลยาณี กันโน    6 

รูปที่ ๔ สัมภาษณ์คุณบัวเงิน แสนชมพู  6

รูปที่ ๕ สัมภาษณ์สีตีอามีเนาะ สะนิกอเด็ง    7

รูปที่ ๖ สัมภาษณ์พี่สาวคุณเสาวลักษณ์ คงมี  7

รูปที่ ๗ สัมภาษณ์คุณเพ็ญศรี เจียอาทิตย์  8

รูปที่ ๘ สัมภาษณ์คุณสุวลักษณ์ คงมี  9

บทที่ ๑

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

  ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีภาษาใช้มากมายหลายภาษา แตกต่างไปตามภูมิประเทศ และตามท้องถิ่น อันเนื่องมาจากประเทศไทยมีผู้คนอาศัยอยู่หลายเชื้อชาติหลายศาสนา ประกอบกับมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพื้นบ้าน ซึ่งจะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาของประเทศพื้นบ้านได้

  การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันเป็นไปตามลักษณะของท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ ซึ่งแต่ละภาษามีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นคำที่ใช้ สระที่ใช้ หรือเสียงที่เปล่งออกมาไม่เหมือนกัน โดยจะเห็นว่าภาษาแต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างท้องถิ่น เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีการย้ายถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพกันเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ค้าขาย รับจ้าง กรรมกรทำให้ภาษาถิ่นติดตามมาด้วย ทำให้มีการแลกเปลี่ยนภาษาเกิดขึ้น

  พื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสถือได้ว่าเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประชากรมีการอพยพมาอาศัยอยู่และประกอบอาชีพกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประชากรจากภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางและจากพื้นที่อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงภาษามลายูที่ใช้อยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลกด้วย ทำให้มีภาษาในการสื่อสารกันที่หลากหลาย จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจ รวมถึงเป็น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารของคนแต่ละท้องถิ่น จึงได้ทำโครงงานนี้ขึ้นมา

 

วัตถุประสงค์

๑.เพื่อสำรวจและรวบรวมภาษาถิ่นที่มีอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก

๒.เพื่อเปรียบเทียบภาษาถิ่นในท้องถิ่นต่างๆกับภาษาราชการ

๓.เพื่อจัดทำเป็นเอกสารการเรียนรู้ให้กับผู้ที่มีความสนใจ

๔.เพื่อให้เข้าใจภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกัน

๕.เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

  ผู้ศึกษาค้นคว้าเรื่องภาษาถิ่นในอำเภอสุไหงโก-ลก สามารถเข้าใจความหมายของภาษาถิ่นแต่ละถิ่น

ขอบเขตการศึกษา

๑.  ศึกษาภาษาถิ่นที่มีใช้อยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก โดยการสัมภาษณ์บุคคลในชุมชน

๒.  ศึกษาภาษาถิ่นจากอินเตอร์เน็ต หนังสือ

นิยามศัพท์เฉพาะ

  ภาษากลาง คือ ภาษาที่ใช้ในหลักในการสื่อสารในทุกถิ่นทั่วประเทศ

ภาษาเหนือ คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารของผู้คนในภาคเหนือ

ภาษาอีสาน คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารของผู้คนในภาคอีสาน

ภาษาใต้ คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารของผู้คนในภาคใต้

ภาษามลายู คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทที่ ๒

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ภาษาถิ่น คือ คำที่เรียกภาษาที่ใช้พูดในหมู่ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ต่างๆกันโดยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาษานั้น

ภาษามาตรฐานคือ ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งการพูดและการเขียน ถือเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อสื่อสารเข้าใจกันทั้งประเทศด้วยสำนวน และสำเนียงเดียวกัน ใช้ติดต่อสื่อสารในวงราชการ สถานศึกษาและสถาบันสำคัญในสังคม ในสถานการณ์ ที่เป็นทางการ ภาษาถิ่นที่ได้รับการยอมรับ ให้เป็นภาษามาตรฐานนั้น มักจะเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ติดต่อสื่อสาร กันอยู่ในเมืองหลวงของประเทศ ดังเช่น ภาษามาตรฐานของไทยก็ คือ ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร  ภาษามาตรฐานมีลักษณะดังนี้
    1)  เป็นภาษาที่ได้รับการเลือกเฟ้น ภาษามาตรฐานเป็นภาษาถิ่นที่ได้รับการเลือกเฟ้น
จากภาษาถิ่นของบุคคลในถิ่นที่มีบทบาทในการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมแล้วยกระดับ มาตรฐาน ให้ทุกคนใช้เหมือนกันและเข้าใจตรงกัน นอกจากนี้ภาษาถิ่นนั้นจะต้องมี ลักษณะผสมผสาน เอาลักษณะ ของภาษาถิ่นอื่น ๆ ไว้ด้วย
  2)  เป็นภาษาที่ได้รับการรวบรวมหลักเกณฑ์ระเบียบของภาษาไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นักวิชาการจะต้อง จัดทำพจนานุกรมและตำราหลักภาษาไว้เป็นหลักในการตรวจสอบ และผู้ใช้ยอมรับ ในหลักของภาษา มีการสอน ให้ผู้ใช้ ้รู้หลักเกณฑ์การเขียน การอ่านให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  3)  เป็นภาษาที่ใช้ได้ทุกวงการและทุกสาขาอาชีพ เป็นภาษาที่คนหลายกลุ่มหลายหน้าที่นำไปใช้ได้ และผู้ใช้ภาษา เข้าใจตรงกันทั้งการพูดและการเขียน เช่น ในศาล ในรัฐสภา ในวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ การเมืองการปกครอง วิชาการแขนงต่าง ๆ ศิลปกรรม ดนตรีนาฏศิลป์ วรรณคดี และวรรณกรรม เป็นต้น
  4)  เป็นภาษาที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของสังคม และเทคโนโลยี มีการเพิ่มคำด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทับศัพท์ การประสมคำ หรือบัญญัติศัพท์ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ในการใช้และสามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย 
 5)  เป็นภาษาที่เป็นที่ยอมรับของคนถิ่นอื่นว่าเป็นภาษาประจำชาติเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่าง จากภาษาถิ่นทั่วไป เป็นเอกลักษณ์ของชาติ สร้างความภูมิใจแก่คนในชาติ

ภาษาถิ่น คือ ภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย  ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ  ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน  และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ  ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำและสำเนียง  ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะความเป็นอยู่  และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย  บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น  และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย  และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก   เช่นภาษาถิ่นใต้  ก็มีภาษาสงฃลา  ภาษานคร  ภาษาตากใบ  ภาษาสุราษฎร์  เป็นต้น   ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป  ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด  หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4  ถิ่นใหญ่ ๆ  คือ ภาษาถิ่นกลาง  ภาษาถิ่นเหนือ  ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้

ภาษาสื่อสารเกิดจากการเรียนรู้ มิใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากสัญชาติญาณ
มนุษย์เราค่อย ๆ เรียนรู้วิธีการใช้ภาษาเพื่อ การสื่อสารในชีวิตประจำวัน มาทีละเล็กทีละน้อยตามความจำเป็นของชีวิตและมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ทั้งภาษาถ้อยคำและภาษา ที่ไม่ใช่ถ้อยคำการใช้ภาษา ในชีวิตประจำวันย่อมมีความแตกต่างกัน ไปบ้างตามกาลเทศะ บุคคล อาชีพ เพศ วัย สภาพทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ วิธีการเรียบเรียงถ้อยคำ และการเลือกใช้ถ้อยคำ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีสิทธิผลทำให้เกิดความแตกต่าง ทำให้เกิดภาษากลุ่มย่อย ๆ ขึ้น แต่อย่างไร ก็ตามไม่ว่าผู้ใช้ภาษา จะอยู่ในสังคมใด ก็ต้องเรียนรู้วิธีการใช้ภาษาของคนในสังคมนั้นให้เข้าใจ ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ภาษาสื่อสาร ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษากลุ่มย่อย ๆ ต่าง ๆ มีดังนี้

 
 ภาษากลาง คือ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี  นครปฐม  อ่างทอง  และพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้  มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป  จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน

ภาษาถิ่นใต้ คือ  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้  ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล  ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี  ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป 

อีสานคือ ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น

หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)  คือ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม  มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่  เป็นต้น

ภาษามลายู  คือ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่างบริเวณติดต่อกับประเทศมาเลเซีย มีลักษณะของภาษาภาษาชวา-มลายู  เป็นภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลมาลาโยโพเนเซียน  หรือ  ออสโตรเนเซียน  มีลักษณะเป็นภาษาคำติดต่อ  แต่การติดต่อคำมีลักษณะที่ไม่ซับซ้อนมากนัก

บทที่ ๓

วิธีการดำเนินการ

วิธีการดำเนินงาน

๑. ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำโครงงานโดยแบ่งหน้าที่ศึกษาข้อมูลที่จะทำโครงงาน

๒. รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก โดยจดบันทึกคำเป็นตารางอย่างชัดเจน  

๓. จัดทำข้อมูลเป็นหมวดหมู่

๔. จัดทำแผ่นพับเพื่อการเรียนรู้

๕. จัดพิมพ์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่

๕. นำเสนอโครงงานต่อครูที่ปรึกษา

๖. ประชุมอภิปรายปัญหาต่าง ๆ และให้ข้อเสนอแนะ

๘. จัดทำรายงานโครงงานภาษาไทยและบอร์ดที่จะนำเสนอ

๙. นำเสนอโครงงานภาษาไทย

ตารางที่ ๑ แผนปฏิบัติงาน

วัน/เดือน/ปี

แผนการปฏิบัติงาน

ผู้รับผิดชอบ

๗ ม.ค. ๕๖

สมาชิกในกลุ่มปรึกษาและเลือกเรื่องที่จะทำ

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม

๑๑ ม.ค. ๕๖

เตรียมการวางแผนการทำโครงงาน

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม

๑๔ ม.ค. ๕๖

นำเรื่องเสนออาจารย์ที่ปรึกษา

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม/

ครูที่ปรึกษา

๑๘-๒๐ ม.ค. ๕๖

ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ทำโครงงาน

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม

๒๑-๒๖ ม.ค. ๕๖

ลงมือปฏิบัติ

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม

๒๗ ม.ค.- ๒ ก.พ.๕๖

เขียนรายงานโครงงาน

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม

๔-๖ ก.พ.๕๖

จัดทำบอร์ดเสนอโครงงาน

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม

๘ ก.พ.๕๖

นำเสนอโครงงาน

สมาชิกทุกคนในกลุ่ม/ครูที่ปรึกษา

รูปที่ ๑สมาชิกในกลุ่มปรึกษาและเลือกเรื่องที่จะทำ

บทที่ ๔

ผลการดำเนินการ

จากการศึกษาหาความรู้ คณะผู้จัดทำโครงงานได้ลงพื้นที่ภายในอำเภอสุไหงโก-ลก เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล สัมภาษณ์บุคคลที่อาศัยอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก โดยดูลักษณะบุคลิกของบุคคล โดยข้อมูลที่สอบถามและสัมภาษณ์นั้นจะเกี่ยวกับ ชื่อสกุล ภูมิลำเนา ที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพ ภาษาที่ใช้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างของคำที่ใช้กับภาษาอื่นๆ ซึ่งในการสำรวจภาษาได้จัดทำเป็นตารางเปรียบเทียบภาษาตามหมวดหมู่ 5 หมวด ดังนี้

รูปที่ ๒ วางแผนการเก็บข้อมูลและเตรียมตัวลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูล

คำภาษาถิ่นในอำเภอสุไหงโก-ลก

ตารางที่ 2.หมวดกิริยาอาการ

คำที่

ภาษาถิ่นเหนือ

ภาษาถิ่นอีสาน

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นมลายู

ความหมาย

1

ลำ

แซบ

หรอย

ซะด๊ะ

อร่อย

2

อู้

เว่า

แหลง

แกแจะ

พูด

3

ขด

ตู้ด

ถด

แกเซาะ

ขยับ

4

ผ่อ

เบิ่ง

แล

แตเงาะ

ดู

5

ญะ

เฮ็ด

ทำ

วะ

ทำ

6

ญ่าง

ญาง

เดิน

ยาแล

เดิน

7

ล่น

แลน

แล่น

ลารี

วิ่ง

8

ไขหัว

หัว

หัว

ซูกอ

หัวเราะ

9

หัน

พ่อ

เห็น

นาเปาะ

เห็น

10

กิ๋น

กิน

กิน

มาแก

กิน

11

ง่าว

ปึก

โม่

บอดอ

โง่

12

ค้วง

ดึก

ขวาง

ขว้าง

13

จ้น

ซู้น

ถูก

แตะ

14

จ๋ำ

จือ

จ๋ำ

อีงะ

จำ

15

ถ่า

ถ่า

ถ้า

ตูงู

รอ

 


รูปที่ ๓ สัมภาษณ์คุณกัลยาณี กันโน

ตารางที่ 3.หมวดชื่อสัตว์

คำที่

ภาษาถิ่นเหนือ

ภาษาถิ่นอีสาน

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นมลายู

ความหมาย

1

ตะเข็บ

ขี่เข็บ

ขาบ

ตะขาบ

2

จ๊ะก่า

ขี่กะปอม

กิ้งก่า

กิ้งก่า

3

คางคก

ขี่คั้นคาก

คางคก

คางคก

4

จ๊ะเล่อ

ขี่โก๋

จิ้งแหลน

จิ้งแหลน

5

จ๊ะเกี้ยม

ขี่เกี้ยม

จิ้งจก

จิ้งจก

รูปที่ ๔ สัมภาษณ์คุณบัวเงิน แสนชมพู

 


รูปที่ ๕ สัมภาษณ์สีตีอามีเนาะ สะนิกอเด็ง

ตารางที่ 4.หมวดพืชผักผลไม้

คำที่

ภาษาถิ่นเหนือ

ภาษาถิ่นอีสาน

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นมลายู

ความหมาย

1

มะขะนัด

บักนัด

ยานัด

สับปะรด

2

บะแกว

บักสีดา

ชมพู่

ฝรั่ง

3

มะก๊วยเต้ด

บักหุ่ง

ลอกอ

มะละกอ

4

บะน้ำแก้ว

บักอึ

น้ำเต้า

ฟักทอง

5

หมะหนุน

บักมี่

หนุน

ขนุน

6

บะแน

บักเขียบ

น้อยหน่า

น้อยหน่า

7

หมะดัน

บักทัน

พุดทรา

พุดทรา

8

หละมุด

บักมุด

หมุดหรั่ง,สวา

ละมุด

9

แฟง

แฟง

ขี้พร้า

ฟัก

10

เข้าโพด

เข่าโพด

คง

ข้างโพด

รูปที่ ๖ สัมภาษณ์พี่สาวคุณเสาวลักษณ์ คงมี

 
ตารางที่ 5.หมวดข้าวของเครื่องใช้

คำที่

ภาษาถิ่นเหนือ

ภาษาถิ่นอีสาน

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นมลายู

ความหมาย

1

เตียว

ส่ง

-

ลูวา

กางเกง

2

เสื๊อ

เสื่อ

-

บายู

เสื้อ

3

เกิบ

เกิบ

เกือก

ลีปา

รองเท้าแตะ

4

สายเอว

สายฮัด

สายเอว

เข็มขัด

5

ถุงตีน

ถุงเท่า

-

ตอเก็ง

ถุงเท้า

6

กะเป๋า

กะเป๋า

ป้าว

เบะ

กระเป๋า

7

ก่อม

ตั๊ง

ม้านั่ง

เตียงนั่ง

8

ต่อมเสื้อ

กะดุม

ลูกดุม

กระดุม

9

มีดเยียบ

กรรไกร

ไกคีบ

กรรไกร

10

ผ้าฮ่ม

ผ้าห้ม

ผ้าผวย

ผ้าห่ม

11

จ้อง

ฮม

หรม

ปายม

ร่ม

12

น้ำโป๊ะ

คุ

-

ถังน้ำ

13

ขับบ๊ก

จอก

จอก

แก้วน้ำ

14

หยู

ฟอย

-

ไม้กวาด

15

สาด

สาด

ส้าด

เสื่อ

รูปที่๗ สัมภาษณ์คุณเพ็ญศรี เจียอาทิตย์

 
ตารางที่ 6.หมวดคำทั่วไป

คำที่

ภาษาถิ่นเหนือ

ภาษาถิ่นอีสาน

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นมลายู

ความหมาย

1

ขี้จุ๊

ตั๋ว

ขี้หก

นาเวาะ

โกหก

2

เฮือน

เฮียน

เริน

ฮูเม๊าะ

บ้าน

3

นัก

หลาย

หมาก

บาเญาะ

มาก

4

ปิ๊ก

เมีย

หลบ

ฆีเละ

กลับ

5

ม่วน

มวน

นุ๊ก

สนุก

6

อิด

เมือย

เหนือย

เหนื่อย

7

ฮู้

ฮู้

โหร่

รู้

8

บ่งาม

ขี่ล่าย

โมระ

ขี้เหร่

9

เกิ่ง

เคิง

เซก

ตือเงาะ

ครึ่ง

10

เมิน

โดน

-

นาน

11

ขวาย

สวย

สาย

12

กลัว

ย่าน

ขี้ขลาด

กลัว

13

แต้

อีหลี

จริง

14

แอ่ว

เที่ยวเล่น

เที่ยว

15

โขด

เคียด

หวิบ

โกรธ

รูปที่ ๘ สัมภาษณ์คุณสุวลักษณ์ คงมี

บทที่ ๕

สรุปและอภิปรายผลการดำเนินการ

สรุปผลการดำเนินการ

จากการสำรวจภาษาถิ่นที่ใช้ในอำเภอสุไหงโก-ลกพบว่า มีภาษาถิ่นที่ใช้อยู่หลักๆ ตามภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งก็คือ ภาษาถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาคกลาง และภาษาถิ่นมลายูที่มีอยู่ในพื้นที่ ซึ่งสามารถเรียนรู้ภาษาถิ่นต่างๆที่เข้ามาในอำเภอสุไหงโก-ลก เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารของผู้คนแต่ละถิ่น

ภาษาถิ่นที่ได้สำรวจและเก็บข้อมูลเปรียบเทียบคำกับความหมายที่เป็นภาษาราชการ มีความแตกต่างกันในเรื่องของคำที่ใช้ สำเนียงที่ใช้และหลักภาษา และคำภาษาถิ่นบางคำใช้เหมือนกับภาษาราชการ ซึ่งคำส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นหมวดๆ ได้ 5 หมวด ดังนี้

1.  หมวดกิริยาอาการ

2.  หมวดชื่อสัตว์

3.  หมวดพืชผักผลไม้

4.  หมวดข้าวข้องเครื่องใช้

5.  หมวดคำทั่วไป

อภิปรายผลการดำเนินการ

โครงงานเรื่องภาษาถิ่นในอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นโครงงานที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านภาษา วัฒนธรรม ทำให้รู้จักเรียนรู้ที่มาของคำในแต่ละภาษา สามารถสื่อสารและเรียนรู้ร่วมกัน เกิดมิตรภาพที่ดี นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

นอกจากนี้การทำโครงงานยังช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาที่พบ

ในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้ใช้เวลาในการสำรวจค่อนข้างนาน และไม่ค่อยมีเวลาในการลงพื้นที่ เวลาที่สำรวจจะอยู่ในช่วงเย็นซึ่งเป็นเวลาที่ผู้คนกำลังเร่งรีบ และคำที่สำรวจส่วนใหญ่จะอยู่ในวงแคบ เนื่องจากภาษามีการกระจายตัว แต่ละถิ่นของแต่ละภาคใช้ภาษาไม่เหมือนกันหรืแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้ได้ภาษามาไม่ครอบคลุม และคำที่ได้ยังน้อยเกินไป

ประโยชน์ที่ได้รับ

๑.ได้เรียนรู้ภาษาถิ่นที่มีอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก

๒.เข้าใจภาษาถิ่นในท้องถิ่นต่างๆกับภาษาราชการ

๓.ได้มีเอกสารการเรียนรู้ให้กับผู้ที่มีความสนใจ

๔.สามารถเข้าใจภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกัน

๕.เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

ข้อเสนอแนะ

๑. ควรจัดทำตารางการสำรวจให้มากกว่านี้

๒. ควรให้มีภาษาถิ่นที่หลากหลาย

๑๑

 


บรรณานุกรม

ฟองจันทร์ สุขยิ่งและคณะ. ภาษาไทยม.๒. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2548

http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-6.html

http://www.rakjung.com/thai-no78.html

http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/thai2000/unit001.html

 

 

ภาคผนวก

ภาคผนวก

รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์

1.  นางกัลยาณี กันโน  ที่อยู่ 43/17 ถ.เจริญเขต ซอย 6 ต./อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

หมายเลขบันทึก: 531464เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2013 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2013 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

..... เป็นโครงการที่ดีมากๆ นะคะ  ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้

ได้ความรู้เพิ่มมากกกกกเลยค่ะ

 

ขอบคุณสำหรับรายงานน่ะค่ะ

เก่งมากคับดีมากสำหรับรยงานนี้ขอบคุนมากๆๆๆ

ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้ดีๆๆที่ให้มาคะ

มีคำเยอะมากเอาไปทำโครงงานได้สบายเลย

ขอบคุณมากๆเลยนะค่ะ

ดีมากๆ

เลิสงับบบ บ่องตง พอดีครูให้ทำงาน ปล. ผมเปนผู้หญิงนะ 55 น้องนานิ

ยินดีครับ ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความรู้ให้กับทุกคนครับ

5555tee


เยี่ยมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เป็นตัวอย่างและเป็นแรงบันดาลใจให้ผมทำโครงงานมากเลยครั้บ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับโครงงานนี้

ถ้าไม่มีคงไม่รู้จะหามาจากไหนไปส่งอาจารย์

สนุกมากกกก

ขอบคุณครับ ผู้จัดทำโครงการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท