องค์ประกอบของจริยธรรมทางธุรกิจ


   จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR: Corporate Social Responsibility) และเป็นหนึ่งในความคาดหวังที่สังคมมีต่อองค์กรธุรกิจ เยาวลักษณ์ จิตต์วโรดม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ระบุในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฉบับเดือน กันยายน – ธันวาคม 2548 บทความวิชาการเรื่อง “จริยธรรมทางธุรกิจเพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน” (Business Ethics for Sustainable Business Growth and Prosperity) เกี่ยวกับองค์ประกอบของจริยธรรมทางธุรกิจ (เยาวลักษณ์  จิตต์วโรดม, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2555) ดังนี้

     1. ความซื่อสัตย์ ได้แก่ ซื่อตรงต่อเวลา คำมั่นสัญญา งาน การนัดหมาย ระเบียบ ประเพรีและกฎหมาย ไม่พูดปด ฉ้อฉล และกล้าที่จะยอมรับความจริง

     2. ความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี โดยยึดถือหลักการมีเกียรติ ซื่อตรงและมีความกล้าหาญที่จะยอมรับผิด

     3. การรักษาคำมั่นสัญญา โดยปฏิบัติตามข้อตกลง ยึดถือจิตใจ ไม่ตีความข้อตกลงในทางเทคนิค หรือกฎหมายโดยไม่อนุโลมหรือแก้ตัว เพื่อยกเลิกข้อตกลง

     4. ความจงรักภักดี โดยให้ความศรัทธาและความภักดีต่อครอบครัว เพื่อน นายจ้าง และประเทศชาติไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลลับ เพื่อหาประโยชน์ใส่ตน

     5. ความยุติธรรม มีความยุติธรรมและเปิดใจ มีความตั้งใจยอมรับข้อผิดพลาดอันเกิดจากสถานะที่เปลี่ยนแปลง ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเท่าเทียมและใจกว้างต่อความแตกต่าง ๆไม่แสวงหาผลประโยชน์จากความผิดพลาดหรือความทุกข์ยากของผู้อื่น

     6. ความเอาใจใส่ต่อบุคคลอื่น เอาใจใส่ เมตตากรุณา รู้จักแบ่งปัน ช่วยในสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงที่จะทำอันตรายต่อผู้อื่น

     7. ความเคารพต่อบุคคลอื่น โดยเคารถความเป็นส่วนตัวและสิทธิการตัดสินใจของทุกคน

    8. การเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎหมาย สิทธิตามระบอบประชาธิปไตยและสิทธิในการมีส่วนร่วม มีสำนึกทางสังคม เมื่ออยู่ในตำแหน่งผู้นำหรือมีอำนาจหน้าที่และเคารพเกียรติการตัดสินใจในกระบวนการประชาธิปไตย

     9. การแสวงหาความเป็นเลิศ แสวงหาความดีในทุกเรื่อง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีความพยายามผูกพันและปฏิบัติงานทุกงานอย่างเต็มความสามารถ แสวงหาความรู้และมีการเตรียมตัวที่ดี

    10. มีความรับผิดชอบที่พร้อมให้ตรวจสอบ รับผิดชอบต่อการตัดสินใจและผลที่เกิดขึ้น ทั้งจากการกระทำและที่ไม่ได้กระทำเป็นเป็นแบบอย่างสำหรับผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมการแสดงจริยธรรมทางธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งประกอบด้วยพนักงาน ผู้บริหาร เจ้าของ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ คู่แข่งขัน ผู้จัดจำหน่ายสินค้า ชุมชน หรือหน่วยงานรัฐ ความสัมพันธ์ของหน้าที่ทางธุรกิจต่อสังคม เป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานของรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเข้มงวดมากขึ้น กฎหมายจะมีบทบัญญัติต่อธุรกิจ รวมทั้งสื่อมวลชนต่างๆ จะมีการนำเสนอผลกระทบธุรกิจต่อสังคมในวงกว้าง จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรธุรกิจควรใส่ใจในความมีจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะเป้าหมายในการทำธุรกิจไม่ใช่เพื่อแสวงหากำไรสูงสุดแต่ต้องเป็นการแสวงหากำไรอย่างยั่งยืน การแสดงจริยธรรม


คำสำคัญ (Tags): #จริยธรรม
หมายเลขบันทึก: 531315เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"เป้าหมายในการทำธุรกิจไม่ใช่เพื่อแสวงหากำไรสูงสุดแต่ต้องเป็นการแสวงหากำไรอย่างยั่งยืน"

มันโดนตรงนี้นี่แหละครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท