จริยธรรมทางธุรกิจ


 

        จริยธรรม หมายถึง การประพฤติปฏิบัติ หรือหลักความประพฤติปฏิบัติที่ดีงามที่เหมาะสม ที่มีคุณธรรมและถูกต้องตามศีลธรรม โดยมีการใช้ปัญญาไตร่ตรองด้วยเหตุผลว่า อะไรดีควรประพฤติ  อะไรไม่ดีไม่ควรประพฤติ พฤติกรรมใดมีศีลธรรมหรือไม่มีศีลธรรม ซึ่งหลักด้านจริยธรรมจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่มีจริยธรรม เป็นสิ่งทีสังคมยอมรับ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (จินตนา บุญบงการ, 2549 น.27) ซึ่งสอดคล้องกับความหมายที่ให้โดยพรนพ พุกกะพันธ์ และประเสริฐชัย ไตรเสถียรพงศ์(2545, น.106)และสมคิด บาโม (2549, น.12) เป็นแนวทางเพื่อบรรลุสภาพชีวิตที่ดีงามและละเว้นสิ่งที่ผิดต่อปทัสถานของสังคม (Social  Norm) (พิภพ วชังเงิน, 2546 น.4)

       สรุป จริยธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมถูกต้องตามหลักศีลธรรมและคุณธรรม เป็นที่ยอมรับต่อสังคมว่าสิ่งใดควรประพฤติหรือไมควรประพฤติ เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ทดสอบมาตรฐานทางศีลธรรมของบุคคลหรือสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมอย่างมีคุณค่า

  จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึง การนำหลักจริยธรรมมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม (อภิรัฐ ตั้งกระจ่าง และคณะ, 2546, น.97) ซึ่งสอดคล้องกับความหมายที่ให้โดยเวลา สแควช(Velasquez, 2002, p.13) เป็นความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และหลักศีลธรรม เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาทางศีลธรรมในการประกอบธุรกิจว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดถูก และสิ่งใดผิด (Ferrell, Fraedrich, and Ferrell, 2000.p.6) ซึ่งสอดคล้องกับความหมายที่ให้โดยไวส์(Weiss, 2003, p.7)

     จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นผลการผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจและจริยธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายและการปฏิบัติของภาคธุรกิจ ในการสร้างความสำเร็จในการประกอบการอย่างมีความรับผิดชอบ มีความยั่งยืนมีผลในระยะยาว (อานันท์ ปันยารชุน, อ้างถึงในสมคิด บางโม, 2549,13) ซึ่งสอดคล้องกับความหมายที่ให้โดย (เนตร์พัณณา  ยาวิราช, 2546,43) กล่าวว่า เป็นการประกอบธุรกิจ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคม โดยผู้ประกอบการควรปฏิบัติตนตามแนวทางของธุรกิจที่ดีมีจริยธรรม มีจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบ

    สรุปได้ว่า จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นการนำหลักจริยธรรมมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ซึ่งจะประกอบด้วยหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติในวงการธุรกิจ เพื่อตรวจสอบการประกอบธุรกิจว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดถูกและสิ่งใดผิด ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม อยู่ในแนวทางของศีลธรรมเป็นการผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจและจริยธรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายและการปฏิบัติของภาคธุรกิจ เป็นความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจในการสร้างความสำเร็จในการประกอบการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

เอกสารอ้างอิง

จินตนา บุญบงการ.(2549). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.


หมายเลขบันทึก: 531313เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถ้าธุรกิจไม่มีจริยธรรมกำกับ ล้วนแต่เป็นผลร้ายต่อเศรษฐกิจและนักธุรกิจ แน่แท้จริงเชียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท