ตอบคำถามเรื่อง STEM



ผมได้รับคำถามดังนี้

จาก: manit chansuthirangkol <[email protected]>

หัวข้อ: คำถามเรื่อง stem


---------------------------------------

          อยากเรียนถามอาจารย์ครับว่าที่อาจารย์เขียนไว้ในหนังสือ  หน้า 88  

          "เด็กที่มีเป้าหมายเรียนกฏหมายก็เรียน stem แบบหนึ่ง เด็กที่อยากเติบโตเป็นนักฟิสิกส์ก็เรียน stem อีกแบบหนึ่ง ครูเพื่อศิษย์ต้องคำถึงความแตกต่างหลากหลายในเป้าหมายของการเรียนของศิษย์ ซึ่งหมายความว่าแนวคิดที่ว่าเด็ก ม. 4-6 ที่ต้องการปูพื้นฐานความรู้ไปเป็นนักการทูตจะไม่เรียนกลุ่มวิชา stem เลย เป็นแนวความคิดที่ผิดเพราะจะทำให้เราได้นักการทูตที่แคบและตื้น "

          แต่เราสามารถทำให้เด็กที่เตรียมตัวเป็นนักการทูตมีพื้นฐานความรู้ stem ได้ โดยไม่ต้องสอนแต่ให้เรียนโดยใช้ PBL ซึ่งหมายความว่าครูต้องออกแบบ PBL ให้เด็กกลุ่มนี้ได้เรียน stem ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเขาในอนาคต และที่สำคัญคือสามารถติดตามความก้าวหน้าของศาสตร์ด้าน stem ได้ตลอดชีวิต

        หมายความว่าอย่างไรหรือครับ

          ในความคิดของผม มันหมายถึงการที่เราจะต้องจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในทุกๆอย่างที่เค้าควรจะเป็น อันนั้นเข้าใจครับ  แต่ว่าในแง่ของวิชาวิทยาศาสตร์แล้วการที่จะให้นักเรียนเรียน stem นั้น จะให้เค้าเรียนในกลุ่มนักเรียนที่เรียนกฏหมายนั้น จะเป็นรูปแบบไหนหรือครับ

          หมายความว่าเราต้องคิดว่านักกฏหมายนั้น จะใช้ stem ทำอะไรกับอาชีพในอนาคตอย่างนั้นหรือเปล่าครับ  แล้วเอาตรงนั้นเป็นตัวตั้งเพื่อตอบโจทย์ stem แล้วเอามาทำเป็น PBL แบบนั้นหรือครับ

          หรือหมายความว่า stem Literacy นั้น จำเป็นต้องเรียนในทุกกลุ่ม ไม่ควรจะแยกออกจากกันกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้วิชาวิทยาศาสตร์ในการสอบเข้า

          แล้วถามอีกคำถามหนึ่งครับ

          stem คือ science technology engineering mathematics Literacy นั้น เป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนโดยใช้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นตัวตั้งบูรณาการเทคโนโลยีงานประดิษฐ์ DIY กับการคำนวนเข้าด้วยในในหนึ่งหน่วยการเรียนใช่ไหมครับ  


          ขอแสดงความนับถือ

          มานิตย์  จันสุทธิรางกูร



     ผมลองค้นชื่อ มานิตย์ จันสุทธิรางกูร พบว่าท่านเป็นเจ้าของโรงเรียนตวงวิชช์พัฒนา จ. สุราษฎร์ธานี  สอนชั้นอนุบาล ถึง ป. ๖  ผมจึงขออนุโมทนา ที่ท่านสนใจเรื่องนี้

     ผมได้เขียนบันทึกเรื่อง STEM ไว้ ที่นี่

     คำตอบเพิ่มเติมคือ นักเรียน (ตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นมา) ต้องได้เรียนแบบลงมือทำเพื่อเรียนรู้ STEM  ทั้งที่เป็นการเรียนวิชาโดยตรง  และที่เป็นการเรียนแบบบูรณาการ  เพื่อค่อยๆ พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  โดยที่ส่วนใหญ่ไม่ใช่การเรียนวิชาโดยตรง  แต่เด็กเกิดการพัฒนา STEM Literacy และทักษะที่เกี่ยวข้อง ขึ้นเองภายในตัว

     การทำงานโครงงานหรืองานประดิษฐ์ บูรณาการการคำนวณ  การวางแผน ฯลฯ  น่าจะเป็นการเรียน STEM ครับ  แต่ต้องพิจารณาด้วยว่า กิจกรรมนั้นทำให้เด็กได้เรียนโดยมีความยากง่าย ความท้าทายสมวัย หรือเหมาะสมตามพัฒนาการของเขาหรือไม่



วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.พ. ๕๖



คำสำคัญ (Tags): #21st century skills#560319#pbl#stem
หมายเลขบันทึก: 530632เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2013 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2013 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท