มาตรการป้องกันและบรรเทาภยันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้อาคารในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับใหม่ ซ่อม อาคาร บ้านเรือน หลังน้ำท่วม โดย นายช่างดี


หนังสือเวียนแจ้งมาตรการป้องกันและบรรเทาภยันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้อาคารในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับใหม่

รายงานข่าวแจ้งว่า นายพินิต เลิศอุดมธนา ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา (สนย.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกหนังสือเวียนแจ้งมาตรการป้องกันและบรรเทาภยันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้อาคารในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับใหม่ แก่สำนักงานเขต เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ สถานบริการ ผู้จัดงานรื่นเริงหรือเจ้าของอาคารนำไปปฏิบัติตาม ดังนี้

1.จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างน้อย 1 เครื่อง กรณีมีพื้นที่สถานบริการ หรือพื้นที่จัดงานตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ขอความร่วมมือจัดให้มีเครื่องดับเพลิงเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกระยะห่างไม่เกิน 20 เมตร และจัดให้มีทุกชั้นที่มีการจัดงาน สามารถมองเห็นและเข้าใช้สอยได้โดยสะดวก 

2.จัดให้มีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ที่สามารถส่งสัญญาณเตือนแจ้งครอบคลุมพื้นที่บริการ

3.ติดตั้งแบบแปลนแผนผังอาคาร ซึ่งแสดงตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ทางหนีไฟ ทางออก และประตูทางออก ไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน

4.จัดให้มีทางออกและทางหนีไฟ ให้เพียงพออย่างน้อย 2 ทาง และต้องเปิดออกได้โดยสะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีป้ายบอกทางสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ตลอดเวลา

5.จัดให้มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง สำหรับระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ไฟฉุกเฉิน ป้ายบอกทางหนีไฟ 

6.ให้มีการควบคุมความจุคนของผู้ใช้บริการหรือผู้ที่เข้าร่วมงาน 

7.จัดให้มีผู้ดูแลระบบความปลอดภัยและการป้องกันภยันตรายจากอัคคีภัยตลอดเวลาที่เปิดบริการ 

8.ก่อนเปิดบริการหรือก่อนการจัดงานควรจัดให้มีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา 

9.หลีกเลี่ยงการตกแต่งอาคาร สถานที่จัดงานรื่นเริงด้วยวัสดุตกแต่งที่ติดไฟง่าย หรือลามไฟเร็ว

10.ห้ามจัดให้มีการละเล่น การแสดงที่มีการใช้อุปกรณ์ ของเล่น ที่ทำให้เกิดประกายไฟโดยเด็ดขาด 

11.ในระหว่างที่จัดงานหรือเปิดบริการ ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ทางเข้าออกและทางหนีไฟ และข้อควรปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ผู้ใช้บริการทราบ ตามเวลาที่เหมาะสม 

12.อาคารที่มีสถานบริการหรือสถานที่จัดงานรื่นเริงอยู่ในอาคารให้ตรวจสอบการใช้งานของระบบป้องกันอัคคีภัยโดยรอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางหนีไฟที่ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง และต้องมองเห็นป้ายบอกทางหนีไฟได้ชัดเจนตลอดเวลา เพื่อระบายคนออกได้โดยปลอดภัย 

13.กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินผู้ใช้บริการหรือผู้เข้าร่วมจัดงานรื่นเริงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบกิจการหรือผู้จัดงานอย่างเคร่งครัดตามที่มีการประชาสัมพันธ์ ให้ทราบ 

14.หลังจากปิดบริการหรือหลังจากการเลิกจัดงานควรจัดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัย 

15.สถานบริการต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก.

ด้วยความห่วงใยจาก...สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ

สถานที่: thaiflood

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/892/369/original_Manual.pdf?1363605005

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 529454เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท