บทความสำคัญ เกี่ยวกับ tagging


อาทิตย์ก่อน ผมได้อ่านบทความสำคัญ ที่อธิบายถึง tagging (หรือ folksonomy)
ทั้งในเชิงลึก (กลไกในสมองคน) และเชิงกว้าง (ภาพรวม tag แบบมหภาค)
เลยขอเอามาเล่าฝากคนที่ติดตามเทคโนโลยีนี้อยู่หลายๆ คน

บทความแรก เป็นการวิเคราะห์กลไกทางสมองของการใส่ tag เมื่อเทียบกับการ
จัด category โดยในบทความนี้ จะชี้ให้เห็นว่า การใส่ tag สอดคล้องกับ
ธรรมชาติการคิดของมนุษย์มากกว่า  และมีปัญหาอุปสรรคน้อยกว่าการจัด category
A cognitive analysis of tagging


ผมแปลงแผนภาพเป็นมาเป็นภาษาไทย อธิบายขั้นตอนการใส่ tag ว่า
ขั้นแรกคือการรับรู้ถึงสิ่งที่สนใจจะจำ (เว็บ-del.icio.us, ภาพ-flickr, ฯลฯ)
จากนั้น สมองจะถูกกระตุ้นให้ความคิด (concept) ที่เกี่ยวข้องอยู่ ลอยขึ้นมา
ในกระบวนการรับรู้  เราก็มีหน้าที่แค่จดคำแทน concept เหล่านั้นลงเป็น tag
แล้วใส่ในระบบเท่านั้น  ส่วนการทำ category จะซับซ้อนกว่ามาก
อ่านได้ที่บทความเต็มครับ

บทความสำคัญชิ้นที่สอง เป็น paper จาก HP Labs (วันหลังผมจะพูดถึงอีก)
ชื่อว่า The Structure of Collaborative Tagging Systems 
เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างการใส่ tag ในระบบของ del.icio.us
(ใครที่ไม่รู้จัก ผมเคยเขียนแนะนำ del.icio.us ไว้ในบทความก่อน)
ผมแปลบทคัดย่อมาคร่าวๆ ดังนี้

การร่วมมือใส่ tag เป็นกระบวนการที่ผู้ใช้หลายคน ใส่ metadata
ในรูปแบบ คำหลัก (keyword) ให้กับเนื้อหาของกลุ่ม  ในระยะหลัง
การร่วมมือใส่ tag ได้เติบโตอย่างรวดเร็วบนเว็บ  โดยผู้ใช้ร่วมกันใส่
tag ให้กับ เว็บ, รูปภาพ, และเนื้อหาอื่นๆ  ในบทความนี้เราจะวิเคราะห์
ถึงโครงสร้างของการร่วมมือใส่ tag และพลวัตรของกลไก
เราได้ค้นพบรูปแบบที่เป็นระเบียบของพฤติกรรมผู้ใช้, ความถี่ของ tag,
ประเภทของ tag, การพุ่งขึ้นของการใส่ tag และการคงตัวของสัดส่วน
ในแต่ละ url  เรายังได้นำเสนอต้วแบบที่ทำนายรูปแบบดังกล่าวว่า
เกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบ และการแลกเปลี่ยนความรู้


เว็บดังส่วนใหญ่ จะถูกใส่ tag พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วค่อยๆ ลดลง


สัดส่วนการใช้ tag ต่างๆ ของเว็บหนึ่งๆ จะค่อยๆ ลู่เข้าสู่สัดส่วนคงที่

คำสำคัญ (Tags): #tagging#research
หมายเลขบันทึก: 5291เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2005 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นบันทึกที่ชี้ไปยังบทความที่น่าสนใจมากทั้งสองบทความเลยครับ

ผมขอเสริมว่าถ้า อ.กรกฎแปลรูปกลไกทางสมองของ categorization ในบทความของ Rashmi Sinha มาเปรียบเทียบด้วยน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านมากทีเดียว

เพิ่งไปอ่านเจอบทความเก่าๆ ที่พูดถึง folksonomy ในมุมของ
KM ไว้   เลยมาขอเพิ่มให้ครับ

Folksonomy - more collective classification 

Danah Boyd เป็นผู้ที่ศึกษาเรื่อง Blog และ Social Software
ชั้นแนวหน้าคนหนึ่ง สัปดาห์ก่อน เธอพยายามรวบรวม paper
ทางด้าน tagging อยู่  ค่อนข้างครบถ้วนครับ  ไปดูได้

Articles on tagging (help?) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท