อิสรชน : 12 ปี กับการทำงานอาสาสมัคร


“....เมืองวุ่น ๆ ที่มีแต่ความหวาดระแวงในการทำความดี อย่างกรุงเทพมหานคร หรือหัวเมืองใหญ่ ในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย เป็นเมืองที่ ก่อให้เกิดการแบ่งแยกแบ่งชนชั้นของสังคมมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ใครที่ว่าเมืองไทย ไม่มีชนชั้น ไม่มีวรรณะ อาจจะต้องคิดใหม่ หากมีโอกาสมาเป็นอาสาสมัครเมือง ลงทำงานภาคสนามกับองค์กรภาคสังคมในพื้นที่นั้น ๆ ซักวันสองวัน....”

 

หลังจากผ่านพ้นการเป็นบัณฑิตอาสามัคร ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเมื่อปี 2537 แล้ว งานแรกที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในฐานะคนทำงานอย่างเต็มตัว ก็คือ การเป็นครูข้างถนนของ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ของครูหยุย โดยนิสัยส่วนตัวที่ชอบทำงานกับเด็กเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้การทำงาน งานแรกเป็นไปด้วยความสนุกและมีความสุขอยู่กับการทำงาน แต่พอทำไปทำมาได้เกือบ 2 ปี ก็พบว่าชีวิตที่เป็นอยู่น่าจะมีอะไรที่ทำได้มากกว่านั้น ประกอบกับมีเหตุผลส่วนตัวอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุนทำให้การตัดสินใจลองคิดเปลี่ยนวิถีทางการทำงานทำได้เด็ดขาดและเร็วขึ้น ก็ อกจากที่นั่น มาทำงานด้านเอกสารอยู่กับ มูลนิธิโกมลคีมทอง ได้อีก 6 เดือนเศษ ถึงได้พบคำตอบที่แท้จริงว่า งานที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด คือการได้จัดกิจกรรมสนุกสนานและได้อยู่กับเด็ก ๆ ที่ด้อยโอกาสต่างหากคือชีวิตของเรา จึงถอยออกมาจากที่นั่น แล้ว ก้าวเข้าสู่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) สนุกสนานกับการจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้เกือบ 2 ปีเช่นกัน พอมองย้อนกลับไป ก็ พบว่า เกือบ 5 ปีที่ผ่านมานั้น เราเป็นเพียงกลไก ที่วิ่งไปพร้อม ๆ กับความฝันของคนอื่นมากกว่าการสร้างฝันของตัวเอง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต ตัดสินใจ รวบรวมความกล้า และเพื่อนพี่น้องที่เคยฝันร่วมกัน มาตั้งแต่สมัยเรียนระดับอุดมศึกษา ออกมาตั้งกลุ่มเพื่อทำงานตามความฝันของตัวเอง โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทางสังคม ในรูปแบบอาสาสมัครให้มากที่สุด ในช่วงแรก ๆ การทำงาน เป็นไปอย่างทุลักทุเลมาก ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนเลยแม้แต่บาทเดียว ทำไปทำมา อยู่ได้ ปีเศษคนอื่นๆ ถอยและถอนกำลังกันไปเกือบหมด จนทำให้ต้องตัดสินใจใหม่ ยอมวางมือจากความฝันชั่วคราวผันตัวเองกลับไปเป็นคนทำงานรับเงินเดือน อยู่ในระยะเวลาสั้น ๆ ที่ พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร ในช่วงที่ เปิดตัวใหม่ ๆ ไปรับผิดชอบเนื้อหาด้านศิลปและวัฒนธรรม และยังชักชวน น้อง ๆ บัณฑิตอาสาสมัคร ให้ไปทำงานด้วยในช่วงนั้น แต่ด้วยบุคลิกที่ เติบโตมาเพื่อทำงานภาคสังคม จึงทำให้ การทำงาน ที่นั่น ก็ต้องหยุดตัวลง และ หันมา ช่วยเพื่อนเก่า ทำงานงานด้าน ICT ให้แก่ องค์กรทางสังคม ทั่วประเทศ อยู่ปีเศษ ท่ามกลางเสียงเรีกยร้อง ของทีมงานที่รวมตัวกันมาแต่ต้น ให้กลับมา ฟื้นงานที่ร่วมไม้ร่วมมือทำกันมาแต่ต้น จึงตัดสินใจ หวนกลับมา ฟื้นฟูงาน ที่ค้างคาไว้ และ สานต่อ แบบลุยเต็มที่ จนได้จดทะเบียนองค์กร ในนามสมาคม ภายใต้ชื่อ สมาคสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เมื่อตอนต้นปี 2548 และลุยงานแบบล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด โดยเน้นการทำงานประสานความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ในรูปแบบของงานอาสาสมัคร เป็นสำคัญ

 

ช่วงนั้นสถาบันทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีเนื้อหาวิชาบริการสังคม โดยหวังว่าจะให้นักศึกษาที่เรียนในสาขาต่าง ๆ ได้เรียนรู้สังคมและรู้จักสภาพปัญหาของสังคมบ้าง เพื่อที่จะสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานจริงได้ในอนาคต โดยรูปแบบการเรียนการสอนของวิชาดังกล่าว ก็เน้นให้นักศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้านการบริการสังคมร่วมกับ องค์กรสาธารกุศลที่ดำเนินการอยู่แล้ว เราเองก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ มีหลายสถาบันให้ความสนใจและนักศึกษาเองก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วยร่วมในการทำงานบริการสังคมด้วย
                                    
               
นักศึกษาหลายคนที่เข้ามามีส่วนร่วมในงานบริการสังคมก็มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมร่วมกิจกรรมบริการสังคมด้วยความเต็มใจและสนุกกับการร่วมกิจกรรมที่ตนเองเลือกที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม บางคนก็ อาศัยติดตามเพื่อน ๆ ในกลุ่มไปเพียงเพื่อให้ผ่านกิจกรรมไปวัน ๆ โดยปราศจากมุมมองที่แท้จริง ไม่มีความตระหนักรู้ในกิจกรรมนั้น ๆ   บางครั้งในบางคน ยังไม่เข้าใจคำว่าว่า อาสาสมัคร ด้วยซ้ำไป กิจกรรมที่ไปร่วมก็เพียงเพื่อให้จบ ๆ ไปในรายวิชานั้น ๆ ซึ่ง ถามว่าแล้วมันจะได้อะไร  สมาคมฯเองในฐานะที่เรามีมุมมองและประสบการร์การทำงานในรูปแบบของอาสาสมัครก็ต้องคอยให้คำแนะนำและ สร้างรูปแบบ แบบอย่างในการทำงานอาสาสมัครเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้าง จิตอาสาสมัคร ให้เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ ที่หันมาให้ความสำคัญและสนใจในการเป็นอาสาสมัคร กิจกรรมบริการสังคม โดยเนื้อหาแล้ว จะมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้และรู้จักสังคมแบบองค์รวม ให้รู้ว่าทุกส่วนของสังคมนั้นเชื่อมโยงถึงกัน ปัญหาหนึ่งอาจไปกระทบกับอีกปัญหาหนึ่งได้หากไม่ระมัดระวังในการทำงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ ก็จะส่งผลไปให้เกิดปัญหาในส่วนอื่น ๆ ของสังคมตามมาได้ในที่สุด

 

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) เอง มีรูปแบบการทำงานอาสาสมัคร ที่สามารถบอกได้ว่าเป็นรูปแบบเฉพาะของ อิสรชนเอง ซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันออกไปจากหน่วยงานอื่น ๆ บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนที่จะมอง อาสาสมัคร ของอิสรชน นั้น เราจะแบ่งรูปแบบออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ

 

อาสาสมัคร

อาสาสมัครเมือง

 

อาสาสมัคร เป็นรูปแบบของคนทำงาน ที่มีความพร้อม และ เตรียมตัวที่จะทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่ของอิสรชน โดย อาสาสมัครกลุ่มนี้ จะทำงานเต็มเวลา มีค่าตอบแทนให้บ้างตามสมควร หรือ ตามกำลังของโครงการนั้น ๆ จะจัดสรรให้ แต่ จะมีโอากาส ที่จะเสนอรูปแบบกระบวนการ สร้างสรรค์กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กรได้ในเสมือนเจ้าหน้าที่ขององค์กรคนหนึ่ง

 

 อาสาสมัครเมือง เป็น พื้นที่ของคนที่มีงานประจำ หรือนักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจและความพร้อมที่มีขีดจำกัดในการทำงานเพื่อสังคม แต่สนใจจะทำงานเพื่อสังคม ก็จะปลีกเวลาบางส่วนมาทำงานอาสาสมัคร โดยที่ จะไม่ได้รับค่าตอบแทนใดใดจากสมาคมฯ

 

อาสาสมัคร หรือ อาสาสมัครเมือ ล้วนเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในหลาย ๆ ทางเลือกในการที่ใครซักคนจะเลือกหนทางที่จะลองทำงานอะไรซักอย่างเพื่อสังคม ไม่ใช่ทางเลือกในการที่ใครซักคน จะ เข้ามาใช้ประโยชน์เพียงเพื่อให้ตนเองสำเร็จการศึกษาตามภาคบังคับไว้ เพราะหากมาเพียงเพื่อให้ผ่านกิจกรรมที่ชื่อว่า บริการสังคม แบบไม่เต็มใจแล้ว การเรียนรู้ที่แท้จริงย่อมไม่มีไม่เกิด แล้วประโยชน์ที่คนคิดหลักสูตรนี้เพื่อให้เรียนรู้สังคมก็ไม่ประสบความสำเร็จ ยิ่งซ้ำเติมสังคม มากกว่าบริการสังคม

 วันนี้ หลายสถาบันการศึกษาเริ่มจับทิศทาง การบริการสังคมได้ถูกทางขึ้น แต่ก็ต้องให้เวลาในการปรับตัวอยู่พอสมควร แต่หากใคร หรือสถาบันไหนยัง เดินแบบเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาอยู่ ก็น่าจะเริ่มหันมามองหาทางเปลี่ยนแปลงก่อนจะสายเกินไป แล้วนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการนี้จะเข้าใจเรื่องการบริการสังคมผิดพลาดซึ่งอาจจะทำให้นักศึกษาคนนั้นหรือกลุ่มนั้น มีเจตคติในการทำงานบริการสังคมในรูปแบบของอาสาสมัครที่ผิดเพี้ยนไป โดยเฉพาะหากสถาบันการศึกษานั้นตั้งอยู่ในเขตเมืองที่ความเจริงได้รุกล้ำเข้าไปทำลายกลไกทางสังคมหมดแล้ว 

 

         “....เมืองวุ่น ๆ ที่มีแต่ความหวาดระแวงในการทำความดี อย่างกรุงเทพมหานคร หรือหัวเมืองใหญ่ ในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย เป็นเมืองที่ ก่อให้เกิดการแบ่งแยกแบ่งชนชั้นของสังคมมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ใครที่ว่าเมืองไทย ไม่มีชนชั้น ไม่มีวรรณะ อาจจะต้องคิดใหม่ หากมีโอกาสมาเป็นอาสาสมัครเมือง ลงทำงานภาคสนามกับองค์กรภาคสังคมในพื้นที่นั้น ๆ ซักวันสองวัน....  

                สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนก็เป็นองค์กรหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้ ที่คิดจะเข้ามาเรียนรู้ชีวิตที่แตกต่างของคนในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ อรุณอมรินทร์ สนามหลวง หรือ ชุมชน ต่าง ๆ ในเขตเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชน ในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่หลายคน อาจจะไม่เชื่อว่ามีปัญหาเหล่านี้แฝงเร้นอยู่กลางใจเมือง ที่ได้ชื่อว่า ศิวิไลซ์ มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เมืองที่จัดได้ว่ามีความเจริญและสาธารณูปโภคทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง

 

                กล่าวกันว่า เมืองที่ยิ่งมีความเจริญทางวัตถุมาเท่าไหร่ ความเสื่อมถอยถดถอยในด้านจิตใจก็มากขึ้นเท่านั้น ความไว้เนื้อเชื่อใจ ของคนก็จะลดลง จะมีแต่ความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจกันและกัน ที่สำคัญการระแวงในความดี  ระแวงในกลุ่มคนที่มีความตั้งใจในการทำดี ซึ่งนั่นเอง ที่ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เพียรพยายามเรียกร้องสิ่งนั้นให้กลับมา อย่างน้อย หากคนเรา ได้เรียนรู้ที่จะสร้างความไว้วางใจกันและกันแล้ว ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากความหวาดระแวงกัน อาจจะลดลงไปในที่สุด

                หลังจากที่เราเปิดโอกาสให้ผู้คนหลากหลายอาชีพเข้ามาเป็นอาสาสมัคร ในช่วงเวลา หลายปีที่ผ่านมา พบว่า สังคมเมืองที่วุ่นวาย ที่มีแต่ความหวาดระแวงแห่งนี้ ก็มีคนที่มีมุมมองแปลกและแตกต่างไปจากคนที่ วิ่งวุ่น วุ่นวาย แข่งขันกันทำมาหากินท่ามกลางเมืองที่เร่งร้อนแห่งนี้ บางคน ทำงานกับสายการบิน บางคน ทำงานกับบริษัทซอฟแวร์ บางคนเป็นข้าราชการ บางคนเป็นนักศึกษา บางคนเป็นนักเรียน แต่ทุกคนเมื่อได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานในฐานะอาสาสมัครเมืองแล้ว ทุกคน กรอบความคิด  โลกทัศน์ เปลี่ยนไป จากที่ เคยมองคนด้อยโอกาส เป็น ผู้รับ เริ่มหันมามองว่า คนด้อยโอกาส เป็นผู้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้มากยิ่งขึ้น

                ความหวาดระแวงในสังคมเมืองแห่งนี้ ก็คงยังจะมีต่อไป และ อาจจะขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น หากว่าคนเรา ยังมีความเคลือบแคลงและสงสัยในสิ่งที่คนอื่นทำอย่างจริงจัง และตนเองไม่กล้าที่จะก้าวเข้ามาทำ หรือร่วมทำแม้เพียงซักครั้งเดียว และที่สำคัญ เมื่อมีความเคลือบแคลงสงสัย แล้ว ไม่ ถามไม่ไถ่ กลับ เก็บความแคลงใจนั้นไว้ในใจและขยายความสงสัย สู่คนรอบข้างด้วยแล้ว นั่น คือการขยายความขัดแย้งและเคลือบแคลงสงสัย ออกสู่คนอื่น ทั้งโดยเจตนา โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่ทำ มัน ก็ สร้าง อุปสรรคขัดขวางความตั้งใจจริงในการทำงานของคนที่มีความตั้งใจจริงไปส่วนหนึ่งแล้ว

 

                 สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ยินดี และ เปิดโอกาสให้ใครก็ได้ในสังคม ที่ สนใจจะลองใช้ชีวิต ในมุมที่ต่างออกไป เพื่อเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้สังคม ในมุมที่ตนเองอาศัยอยู่ แต่แตกต่างกันในมุมมอง สถานที่และช่วงเวลา เพื่อเปิดรับ และเรียนรู้ว่า ยังมีชีวิตเล็ก ๆ ในสังคมอีกหลายชีวิต ที่ พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองชีวิตผ่านกิจกรรม อาสาสมัครเมือง ของ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน แห่งนี้ อยู่ที่ว่า คุณพร้อมแล้วหรือยัง

 

                โดยสรุปแล้วชีวิตการทำงานในรูปแบบของอาสาสมัครที่เริ่มอย่างเป็นรูปเป็นร่างหลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้และฝึกฝนจาก สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ส.บอ. มธ.)นั้น สิ่งที่ได้ จาก ส.บอ. มธ. นั้น นอกจากจะได้แนวความคิดในการทำงาน โอกาสในการเรียนรู้ในพื้นที่ ที่แปลกไปจากเดิม ก็ยังได้วิธีคิด วิธีการทำงาน ที่ค้นพบได้ด้วยตัวเองจากการทำงานโดยนำเอาประสบการณ์ในช่วงที่อยู่ในกรับวนการเรียนรู้และฝึกฝน ๑๒ เดือน กับ ส.บอ. มธ. ทำให้เกิดความเข้าในในความต่างทางความคิด ทำให้เกิดความยอมรับในความต่างนั้น และที่สำคัญมากที่สุดในการทำงานคือ มุมมองที่มองเป้าหมายของการทำงานเป็นหลัก ทำให้เมื่อใดก็ตามที่เกืดความท้อแท้ในการทำงานขึ้นมา แต่เมื่อมองมาที่ กลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายในการทำงานแล้วความฮึกเหิม และกำลังใจในการทำงานก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและทำให้ทำงานด้านอาสาสมัครได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดไม่รู้จักเหนื่อย เมื่อค้นพบว่าแท้จริงแล้วการทำงานในรูปแบบอาสาสมัครของเรานั้น เป็นงานที่มีคุณค่าและยังมีคนที่ด้อยโอกาสในสังคม ที่มีความเหลื่อมล้ำในสังคม ยังรอคอยโอกาสที่เรา เป็นสะพานนำพาคนอีกฟากหนึ่งได้เข้าไปสัมผัสและเข้าไปเรียนรู้ชีวิตของเขา และจากแนวคิดนี้ ก็ทำให้เราเองได้บอกต่อและสร้างอาสาสมัครภายใต้แนวความคิดเดียวกันให้เกิดขึ้น มีขึ้นในสังคมอย่างต่อเนื่องและส่งคนเหล่านี้ ให้ได้มีโอกาสออไปทำงานด้านอาสาสมัครที่เขารัก ในรูปแบบที่เขาคิด ที่เขาเชื่อด้วยตัวเขาเอง ภายใต้กรอบความเชื่อที่จากพระบราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ว่า

                 คนที่รวมตัวกันเป็นหมู่มาแม้ได้ชื่อว่าเป็น อิสรชน ก็ใช้อิสรภาพ คือ ความเป็นใหญ่ ของตน เต็มที่ไม่ได้ หากจำเป็นต้องจำกัด ไว้ด้วยข้อบังคับและวินัยอันเหมาะสม เพื่อให้แต่ละคนมีอิสรภาพสม่ำเสมอกัน ทั้งมิให้ล่วงละเมิดแก่กันและกัน 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท