คลีนิคความรู้"การบูรณาการหลักสูตรแบบหน่วยการเรียน"


กระบวนการจัดเรียนการสอนแบบบูรณาการหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้ สามารถนำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิตได้เนื่องจากการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นการเรียนรู้ในวิถีชีวิตของผู้เรียน
  • ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง "เหลียวหลังแลหน้าการศึกษานอกโรงเรียน" ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2549 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางในการพัฒนาการจัดศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2545) มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 250 คน และได้เชิญศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ร่วมจัดคลีนิคความรู้เรื่อง "การบูรณาการหลักสูตรแบบหน่วยการเรียน" ณ ห้องกระดังงา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ จังหวัดลำปาง
  • ผู้มาร่วมสัมมนา มาจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบไปด้วยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด และอำเภอ พร้อมด้วยข้าราชการ ครูอาสาสมัคร และครูศูนย์การเรียนชุมชน
  • การจัดสัมมนาวิชาการครั้งนี้แบ่งเป็นฐาน ประกอบไปด้วย
    • ฐานการอบรมเรื่อง การจัดการความรู้ ณ ห้องพวงชมพู
    • ฐานคลีนิคความรู้ "การบูรณาการหลักสูตรแบบหน่วยการเรียน" ณ ห้องกระดังงา (ศบอ.เกาะคา เป็นผู้ดำเนินการส่วนนี้)
    • นิทรรศการ "การศึกษาทางไกล" ณ อาคารเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
    • นิทรรศการ "สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย" ณ อาคารสมุนไพร
  • คลีนิคความรู้ "การบูรณาการหลักสูตรแบบหน่วยการเรียน" ได้รับความสนใจจากสถานศึกษาในเขตจังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะในระดับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้เข้ามาศึกษาเป็นกลุ่มจังหวัด และกลุ่มศบอ.
  • จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้มาเข้ารับความรู้ในคลีนิคของเรา ทราบว่าทุกศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนได้มีการจัดการศึกษาสายอาชีพให้กับชุมชน แต่ไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงให้กับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเมื่อเรียนหลักสูตรการศึกษาสายอาชีพจบแล้ว จะนำเอาความรู้มายกระดับการศึกษาจบระดับประถมศึกษา ม.ต้น ม.ปลายได้
  • บางศบอ. ติดตามผลงานของเรามาตลอดไม่ว่าจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำนักงานศบอ.เกาะคา งานมหกรรมยกระดับความรู้ที่เมืองทองธานี ก็ได้ไปแลกเปลี่ยนกันแล้ว ก็ยังตามมาในงานนี้อีก
  • จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่าสถานศึกษาต่าง ๆ มีความรู้ความชำนาญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอาชีพ แต่มีปัญหาไม่สามารถนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้มากำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของหน่วยการเรียนรู้ กับมาตรฐานการเรียนรู้ ในหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานพุทธศักราช พ.ศ. 2544
  • สาเหตุที่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากยังใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเดิม คือการพบกลุ่ม ครูยังไม่ได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก และเนื้อหาที่เรียนก็เป็นเนื้อหามาจากหลักสูตรแกนกลาง ครูไม่ได้ผ่านกระบวนการอบรมพัฒนาบุคลากรการจัดทำหลักสูตรแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ดังนั้นจึงยังไม่สามารถเชื่อมโยงวิถีชีวิตของผู้เรียน ให้เข้าหลักสูตรได้ และที่สำคัญการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งก็เป็นท่อน ๆ แยกส่วนกันดำเนินการ ไม่ได้บูรณาการกิจกรรม งาน และเงินงบประมาณเข้าด้วยกัน
  • การบูรณาการทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน ก็จะสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนได้ ซึ่งจะเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบครบวงจร ได้ทั้งงานการศึกษาสายอาชีพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาสังคมและชุมชน ทักษะชีวิต ในที่สุดก็เป็นการศึกษาตลอดชีวิต ผู้เรียนก็อยากจะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นเรื่องในชีวิตของเขาเอง ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
  • ดิฉันมีความเห็นว่า กศน.ต้องมาช่วยกันปรับเปลี่ยนความคิด และรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาครูก่อน ให้เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยการลงมือฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่ของตนเอง ก็จะทำให้การเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้เกิดขึ้นมาได้ทุกหนทุกแห่ง และผู้เรียนก็พีงพอในการเรียนรู้ เนื่องจากเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตของผู้เรียน
  • ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ

    27 กันยายน 2549

 

หมายเลขบันทึก: 52739เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2006 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท