บทบาท สถานภาพ สังคม และปัจเจกชน


บทบาท สถานภาพ สังคม และปัจเจกชน

  อาศัยแรงกระตุ้นจากความคิดของ Mead นั่นเอง Jacop Moreno จึงได้สร้างสังกัปการแสดงบทบาท (Role Playing) ขึ้นในหนังสือ Who Shall Survice และในวารสารหลายฉบับที่เขาได้ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐฯ Morenoเริ่มชี้ให้เห็นว่า องค์การสังคมประกอบด้วยบทบาทจำนวนหนึ่ง (Network of Role) ซึ่งบังคับและให้แนวทางการแก่การกระทำแรกๆ เขาได้แยกบทบาทต่างๆออกจากกัน คือ

  1. Psychosomatic Role บทบาทเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นทางชีวภาพ เป็นบทบาทที่ผู้แสดงๆไม่รู้ตัวแต่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสังคม

  2. Psychodramatic Rold บทบาทตามสภาพสังคมบุคคลแสดงบทบาทตามคาดหวังของสภาพสังคมเฉพาะ

  3. Social role บทบาทที่ปัจเจกชนปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคม เช่น กรรมการ ชาวพุทธ แม่ พ่อ เป็นต้น

  สิ่งที่ได้จากแนวคิดนี้ คือการ ได้เค้าโครงสร้างทางสังคมที่ประกอบด้วยบทบาทต่างๆในเนื้อหาไม่ได้อะไรมาก เค้าโครงนี้ทำให้ขยายความคิดเรื่องสังคมที่เป็น  ชัดเจนขึ้น

  หลังจาก Morenoแล้วไม่นานนัก Linton นักมนุษย์วิทยาก็ได้ขยายลักษณะขององค์การสังคมและบุคคลที่เป็นสมาชิกออกไปอีก โดยพูดถึงบาบาท สถานภาพและบุคคล แยกต่างหากจากกัน

  จากข้อความนี้ ทำให้ความสำคัญ ทำให้ความที่สำคัญกระจ่างยิ่งขึ้นมาถึงตอนนี้ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยหน่วยสำหรับวิเคราะห์หลายประการ

  1. ตำแหน่งต่างๆ ชุดหนึ่ง(A Network of Positions)

  2. ระบบความคาดหวังที่สอดคล้องกัน

  3. แบบแผนของพฤติกรรม ตามความคาดหวังของตำแหน่ง

  แม้สิ่งเหล่านี้จะดูเล็กน้อย น่าจะชัดเจนในทฤษฎีแล้วแต่ขยายความ ทฤษฎีSymbolicinteractionism หลายอย่าง คือ

  1. ทำให้แนวคามคิดเรื่องสังคมของทฤษฎีนี้กระจ่างขึ้น บอกลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง รวมทั้งความคาดหวังที่ติดอยู่ด้วยกัน

  2. สามารถแยกสังกัปจิตและอัตตาของ Mead ออกจากโครงสร้างสังคม (Position & Expectations) และพฤติกรรม (บทบาท)

  3. เมื่อสามารถแยกกระบวนการถือเอาบทบาท และการเลือกแสดงบทออกจากทั้งโครงสร้างและพฤติกรรมได้แล้ว ก็สามารถจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคมได้อย่างชัดเจน เพราะ การแสดงบทบาทเป็นการแสดงตามความคาดหวังของสถานภาพต่างๆ ส่วนตัวบทบาทเป็นรูปแบบของการคาดหวังที่เกิดจากการต่อรองกับอัตตา

  Moren  Linton จึงทำให้เห็นลักษณะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจิต อัตตา ปละสังคม ชัดเจนขึ้น 


หมายเลขบันทึก: 522216เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2013 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2013 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท