วัฒนธรรมที่อยู่อาศัยของภาคเหนือ


วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

     ลักษณะเด่นชัดในทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชนในภาคเหนือ ที่ไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ ก็ คือ บรรดาชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้น จะต้องมี ความสัมพันธ์กันทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด จึง จะอยู่ร่วมกันได้ สิ่งนี้แลเห็นได้จากการร่วมมือกันในการทำให้มีการ ชลประทาน เหมืองฝายขึ้น นั่นก็คือแต่ละชุมชนจะต้องมาร่วมกันทำ ฝายหรือเขื่อนกั้นน้ำ และขุดลอกลำเหมืองเพื่อระบาย น้ำจากฝายที่ กั้นลำน้ำไปเลี้ยงที่นาของแต่ละชุมชน ทั้งนี้เป็นเพราะในแต่ละหุบ เขานั้น ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลาดลงสู่บริเวณที่เป็นแอ่งตอน กลางที่มีลำน้ำไหลผ่าน ลำน้ำดังกล่าวนี้เกิดจากลำธาร หรือลำน้ำ สาขาที่ไหลลงจากที่สูงทั้งสองข้างหุบเขามาสมทบด้วย จำนวนลำ น้ำเหล่านี้มีจำกัดไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูกของผู้คนทั่วไป จึงจำ เป็นต้องทำฝายทดน้ำและขุดเหมืองจากบริเวณลำน้ำหรือธารน้ำนั้น เข้าไปเลี้ยงที่นาและเพื่อการใช้น้ำของ ชุมชน จึงต้องมีการออกแรงร่วมกัน เกิดมีกฎเกณฑ์และแบบแผนในการร่วมแรงกันทำเหมืองฝายมาแต่ โบราณ จึงเป็นกิจกรรมที่กษัตริย์เจ้าเมืองหรือนายบ้าน จะต้องคอยควบคุมดูแลให้มีการร่วมมือกัน และลง โทษผู้ที่ไม่ร่วมมือแต่ทว่าลักน้ำขโมยน้ำจากผู้อื่น จึงเกิดมีกฎหมายโบราณขึ้นที่เรียกว่า "กฎหมายมังราย"เชื่อว่าพญามังรายผู้สร้างแคว้นล้านนาเป็นผู้บัญญัติขึ้น

    ที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมประเพณี สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้คน บ้านเรือน ในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล" ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่ เรือนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และประณีตมากขึ้น


บ้านภาคเหนือ

                                                         

    กาแล คือ ไม้ประดับยอดจั่วหลังคาของบ้านล้านนาภาคเหนือ 
ของเรา มีประวัติและความเป็นมาหลาก หลายอย่าง แต่หากพิจาร ณาในเชิงช่างแล้ว กาแลนี้เป็นตัวกันไม่ ให้ “อีกา” หรือนกทั่วไปมา
เกาะที่กลางจั่ว หน้าบ้าน (กลางปั้นลม) ทำให้นกเหล่านั้นไม่มา ถ่าย
มูลรดหลังคาบ้านให้เป็นคราบน่าเกลียดจะทำความสะอาดก็ยากเย็น ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล 

หมายเลขบันทึก: 522093เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท