ความเป็นกัลยาณมิตรของครู..บรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่น ปลอดภัย




ความเป็นกัลยาณมิตรของครู  ช่วยสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน ครูที่ประสบผลสำเร็จในการสอน มีพื้นฐานแห่งวัตรปฏิบัติที่เป็นกัลยาณมิตรต่อผู้เรียน

กัลยาณมิตรธรรมสำหรับครูเป็นไปหลักธรรมความเป็นกัลยาณมิตร 7 ประการ

(พจนานุกรมพุทธศาสตร์, 2528 อ้างถึงในสุมนอมรวิวัฒน์, 2547) มีดังนี้

1.  ปิโย  มีความน่ารักด้วยการเปิดเผย   เด็กรู้สึกสบายใจอบอุ่นสนิทสนม  ชวนให้เข้าไปถามไปปรึกษา  เป็นที่ไว้วางใจ

2.  ครุ  มีความน่าเคารพด้วยการประพฤติ  สมควรแก่ฐานะเด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ  เป็นที่พึ่งได้ปลอดภัย

3.  ภาวนีโยมีความน่ายกย่องด้วยความเป็นผู้รอบรู้  ทรงภูมิปัญญาที่แท้จริง  รวมทั้งปรับปรุงตนเอง  เป็นที่เอาอย่าง ทำให้เด็กได้ระลึกถึง  ได้เอ่ยอ้างถึงด้วยความภูมิใจ

  4.วัตตาจะ  รู้จักพูดให้เหตุผล  รู้จักชี้แจงให้เข้าใจให้คำแนะนำ  ว่ากล่าวตักเตือนเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี

5. วจนักขโม  อดทนต่อถ้อยคำพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา  ซักถามคำเสนอแนะข้อวิพากษ์วิจารณ์อดทนฟังได้ไม่เบื่อ  ไม่ฉุนเฉียว  เป็นผู้ใจกว้างเปิดใจยอมรับความคิดเห็น

6. คัมภีรัญจะกถังกัตตาแถลงเรื่องล้ำลึกได้สามารถอธิบาย  เรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป   สามารถอธิบายให้ความกระจ่างได้

7. โนจัฏฐาเนนิโยชเยไม่แนะนำ  ในเรื่องเหลวไหลชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นตัวแบบที่ดี  

ในการประพฤติปฏิบัติความเป็นกัลยาณมิตรของครู สนองธรรมชาติความต้องการของเด็กได้ตามทฤษฎีมนุษยนิยมของมาสโลว์ (Maslow,1987อ้างถึงในสุรางค์โค้วตระกูล,2541)ช่วยให้เด็กจะได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ตนเองต้องการ

1.  เด็กมีความสุขสะดวกสบายในการเรียน -ครูใจดี บรรยากาศการเรียนมีความสุข ไม่อึดอัด

2. เด็กรู้สึกปลอดภัยอบอุ่น  -ครูให้ความมั่นใจ เอาใจใส่ดูแล ให้ความรักความเมตตา

3. เด็กได้ความรักความเอาใจใส่จากครู  - ครูใช้คำพูดเสริมแรง ให้กำลังใจ ชื่มชมยกย่องเมื่อทำงานสำเร็จ  เปิดใจกว้างยอมรับฟังเหตุผลของนักเรียนทุกคน

4.  เด็กได้รับความภาคภูมิใจชื่นชมในตนเอง  - ครูจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้พบกับความสำเร็จตามความสามารถของตนเอง หาวิธีการนำส่วนที่ดีของแต่ละคนมาใช้ประโยชน์  ในการทำงานกลุ่ม 

5. เด็กได้ทำในสิ่งที่ตนเองปรารณาสูงสุด-ครูให้อิสระในการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานในระบบกลุ่มร่วมมือทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทุกคนมีความสำคัญ ได้รับการยอมรับในคุณค่าของตนเอง

ชีวิตในโรงเรียน ในชั้นเรียนของเด็กเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน หากการเรียนรู้อบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งความเป็นกัลยาณมิตร  การเรียนมีลักษณะช่วยเหลือพึ่งพา มากกว่าการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น มีครู มีเพื่อนที่เข้าใจ รู้ใจ ไว้วางใจ ใกล้ชิด สนิทสนม คุ้นเคย ย่อมรับรู้ถึงความอบอุ่น ปลอดภัย จิตใจเบิกบาน เรียนรู้ที่มีความสุข 


สุมน  อมรวิวัฒน์. กัลยาณมิตรนิเทศ. เอกสารสกศ. อันดับที่ 06/2547 สำนักงาน  มาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ. 

สุรางค์  โค้วตระกูล.  จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

หมายเลขบันทึก: 522070เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2013 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท