Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

แนวคิดตลาดเสรีภายใต้ประชาคมอาเซียนเปลี่ยนทัศนคติของรัฐบาลทหารพม่าได้จริงหรือ ? แต่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทยล่ะ ?!


เราเคยเห็นสองประเทศยุโรปที่ทะเลาะกันจนลุกลามเป็นสงครามโลกมาแล้วในราว ค.ศ.๑๙๓๙/พ.ศ.๒๔๘๒ – ค.ศ.๑๙๔๕/พ.ศ.๒๔๘๘ กล่าวคือ ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรในแคว้น Alsace และ Lorraine ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน แต่เมื่อทั้งสองประเทศยอมรับแนวคิดที่จะสร้างตลาดเสรีที่เป็นธรรมระหว่างกัน ความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามก็แปรเปลี่ยนมาเป็นพลังความร่วมมือที่นำมาซึ่งความร่ำรวยทางเศรษฐกิจและสันติภาพที่ยั่งยืน

การปรับทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยของรัฐเจ้าของดินแดน

: ข้อสังเกตจากวิวัฒนาการของตลาดเสรีระหว่างประเทศ

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151539240688834

----------------------------------------------------------

ในขณะที่ พ.ศ.๒๕๕๘/ค.ศ.๒๐๑๕ กำลังใกล้เข้ามา จึงมีความตื่นตัวมากมายที่จะเตรียมความพร้อมให้กับคนในสังคมไทยที่จะตั้งรับกับทั้งโอกาสและปัญหาที่จะมากับการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียนที่จะปรากฏตัวอย่างสมบูรณ์ ผู้บริหารระดับสูงของทั้งประเทศไทยและอีก ๙ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะเร่งจัดการประชากรของตนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคนทำงานเพื่อผลักดันเรื่องตลาดเสรีย่อมตระหนักได้ดีว่า ยิ่งตลาดยิ่งเปิดเสรี กระแสเศรษฐกิจก็จะยิ่งหมุนเร็ว คนที่ก้าวทันตลาดก็จะรวยขึ้น ส่วนคนที่ตกกระแสก็จะเสียโอกาส ผลิตได้น้อยลง ขายได้น้อยลง ดังนั้น หากตลาดใดประกอบด้วยคนที่มีประสิทธิภาพและวินัยในการซื้อขาย ตลาดนั้นก็จะแข็งแรงและขยายตัวเร็ว

  เราเคยเห็นสองประเทศยุโรปที่ทะเลาะกันจนลุกลามเป็นสงครามโลกมาแล้วในราว ค.ศ.๑๙๓๙/พ.ศ.๒๔๘๒ – ค.ศ.๑๙๔๕/พ.ศ.๒๔๘๘ กล่าวคือ ความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรในแคว้น Alsace และ Lorraine ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน แต่เมื่อทั้งสองประเทศยอมรับแนวคิดที่จะสร้างตลาดเสรีที่เป็นธรรมระหว่างกัน ความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามก็แปรเปลี่ยนมาเป็นพลังความร่วมมือที่นำมาซึ่งความร่ำรวยทางเศรษฐกิจและสันติภาพที่ยั่งยืน

  เราเคยเห็นรัฐพม่าหรือรัฐเมียนมาร์ที่ประกอบไปด้วยคนต่างชาติพันธุ์ที่ทะเลาะจนนำไปสู่สงครามกลางเมือง อันเป็นเหตุให้ชนกลุ่มน้อยจำนวนหนึ่งหนีภัยความตายออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือชนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มหรือคนเชื้อสายพม่าเองที่อพยพจากพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทย รัฐบาลทหารพม่าก่อน พ.ศ.๒๕๕๐ ดูไม่มีความรู้สึกสนใจคนอพยพเหล่านี้เท่าใดนัก หรืออาจกล่าวได้ว่า มีแนวโน้มปฏิเสธจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงกับคนเหล่านี้ แต่ใน พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งชนชั้นบริหารในรัฐบาลทหารพม่าเริ่มยอมรับแนวคิดตลาดเสรีระหว่างประเทศและตัดสิจใจเข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนโดยการให้สัตยาบันต่อกฎบัตรอาเซียน เราก็เห็นท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างมากของรัฐบาลพม่าต่อแรงงานชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพจากพม่า แม้ต่อคนโรฮินยาที่เคยรังเกียจเป็นอย่างยิ่ง

  เมื่อเราทบทวนท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศอาเซียนอื่นที่เคยมีข้อพิพาทภายในจนทำให้ชนกลุ่มน้อยในประเทศดังกล่าวอพยพหนีภัยความตายเข้ามาในประเทศไทย เรายังจะยังคงมีทัศนคติแบบเดิมต่อประเทศต้นทางของคนอพยพหนีภัยความตายเหล่านี้หรือ ? 


หมายเลขบันทึก: 522018เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท