ความแตกต่างระหว่างไวรัสกับสปายแวร์


มาดูความหมายระหว่างไวรัสและสปายแวร์กันเถอะ เพราะมีบางคนยังไม่เข้าใจความหมายของทั้ง 2 ตัวนี้มากนัก ซึ่งจะบอกถึงความแตกต่างและประเภทของไวรัสและสปายแวร์ด้วย

ไวรัส       

         ไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่ง  โดยเรามักจะเรียกและโทรจันต่างๆ ว่า Malware หรือ Badware หมายถึงโปรแกรมที่มีวัตถุประสงค์ไม่ดี  เมื่อไวรัสเข้ามาอยู่ในคอมพิวเตอร์แล้ว  อาจจะนำความเสียหายแก่ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือรบกวนการทำงานของระบบปฏิบัติการ  โดยทั่วไปแล้ว  ไวรัสจะสามารถทำสำเนาตัวเองได้  ซึ่งหมายความว่าไวรัสจะเพิ่มปริมาณได้เองในคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้ไฟล์ที่มีไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้  หรือทำสำเนาไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะติดไวรัสประเภทเดียวดันไปด้วย 

ประเภทของไวรัส

ไวรัสมีอยู่หลายประเภท  โดยแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

*      ไฟล์ไวรัส (File virus) เป็นเประเภทไวรัสที่ใหญ่ที่สุด  โดยไวรัสประเภทนี้จะซ่อนตัวเองไปกับไฟล์  ซึ่งโดยมากมักเป็นไฟล์ประเภทโปรแกรม

*      บู๊ตเซ็กเตอร์ไวรัส (Boot Sector Virus) เป็นไวรัสประเภทที่ติดทางแผ่นดิสก์เก็ตและฮาร์ดดิสก์  ตัวไวรัสจะทำงานโหลดตัวเองขึ้นมาก่อนระบบปฏิบัติการ

*      มาโครไวรัส (Macro Virus) เปฌนไวรัสประเภทใหม่ซึ่งจะใช้ลักษณะพิเศษของโปรแกรมที่มีการเขียนโปรแกรมด้วยมาโคร  ไวรัสประเภทนี้จะไม่เกมือนกับประเภทอื่น  เพราะมาโครไวรัสจะไม่ติดกับโปรแกรม  แต่จะติดเฉพาะกับไฟล์เอกสาร

*      ไวรัสโฮแอ็กซ์ (Virus Hoax) เป็นไวรัสประเภทที่ไม่มีอยู่จริง  แม้ว่าจะมีการค้นพบไวรัสพันชนิดในแต่ละปี  แต่ก็ยังมีไวรัสบางชนิดที่เราเพียงแค่ทึกทักว่ามันมี  ซึ่งเราจะเรียกว่าไวรัสโฮแอ็กซ์นั่นเอง  โดยจะเป็นไวรัสที่ไม่มีอยู่จริงแต่เป็นเพียงแค่ข่าวลือหรือสิ่งที่เราคิดกันไปเองเท่านั้น

*      หนอนไวรัส (Worm) โดยที่จริงแล้วหนอนไวรัสยังไม่ถือว่าเป็นไวรัสเสียทีเดียว  เนื่องจากจะไม่ติดกับโปรแกรมใดๆ หนอนไวรัสอาจจะเป็นโปรแกรมนึ่งหรือชุดคำสั่งโปรแกรม  ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เอง  และจะติดกับคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย (Network) เป้าหมายของหนอนไวรัสคือ  การโจมตีผ่านเครือข่าย  ซึ่งมีตั้งแต่ขัดขวางการทำงานไปจนถึงทำให้เครือข่ายล่มเลยทีเดียว

 สปายแวร์

                นอกจากไวรัสแล้ว  ยังมีโปรแกรมอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะการทำงานเข้าข่ายไวรัสแต่ยังไม่ใช่ไวรัสเสียทีเดียว  นั่นก็คือโทรจัน (Trojan Horse) เหตุผลที่โทรจันไม่ใช่ไวรัสก็เพราะว่ามันไม่ได้ทำสำเนาเหมือนกับไวรัสทั่วไป  แต่จะทำงานแบบซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังโปรแกรมทั่วไปอีกทีหนึ่ง  เช่น แอบดูข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ของเราโดยที่ไม่รู้ตัว  เป็นต้น

                สปายแวร์มีลักษณะการทำงานของโทรจันอยู่ด้วยส่วนหนึ่งเหมือนกัน  แต่สปายแวร์อาจจะไม่ได้แค่แอบดูข้อมูลเท่านั้น  เพราะสปายแวร์จะมีลักษณะการทำงานของไวรัสเข้ามาด้วย  เช่น  ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ผิดปกติ  เป็นต้น  โดยทั่วไปแล้ว  สปายแวร์มักออกแบบมาให้ยากต่อการกำจัดออกจากระบบ

                สปายแวร์หมายถึง  อุปกรณ์ในการสืบความลับ  เช่น  กล้องขนาดเล็ก  แต่ว่าในปี  2542  บริษัท  โซนแล็บผู้คิดค้นโปรแกรม  Zone Alarm ได้นำคำว่าสปายแวร์ก็ได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

                การที่เราได้รับอีเมลขยะมากขึ้น  ส่วนหนึ่งก็มากจากการที่เราถูกสปายแวร์ส่งข้อมูลไปให้ผู้อื่นด้วยเช่นกัน  โดยข้อมูลที่ส่งไปก็ทำให้สามารถคาดเดาได้ว่าผู้นั้นพฤติกรรมอย่างไร 

 ประเภทของสปายแวร์

                ยังมีโปรแกรมบางตัวที่จัดอยู่ในประเภทสปายแวร์ด้วย  แต่อาจจะมีพิษสงน้อยกว่าสปายแวร์ตัวอื่น  ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้มีอันตรายมากนัก  แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญให้เราได้ไม่น้อยเลยดีเดียว  โดยเราสามารถพบได้บ่อยๆ อยู่ 2 ตัวด้วยกัน คือ

1.      Adware  เป็นโปรแกรมที่จะคอยส่งแบนเนอร์โฆษณามาที่คอมพิวเตอร์ของเรา  สาเหตุที่เราจัดให้  Adware เป็นสปายแวร์ก็เพราะมีส่วนประกอบของโปรแกรมที่ทำให้สามารถติดตามข้อมูลของผู้ใช้และส่งข้อมูลนั้นออกไปที่อื่นได้

2.      Cookie  เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต  แต่โดยปกติแล้วการใช้งานคุกกี้กไม่ใช่เรื่องลับอะไร  เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถกำหนดได้ว่าต้องการใช้งานคุกกี้เมื่อไรก็ได้นั่นเอง  แต่ว่าข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราที่ทางเว็บไซต์เก็บไว้ในคุกกี้นั้น  อาจจะเป็นข้อมูลที่เราไม่ทราบก็ได้ ดังนั้น  เราจึงพิจารณาว่าคุกกี้เป็นรูปแบบหนึ่งของสปายแวร์ก็ได้เช่นกัน

 วิธีสังเกตไวรัสและสปายแวร์

                เพื่อความปลอดภัยในการเล่นอินเตอร์เน็ตของคุณ  โดยเลือกเอาแต่เฉพาะวิธีการที่คิดว่าค่อนข้างมีประสิทธิภาพมานำเสนอดังนี้

*      ทูลบาร์ให้โหลดมาติดตั้งตามเว็บต่างๆ มีแนวโน้มสูงมากกว่าจะเป็นสปายแวร์

*      อ่านข้อตกลงของซอฟแวร์ที่เราจะใช้งานให้ดี  เพราะบางตัวอาจจะมีข้อตกลง  โดยเขียนเป็นนัยๆ ว่าจะต้องมีการทำงานในลักษณะเหมือนสปายแวร์ด้วย  แต่โดยมากทางผู้ผลิตมักจะเขียนอ้อมๆ ให้เรางงและอ่านเข้าใจยากทำให้ต้องหลงกลอยู่บ่อยๆ

*      ไฟล์ที่แนบมากับอีเมลจากคนที่ไม่รู้จักมักจะเป็นไวรัสเสียส่วนใหญ่

*      โปรแกรมแชร์ไฟล์โดยมากมักจะเปิดโอกาสให้สปายแวร์เข้ามาได้ง่ายขึ้น  โดยให้พยายามสังเกตว่ามีไฟล์ไหนที่เราไม่รู้จักแล้วเข้ามาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราบ้างหรือเปล่า  ถ้ามีแสดงว่าโปรแกรมแชร์ไฟล์นั้นไม่มีระบบป้องกันภัยที่ดีพอ  ดังนั้น  จึงควรเลิกใช้โปรแกรนั้นไปได้เลย

*      เว็บบางเว็บที่เมื่อเข้าไปแล้วต้องการเราติดตั้งโปรแกรมบางตัวนั้น  ถ้าไม่ใช่โปรแกรมที่เรารู้จักกันดีส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นสปายแวร์

จากข้อมูลที่ได้จากหนังสือเคล็ดลับจัดการVirus & Spyware

จากความคิดของดิฉันแล้ว  ไวรัสและสปายแวร์นั้นก็มีอยู่หลายประเภทเราควรจำแนกและแยกแยะประเภทของมันให้ถูกต้อง  ไม่งั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเวลาติดไวรัสแล้ว  เราจะไม่รู้ได้เลยว่าเราควรจะแก้ไขและไวรัสที่ติดในคอมพิวเตอร์เรานั้นเป็นประเภทไหน

คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 52193เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อืม ไวรัสมันเยอะจังเลยเดียวนี้ จะเปิดไปหน้าเว็บไหนก็เจอไวรัสบ้าง สปายแวร์บ้าง มีโปรแกรมกำจัดดีๆก็ต้องเสียตังบ้าง บางตัวก็ดี บางตัวก็ไม่ดี

ฝนน่าจะบอกโปรแกรมป้องกันด้วยก็ดีนะ ตัวไหนที่คิดว่าใช้แล้วดีอะ

 

ขอบคุณสำเนื้อหาดีๆ

โหย...รู้ไรดีดีเยอะแยะเรย  ไวรัสมันเยอะวิ่งให้เต็มคอมฯเราหมดเรย ทำไงดี...

ถ้าเครื่องมีไวรัสแล้ว ก็ดีแล้วไง จะได้ไม่ต้องกลัวว่าจะโดนไวรัสจากไหนอีก

เราก็จะได้ใช้คอมได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกลัวไวรัสอีกต่อไป

เป็นความรู้ที่ดีเลยทีเดียวขอบคุณคับ >/<

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท