แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอน แบบ CIIPPA MODEL


แผนการจัดการเรียนรู้ที่  4

วิชา  ว30284  โลกดาราศาสตร์และอวกาศ 1 (ธรณีวิทยา)  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  เรื่อง  แร่    หน่วยการเรียนรู้ที่  2  แร่และหิน

เวลา  2  ชั่วโมง (120 นาที )  ชื่อผู้สอน  นางพิศมัย  พานโฮม

………………………………………………

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลการเรียนรู้

  สืบค้นข้อมูล  อภิปราย  และอธิบาย  ความหมาย  สมบัติและการเกิดแร่และหิน

สาระสำคัญ

  แร่เป็นธาตุหรือสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  แร่จะมีทั้งที่เป็นธาตุและสารประกอบแร่ที่มีสมบัติเป็นธาตุ  เช่น  ทองคำ (Au)  เงิน (Ag)  ทองแดง (Cu)  เหล็ก (Fe)  และแร่บางชนิดมีสมบัติเป็นสารประกอบ  เช่น  แคลไซต์  ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของแร่ที่มีปริมาณมาก  เช่น  ออกซิเจน  ร้อยละ  46.60  ซิลิกอน ร้อยละ 27.72  อะลูมิเนียม  ร้อยละ  8.13  เหล็ก  ร้อยละ  5.00  แคลเซียม  ร้อยละ  3.63  โซเดียม  ร้อยละ  2.83  โพแทสเซียม  ร้อยละ  2.59  และแมกนีเซียม  ร้อยละ  2.09  และพบว่าธาตุเหล่านี้มีสมบัติเป็นโลหะ  เช่น  อะลูมิเนียม  เหล็ก  แคลเซียม  โซเดียม  โพแทสเซียม  และแมกนีเซียม  ส่วนออกซิเจน ซิลิกอน มีสมบัติเป็นอโลหะ

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1.ด้านความรู้

      สืบค้นข้อมูล  และอธิบายความหมายของแร่  การตรวจวินิจฉัยแร่ทางกายภาพและทางเคมี  วงศ์แร่  แร่ประกอบหิน

  2.ทักษะ/ทักษะกระบวนการ/ทักษะการคิด

   2.1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่

         2.1.1 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing  Data  and Communication)

        2.1.2 การลงความเห็นจากข้อมูล  (Inferring) 

       2.1.3 การตั้งสมมติฐาน (Formulation Hypotheses) 

      2.1.4 การทดลอง  (Experimenting) 

      2.1.5 การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting  Data  and  Making  Conclusion)

    2.2 ทักษะกระบวนการกลุ่ม

    2.3 ทักษะการวิเคราะห์

  3. จิตพิสัย คุณธรรม จริยธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. ความซื่อสัตย์

  2. มีวินัย

  3.ใฝ่เรียนรู้

  4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

  1.ความสามารถในการสื่อสาร

  2. ความสามารถในการคิด

  3.ความสามารถในการแก้ปัญหา

  4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

  5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

สาระการเรียนรู้

  แร่

ความเข้าใจที่คงทน

  ผู้เรียนอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับแร่ สรุปโครงสร้างทางเคมีของแร่  สมบัติแร่ทางกายภาพ 

การตรวจสอบแร่ทางเคมี  วงศ์แร่  แร่ประกอบหิน  และประยุกต์ความรู้ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน  ร่องรอยแสดงความรู้)

  1.แบบฝึกที่ 4

  2.Mind  Mapping  ที่ 4

  3.แบบทดสอบหลังเรียน

กระบวนการจัดการเรียนรู้   (CIPPA  MODEL และบทเรียนสำเร็จรูป)

  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

    1.แจ้งผลการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้

    2.ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จำวน  5  ข้อ

    3.ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของแร่  สมบัติแร่ทางกายภาพ  วงศ์แร่

แร่ประกอบหิน  โดยใช้คำถามดังนี้

  3.1 อะตอมประกอบด้วยกี่อนุภาค  อะไรบ้าง

  (แนวคำตอบ  3  อนุภาค  คือ  อนุภาคโปรตอน  อนุภาคนิวตรอน  และอนุภาคอิเล็กตรอน)

  3.2 แร่ชนิดใดที่มีพันธะเคมีแบบโควาเลนต์  ยกตัวอย่าง

  (แนวคำตอบ  เพชร  สฟาเลอไรด์)

  ขั้นจัดการเรียนรู้

  ขั้นที่ 1  ขั้นการทบทวนความรู้

    1.1 ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมเกี่ยวกับแร่  โดยใช้คำถามต่อไปนี้

     1.1.1 แร่ (Mineral) คืออะไร

  (แนวคำตอบ  ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ)

     1.1.2 ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของแร่มีอะไรบ้าง

  (แนวคำตอบ ออกวิเจน  ซิลิกอน  อะลูมิเนียม  เหล็ก  แคลเซียม  โซเดียม  โพแทสเซียม  และแมกนีเซียม)

     1.1.3 สมบัติทางกายภาพของแร่มีอะไรบ้าง

  (แนวคำตอบ  สี  สีผง  แนวแตก  ความถ่วงจำเพาะ  ความวาว  การโปร่งแสง)

    1.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนความรู้เดิม  หรือประสบการณ์เดิมที่ผู้เรียนเคยเรียน  หรือรู้จักเกี่ยวกับแร่ ลงในกระดาษ A4  แล้วสุ่มให้ผู้เรียนออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ประมาณ  5  คน

  ขั้นที่ 2  แสวงหาความรู้ใหม่

    2.1 ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มๆ  ละ  6 คน และให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มรับใบความรู้และใบงาน  ดังนี้

  2.1.1 เรื่อง  ความหมายของแร่

  2.1.2 เรื่อง โครงสร้างทางเคมีของแร่

  2.1.3 สมบัติแร่ทางกายภาพ

  2.1.4 เรื่อง การตรวจสอบแร่ทางเคมี

  2.1.5 วงศ์แร่

  2.1.6 แร่ประกอบหิน

    2.2 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกศึกษาเพียง  1  เรื่อง โดยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อนเลือกเรื่องที่จะศึกษาก่อน

  ขั้นที่ 3 ศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

    3.1 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม  ร่วมกันอภิปราย  สรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้คนละเรื่องจนครบทุกคน

    3.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนตอบคำถามจากใบงาน

  ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ

    4.1 ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายคำตอบจากใบงาน  และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

    4.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ตนเองศึกษากับกลุ่มอื่น

  ขั้นที่ 5 สรุปและจัดระบบความรู้และวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้

    5.1 ผู้สอนให้ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับแร่ที่ได้ทั้งหมด  ที่เป็นความรู้ใหม่และความรู้เดิมที่มีความเชื่อมโยงกันหรือแตกต่างจากเดิมที่ผู้เรียนยังไม่ทราบโดยศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูป

เรื่องแร่

    5.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มนำความรู้ที่ได้เขียนลงในสมุดหรือกระดาษที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้

  ขั้นที่ 6 การแสดงผลงาน

    6.1 ผู้สอนให้ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดหารูปแบบ  วิธีการ  ในการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มโดยให้มีรูปแบบที่แตกต่างกัน

    6.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบการจัดป้ายนิเทศหลังห้อง 

  ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้

    7.1 ผู้สอนยกตัวอย่างชนิดของแร่ที่มีในท้องถิ่นหรือประเทศไทยแล้วให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำถามว่า

แร่ชนิดนั้นมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบ  มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร

    7.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนทำโครงงานศึกษาชนิดและประโยชน์ของแร่ที่มีในท้องถิ่น

  หลังจากนักเรียนทำกิจกรรมตามขั้นตอนวิธีสอนของ CIPPA  MODEL  แล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้

  1.ทำแบบฝึกที่ 4  เรื่อง  แร่

  2.ทำแบบทดสอบหลังเรียน  จำนวน  10  ข้อ

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

  สื่อการเรียนรู้

    1.บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง  แร่  จำนวน  1  ชุดต่อ  1  คน

  2.แบบทดสอบก่อนเรียน  จำนวน  1 ชุดต่อ  1  คน

  3.แบบฝึกที่ 4 จำนวน  1 ชุดต่อ  1  คน

    4.แบบประเมินทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  5.แบบประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  6.แบบประเมินทักษะการตั้งสมมติฐาน  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  7. แบบประเมินทักษะการทดลอง  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  8. แบบประเมินการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  9. แบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  กลุ่ม

  10. แบบประเมินทักษะการคิดสร้าวสรรค์  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  11. แบบประเมินด้านจิตพิสัย  คุณธรรม  จริยธรรม  จำนวน  1  แผ่นต่อ  1  คน

  12. แบบประเมินด้านความซื่อสัตย์  จำนวน  1  แผ่นต่อ  1  คน

  13. แบบประเมินพฤติกรรมด้านมีวินัย  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  14. แบบประเมินพฤติกรรมด้านใฝ่เรียนรู้  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  15.แบบประเมินพฤติกรรมด้านมีความมุ่งมั่นในการทำงาน  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  16. แบบประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการสื่อสาร  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  17. แบบประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการคิด  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  18. แบบประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการแก้ปัญหา  จำนวน  1 แผ่นต่อ  1  คน

  19. แบบประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  จำนวน  1 แผ่น

ต่อ  1  คน

  20. แบบประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  จำนวน  1 แผ่น

ต่อ  1  คน

    21. แบบบันทึกการนำเสนอผลงาน  จำนวน  1  ชุดต่อ  1  กลุ่ม

  22. แบบประเมินการทำกิจกรรมตามขั้นตอนวิธีสอนของ CIPPA  MODEL  จำนวน  1 ชุด

ต่อ  1 คน

  23. แบบทดสอบก่อนเรียน  จำนวน  1 ชุดต่อ  1 คน 

    24. แบบทดสอบหลังเรียน   จำนวน  1 ชุดต่อ  1 คน

  แหล่งการเรียนรู้

    1. ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

    2. ห้องสมุดโรงเรียน

    3. อินเตอร์เน็ต

    4. วารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


หมายเลขบันทึก: 521503เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2013 05:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2013 05:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท